Categories
ข่าวทั่วไป ท้องถิ่น-การเมือง

ขยะแลกบุญ ลดรายจ่ายปีละ 2 แสนบาท

ขยะแลกบุญ ลดรายจ่ายปีละ 2 แสนบาท

         ชาวบ้านจิตอาสาทั้งชายหญิงในหมู่บ้านที่ 12  บ้านเขาน้อยใต้  ตำบลฉลุง  อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ต่างพร้อมใจกันมาช่วยคัดแยกขยะ  ออกเป็นแต่ละประเภท   เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการต่อ  ซึ่งขยะทั้งหมดนี้เป็นขยะที่มาจาก  จุดรับบริจาคขยะแลกบุญ  ทันทีที่จุดรับขยะเต็มจะมีการนำมาคัดแยกในทันที

 

          นายสาและ  ตำบัน  ประธานกลุ่มขยะแลกบุญ กล่าวว่า แนวคิดของคนในหมู่บ้านที่เห็นตรงกันคือ   อยากให้หมู่บ้านสะอาด มีการจัดเก็บขยะเป็นที่เป็นทาง ใช้ประโยชย์จากขยะให้สูงสุด   และจัดหารายได้จากขยะเพื่อมาเป็นส่วนหนึ่งของการทำบุญ  ช่วยเด็กกำพร้าในหมู่บ้าน  โดยทำบุญผ่านมัสยิดในหมู่บ้านชุมชนของตนเอง 

 

          นายอดุลย์  โย๊ะหมาด  คอเต็บมัสยิดดารุสลาม กล่าวว่า  โครงการขยะแลกบุญมีการกำหนดไว้  ในการรับบริจาคขยะแลกบุญด้วยกัน  2 จุดคือ   ที่มัสยิด และ จุดที่สองที่ บาลาย  เงินที่ได้มาจะนำไปช่วยเหลือผู้ยากไร้และมาทำกิจกรรมด้านศาสนาของมัสยิด  ช่วยเหลือเด็กกำพร้า   โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง และยังช่วยแก้ปัญหาขยะได้ด้วย  ทางมัสยิดเองก็จะช่วยประชาสัมพันธ์บอกให้กับทุกคนที่มาร่วมกิจกรรมทางศาสนา  ได้รับรู้ข้อดีของโครงการขยะแลกบุญ  แทนที่จะนำขยะไปทิ้งหรือเผาทำลาย  ก็นำมายังจุดรับบริจาคเพื่อแลกบุญ 

         นายทรงพล  สารบัญ  ผอ.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ฉลุง  กล่าวว่า  สถานการณ์ขยะในชุมชนตำบลฉลุงในปี 2566 มีขยะทั้งปี 1410 ตัน เนื่องจากตำบลฉลุงมี 14 หมู่บ้าน 3,300 ครัวเรือน ทำให้ต้องใช้งบประมาณเยอะในการจัดการขยะนำขยะไปทิ้ง จำนวน 770,000 บาทต่อปี  หากรวมค่าจ้างบริหารจัดการเกือบ 2 ล้านบาทต่อปี

          นายก อบต.ฉลุง จึงเกิดแนวทางการลดปัญหาขยะ  เริ่มแรกจากการทำประชาคมเพื่อปลอดถังขยะ  จากนั้นก็เริ่มสร้างแกนนำชุมชนประชาชนเข้ามาช่วย  โดยใช้ชื่อว่า  “อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก” อถล. ในทุกหมู่บ้าน  เพื่อให้ความรู้ในเรื่องของการคัดแยกขยะในครัวเรือน  การจัดการขยะเพื่อลดปัญหาขยะในตำบล  จากนั้นก็พาไปศึกษาดูงาน  เมื่อได้องค์ความรู้แล้ว  ได้ส่งเสริมให้เกิดการสร้างกลุ่ม  จึงเป็นที่มาของกลุ่มขยะแลกบุญในปัจจุบัน

 

          จุดเริ่มต้นจากแกนนำ อถล.  10 คน โดยมีกำนัน  ผู้ใหญ่บ้านและผู้นำศาสนา  หลังจากทำโครงการสามารถคัดแยกได้จำนวน 3 ครั้ง ผ่านโครงการขยะแลกบุญ   เน้นในเรื่องของการประชาสัมพันธ์เป็นหลัก  จากครั้งที่ 1 มาสู่ครั้งที่ 2 จะเห็นได้ว่าการรับบริจาคขยะเยอะมากขึ้น  ชุมชนชาวบ้านมาร่วมมากขึ้น  ครั้งที่ 3 ขยะเยอะขึ้นกว่าเดิมเยอะ  ชาวบ้านเยาวชนผู้สูงอายุภาคประชาชน  มาร่วมกิจกรรมคัดแยกตั้งแต่เช้า  ถือว่าเป็นการประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง  ในมิติการประชาสัมพันธ์และการลดขยะ  

 

          ที่สำคัญการทำเรื่องขยะมาบวกกับเรื่องบุญ  จะยิ่งทำให้ชุมชนให้ความสำคัญอย่างมาก  เพราะหวังจะได้บุญไม่ได้มีผลประโยชน์อย่างอื่น   ไม่ว่าจะนำเงินรายได้ไปช่วยผู้ยากไร้  แนะนำไปทำนุบำรุงศาสนา  ผู้พิการและให้ทุนเด็กต่างๆ    ทำให้ปี 2567  พบว่าขยะจาก 1,410 ตัน เหลือ1,369 ตัน  ลดไป  312 กิโล   หากคิดเป็นเงินงบประมาณเกือบ 2 แสนบาท  และเตรียมขยายจากหมู่บ้านนำร่องไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ เข้ามาดู   และปีจะจัดการขยายไปทีละหมู่บ้านเพื่อให้ครบทุก 14 หมู่บ้านในตำบลฉลุง  

……………………………………..

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เยาวชน-การศึกษา

ปลูกสำนึกต้นกล้าเยาวชน 50 คนร่วมปล่อยกุ้ง ปลูกป่า เรียนรู้ความอุดมสมบูรณ์ป่าชายเลน เพื่อร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งยั่งยืน

ปลูกสำนึกต้นกล้าเยาวชน 50 คนร่วมปล่อยกุ้ง ปลูกป่า เรียนรู้ความอุดมสมบูรณ์ป่าชายเลน เพื่อร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งยั่งยืน

         ที่เพ็ญทิพย์รีสอร์ท ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูลโดย   นาวาเอกแสนย์ไท    บัวเนียม รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสตูล  ประธานเปิดงาน   พร้อมด้วย  เรือตรีบำรุง  ไตรญาณ  เจ้าหน้าที่ส่งกำลังบำรุง ศรชล.จังหวัดสตูล ศรชล.ภาค 3  รายงานถึงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และ  สื่อมวลชน 

       ถึงการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เพื่อ  “สร้างการรับรู้ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล” เพื่อขับเคลื่อนการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้เกิดความยั่งยืน ในกลุ่มเยาวชนเป้าหมาย 50 คน  จากโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42  ที่มีการจัดขึ้นทุกปีโดยศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสตูล   หรือ ศรชล.สตูล

          ที่เล็งเห็นว่าเยาวชนคือกำลังสำคัญในการมาร่วมดูแลการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้ยั่งยืน  ด้วยการสร้างองค์ความรู้ การปลูกจิตสำนึก  การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแล  ขับเคลื่อนรักษาทรัพยากรทางทะเลของชาติ 

           จากนั้นได้นำเยาวชนทั้ง 50 คน  ร่วมกิจกรรมปล่อยพันธุ์กุ้งกุลาดำ  50,000 ตัว  ที่ริมชายฝั่งป่าชายเลน   ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 24    ตำมะลัง-สตูล  ก่อนที่ปล่อยให้เยาวชนที่เดินชมป่าในเมือง  ที่มีป่าไม้โกงกางที่ขึ้นสวยงามและชื่นชม พันธุ์ไม้ป่าโกงกาง และปู ปลา  ที่อาศัยอยู่ร่วมกับไม้ป่าเป็นห่วงโซ่อาหารที่สำคัญของธรรมชาติ  ก่อนที่ทุกคนจะได้ร่วมกันปลูกป่าชายเลน  200 ต้น  ในพื้นที่ป่าในเมือง  เพื่อสร้างความภาคภูมิใจว่าเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมดูแลปกป้องผืนป่าที่เป็นทรัพยากรทางทะเลที่สำคัญของชาติ

 

          นางสาวนภัสสร   แกสมาน  มัธยมศึกษาปีที่  5 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42  บอกว่า  ป่าชายเลนมีประโยชน์มาก เป็นแหล่งอนุบาลสสัตว์น้ำ  เป็นป่าไม้ที่ให้ความร่มเย็น การช่วยกันปลูกป่าเพิ่มจะทำให้มีออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น  อยากชวนมาร่วมปลูกป่าอนุรักษ์ทรัพยากรของเราให้ยั่งยืนค่ะ

          นางสาวเสาวลักษณ์  สุขพา    มัธยมศึกษาปีที่  5 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42  บอกว่า  วันนี้ได้เรียนรู้ การปลูกป่า  การอนุรักษ์สัตว์น้ำ  การปลูกป่าที่ทดแทนในส่วนที่เสียไป เป็นกิจกรรมที่มีความสุขและสนุกมากค่ะ

          นายเอกชัย  เถรว่อง  ผอ.ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 24  ตำมะลัง-สตูล  กล่าวว่า  มีชุมชนร่วมอนุรักษ์ป่าชายเลน ต.คลองขุด ต.ปูยู  ทม.เมืองสตูล รวบรวมได้   13 ชุมชน แต่ละปีป่าชายเลนสตูลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การบุกรุกน้อยมาก  เพราะการมีส่วนร่วมของชุมชนและเครือข่าย  เพราะเยาวชนเป็นกำลังสำคัญในการอนุรักษ์ป่าชายเลน 

          ด้าน นาวาเอกแสนย์ไท    บัวเนียม รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสตูล  กล่าวว่า   การสร้างผลประโยนชน์ของชาติเริ่มตั้งแต่  การปลูกป่าชายเลน เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ เป็นทรัพยากรของชาติ การให้เยาวชนได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้ว่านี่คือแหล่งอาหาร  เป็นแหล่งรายได้  ทำให้เยาวชนได้เรียนรู้ ที่จะรักษาผลประโยชน์ของชาติต่อไป การทำกิจกรรมปล่อยปลา เรียนรู้วงจรของน้ำรักษาทะเล  ไม่ทำลายปะการัง ไม่ทำลายสัตว์น้ำ  สร้างความรู้ให้เยาวชน และขอฝากประชาชนทั่วไป  ขอให้ทุกคนหวงแหนรักษาไว้เพื่อลูกหลานคนในชาติของเรา  ได้เห็นความสำคัญเรื่องของผลประโยชน์ชาติที่มีความสำคัญมากเพื่อลูกหลานของเรา 

………………………………………………….

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป

นักเรียนปอเนาะ-ครูอาจารย์ร่วมพันคน  ผูกริบบิ้นสีม่วงแสดงพลังจงรักษ์ภักดี สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

นักเรียนปอเนาะ-ครูอาจารย์ร่วมพันคน  ผูกริบบิ้นสีม่วงแสดงพลังจงรักษ์ภักดี สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

         วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ที่บริเวณหน้าลานอาคารเรียนโรงเรียนพัฒนาการศึกษามูลนิธิ (ปอเนาะคลองขุด ) เทศบาลตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล นักเรียนมุสลิมชายหญิง ต่างนำริบบิ้นสีม่วงผูกข้อมือ  ก่อนที่จะเดินขบวนไปรวมตัวหน้าอาคารเพื่อแสดงพลังเจตนารมณ์ ความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  และร่วมอ่านแถลงการณ์ปกป้อง องค์หญิงของราชวงศ์จักรี ของชาวไทย มิให้ใครมาหยามดูหมิ่น และร่วมอ่านดูอาร์ขอพร ให้สมเด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงแข็งแรงยิ่งยืนนาน

          ด้านนางรัตติยา มนุดาหวี   ผู้รับใบอนุญาติ ร.ร.พัฒนาการศึกษามูลนิธิ  /นายกามคมสตรีมุสลิมภาคใต้ /นายกสมาคมสตรีเยาวชนจังหวัดสตูล  ได้ออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนของชาวนักเรียน และครูอาจารย์ มีความจงรักภักดีต่อพระองค์ท่าน และราวงศ์จักรีทุกพระองค์ ก่อนที่อ่านดูอาร์ขอพร  พร้อมกับชูรูปพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  เพื่อแสดงพลังปกป้อง

 

       พร้อมกันนี้จังหวัดสตูล ขอเชิญชวนชาวสตูลร่วมแสดงพลังความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ในวันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 67 เวลา 08.00 น. ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ์ 80 พรรษา ศาลากลางจังหวัดสตูล พร้อมรวมพลังใส่เสื้อสีม่วง

……………………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

ผักสลัดนักกล้ามสตูล  ความลงตัวจากสายสุขภาพ  สู่  “สวนผักใจรัก”       

ผักสลัดนักกล้ามสตูล  ความลงตัวจากสายสุขภาพ  สู่  “สวนผักใจรัก” 

        ทุก ๆ เช้าพี่ดำ หรือนายฐานพัฒน์  แสงเพชร  อายุ 46 ปี จะทำหน้าที่ดูแลผักให้เจริญเติบโตงอกงาม  ทั้งการตรวจวัดค่าปุ๋ยน้ำ  สภาพอากาศที่ไม่ร้อนจัดจนผักเฉา  หรือกระทั้งการเปลี่ยนถ่ายภาชนะใส่ผัก  จากอนุบาล จนโต  ซึ่งงานประเภทแรงงานหนัก ๆ ก็จะเป็นหน้าที่ของพี่ดำเป็นส่วนใหญ่ 

        ส่วนพี่แตน  หรือคุณณิชากร   แสงเพชร   แฟนพี่ดำ  จุดเริ่มต้นจากทั้งคู่รักสุขภาพ  ทดลองปลูกผักทานเอง  จนมาวันนี้ทำหน้าที่การตลาด บริหารจัดการสวนผัก  พร้อมคิดค้นหาสูตรทางสื่อโซเซียล  เพื่อให้ผักงอกงามและปลอดภัยพร้อมส่งต่อให้กับลูกค้า   ที่ชื่นชอบผักสลัดตามออเดอร์  10 ถุงหรือ 5 กิโลกรัม  วันละ 500 บาท โดยผักที่ส่งลูกค้าจะงดให้ปุ๋ย  โดยจะให้น้ำเปล่าแทน  จำนวน 3 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าได้ผักที่ปลอดภัยอย่างแท้จริง 

         ซึ่งพี่ทั้งสองบอกกับเราว่า  สวนผักใจรัก  เกิดจากทั้งคู่รักสุขภาพและอยากจะหาอาชีพที่ทำงานอยู่ด้วยกันที่บ้าน  โดยมาลงตัวที่การปลูกผักสลัด   ทุก ๆ เช้าจะใช้เวลาในช่วงเช้าตรู่ไม่เกิน 10 โมงในการดูแลสวนผัก และช่วงค่ำ   เวลาที่เหลือก็ไปออกกำลังกายและทำในสิ่งที่รักและมีความสุข 

         ผักที่ปลูกส่วนใหญ่ตระกูลผักสลัด  เช่น  กรีนโอ๊ค  จะขายดี  ลูกค้าจะนำไปทำสลัดโรล  , มินิคอส ก็จะเหมาะกับสายปิ้งย่าง  ,  ฟิลเล่  จะมีความกรอบใบหยิกไม่มีรสชาติขม ทางสวนผักจะขายเป็นถุงละ 50 บาท หรือกิโลกรัมละ 100 บาท  โดยมีผักหลายชนิดรวมกัน  เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงผักเหล่านี้ได้ง่าย 

          สนใจสามารถติดต่อได้ที่ เบอร์โทร. 082-308-2141 ,  098-013-1768  หรือเพจสวนผักใจรัก   สำหรับทางสวนผักใจรัก  จะส่งขายตามออเดอร์เท่านั้น 

………………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

เลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้า สายพันธุ์โมจีน สัตว์เศรษฐกิจทำเงิน       

  เลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้า สายพันธุ์โมจีน สัตว์เศรษฐกิจทำเงิน

เลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้า สายพันธุ์โมจีน สัตว์เศรษฐกิจทำเงิน
………………………….
ตั๊กแตน ปา ทัง ก้า สายพันธุ์โมจีน จำนวนมากนี้ ใช้เวลาเพียงเดือนเศษ ซึ่งเป็นของ นายคุณากร อนุพันธ์ อายุ 43 ปี ชาวศรีสะเกษที่ได้มาตั้งรกราก อยู่ที่บ้านเจาะบากง ม.3 ต.ปูโยะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส โดยใช้ที่ดิน 5 ไร่ ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามบ้านพัก สร้างโรงเรือน มุงไนลอนสีฟ้าและใช้ผ้าพลาสติกสีขาวคลุมด้านบนเป็นหลังคา เลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้า สายพันธุ์โมจีน จำนวน 6 หลัง ซึ่งผ่านการเลี้ยงมาแล้ว 4 รุ่น แต่ละรุ่นจะใช้ระยะเวลา 30 ถึง 35 วัน สามารถจับจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 500 บาท

จากความนิยมกินตั๊กแตนในภาคอีสาน มาวันนี้ตลอดทั่วทุกภาคเริ่มยอมรับสัตว์เศรษฐกิจชนิดนี้ สร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการหันมาเลี้ยงตั๊กแตนเจ้าแรกในพื้นที่ อ.สุไหงโก-ลก โดยสั่งซื้อไข่จากภาคอีสานในราคาขีดละ 1,000 บาท หรือ กิโลกรัมละ 10,000 บาท เพื่อเพาะเลี้ยง การเลี้ยงตั๊กแตนเป็นสัตว์ที่ใช้ต้นทุนในการเลี้ยงไม่มากนัก ลงทุนครั้งแรกและครั้งเดียวเพียง 2,000 ถึง 25,000 บาท

อาหารที่ใช้เลี้ยงตั๊กแตนก็หาได้ตามธรรมชาติ จำพวกใบหญ้าสด ใบตองสด ใบมะพร้าวสดและใบอ้อยสด เพาะเลี้ยงด้วยใยหรือขุยมะพร้าวแล้วรดน้ำให้ชุ่มชื่น โดยใช้เวลาประมาณ 1 ถึง 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะเห็นไข่ฟักเป็นตัวอ่อนเล็กๆสีน้ำตาล ให้อาหารวันละ 3 เวลา เพราะตั๊กแตนจะกินอาหารตลอดทั้งวัน

ส่วนพื้นที่ ก็เลี้ยงกับดิน มีกองทรายไว้ให้ตั๊กแตนวางไข่ เมื่อตั๊กแตนมีอายุได้ประมาณ เกือบ 1 เดือน ตั๊กแตนก็จะเริ่มจับคู่ ลักษณะที่เห็นง่ายๆ คือ มันจะขี่หลังกันและตัวเมียก็จะเริ่มวางไข่ ก็จะสามารถจับจำหน่ายได้เลยในช่วงนี้

ปล่อยเสียง คุณากร อนุพันธ์ เกษตกรเลี้ยงตั๊กแตน

สนใจติดต่อสอบถามได้ทางเฟซบุ๊ก คุณากร อนุพันธ์ หรือโทร 084-7658773
…………………………
ปทิตตา หนดกระโทก ผู้สื่อข่าว ส่องใต้นิวส์รายงาน

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

   เมื่อชีวิตถึงทางตัน…ผู้ใหญ่เกรียงไกรชี้ทางรอด  เศรษฐกิจพอเพียงพลิกฟื้นชีวิต  คืนความสุขที่แท้จริงชวนบุตรสาวจบ ป.ตรี สร้างรายได้จากเกษตรรับเงินแสนต่อเดือน     

เมื่อชีวิตถึงทางตัน…ผู้ใหญ่เกรียงไกรชี้ทางรอด  เศรษฐกิจพอเพียงพลิกฟื้นชีวิต  คืนความสุขที่แท้จริงชวนบุตรสาวจบ ป.ตรี สร้างรายได้จากเกษตรรับเงินแสนต่อเดือน   

          หลังจากตัดสินใจโค่นล้มแปลงสวนยางพาราเกือบทั้งหมดเพื่อทำสวนผสม  ภายใต้ชื่อ   “สวนผู้ใหญ่เกรียง สวนผสมเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยพ่อ” ตั้งอยู่บนพื้นที่หมู่ 5 ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล  โดยแบ่งพื้นที่ปลูกฝรั่งหงเป่าสือ จำนวน 40-50 ต้น  ที่เริ่มทยอยให้ผลผลิตออกจำหน่าย  

          นายเกรียงไกร   ศรีสงคราม  ผู้ใหญ่บ้าน  (ยอมรับว่าครอบครัวบาดเจ็บจากการธุรกิจอื่นจนล้มลุกคลุกคลานตั้งแต่โควิดที่ผ่านมา)   จึงคุยกับครอบครัวและบุตรสาว  นางสาวเจียรนัย  ศรีสงคราม  หรือ  น้องโม หลังเรียนจบปริญญาตรี  ตัดสินใจหันมาช่วยเหลือครอบครัวทำเกษตรสวนผสม  เศรษฐกิจพอเพียงอย่างเต็มตัว  นับเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีใจรักด้านเกษตร    โดยพื้นที่ทางการเกษตรทั้งสิ้น 20 ไร่  หลังตัดสินใจโค่นต้นยางพารา   แล้วแบ่งพื้นที่ทางการเกษตรออกเป็น 3 ส่วน

        โดยในแต่ละส่วนจะมีกิจกรรมด้านการเกษตรทุกพื้นที่  ซึ่งพืชที่มีอยู่ภายในแปลงมีความหลากหลาย แต่ในส่วนที่สามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนได้แก่    ฝรั่งหงเป่าสือ จำนวน 40-50 ต้น  ในช่วงแรก   และเพิ่มมาเป็น 500 ต้น จำหน่ายในราคา 60 บาท   ซึ่งในช่วงการห่อผลจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนครึ่ง  ถึงจะเก็บผลผลิตได้    โดยสามารถเก็บผลผลิตได้ 1-2 เดือน ประมาณ 30-40 กิโลกรัม/ต้น     อีกทั้งยังมีการชำกิ่งพันธุ์ขายด้วยในราคา กิ่งละ 50 บาท  และการผลิตกิ่งพันธุ์โดยส่วนใหญ่จะทำตามออร์เดอร์ลูกค้า จำหน่ายแล้ว 1,000 กิ่ง

         นอกจากนี้ได้ลง   ตะไคร้ (ไคร้หยวก) จำนวน 10,000 กอ และสามารถสร้างรายได้ให้ทุกวันๆละ 2,000 บาท โดยขายกิโลกรัมละ 10 บาท 1 วันจะส่งสินค้าจำนวน 200 กิโลกรัม โดยตลาดส่วนใหญ่เป็นตลาดมาเลเซีย และโรงเครื่อง ที่จังหวัดตรัง ระยะเวลาการเก็บผลผลิตได้ประมาณ 4-5 เดือน  โดยมีวิธีการดูแลอย่างดี น้ำไม่ขาด และมีวิธีการใส่ปุ๋ย  คือ   ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ขี้ไก่) รองก้นหลุมประมาณ 1 กำมือ อีก 1 เดือนใส่อีก 1 กำมือ บวกกับขี้ค้างคาวอัดเม็ด

        และในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเพิ่มพื้นที่การผลิตอีกประมาณ 50 ไร่ และจะมีการร่มกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกตะไคร้ประมาณ 6 รายเพิ่มเติม  เพื่อขยายพื้นที่และสินค้า   ส่วน กล้วย สะตอ ข้าวโพด ทุเรียน คาดการณ์ว่าในปี 2568 จะเริ่มให้ผลผลิต   สนใจติดต่อ  เบอร์โทร 083 – 1912198   (FB : Jiaranai Srisongkram) 

        ขณะที่นางสาวมนัสนันท์   นุ่นแก้ว   เกษตรอำเภอละงู    บอกว่า  ที่เข้ามาช่วยส่งเสริมการลดต้นทุนผลผลิตด้วยการทำปุ๋ยน้ำหมักแห้ง  ลดการใช้สารเคมี  และการแนะนำให้เกษตรกรไปขอใบรับรองมาตรฐาน GAP เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค  ผลผลิตออกจากแปลงนี้ปลอดภัยจริง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่า อนาคตอาจจะส่งตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตของเกษตรกรได้

……………………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

   สุดปัง!  ข้าวเหนียวปิ้งโบราณเตาถ่าน  ก่อนฟ้าสว่างขายหมดเกลี้ยงแผง   ขายมายาวนานกว่า 60 ปี  

สุดปัง!!  ข้าวเหนียวปิ้งโบราณเตาถ่าน  ก่อนฟ้าสว่างขายหมดเกลี้ยงแผง   ขายมายาวนานกว่า 60 ปี

         ความเรียบง่ายตามแบบฉบับวิถีภูธรที่ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล  ทันทีที่ท้องฟ้าจวนสว่าง  ที่ร้านของม๊ะเซาะ  หรือ นางสาวเบญพร   มะแอเคียน   อายุ 66 ปี  กำลังเร่งมือทำข้าวเหนียวปิ้งโบราณ  เพื่อปิ้งเตาถ่านที่ใช้กะลามะพร้าวเป็นเชื้อเพลิง  โดยนำมาเผาเป็นถ่าน เพื่อใช้ในการปิ้งข้าวเหนียวให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า  ที่มารอภายในร้านตั้งแต่เช้ามืด 

          โดยการทำข้าวเหนียวปิ้งสูตรโบราณ  ที่นี่มีความหอมมัน  นิ่มหวาน  อร่อยกำลังดี (โดยสูตรมีข้าวเหนียว กะทิ น้ำตาล  เกลือนิดหน่อยนำมามูล) แล้วห่อด้วยใบตอง ก่อนนำมาปิ้ง    การปิ้งจะใช้เหล็กหนีบครั้งละ 4 ห่อ แล้วปิ้งกลับไปมา (ซึ่งอดีตจะใช้ไม้ไผ่)  วันนึงทำครั้งละ 8-15 กิโลกรัม  ลูกค้าดั้งเดิมที่ชื่นชอบรสชาตินี้  ตั้งแต่รุ่นแม่ของ  ม๊ะเซาะ  และเด็กรุ่นใหม่ก็ยังชื่นชอบ  มารอซื้อกลับไปทานตั้งแต่ใกล้รุ่ง  นับเป็นเจ้าอร่อยเด็ดดัง มากว่า 60 ปี  ที่ชาวบ้านในระแวกนี้รู้จักคุ้นเคยกันดี  ร้านนี้ขายมาเป็นรุ่นที่ 2 ราคาเพียงชิ้นละ 5 บาท 

       ทางร้านยังขายคู่กับน้ำชากาแฟ แก้วละ 10 บาท ลูกค้าที่ตื่นเช้า   หลังเสร็จจากประกอบศาสนกิจทางศาสนา  ก็จะแวะมานั่งทานกันตั้งแต่เช้ามืด  เป็นอย่างนี้อยู่ทุกๆวัน  เพราะหากมาช้าอาจจะไม่ได้ลิ้มรสชาติของข้าวเหนียวปิ้งสูตรโบราณ  ที่ขายถึง 7 โมงเช้าเท่านั้น   ข้าวเหนียวปิ้งก็หมดแล้ว  ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับม๊ะเซาะ   วันละ 1,500 ถึง 2,000 บาท  (ซึ่งเป็นรายได้รวมกับขายน้ำชา )

         ม๊ะเซาะ  หรือ นางสาวเบญพร   มะแอเคียน อายุ 66 ปี  แม่ค้าขายข้าวเหนียวปิ้งโบราณ   กล่าวเพิ่มเติมว่า  ข้าวเหนียวปิ้งโบราณนี้ขายดีมาก   ต้องตื่นมาตั้งแต่ตี 4 หัวรุ่ง  เพื่อมาเตรียมก่อไฟเตาถ่าน และ ช่วงตี 5 เริ่มปิ้งขาย ขายดีทุกวัน เวลาประมาณ 07.00 น . ก็หมดเกลี้ยงทุกวัน  หากในช่วงฤดูผลไม้ ก็จะปรับแนวสอดไส้ ลงไป เช่น ข้าวเหนียวปิ้งโบราณไส้ทุเรียน   หรือจะมีข้าวเหนียวปิ้งไส้เผือก ไส้กุ้ง

           หากลูกค้าสนใจติดต่อสอบถาม   065 037 4358  พิกัดปากทางเข้าตลาดนัดวันพุธ   (ตลาดนัดเทศบาลตำบลควนโดน)  เปิดเวลา   05.00 น – 18.00น ทุกวัน  

……………………………….

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เยาวชน-การศึกษา

ศรชล.ร่วมกับ พสบ.สตูล  ปลูกสำนึกรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ในเยาวชนเกาะบุโหลน

ศรชล.ร่วมกับ พสบ.สตูล  ปลูกสำนึกรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ในเยาวชนเกาะบุโหลน

          ที่โรงเรียนบ้านเกาะบุโหลน  ตำบลปากน้ำ  อำเภอละงู  จังหวัดสตูล  นายศักระ   กปิลกาญจน์   ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะ (ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสตูล หรือ ผอ.ศร.ชล) นำหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง   อาทิ   ศูนย์ควบคุมความมั่นคงทางทะเลจังหวัดสตูล (ศคท.จว.สต.) ร่วมกับ หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลเกาะหลีเป๊ะ (สตูล) ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลจังหวัดสตูล อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา หน่วยรักษาความปลอดภัยทางทะเลกองทัพเรือเกาะหลีเป๊ะ เรือ ต.996

 

          มาร่วมเปิด  “กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์สร้างความรับรู้ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และเก็บขยะชายหาดที่เกาะบุโหลนดอน”    โดยมีนาวาเอกแสนย์ไท   บัวเนียม  รอง ผอ.ศร.ชล จ.สตูล และนางสาวสุภาพรรณ  สุนทรารชุน   ประธานกลุ่มผู้ผ่านหลักสูตรพัฒนาสัมพันธ์ระดับผู้บริหารกองทัพภาคที่ 4  หรือ  พสบ.สตูล   ร่วมกันจัดกิจกรรมในครั้งนี้ขึ้น

 

          เพื่อบูรณาการความร่วมมือของภาครัฐและกลุ่มเอกชนนับเป็นพลังความสามัคคีทำให้เกิดสาธารณประโยชน์  , เพื่อสร้างความรับรู้   การร่วมกิจกรรมด้วยการเก็บขยะชายหาดและคัดแยกขยะ   เพื่อนำเข้าโครงการขยะปันสุขของจังหวัดสตูล   ปลูกฝังให้เยาวชนได้รับรู้ถึงการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล   การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล  และชายฝั่งรวมถึงการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  คณะครู นักเรียนร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ 350 คน ก่อนจะร่วมกันรับประทานอาหารกลางวันที่ผู้ใหญ่ใจดีนำมาเลี้ยงครู นักเรียน และชาวบ้านที่มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

……………..

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 สตูล – ชี้เป้าของอร่อย  อิ่มจุก ๆ ก๋วยเตี๋ยวมะระบุพเฟ่ต์ เติมไม่อั้น เพียงหัวละ 59 บาท   

สตูล  ชี้เป้าของอร่อย  อิ่มจุก ๆ ก๋วยเตี๋ยวมะระบุพเฟ่ต์ เติมไม่อั้น เพียงหัวละ 59 บาท 

         ชี้เป้าของอร่อย อิ่มจุก ๆ ที่ร้าน สี่พี่น้องก๋วยเตี๋ยวมะระบุพเฟ่ต์ เติมไม่อั้น เพียงหัวละ 59 บาท  ร้านนี้ตั้งอยู่ตรงข้าม  “ดิยางยนต์”  ตำบลกำแพง  อำเภอละงู  จังหวัดสตูล แม้จะเปิดได้เพียง 3 เดือนแต่ลูกค้าแวะเวียนมาอุดหนุนกันไม่ขาดสาย  เพราะด้วยส่วนผสมที่ทางร้านเติมกันไม่อั้นให้ได้เลือกสัน  ไม่ว่าจะเป็น  เนื้อไก่  ตีนไก่  ตับไก่ ข้อต่อไก่ ปลายปีกไก่ และมะระต้มสุก 

 

       ลูกค้าร้านก๋วยเตี๋ยวไก่มะระ  บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า  รสชาติอร่อย  คุ้มเกินราคา  อิ่มจุกๆ    

 

          ด้าน นางสาวนูรอัยนี  ปานนพภา  เจ้าของร้านฯ  บอกว่า  ก๋วยเตี๋ยวมะระบุพเฟ่ต์  เป็นสูตรเดียวกันที่เปิดขายในจังหวัดสมุทรปราการ  อยากให้ลูกค้ากินอิ่ม  ทางร้านเปิดครั้งแรกใช้ไก่วันละ 900 กิโลกรัม  เส้นก๋วยเตี๋ยวใช้หลายร้ายกิโลกรัมเช่นกัน  โดยลูกค้าหลากหลายวัย  เคยมีคนกินและเติมมากสุดถึง 5 ชามก็คิดในราคาเดียวกันคือ 59 บาท   ส่วนเด็ก 3-5 ปีคิดเพียงชามละ 29 บาท เด็ก 6-8 ปี เพียงชามละ 39 บาท ส่วนเด็ก 9-11 ปี เพียง 49 บาท  (ส่วนเด็ก ต่ำกว่า 3 ปีให้ทานกันฟรีไปเลย) แต่!! หากทานไม่หมดปรับเพิ่ม 39 บาท  ร้านเปิดทุกวันไม่มีวันหยุด ตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึง 2 ทุ่ม  

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป ท่องเที่ยว-กีฬา

พ่อเมืองสตูลนำคณะ ต้อนรับ Datuk Armizan Bin Mohd Ali รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าภายในประเทศและค่าครองชีพมาเลเซีย และคณะ ในโอกาสเยือนจังหวัดสตูล

พ่อเมืองสตูลนำคณะ ต้อนรับ Datuk Armizan Bin Mohd Ali รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าภายในประเทศและค่าครองชีพมาเลเซีย และคณะ ในโอกาสเยือนจังหวัดสตูล

         วันที่ 20 ม.ค.2567  นายศักระ  กปิลกาญจน์  ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล  ให้การต้อนรับ Datuk Armizan Bin Mohd Ali รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าภายในประเทศและค่าครองชีพมาเลเซีย  และคณะ  ในโอกาสเยือนจังหวัดสตูล ณ ด่านวังประจัน ต.วังประจัน อ.ควนโดน จ.สตูล  เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการค้าชายแดนระหว่างจังหวัดสตูลและรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย  โดยมีนางสาวธัญรัศม์  ไตรพันธ์รัชตะ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสตูล พร้อมด้วยพาณิชย์จังหวัดสตูล แรงงานจังหวัดสตูล นายด่านศุลกากรวังประจัน ผู้กำกับการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสตูล นายอำเภอควนโดน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมให้การต้อนรับ

.

            ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าภายในประเทศและค่าครองชีพมาเลเซีย พร้อมด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล และคณะ ได้ลงพื้นที่พบปะพูดคุยกับพ่อค้าแม่ค้าบริเวณตลาดด่านชายแดนวังประจัน ซึ่งจำหน่ายสินค้าหลากหลายไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าทางการเกษตร สินค้านำเข้าจากต่างประเทศ และขนมหลากหลายชนิด ซึ่งบรรยากาศในวันนี้พบนักท่องเที่ยวเดินทางเข้า-ออก เพื่อจับจ่ายซื้อของและท่องเที่ยวพักผ่อนอย่างคึกคัก นอกจากนี้ได้ร่วมพูดคุยหารือถึงความร่วมมือเรื่องการค้าชายแดนระหว่างจังหวัดสตูลและรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย อีกด้วย

……………………..

ภาพ-ข่าว : ศุภาพิชญ์ ดวงไข / ส.ปชส.สตูล

อัพเดทล่าสุด