Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูล – เริ่มแล้วเทศกาลผลไม้  วันจำปาดะสตูล   21-23 ก.ค.66   เหล่าผู้นำ  ชิม  โชว์  เปิดงานเรียกน้ำย่อยยืนยันความอร่อย ขณะที่เพื่อนบ้านมาเลเซียเข้าช้อปกันไม่ขาดสาย

สตูล  เริ่มแล้วเทศกาลผลไม้  วันจำปาดะสตูล   21-23 ก.ค.66   เหล่าผู้นำ  ชิม  โชว์  เปิดงานเรียกน้ำย่อยยืนยันความอร่อย ขณะที่เพื่อนบ้านมาเลเซียเข้าช้อปกันไม่ขาดสาย

         ที่ลานอเนกประสงค์ เทศบาลตำบลฉลุง อ.เมือง  จ.สตูล  สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสตูล  พร้อมด้วย  องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล   จัดงาน  “เทศกาลผลไม้ ของดีสตูล’66” และวันจำปาดะ   ระหว่างวันที่ 21-23 กรกฎาคม 2566   โดยภายในงาน  มีการนำผลไม้พื้นเมืองและผลไม้ที่ขึ้นชื่อ  ภายในจังหวัด  มาร่วมจัดแสดง อาทิ  จำปาดะขวัญสตูล กระท้อนนาปริก ทุเรียนบ้านโตน    และอีกมากมาย  รวมทั้งจัดการประกวดผลไม้  เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติเด่น  ในการเพิ่มมูลค่าและอนุรักษ์สายพันธุ์   ให้มีคุณภาพยิ่ง ๆ ขึ้นไป 

         นอกจากนี้ภายในงาน  มีการแสดงสินค้าพืชผลทางการเกษตร  ไม่ว่าจะเป็นจำปาดะ  โดยเฉพาะพันธุ์ขวัญสตูลที่โดดเด่น จำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 80 บาท ทั้งผลสดและการแปรรูปเป็นแบบทอด  การจำหน่ายพันธุ์ทุเรียน พันธุ์กระท้อน และพันธุ์จำปาดะ  รวมทั้งผลผลิตทางการเกษตรอื่น ๆ  อีกมากมาย ผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ทางสำนักงานพัฒนาชุมชนสตูล  คัดสรรมาร่วมออกบูธ นอกจากนี้   ยังมีบูธอาหารจานเด็ด  มัดรวมของอร่อยสตูล

 

       การจัดงานในครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการปลูก  และประชาสัมพันธ์ผลไม้อัตลักษณ์ท้องถิ่นสตูล   ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ส่งเสริมด้านการตลาด ให้ผู้ซื้อพบผู้ผลิต  และกระตุ้นให้เกษตรกรผลิต   ผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ  เป็นที่ต้องการของตลาด  อีกทั้ง   ยังส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสตูล  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจในจังหวัด

      และไฮไลท์การเปิดงานในครั้งนี้มี  นายสัมฤทธิ์  เลียงประสิทธิ์  นายกอบจ.สตูล  ประธานเปิดงาน  นางปุณณานันท์  ทองหยู  ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสตูล  และททท.สำนักงานสตูล และบรรดาผู้นำท้องถิ่นในจังหวัดสตูล  ที่มาร่วมเปิดงานด้วยการชูความอุดมสมบูรณ์ของผลผลิตที่ลูกใหญ่  ลูกโต  ผลหวาน  ปลอดภัยจากสารเคมี และชิมโชว์ความเอร็ดอร่อย   เรียกน้อยย่อยได้ไม่น้อย

       สำหรับบรรยากาศภายในงาน   นักท่องเที่ยวภายในและต่างจังหวัด  รวมทั้งนักท่องเที่ยวต่างแดนในมาเลเซีย  เข้าชิม ช็อป ชมงานกันไม่ขาดสาย

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูล-ผู้ดูแลและผู้พิการ ทำน้ำพริก (ปลาร้า-ปลาจิงจัง) ลดรายจ่าย สร้างรายได้ สร้างคุณค่าให้กับตัวเอง

สตูล-ผู้ดูแลและผู้พิการ ทำน้ำพริก (ปลาร้า-ปลาจิงจัง) ลดรายจ่าย สร้างรายได้ สร้างคุณค่าให้กับตัวเอง

        ที่ห้องประชุมศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ  เทศบาลตำบลคลองขุด  อ.เมือง จ.สตูล   ผู้ปกครองและน้องๆ ที่มีความพิการทางร่างกายและสติปัญญา  ได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมอาชีพ  แก่ผู้พิการและผู้ดูแลคนพิการ จำนวน 30 คน  ซึ่งศูนย์บริการคนพิการเทศบาลตำบลคลองขุด  ร่วมกับ พมจ.สตูล  กิจกรรมจัดขึ้นเป็นหลักสูตร 1 วัน   

        ในการสอนทำน้ำพริกปลาจิ้งจั้ง  และน้ำพริกปลาร้า  ซึ่งเป็นเมนูที่ได้รับความนิยม  ขายง่าย  และไม่ยุ่งยาก  โดยน้อง ๆ ที่มีความพิการสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง  ในการร่วมทำกิจกรรม อาทิ  การปอกหอม หรือ การเด็ดพริก  เด็ดกระเทียมตามความสามารถที่เขาจะทำได้  เพื่อให้ผู้พิการและผู้ดูแลได้มีอาชีพติดตัว  และมีรายได้ในการจุนเจือครอบครัว พร้อมกับ  รู้จักคุณค่าในตัวเอง

         โดยนายสุนทร  พรหมเมศร์  นายกเทศมนตรีตำบลคลองขุด  บอกว่า  งบประมาณที่ พมจ.สตูล อุดหนุนมาในครั้งนี้   จะเป็นทักษะในการให้ทั้งผู้พิการและผู้ดูแลมีรายได้เสริม  หรืออาจเป็นรายได้หลัก  มาช่วยเหลือครอบครัวได้อีกทางหนึ่ง  พร้อมทั้ง  เป็นการสร้างกำลังใจที่ดี ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้  ซึ่งการอบรมในครั้งนี้  ให้ความรู้ด้านเทคนิคการทำ   ก่อนไปประกอบอาชีพหลักหรืออาชีพเสริม  ซึ่งจุดเด่นของการทำน้ำพริกคือ  สามารถหาวัตถุดิบในการทำได้ในพื้นที่

        ขณะที่  นางหนูผัด  เตยแก้ว   ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลผู้พิการ  บอกว่า  เป็นโครงการที่จะให้ทุกคนได้ร่วมกันทำ  ในส่วนที่ทำได้ และอีกทั้งยังสามารถขายได้จริง เพราะน้ำพริก เป็นเมนูที่ได้รับความนิยมซื้อรับประทานกันเป็นส่วนใหญ่

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูล-อิหม่ามนำชาวบ้านขอดุอาร์ บรรพบุรุษ  ที่มอบทุเรียนพื้นบ้านโบราณอายุ 217 ปี  ให้มีลูกดกนับหมื่นลูกต่อปี

สตูล-อิหม่ามนำชาวบ้านขอดุอาร์ บรรพบุรุษ  ที่มอบทุเรียนพื้นบ้านโบราณอายุ 217 ปี  ให้มีลูกดกนับหมื่นลูกต่อปี

         ภายในสวนทุเรียน  หมู่ 3 บ้านหัวกาหมิง  ต.ทุ่งนุ้ย  อ.ควนกาหลง  จ.สตูล  อิหม่าม  ผู้นำศาสนาอิสลามพร้อมชาวบ้าน  มาร่วมสวดดุอาร์ขอพร   ให้กับนางสาวอรัญนาถ   ฉลาดเลิศ อายุ 53 ปี  เจ้าของสวนทุเรียนโบราณอายุ 217 ปี ที่ทำนูหรี ด้วยการใช้ทุเรียนโบราณจำนวน 50 ลูก (ซึ่งประเพณีงานบุญจัดเลี้ยงอาหารอย่างไม่เป็นทางการ) โดยทางเจ้าของสวนต้องการจะทำบุญเลี้ยง  และขอบคุณบรรพบุรุษที่มอบต้นทุเรียนโบราณพันธุ์ซุ้มหมู  ให้มีผลผลิตในแต่ละปีไม่น้อยกว่า 10,000 ลูก เช่นเดียวกันกับปีนี้   ที่ให้ผลผลิตมากถึง 2 รุ่น

          ปัจจุบันทุเรียนโบราณต้นนี้   ตั้งเด่นตระหง่านเพียงต้นเดียว  สูงขนาด ตึก 8 ชั้น และใหญ่มากถึง 21 คนโอบ  ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั้งใกล้และไกล  สั่งซื้อกันไม่ขาดสาย  ด้วยสายพันธุ์ที่มีรสชาติเนื้อครีม หวานกำลังดีกลิ่นไม่แรง  ทำให้หลายคนติดใจ สั่งซื้อในราคากิโลกรัมละ 80 บาท และสั่งต้นพันธุ์ขายในราคาต้นละ 600 บาท  เพื่อนำไปปลูก

          นางสาวอรัญนาถ   ฉลาดเลิศ  เจ้าของสวนทุเรียนโบราณ  บอกว่า  ปกติทุกปีจะทำนูหรี  เพื่อเลี้ยงญาติพี่น้อง  และทำบุญให้กับบรรพบุรุษที่มอบต้นทุเรียนโบราณต้นนี้  มาให้มีผลผลิตดีทุกปี และยืนต้นสง่า งดงามจนเป็นที่รู้จักกล่าวขานไปทั่วประเทศถึงอายุที่ยืนยาว

         ด้าน นางอภิวันท์  ทองแท่น  เกษตรอำเภอควนกาหลง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอควนกาหลง  บอกว่า  ทางเจ้าของสวน มีความตั้งใจจะอนุรักษ์ ดูแลทุเรียนพันธุ์ดังกล่าวเป็นอย่างดี เพื่อให้ลูกหลานและผู้คนที่หลงใหล  ในการลิ้มรสทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองได้ชิม

         ทุเรียนบ้านโบราณพันธุ์ซุ้มหมู ความเป็นมา จากอดีต   จุดนี้เคยเป็นสถานที่อยู่ของหมูป่า และตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น  ตั้งแต่พ.ศ.2349 ในสมัยรัชกาลที่.5  ราคาสูงกว่าทุเรียนบ้านทั่วไป  เนื่องจากมีความพิเศษ  ตรงที่เนื้อของทุเรียน แม้จะเป็นสีขาวนวล แต่เนื้อแน่นหนา ไม่ขม กลิ่นไม่ฉุนแรงเหมือนทุเรียนบ้านทั่วไป  และกรอบนอกนุ่มใน เม็ดเล็ก ลูกมีหลายขนาด ซึ่งเจ้าของต้องรอให้สุกหล่นจากต้นเท่านั้น  ถึงจะเก็บมากินหรือจำหน่ายได้  เนื่องจากต้นมีความสูงใหญ่มาก   ต้นทุเรียนบ้านโบราณ พันธุ์ซุ้มหมูนี้  ยังได้รับประกาศเกียรติบัตรการันตี จากอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม  ให้เป็น  รุกขมรดกของแผ่นดินใต้ร่มพระบารมี เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2561

…………………………

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูล – เกษตรกรเมืองสตูลหันมาปลูกสับปะรดแซมยางพาราก้าวผ่านปัญหาราคายางพาราตกต่ำรับรายได้ 4 แสนบาทต่อปี

สตูลเกษตรกรเมืองสตูลหันมาปลูกสับปะรดแซมยางพารา ก้าวผ่านปัญหาราคายางพาราตกต่ำ  รับรายได้ 4 แสนบาทต่อปี

         จากสภาพปัญหาราคาผลผลิตยางพาราในปัจจุบันที่ตกต่ำผนวกกับปัจจัยการผลิตมีราคาสูง จึงได้ปรับเปลี่ยนจากพื้นที่ปลูกยางพาราเดิมเป็นแปลงสับปะรด โดยเริ่มจากการปลูกแซมภายในแปลงยางพาราที่อายุไม่เกิน 3 ปี ซึ่งการปลูกแซมในแปลงยางพารานั้น   ไม่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของยางพาราแต่ตรงกันข้ามการปลูกสับปะรดในแปลงทำให้การเจริญเติบโตของต้นยางพาราดีขึ้น    เนื่องจากยางพาราได้รับธาตุอาหารจากปุ๋ยที่ใส่ให้กับสับปะรด เมื่อไหร่ที่ต้องปลูกยางพาราใหม่ก็จะใช้สับปะรดเป็นพืชแซมในสวนยาง เสริมด้วยไม้ผลบริเวณรอบแปลง  และแบ่งพื้นที่ไว้บางส่วนในการขุดสระเก็บน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูกในฤดูแล้ง และใช้วิธีการทางธรรมชาติโดยการเลี้ยงผึ้งโพรงเพื่อช่วยในการผสมเกสรเพิ่มโอกาสในการติดผล

          โดยนายอิสมาแอน ไชยมล บ้านเลขที่ 161 หมู่ที่ 6 ตำบลควนโพธิ์ อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูลเป็นเกษตรกรที่ปลูกสับปะรดปลอดภัย ตามระบบการจัดการคุณภาพ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (Good Agriculture Practices : GAP)  สับปะรดในแปลงได้รับมาตรฐานการรับรองสินค้า Q ซึ่งบ่งบอกว่าเป็นสับปะรดที่มีมาตรฐาน คุณภาพ และความปลอดภัย   จำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 15-20 บาทรายได้จากการจำหน่ายสับปะรด  400,000 บาท/ปี ส่วนใหญ่จะมีแม่ค้ามารับเองที่สวนและจำหน่ายในพื้นที่ ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบเรื่องของตลาด   

           สำหรับเทคนิคการปลูกสับปะรดของนายอิสมาแอน ไชยมล คือ วางแผนบังคับให้ผลผลิตออกไม่พร้อมกันทีเดียวทั้งแปลง เพื่อป้องกันผลิตออกมามากจนเกินไปจนส่งผลกระทบต่อราคาผลผลิต   มีการจดบันทึกทำปฏิทินการผลิต  อีกทั้งยังมีการเปิดหน้าร้านเพื่อจำหน่ายผลผลิตเองที่หน้าสวนให้ผู้บริโภคโดยตรง สามารถกำหนดราคาสับปะรดเองได้    หลีกเลี่ยงการถูกกดราคารับซื้อผลผลิตจากพ่อค้าคนกลาง

             ด้วยแนวคิดดังกล่าวจึงได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนการผลิตพืชเดิมจากยางพารามาเป็นสับปะรดด้วยสภาพพื้นที่ที่มีความเหมาะสม   เป็นพืชทนแล้งและผลผลิตมีราคาดี สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวให้มีวิถีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นแบบอย่างและแนวทางให้แก่เกษตรกรผู้ที่สนใจจะปรับเปลี่ยนชนิดพืชในพื้นที่ได้นำไปปรับใช้ในแปลงของตนเองได้ สร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้แก่ชุมชนและเกษตรกรผู้ที่สนใจต่อไป

………………………………

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

  เกษตรกรสตูลนักประดิษฐ์ไอเดียเจ๋ง   เลี้ยงไส้เดือนคอนโดนตัวโตบนกระเบื้อง

เกษตรกรสตูลนักประดิษฐ์ไอเดียเจ๋ง   เลี้ยงไส้เดือนคอนโดตัวโตบนกระเบื้อง

       ที่จังหวัดสตูล  หมู่ที่ 4 ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง เกษตรกรจังหวัดสตูลดีกรีอดีตคุณครูนักประดิษฐ์ชั้นนำของจังหวัด  และเคยประกวดสิ่งประดิษฐ์มากมาย (อาทิ เครื่องล้างรังนก เครื่องเก็บผลปาล์มร่วง) ที่ขึ้นชื่อผู้อยู่เบื้องหลังสิ่งประดิษฐ์มากมายระดับภาคและระดับประเทศ  มาวันนี้ได้หลังเกษียณราชการในตำแหน่งครูช่างไฟฟ้า  ได้หันหน้ามาเป็นเกษตรกรเต็มตัวเริ่มจากการทำสวนปาล์มน้ำมัน และฟาร์มไส้เดือนแบบคอนโดนโดยเลี้ยงบนกระเบื้อง  (เพื่อตอบโจทย์ผู้สูงวัยที่ไม่ต้องยกกะละมังขึ้นลงในการหาความชื้น)

       นายปิยะพงศ์ ชัยยะวิริยะ  เกษตรกร (อดีตคุณครู หรือที่รู้จัก โกหลาย)  บอกว่า  ก่อนหน้านี้ใช้กะละมังเลี้ยงไส้เดือน ดูแล้วนับวันจะปวดหลังเพราะต้องยกขึ้นลงเพื่อกำหนดความชื้นให้ไส้เดือน  เมื่อเปลี่ยนมาเป็นกระเบื้องและใช้ผ้าพรมปูในรถยนต์คลุมไส้เดือนป้องกันความชื้นได้เป็นอย่างดี  อีกทั้งได้ประดิษฐ์เครื่องร่อนมูลไส้เดือนที่ผลิตขึ้นเอง โดยใช้มอเตอร์ปัดน้ำฝนจากรถยนต์  มาเชื่อมกับตะแกรงเหล็กรูขนาดแยกไข่  แยกตัวและแยกมูลไส้เดือน  ลงทุนไปจำนวน 3,000 บาท (จากปกติเครื่องนี้มีมูลค่า 10,000 บาทลดไปได้ถึง 7,000 บาทเลยทีเดียว)

       เกษตรกร (อดีตคุณครู หรือที่รู้จัก โกหลาย)  บอกด้วยว่า การหันมาทำไส้เดือนคอนโด ทำให้สุขภาพดีขึ้น ไส้เดือนตัวโต ลงผลผลิตครั้งเดียวและรอเก็บเลยได้ครั้งละ 400 กก. เฉลี่ย 8,000 บาท  ส่วนใหญ่จะใส่ในสวนผลไม้ของตัวเองและขายบ้างข้างนอกบ้างในกิโลกรัมละ 20 บาท 

          ด้านนางสาวสุกัญญา  ยิ่งเจริญ  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาการ  สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสตูล  บอกว่า  ได้ช่วยกันคิดกันทำ และเห็นว่าแปลงนี้จะเป็นแปลงต้นแบบให้กับเกษตรกร ทั้งเลี้ยงไส้เดือนและปลูกไม้ผล นักเรียน นักศึกษา ยุวเกษตรสามารถมาเรียนรู้เพิ่มเติมได้

         นอกจากนี้ยังทำเครื่องซีนพลาสติกมาซีนถุงปุ๋ยมูลไส้เดือนขนาด 1 กก.2 กก.และ 5 กก.โดยเดือน ๆนึงได้มูลไส้เดือน 400 กก.ส่วนหนึ่งใส่ในสวนปาล์ม สวนผลไม้ของตัวเองและส่วนหนึ่งก็ทำขายที่บ้าน 20 บาท ส่งร้านค้าขาย 25 บาท  สำหรับคนที่สนใจ หรืออยากจะเข้าไปขอความรู้ ติดต่อได้ที่  โทร. 081 969 0399

………………………………………

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

  สุดยอดเป็ดสตูล   เจ้าของเลี้ยงด้วยหมอนทอง และ มูซังคิงราชาทุเรียน

สุดยอดเป็ดสตูล   เจ้าของเลี้ยงด้วยหมอนทอง และ มูซังคิงราชาทุเรียน

        สวนผลไม้หลายพื้นที่ในภาคใต้  โดยเฉพาะจังหวัดสตูล  กำลังให้ผลผลิตโดยเฉพาะทุเรียนหมอนทอง  และมูซังคิง ราชาทุเรียนที่มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 350 บาท  อย่างที่  “สวนลุงชัย”  ตำบลแป-ระ  อำเภอท่าแพ   จังหวัดสตูล   นับเป็นสวนคุณภาพระดับพรีเมี่ยม  ที่คัดสรรทุเรียนหมอนทองชั้นดีเท่านั้น   ที่จะส่งตรงให้กับลูกค้า   ส่วนผลทุเรียนลูกไหน  ที่ดูแล้วไม่สวย ถูกพายุพัดกิ่งหัก  เปอร์เซ็นต์แป้งไม่ถึง  ไม่ได้คุณภาพก็จะนำกลับบ้านไปให้ฝูงเป็ดกินเล่นซะงั้น 

         งานนี้หลายคนที่ทราบข่าว  ต่างพากันเสียดาย  เมื่อมีการปอกทุเรียนหมอนทอง  และมูซังคิง  ให้ฝูงเป็ดกินชนิดเป็นอาหารทานเล่น  กันอย่างสนุกสนาน   สร้างความเสียดายให้กับผู้พบเห็นไม่น้อย

         นายไพฑูรย์   ไชยรักษ์  เจ้าของสวนลุงชัย    บอกว่า   ทุเรียนที่นำมาให้เป็ด  เป็นทุเรียนภายในสวน  ที่ถูกพายุพัดตกบ้าง  อีกทั้งเป็นทุเรียนอ่อน   เปอร์เซ็นต์แป้งยังไม่ได้   จึงไม่สามารถนำไปจำหน่ายได้  และแทนที่จะทิ้งไปเฉยๆ ก็นำมาให้เป็ด  สัตว์เลี้ยงที่บ้านกิน   ปกติทางครอบครัวจะให้ข้าวเปลือกและรำข้าว  แต่ในช่วงนี้ทุเรียนให้ผลผลิต  น่าจะเป็นของชอบของเป็ด  ที่มีทุเรียนกิน  โดยเฉพาะเป็ดพันธุ์อี้เหลียง   ค่อนข้างจะชอบทุเรียนมากโดยเฉพาะทุเรียนหมอนทอง  เพราะเป็นเป็ดพันธุ์ใหญ่  ให้ไข่  มักชอบกินผลไม้และหอย

         ด้านคุณพ่อ  เจ้าของสวนบอกว่า    ปกติจะให้กินพันธุ์หมอนทองและมูซังคิง  เพราะเนื้อทุเรียนที่ตกเกรดมักจะเป็นน้ำ เอาไปทำอย่างอื่นไม่ได้   ต้องให้เป็ดกินอย่างเดียว  คนนอกที่มาเห็นก็มีแซวบ้าง  ว่าเป็ดบ้านนี้เลี้ยงโดยให้กินทุเรียนเลย

…………………………………..

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูลเกษตรกรปลูกกาแฟคุณภาพแซมสวนมะพร้าว  ภายใต้แบรนด์เลบันเด้

สตูลเกษตรกรปลูกกาแฟคุณภาพแซมสวนมะพร้าว  ภายใต้แบรนด์เลบันเด้

      เกษตรกรหลายคนเริ่มมีการปรับตัว  ในการทำการเกษตรแบบผสมผสาน  เพื่อใช้พื้นที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด  เหมือนอย่างเช่นเกษตรกรรายนี้  ซึ่งได้รับการยกให้เป็นแปลงเรียนรู้ เกษตรกรปราดเปรื่อง smart farmer   ด้วยการนำพันธุ์กาแฟโรบัสต้ามาปลูกแบบคุณภาพ  ในสวนมะพร้าว ในพื้นที่ หมู่ที่ 1 ต.วังประจัน อ.ควนโดน จังหวัดสตูล ภายใต้แบรนด์ “เลบันเด้”  สวนสุขใจ กาแฟโรบัสต้าควนโดน  

         นายลาภวัต  เอี่ยมสะอาด  เกษตรกรsmart farmer   อายุ 57 ปี ลงปลูกมะพร้าวพื้นเมือง 120 ต้น กาแฟพันธุ์โรบัสต้าจำนวน  400 ต้น  บนพื้นที่ 3 ไร่ 2 งาน  โดยเล่าว่า  ทันทีที่ลงแปลงปลูกมะพร้าวในปีถัดมาก็ลงกาแฟพันธุ์โรบัสต้าทันที โดยมีแนวคิดว่าในเมื่อเราต้องใส่ปุ๋ย และดูสวนอยู่แล้ว  การปลูกพืชเสริมในสวนมะพร้าวน่าจะช่วยให้มีรายได้เสริมอีกช่องทางหนึ่ง  และก็ได้ผลจริง ๆ เพราะด้วยสภาพดินที่สมบูรณ์ และเน้นการปลูกแบบคุณภาพ  ทำให้กาแฟมีราคาสูงจากราคาท้องถิ่น 60-80 บาท  เป็น กก.ละ 200 บาท

          พืชที่นำมาปลูก   มีช่องทางระบายสินค้าไว้รองรับแล้ว  ทั้งมะพร้าวและเมล็ดกาแฟ   โดยตั้งเป้าเริ่มให้ผลผลิตในช่วง 6-7 ปี  แต่ด้วยสภาพดินสมบูรณ์ปีที่ 3-4 ทั้งกาแฟและมะพร้าวเริ่มให้ผลผลิตแล้ว   แม้ไม่มากแต่ก็เป็นที่พอใจของชาวสวน  และเชื่อว่าในปีถัดไปผลผลิตจะมีเพิ่มมากยิ่งขึ้น

          สำหรับเกษตรกรท่านใดที่สนใจ  จะไปศึกษาเรียนรู้แปลงนี้  สามารถติดต่อนายลาภวัต  เอี่ยมสะอาด ได้ที่หมายเลข   089 075 2039 หรือจะติดต่อผ่านทาง  เกษตรอำเภอควนโดน 074 195116

…………………………

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สุดฟินที่สตูล..เปิดประสบการณ์ใหม่ดริปกาแฟ-ชมสวนจำปาดะ  หลังฤดูกาลเริ่มแล้วเกษตรกรรายได้ปัง 3 เดือนสูง 8 แสนบาท

สุดฟินที่สตูล..เปิดประสบการณ์ใหม่ดริปกาแฟ-ชมสวนจำปาดะ  หลังฤดูกาลเริ่มแล้วเกษตรกรรายได้ปัง 3 เดือนสูง 8 แสนบาท

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

อัพเดทล่าสุด

หอมหวานชวนลอง  เนื้อเหลืองทองยวงใหญ่  ผลไม้ปลอดภัย จำปาดะสตูล  จำปาดะเป็นผลไม้พื้นถิ่น  ที่ได้รับการรับรองว่าเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์  เริ่มทยอยให้ผลผลิตแล้ว  ตั้งแต่เดือน ก.ค. ถึงและก.ย. (โดยตลอด 3 เดือน) นี้ถือเป็นช่วงที่หลายคน  ที่ชื่นชอบผลไม้ชนิดนี้ตั้งตารอ 

 

โดยวันนี้ที่  “สวนตาเดอิน”  หมู่ที่ 4 บ้านควนโต๊ะเหลง  ต.ควนโดน   อ.ควนโดน   จ.สตูล   นางวรรณนภา คงเคว็จ  เกษตรอำเภอควนโดน  นำทีม  ลงพื้นที่ส่งเสริม  และประชาสัมพันธ์การผลิตและแปรรูปจำปาดะ  ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย  และให้สมกับการรอคอย สำหรับคนที่ชื่นชอบผลไม้ชนิดนี้ 

 

ซึ่งเป็นสวนของ นายรอเสด  ตาเดอิน   เกษตรกรที่ปลูกไม้ผลจำปาดะ  มานานร่วม 21 ปี  บนพื้นที่ 5 ไร่ 7 สายพันธุ์   โดยเฉพาะ  พันธุ์ขวัญสตูล  ที่มีการปลูกมากถึงครึ่งหนึ่งของสวน จากทั้งหมด  80  ต้น และพันธุ์พื้นเมืองอาทิ  พันธุ์วังทอง   พันธุ์พญาวัง  พันธุ์น้ำดอกไม้  ทยอยออกผลผลิตให้ลูกค้า  โดยเสนอขายหน้าสวนกิโลกรัมละ 80 บาท สนใจติดต่อสอบถาม 094  978  4941

พร้อมกับชวนเปิดประสบการณ์ใหม่  สำหรับคนที่ชื่นชอบการดริปกาแฟ   สามารถดริปกาแฟ  ขึ้นชื่อของจังหวัดสตูลพันธุ์โรบัสต้า   ไปพร้อมกับชมสวนจำปาดะ   และชิมจำปาดะทั้งแบบสด  และแบบทอดเหลืองกรอบ  ที่อร่อยแตกต่าง  ให้ชิมกันได้ภายในสวน  โดยนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบ  สามารถติดต่อสอบถาม  ได้ทางเกษตรอำเภอควนโดน  074 -195116 

 

  ขณะนี้ หลายพื้นที่ในอำเภอควนโดน  มีการขยายพื้นที่ในการปลูกจำปาดะเพิ่มขึ้น  โดยเฉพาะพันธุ์ขวัญสตูล  หลังสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างเป็นกอบเป็นกำ  โดยเฉพาะสวนตาเดอินนี้  พบว่าในหนึ่งต้นสามารถให้ผลผลิตมากถึง 50 ลูก  ลูกละ 4-5 กก.  ขายในราคา  กก. 80 บาท โดยมีพันธุ์ขวัญสตูล 40 ต้น  สร้างรายได้ตลอด 3 เดือนนี้ 8 แสนบาทแล้ว

ด้านนางสาวจุฑามาศ  ใจสมุทร  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ  สนง.เกษตรอำเภอควนโดน บอกว่า  สวนจำปาดะตาเดอิน  เป็นสวนที่ได้รับส่งเสริมให้มีการปลูกแบบผสมผสาน  การจัดการแมลงวันผลไม้ และการจัดการหนอนด้วงเจาะลำต้น 

 

  สำนักงานเกษตรจังหวัดสตูล  เก็บข้อมูลพบว่า   มีการปลูกจำปาดะในพื้นที่สตูล  1,855 ไร่  โดยแต่ละปีให้ผลผลิต 1,550 ตัน และพบว่าตลาดยังมีความต้องการจำปาดะ  ผลไม้พื้นถิ่นอีกมาก  ทำให้ต้องมีการส่งเสริมการปลูกจำปาดะคุณภาพให้มากขึ้น

………………………….

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูล-“สวนลุงชัย”ต้นแบบปลูกทุเรียน (หมอนทอง มูซังคิงราชาในต่างแดน)-ฟาร์มไส้เดือน ควบคู่ 

สตูล“สวนลุงชัย”ต้นแบบปลูกทุเรียน (หมอนทอง มูซังคิงราชาในต่างแดน)-ฟาร์มไส้เดือน ควบคู่ 

        ที่สวนลุงชัย  บนพื้นที่ 23 ไร่ ม.7 บ้านสวนไทย ต.แป-ระ อ.ท่าแพ จ.สตูล (หัวผัง 36)  จัดเป็นอีกหนึ่งสวนคุณภาพที่มีการปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง  และพันธุ์มูซังคิง (ซึ่งเป็นราชาทุเรียนโดดเด่นในประเทศมาเลเซีย)  เป็นไม้ผลที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน  และเพื่อให้ได้ผลผลิตดีมีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ  ทำให้เกษตรกรต้องศึกษา   ดูแลอย่างประณีตตั้งแต่การเตรียมดิน การใส่ปุ๋ย  และใส่ใจทุกขั้นตอน  ตั้งแต่การตัดแต่งกิ่ง  รวมไปถึงศัตรูพืช และสภาพดินฟ้าอากาศ 

        ทุกขั้นตอนเกษตรกรต้องมีฐานข้อมูล ชุดความรู้  ซึ่งสามารถศึกษาได้ทางสื่อออนไลน์  ด้านนายไพฑูรย์  ไชยรักษ์  อายุ  39 ปี อดีตผู้จัดการบริษัทไอทีในปีนัง ประเทศมาเลเซีย ที่เพิ่งลาออกจากงานประจำมาได้เพียง 6 เดือน  ยอมรับว่า  ตลอดหลายปีที่ผ่านมา  เริ่มศึกษาหาข้อมูล   การทำสวนทุเรียนอย่างต่อเนื่อง  โดยมีคุณพ่อ  ซึ่งอยู่ที่  จ.สตูล  คอยดูแลจัดการสวนให้ตลอด 7 ปี  ของการทำสวนทุเรียน  แต่มาวันนี้สุขภาพคุณพ่อไม่แข็งแรงทำให้ตัดสินใจลาออก   กลับมาเป็นเกษตรกรอย่างเต็มตัว

        หลังตัดสินใจทำสวนทุเรียนเมื่อ 7 ปีที่ผ่านมา   ก็พยายามศึกษาหาความรู้  เพื่อหาปุ๋ยที่มีคุณภาพ และเพื่อลดต้นทุนภายในสวน   จึงเปิดฟาร์มเลี้ยงไส้เดือนควบคู่ไปด้วย  โดยเริ่มจากการเลี้ยงไส้เดือน 2 กะละมัง มาปัจจุบันมี 400 กะละมังแล้ว   ได้ปุ๋ยจากมูลไส้เดือน เดือนละ 1000 กก.  ไว้ใส่ภายในสวนของตัวเอง   เพื่อช่วยลดค่าความเป็นกรด  เป็นด่าง  ช่วยให้การดูดซึมธาตุอาหาร  ไปเลี้ยงต้นทุเรียนได้เป็นอย่างดี  อีกทั้ง ช่วยลดต้นทุนภายในสวนได้มาก   และเหลือจากใส่ภายในสวนแล้ว  ก็จำหน่ายกิโลกรัมละ 25 บาท มีลูกค้าบ่อกุ้ง และชาวบ้านทั่วไปเข้ามาดูงานอย่างต่อเนื่อง

          ด้าน  นายไพฑูรย์  ไชยรักษ์ เกษตรกรสวนลุงชัย  บอกว่า แม้จะเรียนทางด้านไอทีมา แต่สามารถนำมาค้นหาข้อมูล  ความรู้ด้านการทำเกษตรได้อย่างแม่นยำ  บวกกับครอบครัวทำเกษตรมาก่อน  และเห็นว่าการทำสวนไม้ผล  สิ่งที่จำเป็นคือการเรียนรู้เรื่องปุ๋ย   จะช่วยลดต้นทุน  และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามที่ต้องการ 

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

อัพเดทล่าสุด

          นายสุรัฐ   สุวรรณกิจ  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ  สนง.เกษตรอำเภอท่าแพ  กล่าวว่า     ทางเกษตรอำเภอท่าแพ  เห็นความพร้อม  ในการจัดการสวนอย่างดีของสวนลุงชัย  ได้เข้ามาช่วยชี้แนะเรื่องศัตรูพืช และช่วยผลักดัน   ให้เป็นศูนย์เรียนรู้   ให้กับเกษตรกรผู้สนใจในการปลูกทุเรียน  ควบคู่ไปกับการเลี้ยงไส้เดือนในการลดต้นทุน   ซึ่งจะเป็นแบบอย่างให้เกษตรกรได้เป็นอย่างดี

         สำหรับสวนทุเรียนลุงชัย  ในปีที่ผ่านมาสวน  สามารถให้ผลผลิตสูงถึง 15 ตัน โดยทุเรียนพันธุ์หมอนทอง  ขายปลีกกิโลกรัมละ 120 บาทและส่ง 100 บาท  ส่วนทุเรียนพันธุ์มูซังคิง  ขายปลีกกิโลกรัมละ 350 บาท  สนใจติดต่อสอบถาม 081 685 1322 หรือ 080 869 3042

……………………………………

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูล-จุดเช็คอินใหม่  อดีตไกด์เปิดสวนวาสนาดีศูนย์รวมทุเรียน 100 สายพันธุ์พื้นเมืองโบราณ

สตูล-จุดเช็คอินใหม่  อดีตไกด์เปิดสวนวาสนาดีศูนย์รวมทุเรียน 100 สายพันธุ์พื้นเมืองโบราณ

       ที่บ้านสวนวาสนาดี  หมู่ที่  1 บ้านทุ่งไหม้   ตำบลน้ำผุด  อำเภอละงู  จังหวัดสตูล  ที่นี่ดูผิวเผินก็คล้ายๆ สวนผลไม้ทั่วไปแต่!! ที่นี่ได้ถูกขึ้นชื่อว่าเป็นสวนทุเรียนเบญจพรรณ  เพราะเป็นสวนที่มีทุเรียนหลากหลายสายพันธุ์บนพื้นที่ 5 ไร่  โดยเฉพาะสายพันธุ์หอยโข่ง ทุเรียนพื้นเมืองโบราณอายุไม่น้อยกว่า 100 ปีมีมากถึง 93 ต้น

       โดยทุเรียนแต่ละต้นต่างมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามรูปลักษณ์ อย่าง  พันธุ์ไอ้ตูดรูปทรงเหมือนก้นเปลือกบางพูชัดเจน , พันธุ์ไอ้เขียวเปลือกเขียวเข้มเนื้อหวานคล้ายใบเตยเป็นที่นิยมมีออเดอร์จองทุกปีจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 60 บาท , พันธุ์ขมิ้นมีเนื้อเหลืองสวยพิเศษ, ความพิเศษของทุเรียนโบราณนี้จะทานได้ต่อเมื่อหล่นจากต้นเอง เพราะนั่นหมายถึงผลสุกพร้อมรับประทานได้  นอกจากนี้ที่นี่ยังมีผลไม้ประเภท ทุเรียนหมอนทอง  , ลองกอง  สะตอ  มังคุดและจำปาดะ ปลูกผสมผสานไปพร้อมกันด้วย 

        นายธนทรัพย์  ทรัพย์เฟื้องฟุ้ง  อายุ 42 ปี เกษตรกรยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์  พร้อมภรรยาคุณวาสนา   คงปรีชา  (อดีตคุณครู และไกด์นำเที่ยว)  ก่อนจะผันตัวมาเป็นเกษตรกรเต็มตัว โดยเห็นช่องทางหลังพบว่าทุเรียน 1 ต้นทำเงินได้ถึง 15,000 บาท หากมีมากนั่นหมายถึงรายได้ และอิสรภาพทางเวลา  จึงช่วยกันดูแลสวนทุเรียนโดยเฉพาะพันธุ์พื้นเมืองโบราณนี้หวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยว   ให้คนที่ชื่นชอบการทานทุเรียน ผลไม้ ได้เข้ามาทานกันถึงสวน พร้อมขายแพคเกจทานไม่อั้น พร้อมอาหารเที่ยง 1 มื้อและถือกลับบ้านได้ในราคาชาวสวนนี้คือเป้าหมายที่เตรียมวางไว้  หลังได้รับการตอบรับจากลูกค้าที่สั่งจองเข้ามามากเนื่องจากชื่นชอบการทานทุเรียนพื้นเมืองโบราณ เพราะปลอดสารพิษ โดยทางสวนจะนำไปแกะวางขายในตลาดชุมชนจนเป็นที่ยอมรับ และชื่นชอบ

          นอกจากนี้ได้เปิดเผยว่า  สวนผลไม้นี้เป็นของตกทอดมาจากบรรพบุรุษ  เนื่องจากเป็นส่วนทุเรียนพื้นบ้านโบราณยืนต้นขนาดใหญ่ มีความหลากหลายทางสายพันธุ์แบ่งแยกตามรูปลักษณ์  รสชาติ สีเนื้อ  สร้างเสน่ห์ให้ลูกค้าที่รับประทานได้มาก เพราะทุกครั้งที่นำไปขายตามท้องตลาดจะได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก  นักท่องเที่ยวจะได้ชิมทุเรียน 100  ต้นก็ร้อยลูก/ร้อยเนื้อ/ร้อยรสชาติ แล้วแต่ความชื่นชอบ และ 2 คืออยากอนุรักษ์พันธุ์พื้นเมืองที่กำลังหายไป เพราะพันธุ์เศรษฐกิจอย่างหมอนทองเยอะล้นตลาดของพวกนี้หากินอยาก  และนี่คือโอกาสของเราจึงอยากจะต่อยอดที่ปู่ย่าตายายปลูกไว้ให้  ทุกคนได้มาเที่ยว อนาคตต่อไปเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ให้เข้ามากินทุเรียนพื้นเมืองที่หาทานยาก และพัก เที่ยว 

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

อัพเดทล่าสุด

        นางปวีณา   นิลมาตย์   เกษตรอำเภอละงู  กล่าวว่า   สวนนี้เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ  ปลูกนานหลายสิบปี  เป็นธรรมชาติจริง ๆ ปลอดสารพิษ มีทุเรียนมากมาย และส่งเสริมการปลูกที่ตายไปภัยธรรมชาติ   พยายามผลักดันเกิดการท่องเที่ยว โดยทางท้องถิ่นอย่าง อบต.น้ำผุด ทำเส้นทางคมนาคม  เดินทางได้สะดวก  ทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้ร่วมกันผลักดันมาตรฐาน GAP และตั้งเป็นศูนย์รวมผลไม้  เครือข่ายตำบลน้ำผุดในการคัดแยก ทุเรียน ลองกอง เงาะ ผลไม้ในจุดนี้ด้วย