Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

  เกษตรกรสตูลนักประดิษฐ์ไอเดียเจ๋ง   เลี้ยงไส้เดือนคอนโดนตัวโตบนกระเบื้อง

เกษตรกรสตูลนักประดิษฐ์ไอเดียเจ๋ง   เลี้ยงไส้เดือนคอนโดตัวโตบนกระเบื้อง

       ที่จังหวัดสตูล  หมู่ที่ 4 ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง เกษตรกรจังหวัดสตูลดีกรีอดีตคุณครูนักประดิษฐ์ชั้นนำของจังหวัด  และเคยประกวดสิ่งประดิษฐ์มากมาย (อาทิ เครื่องล้างรังนก เครื่องเก็บผลปาล์มร่วง) ที่ขึ้นชื่อผู้อยู่เบื้องหลังสิ่งประดิษฐ์มากมายระดับภาคและระดับประเทศ  มาวันนี้ได้หลังเกษียณราชการในตำแหน่งครูช่างไฟฟ้า  ได้หันหน้ามาเป็นเกษตรกรเต็มตัวเริ่มจากการทำสวนปาล์มน้ำมัน และฟาร์มไส้เดือนแบบคอนโดนโดยเลี้ยงบนกระเบื้อง  (เพื่อตอบโจทย์ผู้สูงวัยที่ไม่ต้องยกกะละมังขึ้นลงในการหาความชื้น)

       นายปิยะพงศ์ ชัยยะวิริยะ  เกษตรกร (อดีตคุณครู หรือที่รู้จัก โกหลาย)  บอกว่า  ก่อนหน้านี้ใช้กะละมังเลี้ยงไส้เดือน ดูแล้วนับวันจะปวดหลังเพราะต้องยกขึ้นลงเพื่อกำหนดความชื้นให้ไส้เดือน  เมื่อเปลี่ยนมาเป็นกระเบื้องและใช้ผ้าพรมปูในรถยนต์คลุมไส้เดือนป้องกันความชื้นได้เป็นอย่างดี  อีกทั้งได้ประดิษฐ์เครื่องร่อนมูลไส้เดือนที่ผลิตขึ้นเอง โดยใช้มอเตอร์ปัดน้ำฝนจากรถยนต์  มาเชื่อมกับตะแกรงเหล็กรูขนาดแยกไข่  แยกตัวและแยกมูลไส้เดือน  ลงทุนไปจำนวน 3,000 บาท (จากปกติเครื่องนี้มีมูลค่า 10,000 บาทลดไปได้ถึง 7,000 บาทเลยทีเดียว)

       เกษตรกร (อดีตคุณครู หรือที่รู้จัก โกหลาย)  บอกด้วยว่า การหันมาทำไส้เดือนคอนโด ทำให้สุขภาพดีขึ้น ไส้เดือนตัวโต ลงผลผลิตครั้งเดียวและรอเก็บเลยได้ครั้งละ 400 กก. เฉลี่ย 8,000 บาท  ส่วนใหญ่จะใส่ในสวนผลไม้ของตัวเองและขายบ้างข้างนอกบ้างในกิโลกรัมละ 20 บาท 

          ด้านนางสาวสุกัญญา  ยิ่งเจริญ  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาการ  สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสตูล  บอกว่า  ได้ช่วยกันคิดกันทำ และเห็นว่าแปลงนี้จะเป็นแปลงต้นแบบให้กับเกษตรกร ทั้งเลี้ยงไส้เดือนและปลูกไม้ผล นักเรียน นักศึกษา ยุวเกษตรสามารถมาเรียนรู้เพิ่มเติมได้

         นอกจากนี้ยังทำเครื่องซีนพลาสติกมาซีนถุงปุ๋ยมูลไส้เดือนขนาด 1 กก.2 กก.และ 5 กก.โดยเดือน ๆนึงได้มูลไส้เดือน 400 กก.ส่วนหนึ่งใส่ในสวนปาล์ม สวนผลไม้ของตัวเองและส่วนหนึ่งก็ทำขายที่บ้าน 20 บาท ส่งร้านค้าขาย 25 บาท  สำหรับคนที่สนใจ หรืออยากจะเข้าไปขอความรู้ ติดต่อได้ที่  โทร. 081 969 0399

………………………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

  สุดยอดเป็ดสตูล   เจ้าของเลี้ยงด้วยหมอนทอง และ มูซังคิงราชาทุเรียน

สุดยอดเป็ดสตูล   เจ้าของเลี้ยงด้วยหมอนทอง และ มูซังคิงราชาทุเรียน

        สวนผลไม้หลายพื้นที่ในภาคใต้  โดยเฉพาะจังหวัดสตูล  กำลังให้ผลผลิตโดยเฉพาะทุเรียนหมอนทอง  และมูซังคิง ราชาทุเรียนที่มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 350 บาท  อย่างที่  “สวนลุงชัย”  ตำบลแป-ระ  อำเภอท่าแพ   จังหวัดสตูล   นับเป็นสวนคุณภาพระดับพรีเมี่ยม  ที่คัดสรรทุเรียนหมอนทองชั้นดีเท่านั้น   ที่จะส่งตรงให้กับลูกค้า   ส่วนผลทุเรียนลูกไหน  ที่ดูแล้วไม่สวย ถูกพายุพัดกิ่งหัก  เปอร์เซ็นต์แป้งไม่ถึง  ไม่ได้คุณภาพก็จะนำกลับบ้านไปให้ฝูงเป็ดกินเล่นซะงั้น 

         งานนี้หลายคนที่ทราบข่าว  ต่างพากันเสียดาย  เมื่อมีการปอกทุเรียนหมอนทอง  และมูซังคิง  ให้ฝูงเป็ดกินชนิดเป็นอาหารทานเล่น  กันอย่างสนุกสนาน   สร้างความเสียดายให้กับผู้พบเห็นไม่น้อย

         นายไพฑูรย์   ไชยรักษ์  เจ้าของสวนลุงชัย    บอกว่า   ทุเรียนที่นำมาให้เป็ด  เป็นทุเรียนภายในสวน  ที่ถูกพายุพัดตกบ้าง  อีกทั้งเป็นทุเรียนอ่อน   เปอร์เซ็นต์แป้งยังไม่ได้   จึงไม่สามารถนำไปจำหน่ายได้  และแทนที่จะทิ้งไปเฉยๆ ก็นำมาให้เป็ด  สัตว์เลี้ยงที่บ้านกิน   ปกติทางครอบครัวจะให้ข้าวเปลือกและรำข้าว  แต่ในช่วงนี้ทุเรียนให้ผลผลิต  น่าจะเป็นของชอบของเป็ด  ที่มีทุเรียนกิน  โดยเฉพาะเป็ดพันธุ์อี้เหลียง   ค่อนข้างจะชอบทุเรียนมากโดยเฉพาะทุเรียนหมอนทอง  เพราะเป็นเป็ดพันธุ์ใหญ่  ให้ไข่  มักชอบกินผลไม้และหอย

         ด้านคุณพ่อ  เจ้าของสวนบอกว่า    ปกติจะให้กินพันธุ์หมอนทองและมูซังคิง  เพราะเนื้อทุเรียนที่ตกเกรดมักจะเป็นน้ำ เอาไปทำอย่างอื่นไม่ได้   ต้องให้เป็ดกินอย่างเดียว  คนนอกที่มาเห็นก็มีแซวบ้าง  ว่าเป็ดบ้านนี้เลี้ยงโดยให้กินทุเรียนเลย

…………………………………..

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูลเกษตรกรปลูกกาแฟคุณภาพแซมสวนมะพร้าว  ภายใต้แบรนด์เลบันเด้

สตูลเกษตรกรปลูกกาแฟคุณภาพแซมสวนมะพร้าว  ภายใต้แบรนด์เลบันเด้

      เกษตรกรหลายคนเริ่มมีการปรับตัว  ในการทำการเกษตรแบบผสมผสาน  เพื่อใช้พื้นที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด  เหมือนอย่างเช่นเกษตรกรรายนี้  ซึ่งได้รับการยกให้เป็นแปลงเรียนรู้ เกษตรกรปราดเปรื่อง smart farmer   ด้วยการนำพันธุ์กาแฟโรบัสต้ามาปลูกแบบคุณภาพ  ในสวนมะพร้าว ในพื้นที่ หมู่ที่ 1 ต.วังประจัน อ.ควนโดน จังหวัดสตูล ภายใต้แบรนด์ “เลบันเด้”  สวนสุขใจ กาแฟโรบัสต้าควนโดน  

         นายลาภวัต  เอี่ยมสะอาด  เกษตรกรsmart farmer   อายุ 57 ปี ลงปลูกมะพร้าวพื้นเมือง 120 ต้น กาแฟพันธุ์โรบัสต้าจำนวน  400 ต้น  บนพื้นที่ 3 ไร่ 2 งาน  โดยเล่าว่า  ทันทีที่ลงแปลงปลูกมะพร้าวในปีถัดมาก็ลงกาแฟพันธุ์โรบัสต้าทันที โดยมีแนวคิดว่าในเมื่อเราต้องใส่ปุ๋ย และดูสวนอยู่แล้ว  การปลูกพืชเสริมในสวนมะพร้าวน่าจะช่วยให้มีรายได้เสริมอีกช่องทางหนึ่ง  และก็ได้ผลจริง ๆ เพราะด้วยสภาพดินที่สมบูรณ์ และเน้นการปลูกแบบคุณภาพ  ทำให้กาแฟมีราคาสูงจากราคาท้องถิ่น 60-80 บาท  เป็น กก.ละ 200 บาท

          พืชที่นำมาปลูก   มีช่องทางระบายสินค้าไว้รองรับแล้ว  ทั้งมะพร้าวและเมล็ดกาแฟ   โดยตั้งเป้าเริ่มให้ผลผลิตในช่วง 6-7 ปี  แต่ด้วยสภาพดินสมบูรณ์ปีที่ 3-4 ทั้งกาแฟและมะพร้าวเริ่มให้ผลผลิตแล้ว   แม้ไม่มากแต่ก็เป็นที่พอใจของชาวสวน  และเชื่อว่าในปีถัดไปผลผลิตจะมีเพิ่มมากยิ่งขึ้น

          สำหรับเกษตรกรท่านใดที่สนใจ  จะไปศึกษาเรียนรู้แปลงนี้  สามารถติดต่อนายลาภวัต  เอี่ยมสะอาด ได้ที่หมายเลข   089 075 2039 หรือจะติดต่อผ่านทาง  เกษตรอำเภอควนโดน 074 195116

…………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สุดฟินที่สตูล..เปิดประสบการณ์ใหม่ดริปกาแฟ-ชมสวนจำปาดะ  หลังฤดูกาลเริ่มแล้วเกษตรกรรายได้ปัง 3 เดือนสูง 8 แสนบาท

สุดฟินที่สตูล..เปิดประสบการณ์ใหม่ดริปกาแฟ-ชมสวนจำปาดะ  หลังฤดูกาลเริ่มแล้วเกษตรกรรายได้ปัง 3 เดือนสูง 8 แสนบาท

อัพเดทล่าสุด

หอมหวานชวนลอง  เนื้อเหลืองทองยวงใหญ่  ผลไม้ปลอดภัย จำปาดะสตูล  จำปาดะเป็นผลไม้พื้นถิ่น  ที่ได้รับการรับรองว่าเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์  เริ่มทยอยให้ผลผลิตแล้ว  ตั้งแต่เดือน ก.ค. ถึงและก.ย. (โดยตลอด 3 เดือน) นี้ถือเป็นช่วงที่หลายคน  ที่ชื่นชอบผลไม้ชนิดนี้ตั้งตารอ 

 

โดยวันนี้ที่  “สวนตาเดอิน”  หมู่ที่ 4 บ้านควนโต๊ะเหลง  ต.ควนโดน   อ.ควนโดน   จ.สตูล   นางวรรณนภา คงเคว็จ  เกษตรอำเภอควนโดน  นำทีม  ลงพื้นที่ส่งเสริม  และประชาสัมพันธ์การผลิตและแปรรูปจำปาดะ  ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย  และให้สมกับการรอคอย สำหรับคนที่ชื่นชอบผลไม้ชนิดนี้ 

 

ซึ่งเป็นสวนของ นายรอเสด  ตาเดอิน   เกษตรกรที่ปลูกไม้ผลจำปาดะ  มานานร่วม 21 ปี  บนพื้นที่ 5 ไร่ 7 สายพันธุ์   โดยเฉพาะ  พันธุ์ขวัญสตูล  ที่มีการปลูกมากถึงครึ่งหนึ่งของสวน จากทั้งหมด  80  ต้น และพันธุ์พื้นเมืองอาทิ  พันธุ์วังทอง   พันธุ์พญาวัง  พันธุ์น้ำดอกไม้  ทยอยออกผลผลิตให้ลูกค้า  โดยเสนอขายหน้าสวนกิโลกรัมละ 80 บาท สนใจติดต่อสอบถาม 094  978  4941

พร้อมกับชวนเปิดประสบการณ์ใหม่  สำหรับคนที่ชื่นชอบการดริปกาแฟ   สามารถดริปกาแฟ  ขึ้นชื่อของจังหวัดสตูลพันธุ์โรบัสต้า   ไปพร้อมกับชมสวนจำปาดะ   และชิมจำปาดะทั้งแบบสด  และแบบทอดเหลืองกรอบ  ที่อร่อยแตกต่าง  ให้ชิมกันได้ภายในสวน  โดยนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบ  สามารถติดต่อสอบถาม  ได้ทางเกษตรอำเภอควนโดน  074 -195116 

 

  ขณะนี้ หลายพื้นที่ในอำเภอควนโดน  มีการขยายพื้นที่ในการปลูกจำปาดะเพิ่มขึ้น  โดยเฉพาะพันธุ์ขวัญสตูล  หลังสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างเป็นกอบเป็นกำ  โดยเฉพาะสวนตาเดอินนี้  พบว่าในหนึ่งต้นสามารถให้ผลผลิตมากถึง 50 ลูก  ลูกละ 4-5 กก.  ขายในราคา  กก. 80 บาท โดยมีพันธุ์ขวัญสตูล 40 ต้น  สร้างรายได้ตลอด 3 เดือนนี้ 8 แสนบาทแล้ว

ด้านนางสาวจุฑามาศ  ใจสมุทร  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ  สนง.เกษตรอำเภอควนโดน บอกว่า  สวนจำปาดะตาเดอิน  เป็นสวนที่ได้รับส่งเสริมให้มีการปลูกแบบผสมผสาน  การจัดการแมลงวันผลไม้ และการจัดการหนอนด้วงเจาะลำต้น 

 

  สำนักงานเกษตรจังหวัดสตูล  เก็บข้อมูลพบว่า   มีการปลูกจำปาดะในพื้นที่สตูล  1,855 ไร่  โดยแต่ละปีให้ผลผลิต 1,550 ตัน และพบว่าตลาดยังมีความต้องการจำปาดะ  ผลไม้พื้นถิ่นอีกมาก  ทำให้ต้องมีการส่งเสริมการปลูกจำปาดะคุณภาพให้มากขึ้น

………………………….

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูล-“สวนลุงชัย”ต้นแบบปลูกทุเรียน (หมอนทอง มูซังคิงราชาในต่างแดน)-ฟาร์มไส้เดือน ควบคู่ 

สตูล“สวนลุงชัย”ต้นแบบปลูกทุเรียน (หมอนทอง มูซังคิงราชาในต่างแดน)-ฟาร์มไส้เดือน ควบคู่ 

        ที่สวนลุงชัย  บนพื้นที่ 23 ไร่ ม.7 บ้านสวนไทย ต.แป-ระ อ.ท่าแพ จ.สตูล (หัวผัง 36)  จัดเป็นอีกหนึ่งสวนคุณภาพที่มีการปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง  และพันธุ์มูซังคิง (ซึ่งเป็นราชาทุเรียนโดดเด่นในประเทศมาเลเซีย)  เป็นไม้ผลที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน  และเพื่อให้ได้ผลผลิตดีมีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ  ทำให้เกษตรกรต้องศึกษา   ดูแลอย่างประณีตตั้งแต่การเตรียมดิน การใส่ปุ๋ย  และใส่ใจทุกขั้นตอน  ตั้งแต่การตัดแต่งกิ่ง  รวมไปถึงศัตรูพืช และสภาพดินฟ้าอากาศ 

        ทุกขั้นตอนเกษตรกรต้องมีฐานข้อมูล ชุดความรู้  ซึ่งสามารถศึกษาได้ทางสื่อออนไลน์  ด้านนายไพฑูรย์  ไชยรักษ์  อายุ  39 ปี อดีตผู้จัดการบริษัทไอทีในปีนัง ประเทศมาเลเซีย ที่เพิ่งลาออกจากงานประจำมาได้เพียง 6 เดือน  ยอมรับว่า  ตลอดหลายปีที่ผ่านมา  เริ่มศึกษาหาข้อมูล   การทำสวนทุเรียนอย่างต่อเนื่อง  โดยมีคุณพ่อ  ซึ่งอยู่ที่  จ.สตูล  คอยดูแลจัดการสวนให้ตลอด 7 ปี  ของการทำสวนทุเรียน  แต่มาวันนี้สุขภาพคุณพ่อไม่แข็งแรงทำให้ตัดสินใจลาออก   กลับมาเป็นเกษตรกรอย่างเต็มตัว

        หลังตัดสินใจทำสวนทุเรียนเมื่อ 7 ปีที่ผ่านมา   ก็พยายามศึกษาหาความรู้  เพื่อหาปุ๋ยที่มีคุณภาพ และเพื่อลดต้นทุนภายในสวน   จึงเปิดฟาร์มเลี้ยงไส้เดือนควบคู่ไปด้วย  โดยเริ่มจากการเลี้ยงไส้เดือน 2 กะละมัง มาปัจจุบันมี 400 กะละมังแล้ว   ได้ปุ๋ยจากมูลไส้เดือน เดือนละ 1000 กก.  ไว้ใส่ภายในสวนของตัวเอง   เพื่อช่วยลดค่าความเป็นกรด  เป็นด่าง  ช่วยให้การดูดซึมธาตุอาหาร  ไปเลี้ยงต้นทุเรียนได้เป็นอย่างดี  อีกทั้ง ช่วยลดต้นทุนภายในสวนได้มาก   และเหลือจากใส่ภายในสวนแล้ว  ก็จำหน่ายกิโลกรัมละ 25 บาท มีลูกค้าบ่อกุ้ง และชาวบ้านทั่วไปเข้ามาดูงานอย่างต่อเนื่อง

          ด้าน  นายไพฑูรย์  ไชยรักษ์ เกษตรกรสวนลุงชัย  บอกว่า แม้จะเรียนทางด้านไอทีมา แต่สามารถนำมาค้นหาข้อมูล  ความรู้ด้านการทำเกษตรได้อย่างแม่นยำ  บวกกับครอบครัวทำเกษตรมาก่อน  และเห็นว่าการทำสวนไม้ผล  สิ่งที่จำเป็นคือการเรียนรู้เรื่องปุ๋ย   จะช่วยลดต้นทุน  และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามที่ต้องการ 

อัพเดทล่าสุด

          นายสุรัฐ   สุวรรณกิจ  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ  สนง.เกษตรอำเภอท่าแพ  กล่าวว่า     ทางเกษตรอำเภอท่าแพ  เห็นความพร้อม  ในการจัดการสวนอย่างดีของสวนลุงชัย  ได้เข้ามาช่วยชี้แนะเรื่องศัตรูพืช และช่วยผลักดัน   ให้เป็นศูนย์เรียนรู้   ให้กับเกษตรกรผู้สนใจในการปลูกทุเรียน  ควบคู่ไปกับการเลี้ยงไส้เดือนในการลดต้นทุน   ซึ่งจะเป็นแบบอย่างให้เกษตรกรได้เป็นอย่างดี

         สำหรับสวนทุเรียนลุงชัย  ในปีที่ผ่านมาสวน  สามารถให้ผลผลิตสูงถึง 15 ตัน โดยทุเรียนพันธุ์หมอนทอง  ขายปลีกกิโลกรัมละ 120 บาทและส่ง 100 บาท  ส่วนทุเรียนพันธุ์มูซังคิง  ขายปลีกกิโลกรัมละ 350 บาท  สนใจติดต่อสอบถาม 081 685 1322 หรือ 080 869 3042

……………………………………

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูล-จุดเช็คอินใหม่  อดีตไกด์เปิดสวนวาสนาดีศูนย์รวมทุเรียน 100 สายพันธุ์พื้นเมืองโบราณ

สตูล-จุดเช็คอินใหม่  อดีตไกด์เปิดสวนวาสนาดีศูนย์รวมทุเรียน 100 สายพันธุ์พื้นเมืองโบราณ

       ที่บ้านสวนวาสนาดี  หมู่ที่  1 บ้านทุ่งไหม้   ตำบลน้ำผุด  อำเภอละงู  จังหวัดสตูล  ที่นี่ดูผิวเผินก็คล้ายๆ สวนผลไม้ทั่วไปแต่!! ที่นี่ได้ถูกขึ้นชื่อว่าเป็นสวนทุเรียนเบญจพรรณ  เพราะเป็นสวนที่มีทุเรียนหลากหลายสายพันธุ์บนพื้นที่ 5 ไร่  โดยเฉพาะสายพันธุ์หอยโข่ง ทุเรียนพื้นเมืองโบราณอายุไม่น้อยกว่า 100 ปีมีมากถึง 93 ต้น

       โดยทุเรียนแต่ละต้นต่างมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามรูปลักษณ์ อย่าง  พันธุ์ไอ้ตูดรูปทรงเหมือนก้นเปลือกบางพูชัดเจน , พันธุ์ไอ้เขียวเปลือกเขียวเข้มเนื้อหวานคล้ายใบเตยเป็นที่นิยมมีออเดอร์จองทุกปีจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 60 บาท , พันธุ์ขมิ้นมีเนื้อเหลืองสวยพิเศษ, ความพิเศษของทุเรียนโบราณนี้จะทานได้ต่อเมื่อหล่นจากต้นเอง เพราะนั่นหมายถึงผลสุกพร้อมรับประทานได้  นอกจากนี้ที่นี่ยังมีผลไม้ประเภท ทุเรียนหมอนทอง  , ลองกอง  สะตอ  มังคุดและจำปาดะ ปลูกผสมผสานไปพร้อมกันด้วย 

        นายธนทรัพย์  ทรัพย์เฟื้องฟุ้ง  อายุ 42 ปี เกษตรกรยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์  พร้อมภรรยาคุณวาสนา   คงปรีชา  (อดีตคุณครู และไกด์นำเที่ยว)  ก่อนจะผันตัวมาเป็นเกษตรกรเต็มตัว โดยเห็นช่องทางหลังพบว่าทุเรียน 1 ต้นทำเงินได้ถึง 15,000 บาท หากมีมากนั่นหมายถึงรายได้ และอิสรภาพทางเวลา  จึงช่วยกันดูแลสวนทุเรียนโดยเฉพาะพันธุ์พื้นเมืองโบราณนี้หวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยว   ให้คนที่ชื่นชอบการทานทุเรียน ผลไม้ ได้เข้ามาทานกันถึงสวน พร้อมขายแพคเกจทานไม่อั้น พร้อมอาหารเที่ยง 1 มื้อและถือกลับบ้านได้ในราคาชาวสวนนี้คือเป้าหมายที่เตรียมวางไว้  หลังได้รับการตอบรับจากลูกค้าที่สั่งจองเข้ามามากเนื่องจากชื่นชอบการทานทุเรียนพื้นเมืองโบราณ เพราะปลอดสารพิษ โดยทางสวนจะนำไปแกะวางขายในตลาดชุมชนจนเป็นที่ยอมรับ และชื่นชอบ

          นอกจากนี้ได้เปิดเผยว่า  สวนผลไม้นี้เป็นของตกทอดมาจากบรรพบุรุษ  เนื่องจากเป็นส่วนทุเรียนพื้นบ้านโบราณยืนต้นขนาดใหญ่ มีความหลากหลายทางสายพันธุ์แบ่งแยกตามรูปลักษณ์  รสชาติ สีเนื้อ  สร้างเสน่ห์ให้ลูกค้าที่รับประทานได้มาก เพราะทุกครั้งที่นำไปขายตามท้องตลาดจะได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก  นักท่องเที่ยวจะได้ชิมทุเรียน 100  ต้นก็ร้อยลูก/ร้อยเนื้อ/ร้อยรสชาติ แล้วแต่ความชื่นชอบ และ 2 คืออยากอนุรักษ์พันธุ์พื้นเมืองที่กำลังหายไป เพราะพันธุ์เศรษฐกิจอย่างหมอนทองเยอะล้นตลาดของพวกนี้หากินอยาก  และนี่คือโอกาสของเราจึงอยากจะต่อยอดที่ปู่ย่าตายายปลูกไว้ให้  ทุกคนได้มาเที่ยว อนาคตต่อไปเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ให้เข้ามากินทุเรียนพื้นเมืองที่หาทานยาก และพัก เที่ยว 

อัพเดทล่าสุด

        นางปวีณา   นิลมาตย์   เกษตรอำเภอละงู  กล่าวว่า   สวนนี้เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ  ปลูกนานหลายสิบปี  เป็นธรรมชาติจริง ๆ ปลอดสารพิษ มีทุเรียนมากมาย และส่งเสริมการปลูกที่ตายไปภัยธรรมชาติ   พยายามผลักดันเกิดการท่องเที่ยว โดยทางท้องถิ่นอย่าง อบต.น้ำผุด ทำเส้นทางคมนาคม  เดินทางได้สะดวก  ทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้ร่วมกันผลักดันมาตรฐาน GAP และตั้งเป็นศูนย์รวมผลไม้  เครือข่ายตำบลน้ำผุดในการคัดแยก ทุเรียน ลองกอง เงาะ ผลไม้ในจุดนี้ด้วย

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูล-สุดปัง! เกษตรกรสวนปาล์มน้ำมันปลูกข้าวโพดเสริม  ทำเงินแตะปี 3 แสน

สตูลสุดปัง! เกษตรกรสวนปาล์มน้ำมันปลูกข้าวโพดเสริม  ทำเงินแตะปี 3 แสน

       ข้าวโพด  อาหารยอดนิยมที่ชาวสวนปาล์มน้ำมันในจังหวัดสตูล  หันมาปลูก  เป็นรายได้เสริม  แซมต้นปาล์มน้ำมันที่กำลังรอการเติบโต   โดยเกษตรกรที่บ้านไทรทอง  หมู่ 10 ต.ปาล์มพัฒนา อ.มะนัง  จ.สตูล  ภายใต้กลุ่มวิสาหกิจชุมชน  พืชไร่พอใจพอเพียง   ได้ปรับพื้นที่ส่วนหนึ่งมาปลูกข้าวโพด  เพื่อเป็นรายได้เสริมปีละ 250,000 – 300,000 บาท ระหว่างที่รอให้ต้นปาล์มน้ำมันเติบโตในช่วง 1-3 ปี

       นางธารีย์   สะอาด  อายุ 43 ปี หนึ่งในสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน  พืชไร่พอใจพอเพียง บอกว่า ทางกลุ่มได้มีสมาชิกรวมตัวกัน 6 คน  เพื่อปลูกข้าวโพดแซมสวนปาล์มน้ำมัน  ในช่วงที่ต้นปาล์มอายุเพียง 1-3 ปี  เพื่อเป็นรายได้เสริมในครอบครัว  โดยวางแผนการปลูกเป็นรอบ ๆ เก็บผลผลิตต่อครั้งละ 1200-1500 กก ขายในหมู่บ้านกิโลกรัมละ 15-20 บาท  

        ไม่เฉพาะข้าวโพดเท่านั้น  ที่เกษตรกรชาวสวนปาล์มในอำเภอมะนังนำมาปลูก  ไม่ว่าจะเป็น บวบเหลี่ยม  มะเขือ แตงกวา  ก็มีการปลูกแซมหมุนเวียนสร้างรายได้เสริมระหว่างรอต้นปาล์มให้ผลผลิต  

          ด้าน   นายเฉลิมพร   ศรีสวัสดิ์ เกษตรอำเภอมะนัง   กล่าวว่า เกษตรกรกลุ่มนี้  มีการรวมตัวกันปลูกข้าวโพดหวาน  และข้าวโพดข้าวเหนียว  ซึ่งมีพื้นที่ปลูกทั้งอำเภอมะนัง  จำนวน  40 ไร่  โดยมีรายได้หลัก  คือปาล์มน้ำมัน  สนง.เกษตรอำเภอมะนัง  ได้เข้ามาให้ความรู้ การจัดการแปลงข้าวโพด การกำจัดศัตรูพืช อย่างหนอนกระทู้ลายจุด  ที่มีการระบาด  ให้คำแนะนำและกำจัดศัตรูพืช รวมทั้งช่วยขยายตลาดในพื้นที่   ส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกร  เพิ่มพื้นที่ปลูกให้เพิ่มมากขึ้น 

อัพเดทล่าสุด

           ข้าวโพดมีความทนทานกว่าพืชหลายชนิด  ทนแล้งชอบแดดจัด  ต้นทุนต่อไร่ประมาณ 3500  บาท  โดยขณะนี้เกษตรกรปลูกขายในหมู่บ้าน  ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ  สนใจโทร.หรือติดต่อสอบถามได้ที่  095 403 86  95

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

มะละกอเรดเลดี้  เปลี่ยนชีวิตเกษตรกรสวนยางพาราสตูล

มะละกอเรดเลดี้  เปลี่ยนชีวิตเกษตรกรสวนยางพาราสตูล

          เกษตรกรรุ่นใหม่พบว่ามีการปรับตัวในการทำเกษตรแบบผสมผสาน  และอีกหนึ่งเกษตรกรที่มีการปรับตัวที่สวนคุณถาวรเกษตรกรสมาร์ทฟาร์มเมอร์  ในพื้นที่หมู่4   ซอย 7  ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง  จังหวัดสตูล ของนายถาวร บุญรัตน์ อายุ 45 ปี  ได้ผันตัวเองจากงานด้านเทคนิคสื่อสารกลับมาดูแลสวนยางพาราเพียงคนเดียว   พื้นที่  10 ไร่ซึ่งเป็นของครอบครัว

         ก่อนจะตัดสินใจโค่นล้มแปลงสวนยางจำนวน 3 ไร่ จากทั้งหมด 10 ไร่ เพื่อปลูกต้นมะละกอพันธุ์เรดเลดี้  และกล้วยน้ำหว้า  หลังได้ศึกษาจนเป็นที่แน่ใจแล้วว่านี้คือรายได้ที่จะมาเลี้ยงครอบครัว  เพื่อเป็นทางรอดจากราคายางพาราที่ผันผวนอย่างต่อเนื่อง    จึงตัดสินใจในการลงมือปลูกโดยเชื่อว่าให้ผลผลิตเร็ว 150 ต้นไม่ถึงปี สามารถเก็บผลผลิตขาย 3 วันครั้งได้ครั้งละ 120 กิโลกรัม  (ไซร์ 3ลูก 2 กิโลกรัม) ราคาขายปลีก 40 บาท/กก. สร้างรายได้เป็นที่พอใจแทรงรายได้จากยางพาราตกเดือนละไม่น้อยกว่า 28,000 บาท

         นายถาวร บุญรัตน์  เกษตรกรสมาร์ทฟาร์มเมอร์  บอกว่า   ด้วยเป็นผลผลิตที่มีรอบออกเร็ว  เป็นผลไม้ที่มีคุณค่า ด้วยตัวเอง  อีกทั้งมีทีมงานและเครือข่ายแลกเปลี่ยนความรู้กันรวมทั้งสำนักงานส่งเสริมการเกษตรอำเภอควนกาหลง   ทั้งในเรื่องการหาตลาด  ความรู้   ขั้นตอนการปลูก  พร้อมแนะนำว่าหัวใจของการปลูกมะละกอเรดเลดี้ต้องรู้จักพืช ต้องมีแหล่งน้ำ และรู้จักตลาด  เพราะการปลูกมะละกอไม่ได้ต่างกับการปลูกทุเรียนต้องมีน้ำที่เพียงพอมีการถ่ายเทที่ดีเพราะไม่อย่างนั้นรากอาจจะเน่าได้ มะละกอพันธุ์เรดเลดี้มีความพิเศษคือหอมหวานเชื่อว่าตลาดตอบรับอย่างแน่นอนสุดท้ายก็ขายได้ดีจริงๆ

อัพเดทล่าสุด

           นางสาวจุฑามาศ   เกียรติอุปถัมภ์  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ  สนง.เกษตรอำเภอควนกาหลง กล่าวว่า  ได้เข้ามาช่วยส่งเสริมเกษตรกรรายนี้ตั้งแต่การปลูก การใช้สารชีวพันธุ์อย่าง   ไตรโคเดอร์มา : เชื้อรามหัศจรรย์สำหรับใช้ควบคุมโรคพืช  ซึ่งเป็นเชื้อราดี ช่วยในเรื่องป้องกันเชื้อราตัวร้าย หลังได้ผลผลิตก็มาช่วยส่งเสริมในเรื่องการตลาดให้กับเกษตรกร หลังพบว่าในกลุ่มคนรักสุขภาพยังมีการเรียกร้องผลไม้ชนิดนี้ ไม่ต่างกับแหล่งท่องเที่ยว

           สำหรับ  มะละกอเรดเลดี้ มีรสหวาน เนื้อแน่นหนึบ พร้อมกลิ่นหอมคล้ายดอกไม้ป่าที่เป็นเอกลักษณ์ของสายพันธุ์ทำให้น่ารับประทาน อุดมด้วยวิตามินเอและเบต้าแคโรทีน  ที่ช่วยบำรุงสายตา  ลดความเสื่อมของประสาทตาและต้านมะเร็ง มีกากใยสูงช่วยให้การย่อยอาหารและการขับถ่ายเป็นปกติ สำหรับท่านใดที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่  สวนคุณถาวร  โทร. 083-457-3911  หรือเพจ มะละกอเรดเลดี้สวนคุณถาวร

………………….

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 สตูล-เรียนครูไม่ได้เป็นครู  ช่วยแม่ปลูกเก็บผักกูดในสวนยางพารา

สตูล..เรียนครูไม่ได้เป็นครู  ช่วยแม่ปลูกเก็บผักกูดในสวนยางพารา

        เกษตรกรชาวสวนยางยุคใหม่  มีการผสมผสานพืชลงปลูกในแปลงสวนยางพาราเพื่อใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างเปล่าในการเพิ่มรายได้  เช่นเดียวกับเกษตรในพื้นที่ หมู่ที่10 บ้านวังนาใน ต.น้ำผุด อำเภอละงู ที่ “สวนผักกูดวังสายทอง จ.สตูล”  มีการทำแปลงปลูกผักกูดในสวนยางพารา  ที่เจ้าของสวนได้เรียนรู้ลองผิดลองถูกและจนสามารถปลูกผักกูดมานานถึง  11 ปีบนพื้นที่  6 ไร่ เป็นรายได้ให้กับครอบครัวได้อีกทางหนึ่ง

        โดยทุก ๆ เช้านางระวิ   นวลโยม อายุ 52 ปี พร้อมนางสาวรุ่งไพลิน   ปล้องไหม  อายุ 25 ปี  พร้อมบุตรสาวที่เรียนจบครูมาแต่มองเห็นช่องทางการทำอาชีพเกษตรที่มีรายได้ดีกว่าอาชีพครู    มาช่วยกันเก็บผักกูดตามออเดอร์ลูกค้า ดูแลช่องทางการตลาดตามสไตล์คนรุ่นใหม่   ส่งขายตามรีสอร์ตชุมชนลูกค้าหลัก   และพ่อค้าแม่ค้าในตลาดวันละไม่น้อยกว่า 50 ถึง 100 กิโลกรัม โดยจะขายปลีกกิโลกรัมละ 35 บาท

        นางระวิ   นวลโยม อายุ 52 ปี เกษตรกรบอกว่า  แนวคิดการปลูกผักกูดในสวนยางเกิดจากที่ดินมีฝนเยอะและมีพื้นที่ว่าง จึงไปซื้อพันธุ์ผักกูดมาปลูก  โดยสายพันธุ์ที่ปลูกคือผักกูดยอดร้อน  (โดยผักกูดมี 2 สายพันธุ์คือยอดร้อน และยอดดำ) แรกเริ่มจำนวน 50 ต้นปลูกจากนั้นถึงวันนี้มีผักกูดแซมในสวนยางพาราแล้วจำนวน 6 ไร่ โดยสปอร์ในผักกูดจะกระจายไปทั่วสร้างรายได้อีกทางให้เกษตรกร  ด้วยผักกูดชอบพื้นที่ร้อนชื้นแดด 50-60 เปอร์เซ็นต์  ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมี  ให้น้ำ 2 วันครั้ง ครั้งละ30 นาที ที่แปลงผักกูดที่นี่มีความอุดมสมบูรณ์เรื่องของน้ำจากหลังเขาน้ำตกซึ่งเป็นป่าต้นน้ำ   จึงนำมาปลูกแซมพืชไม้ร่มได้อย่างสวนยางพาราและสวนทุเรียน หรือว่า สวนกล้วยก็สามารถปลูกได้ 

อัพเดทล่าสุด

           นายปิยทัศน์  ทองปาน   นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สนง.เกษตรอำเภอละงู  กล่าวว่า  เกษตรกรรายนี้ถือเป็นตัวอย่างที่เข้มแข็ง โดยทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้เข้ามาช่วยแนะนำเรื่องการบำรุงดิน และการจัดการศัตรูพืช รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีพืชสวนผสมอีกหลายอย่างที่น่าสนใจ ทั้งสวนทุเรียนและสวนกระท้อน นอกเหนือจากสวนยางพารา

          โดยวันนี้ทางเกษตรกร สวนผักกูดวังสายทอง จ.สตูล ยังได้ปรุงเมนูอาหารจากผักกูด  อาทิ ผักกูดผัดน้ำมัน และผักกูดลวกกะทิ  (หรือแกงส้ม แกงกะทิ,ยำผักกูดและอีกหลายเมนู)  พร้อมโชว์ความกรอบ  อร่อย สด ก้านอวบ ๆ ให้สื่อได้ชมพร้อมบอกว่าเป็นผักที่มีให้ทานได้ตลอดทั้งปี   สำหรับนักท่องเที่ยว   หรือพ่อค้าแม่ค้า  ท่านใดสนใจติดต่อสอบถามได้ทางเพจ สวนผักกูดวังสายทอง จ.สตูล หรือโทร.096 835 4356

…………………………………..

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 สตูล-ขนมลากรอบ  จากพิมพ์กะลามะพร้าวอาหารพื้นถิ่นทำทานดี ทำขายกำไรงาม

สตูล-ขนมลากรอบ  จากพิมพ์กะลามะพร้าวอาหารพื้นถิ่นทำทานดี ทำขายกำไรงาม

         ขนมพื้นเมืองที่ไม่เคยตกยุค  ทำทานง่ายในครัวเรือนหรือจะขายสร้างรายได้ดีงาม  รายนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 17 บ้านควนน้ำใส  ตำบลละงู   จังหวัดสตูลมาอย่างยาวนาน  วันนี้ภายใต้กลุ่ม  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้าน บ้านควนน้ำใส  ที่อยู่คู่ตำบลละงู  มาร่วม 25 ปี ได้เติบโตและประสบความสำเร็จเป็นวิทยากรในการเรียนรู้ให้กับนักท่องเที่ยว และชาวบ้านทั่วไป 

        โดยสมาชิกหลังได้รับออเดอร์จะทำขนมกันภายในบ้านของตนเองและนำมาส่งให้   นางรัตนาวรรณ  หมีนเหม อายุ 53 ปี ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้าน บ้านควนน้ำใสนำออกขายตามบูธ และตามออเดอร์ที่สั่ง  ซึ่งทางกลุ่มไม่ได้มีเฉพาะขนมลากรอบเท่านั้น  ยังมีขนมบุหงาบุด๊ะ  ขนมไข่เต่า ขนมรังต้อ เป็นต้น  โดยเฉพาะขนมลาแม้ส่วนผสมจะไม่มาก แต่มีความพิเศษคือมีความกรอบ ซึ่งอยู่ที่เทคนิคการทำขนมที่ต้องผ่านการฝึกฝนอย่างดี  

         โดยวันนี้ได้สาธิตการทำขนมลากรอบให้ทาง นายจำรัส  ฮ่องสาย นายกอบต.ละงู  และผู้บริหาร รวมทั้งสมาชิกสภาได้เห็นถึงความพิเศษของขนมนี้ว่า  ไม่จำเป็นต้องมีส่วนผสมเยอะ  มีเพียงแป้งข้าวจ้าว 1 กก.  น้ำตาลทรายครึ่ง  กก.  และน้ำ 500 มิล  คลุกเคล้าเข้ากันจนแป้งสลบ ไม่ขาดเส้นเป็นอันใช้ได้  ก่อนนำไปทอดในน้ำมันร้อนพอดีและแม่พิมพ์ที่ใช้กะลามะพร้าวเจาะรู  คล้ายกับการทำขนมลาเช็ด  แต่นี่เป็นขนมลากรอบ  เก็บไว้ได้นาน 1 เดือน ขายชิ้นละ 4-5 บาท ห่อละ 8 ชิ้น 35 บาทหรือ 3 ถุง 100 บาท

อัพเดทล่าสุด

           นายจำรัส  ฮ่องสกุล  นายกอบต.ละงู  เปิดเผยว่า   กลุ่มแม่บ้านทำขนมในตำบลละงู มีหลายกลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มทำขนมพื้นเมืองเพราะขึ้นชื่อด้านนี้  เหมือนอย่างเจ้านี้เป็นเจ้าดั้งเดิมรุ่นที่ 2 ทำมายาวนานมีสมาชิกจำนวนมาก ซึ่งยังมีความต้องการเครือข่ายในการทำขนมเพิ่ม  ถือเป็นจุดเด่นของจังหวัดสตูล

           ติดต่อสอบถาม หรือสั่งจองขนมได้ที่  โทร. 063 539 2487