Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

ขนมหวานสไตล์โมเดิร์น  ตอบโจทย์ทุกวัย  ร้านบัวลอยจงเจริญสตูล  รวม  100 เมนู  เมนูแนะนำ “บัวลอยน้ำชาไทย” “ปังเย็นบัวลอยชาไทยภูเขาไฟ” จากดินแดนมลายูสตูล

ขนมหวานสไตล์โมเดิร์น  ตอบโจทย์ทุกวัย  ร้านบัวลอยจงเจริญสตูล  รวม  100 เมนู  เมนูแนะนำ “บัวลอยน้ำชาไทย” “ปังเย็นบัวลอยชาไทยภูเขาไฟ” จากดินแดนมลายูสตูล

       ถนนหัตถกรรมศึกษา  (ฝั่งเดียวกับรพ.สตูล)  ตำบลพิมาน  เขตเทศบาลเมือง  จังหวัดสตูล  ในเวลานี้หากไม่พูดถึงร้านนี้ไม่ได้เลย  “ร้านบัวลอยจงเจริญ”  ร้านที่รวบรวมเมนูขนมหวานมากกว่า 100 ชนิด  มาไว้ที่นี่ อาทิ  บัวลอยน้ำกะทิ น้ำขิง  บัวลอยน้ำชาไทย บัวลอยไข่หวาน ไข่เค็ม บัวลอยทรงเครื่อง   โดยเฉพาะเมนูแนะนำคือ  บัวลอยจงเจริญ  ของทางร้าน  และสายรักสุขภาพ ก็มีบัวลอยงาดำน้ำขิง นมสด น้ำเต้าหู้  และบัวลอยคัสตาร์ดไข่เค็มน้ำชาไทย  เฉาก็วย  ไอติมมะพร้าวอ่อน ไอติมกะทิโบราณทรงเครื่อง  ทับทิบกรอบ ซ่าหริ่มน้ำกะทิสด  ปังเย็นบัวลอยชาไทย ภูเขาไฟ   เพิ่มท็อปปิ้งได้ไม่อั้น

        นางสาวณิชากร   จินดานุ   หรือ คุณเตี๊ยบ  คุณครูวิทยาลัยชุมชน และ นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการ เทศบาลตำบลคลองขุด  เปิดเผยว่า จากที่ชื่นชอบการทานบัวลอยและขนมทานเล่น  จึงคิดกับเพื่อนบ้านสนิทว่า  เราน่าจะลงหุ้นกัน  กับเพื่อน  3 คน  เปิดร้านรวบรวมขนมหวานในพื้นที่  จ.สตูล  สักหนึ่งแห่ง  จึงมาตกผลึกกันที่  ร้านบัวลอยจงเจริญ  โดยทางร้านเห็นว่าในย่านนี้จะมีแต่ร้านอาหารคาว  แต่ยังขาดร้านขนมหวาน  เมื่อตัดสินใจเปิดไม่คิดว่าจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี   โดยแรงงานที่มาช่วยขาย  ก็จะเป็นนักเรียนที่เรียนในวิทยาลัยชุมชน 10 คน ถือว่าเป็นการสร้างงานให้เด็ก ๆ ด้วย

 

        แต่ละเมนูของทางร้าน  จะเดินสายหวานกลาง ลูกค้ารักสุขภาพสามารถบอกระดับความหวานได้  และเป็นเมนูเพื่อสุขภาพหลากหลาย เหมาะกับเด็ก ผู้ใหญ่ และวัยรุ่น   ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีกับขนมหวานไทย   ทางร้านเปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 11 นาฬิกาถึง 20 นาฬิกา 

       สำหรับบัวลอยจงเจริญ  เป็นขนมหวานสูตรโบราณกว่า 60 ปี ของคุณยายเขียน  โชคสมาน  อำเภอหาดใหญ่   จังหวัดสงขลา  มาปรับเป็นร้านขนมสไตล์โมเดริ์น  ต่างเป็นที่ชื่นชอบของคนรุ่นใหม่ตอบรับเป็นอย่างดี 

……………………………

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูลร้านในตำนาน  ไก่ย่างสมุนไพร 5 บาทลูกค้าตรึมแบ่งขายวันละ 2 รอบหมดเกลี้ยงทุกวัน

สตูลร้านในตำนาน  ไก่ย่างสมุนไพร 5 บาทลูกค้าตรึมแบ่งขายวันละ 2 รอบหมดเกลี้ยงทุกวัน

       ที่บ้านเลขที่ 122/1 บนถนนปานชูรำลึก  (ซอยแม่เนียน)  ตำบลพิมาน  เขตเทศบาลเมือง  จังหวัดสตูลวันนี้ผู้สื่อข่าวพามารู้จักร้านที่เชื่อว่า    ตอบโจทย์ใครหลายคนในช่วงภาวะเศรษฐกิจฝืด  นั่นก็คือ “ร้านไก่ย่าง 5 บาท”  ซึ่งมีนางอำพร   อบทอง   อายุ 67 ปี   เจ้าของร้านที่ขายไก่ย่างมาเกือบตลอดชีวิต  โดยสูตรที่นำมาขายเป็นสูตรสมุนไพร  ซึ่งเป็นสูตรเดียวกันกับไก่ย่างอบโอ่งที่เคยขายในกรุงเทพมหานครฯ  เมื่อสามีเสียชีวิต จึงกลับมาอยู่จังหวัดสตูลกับลูก ๆ 3 คน  และทำอาชีพขายไก่ย่างเลี้ยงลูกมานานนับ 28 ปีจนถึงทุกวันนี้

        “ร้านไก่ย่าง 5 บาท” เป็นราคาที่ขายมาอย่างยาวนานและไม่คิดจะขึ้นราคาแม้ราคาไก่จะปรับตัวขึ้นตลอดเวลา  โดยคุณป้าอำพร  บอกว่าในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้หลายคนมองหาอาหารอร่อยและราคาที่เข้าถึงได้ง่าย  และนี่คิดว่าจะช่วยให้เด็ก ผู้ใหญ่ แม้ข้าราชการ หรือคนทำงานทั่วไปซื้อง่าย ทานอิ่ม หลายคนเป็นลูกค้าร้านมาตั้งแต่เด็กจนทำงานก็ยังเป็นลูกค้าอยู่  ป้าเองก็มีทั้งแจกทำแถม ให้ลูกค้าประจำ 

       ทางร้านไก่ย่าง 5 บาท จะขายวันละ 2 รอบคือรอบเช้าตั้งแต่ตี 5 ถึง 11 โมงเช้า และรอบ่ายโมง ถึง 2 ทุ่ม  โดยในแต่ละวันใช้ไก่ 15 กิโลกรัมหรือวันละ 300 ไม้ มีตั้งเนื้ออกไก่,ตับ, (โครงไก่ย่าง 10 บาท) และข้าวเหนียวห่อละ 5 บาทด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีลูกชิ้นมาเพิ่มตัวเลือกให้ลูกค้าด้วย

      ด้านลูกค้าส่วนใหญ่ ขาประจำ  ยอมรับว่า ในยุคข้าวของแพงยอมรับว่าการมาซื้อไก่ย่างกิน  ช่วยลดค่าใช้จ่าย  โดยเฉพาะเด็ก ๆ จะชื่นชอบทานง่ายพร้อมข้าวเหนียวก็อยู่ท้อง และเป็นลูกค้าร้านนี้มานานเหมือนกัน

 ……………………………………

 

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป

รองผวจ.สตูล นำข้าราชการร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 71 พรรษา

สตูล-รองผวจ.สตูล นำข้าราชการร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 71 พรรษา 28 กรกฎาคม 2566        

       วันนี้ (28 ก.ค. 66) ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ศาลากลางจังหวัดสตูล นายชาตรี ณ ถลาง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล  พร้อมด้วยนายชูชีพ ธรรมเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล นำหัวหน้าส่วนราชการ ปลัดจังหวัดสตูล นายอำเภอและผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้าราชการและพนักงานเจ้าหน้าที่ ร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน  เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2566  ทั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี  ตลอดจนให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัดสตูล ได้แสดงความมุ่งมั่นแน่วแน่ที่จะเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ปฏิบัติหน้าที่ตามรอยพระยุคลบาท ในฐานะข้าของแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนและประเทศชาติสืบไป  

       โดย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล นำผู้ร่วมพิธีถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วถวายธูปเทียนแพหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และกล่าวถวายพระพรชัยมงคล จากนั้นรองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลนำผู้ร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ แล้วร่วมกันร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงสดุดีจอมราชา เป็นอันเสร็จพิธี

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา เยาวชน-การศึกษา

ศรชล.ภาค 3  จัดทริปเอาใจเยาวชนกระตุ้น  รักษ์ทะเลบ้านเรา  เส้นทางจากภูผาสู่ทะเล

ศรชล.ภาค 3  จัดทริปเอาใจเยาวชนกระตุ้น  รักษ์ทะเลบ้านเรา  เส้นทางจากภูผาสู่ทะเล

        พลเรือโทอาภากร   อยู่คงแก้ว   ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 พร้อมภริยาร่วมกับทัพเรือภาคที่ 3  นาวาเอกแสนย์ไท   บัวเนียม รองผู้อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสตูล  นำนักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42  จำนวน 50 คน  (ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง)  เดินทางศึกษาเส้นทางธรรมชาติที่อุทยานแห่งชาติทะเลบัน อำเภอควนโดน  จังหวัดสตูล   เพื่อทำกิจกรรมสร้างความรับรู้การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล  และปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเยาวชนได้รู้จักเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล  และช่วยกันดูแลรักษาไว้ให้ยั่งยืน ภายใต้โครงการ  “รักษ์ทะเลบ้านเรา”   จากภูผาอุทยานแห่งชาติทะเลบัน  สู่ท้องทะเลตำมะลังอำเภอเมืองสตูล  นักเรียนเยาวชน  จากศรชล.ภาค 3 ที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้  ยังได้เปิดประสบการณ์ใหม่ด้วยการนั่งเรือชมเส้นทางธรรมชาติ  ศึกษาวิถีชีวิตชาวบ้านริมชายฝั่งตำมะลังดินแดนมลายู ไปพร้อมเรียนรู้วิถีชีวิต  และชื่นชมฝูงนกอินทรีย์ที่ออกมาต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน  ผ่านการท่องเที่ยวชุมชนตำมะลัง  เพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่เรียนรู้การอยู่ควบคู่กันระหว่างธรรมชาติ ชุมชน และการท่องเที่ยวโดยชุมชน

 

           จากนั้นน้อง ๆ เยาวชน ศรชล.ภาค 3 ยังได้ร่วมกันปล่อยกุ้งกุลาดำ จำนวน 90,000 ตัว และร่วมปลูกไม้ป่าชายเลนในพื้นที่ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 24 ตำมะลังจังหวัดสตูล

          นางสาวเกศรา  ขันติวงศ์   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42  บอกว่า  ประทับใจวิทยากร  อาหาร  การดูแลของพี่ๆทีมผู้จัด การได้มาครั้งนี้ทำได้เจอกับสัตว์หายากอย่าง  เขียดว้าก  หรือ หมาน้ำ  เพราะไม่สามารถเจอสัตว์เหล่านี้ได้ในพื้นที่อื่น  ต้องมาดูที่นี่เท่านั้น  ไปเดินในป่าแล้วเจอพันธุ์ไม้หลายชนิดและไม้ยืนต้นที่มีอายุหลายร้อยปี  และได้มาร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนๆที่นี่ได้ความรู้นำไปพัฒนาในชีวิตประจำวัน เพราะจังหวัดสตูลเป็นจังหวัดที่ติดทะเล  เราควรจะช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล

         พลเรือโทอาภากร   อยู่คงแก้ว   ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3  บอกว่า   ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 และทัพเรือภาคที่ 3 ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล  ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดและมีผลกระทบต่อถิ่นที่อยู่อาศัยวิถีชีวิตการประกอบอาชีพของประชากรในท้องถิ่นซึ่งมีผลกระทบเชื่อมโยงไปถึงระดับชาติ   จึงมีความสำคัญจำเป็นต้องสร้างความรับรู้   รวมทั้งการปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเยาวชนได้เห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลในท้องถิ่นของตนเองให้มีความยั่งยืนตลอดไป  

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวเด่น

  สตูล-ยอมรับข้อเสนอประมงพื้นบ้านหลังสอนมวย  แก้ปัญหาต้องนำเข้าคณะกรรมการประมงจังหวัดแทนการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น

จังหวัดสตูลยอมรับข้อเสนอประมงพื้นบ้านหลังสอนมวย  แก้ปัญหาต้องนำเข้าคณะกรรมการประมงจังหวัดแทนการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น  

         เครือข่ายประมงพื้นบ้าน จ.สตูล  ยอมสลายการชุมนุมประท้วงแล้วเย็นเมื่อวานนี้ (25 ก.ค.2566)   หลังภาครัฐรับข้อเสนอนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประมงจังหวัด  เพื่อหารือแก้ปัญหาความขัดแย้งในกลุ่มประมงต่างๆ เรื่องปัญหาแนวเขตประมงชายฝั่งให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

          ที่ศาลกลางจังหวัดสตูล  นายชาตรี  ณ  ถลาง  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เชิญเครือข่ายประมงพื้นบ้านในจังหวัดสตูล ที่มารวมตัวกันนอนปักหลักคัดค้าน “ขอให้ยกเลิกการทบทวนแนวเขตประมงชายฝั่ง”  เพราะไม่เห็นถึงประโยชน์   และเชื่อว่ากระบวนการที่ได้มามีความเข้มข้นมากพอแล้วนั้น   มาประชุมหารือเพื่อหาทางออกร่วมกัน

          โดยนายสมบูรณ์  คำแหง  และนายวิโชคศักดิ์  รณรงค์ไพรี  นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย   และนายกสมาคมประมงพื้นบ้านจังหวัดสตูล ได้ขอโอกาสชี้แจงถึงเจตนาที่มาคัดค้านการยกเลิกการทบทวนแนวเขตประมงชายฝั่งในครั้งนี้  โดยเสนอว่าขอให้มีการนำเรื่องดังกล่าวเข้าแก้ปัญหาในเวทีของคณะกรรมการประมงจังหวัด  โดยเชื่อว่ากระบวนการดังกล่าวสามารถหาทางออกร่วมกันได้ 

          ซึ่งทางด้านรองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล  เป็นประธาน(รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล)  ยืนยันว่า กับแกนนำชาวประมงพื้นบ้านว่า  คำสั่งจังหวัดไม่มีผบกระทบกับประมงพื้นบ้านเป็นเพียงวิธีการทำงานอย่างหนึ่งของทางจังหวัด  เพื่อแก้ปัญหาหลังมีการประท้วงของทุกฝ่าย  ซึ่งในวันนี้ทำให้จังหวัดได้รู้ความคิดเห็นของชาวประมง  (ทั้งประมงพื้นบ้าน  และชาวประมงพื้นบ้านเครื่องมือพานิชย์) โดยจะนำไปสู่การแก้ปัญหา

           นายสมบูรณ์  คำแหง  อดีตคณะกรรมการประมงจังหวัดสตูล/ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนระดับชาติ (กป.อพช.)  เห็นว่าวันนี้ในตัวเขตชายฝั่งที่มีการประกาศไปแล้วไม่ใช่ประเด็น   ซึ่งวันนี้ทางกระทรวงได้เสนอคณะอนุมัติให้ทางรัฐมนตรีทราบแล้ว   ได้มีการอนุมัติเขตที่คณะกรรมการประมงจังหวัดสตูลได้เสนอไปเมื่อปี 2565  เห็นว่าเป็นที่สิ้นสุดแล้ว   กระบวนการรับฟังค่อนข้างชัดเจนมากและมีการรับฟังทุกภาคส่วน

          ในเรื่องนี้เห็นว่าต้องมาคุยกันมาหาข้อตกลงกันว่าอะไรที่จะทำได้  แค่นั้นเอง  ไม่จำเป็นจะต้องมานั่งรับฟังเพื่อกำหนดเขตกันใหม่   ถึงแม้จะมีการรับฟังใหม่   ถึงแนวเขตทะเลชายฝั่งก็จะไม่น้อยไปกว่าเดิม  หรืออาจจะมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ   หลักๆ ก็จะมีกลุ่มประมงอยู่ 2 กลุ่ม  กลุ่มเรือใหญ่กับกลุ่มเรือพื้นบ้าน  ซึ่งกลุ่มเรือประมงพื้นบ้านก็ย่อมจะมากกว่าเรือประมงพาณิชย์  หากจัดเวทีเสียงก็จะชนะแน่นอน

          ซึ่งสรุปความในการพูดคุยในครั้งนี้ทางจังหวัดสตูล   ยอมนำเรื่องเข้าวาระประชุมหารือชุดคณะกรรมการจังหวัดสตูล  ถึงแนวทางปัญหาที่เกิดขึ้นตามที่เครือข่ายประมงพื้นบ้านเสนอ  ก่อนที่จะให้คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหากำหนดเขตทะเลชายฝั่งในบริเวณจังหวัดสตูล  พุทธศักราช 2565  เบื้องต้นทำให้ผู้ชุมนุมยอมรับในข้อเสนอดังกล่าว  จนยอมสลายการชุมนุมเมื่อเย็นวานพร้อมยอมรื้อที่พักชั่วคราวคืนพื้นที่ด้านหน้าศาลากลางกลับสู่สภาวะปกติ

………………………………

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวเด่น

  สตูล-นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย  เชื่อว่าแนวเขตประมงชายฝั่งจังหวัดสตูลฉบับล่าสุดมีคุณสำหรับชาวประมงมากกว่า  แต่หากจะแก้ปัญหาจริงมีช่องทางอยู่ไม่ใช่จะมายกเลิก 

สตูล-นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย  เชื่อว่าแนวเขตประมงชายฝั่งจังหวัดสตูลฉบับล่าสุดมีคุณสำหรับชาวประมงมากกว่า  แต่หากจะแก้ปัญหาจริงมีช่องทางอยู่ไม่ใช่จะมายกเลิก 

            ที่ศาลากลางจังหวัดสตูลตลอดทั้งคืนที่ผ่านมา  กลุ่มเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดสตูลนัดพักแรม   ปักหลักเพื่อรอฟังคำตอบ  หลังมีการยื่นหนังสือเปิดผนึกส่งถึงผู้ว่าราชการจังหวัด   ขอให้ยกเลิกการทบทวนแนวเขตประมงชายฝั่ง   เพราะไม่เห็นถึงประโยชน์   และเชื่อว่ากระบวนการที่ได้มามีความเข้มข้นมากพอแล้ว 

           ส่วนแนวทางในการแก้ปัญหากรณีประมงปลากะตัก  ที่ออกมาเรียกร้องด้วยปิดอ่าวปากบาราเมื่อช่วงเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา  เห็นว่ามีช่องทางในการแก้ปัญหาร่วมกัน   นั่นคือการพูดคุยในส่วนของกรรมการประมงจังหวัด  ไม่ใช่การตั้งคณะกรรมการเปิดเวทีทบทวนเพื่อรับฟังปัญหา

       นายวิโชคศักดิ์  รณรงค์ไพรี   นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย  บอกว่า  แนวทางการแก้ปัญหาในเรื่องนี้มีวงถกคือ  คณะกรรมการประมงจังหวัดควรจะเรียกประชุมตรงนั้น  ดูว่ามีช่องทางในการแก้ไขหรือไม่  พบว่ามีซึ่งเป็นประกาศระดับกระทรวงไม่ใช่กฎกระทรวง  ถ้าหากอยากจะแก้ให้ประมงพื้นบ้านบางชนิด  ต้องมาแก้ประกาศกระทรวง ซึ่งเป็นกฎหมายคนละฉบับ   จากปัญหาดังกล่าวทำให้แอบคิดได้ว่าอาจมีอะไรแอบแฝงเพื่อที่จะเอื้อประมงพาณิชย์ตัวจริง ที่ยังไม่แสดงตัวออกมา โดยใช้ประมงพื้นบ้าน 20 ลำนี้มาเป็นตัวประกัน

        โดยแนวทางการต่อสู้ของเครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดสตูล  เพื่อไม่ให้มีการทบทวนหรือยกเลิกเขตทะเลชายฝั่งจังหวัดสตูล   พร้อมยื่นข้อเสนอ 2 ข้อคือ 1 ขอให้เคารพการทำงานของคณะกรรมการประมงจังหวัดชุดที่แล้ว ที่ได้สร้างกระบวนการรับฟังความคิดเห็นอย่างเข้มข้นจนทำให้ได้ข้อสรุปนำไปสู่การประกาศกฎกระทรวงเขตทะเลชายฝั่งสตูลเมื่อปลายปีพุทธศักราช 2565    และ 2 ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องยกเลิกคำสั่งและแนวคิดที่จะทบทวนการประกาศกฎกระทรวงเรื่องเขตทะเลชายฝั่งจังหวัดสตูลในทันที 

        โดยยืนยันจะขอปักหลักรอคำตอบอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดแห่งนี้จนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย

………………………….

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวเด่น

  เครือข่ายชาวประมงพื้นบ้าน ขนเต็นท์หม้อข้าวปักหลักศาลากลางจังหวัด   ฟังคำตอบหลังยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงผู้ว่า  เรื่องขอให้ยกเลิกการทบทวนเขตทะเลชายฝั่งจังหวัดสตูล

เครือข่ายชาวประมงพื้นบ้าน ขนเต็นท์หม้อข้าวปักหลักศาลากลางจังหวัด   ฟังคำตอบหลังยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงผู้ว่า  เรื่องขอให้ยกเลิกการทบทวนเขตทะเลชายฝั่งจังหวัดสตูล

        วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 เวลาประมาณ 11:00 น.   ที่ศาลากลางจังหวัดสตูล  กลุ่มตัวแทนสมาคมประมงพื้นบ้านจังหวัดสตูลและชมรมประมงพื้นบ้าน 4 อำเภอ สมาคมรักษ์ทะเลไทย และหลากหลายภาคีเครือข่ายรวมตัวกันบริเวณด้านหน้าศาลากลางจังหวัด  ด้วยการตั้งเต็นท์และโรงครัวเพื่อเตรียมพร้อมในการปักหลักในการรอฟังคำตอบ

        หลังตัวแทนเครือข่ายประมงพื้นบ้านร่วมกันยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเรื่องขอให้ยกเลิกการทบทวนเขตทะเลชายฝั่งจังหวัดสตูล  พร้อมยื่นข้อเสนอ 2 ข้อคือ 1 ขอให้เคารพการทำงานของคณะกรรมการประมงจังหวัดชุดที่แล้ว ที่ได้สร้างกระบวนการรับฟังความคิดเห็นอย่างเข้มข้นจนทำให้ได้ข้อสรุปนำไปสู่การประกาศกฎกระทรวงเขตทะเลชายฝั่งสตูลเมื่อปลายปีพุทธศักราช 2565

        และ 2 ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องยกเลิกคำสั่งและแนวคิดที่จะทบทวนการประกาศกฎกระทรวงเรื่องเขตทะเลชายฝั่งจังหวัดสตูลในทันที  มิฉะนั้นพวกเราจะขอปักหลักรอคำตอบอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดแห่งนี้  จนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย

        ซึ่งการยื่นหนังสือในครั้งนี้นายชาตรี  ณ  ถลาง  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล  รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดเข้ารับหนังสือ  โดยกล่าวกับผู้ชุมนุมที่มายื่นหนังสือว่าจะนำเรื่องนี้ไปพูดคุยหารือพร้อมกับประมงจังหวัดอีกครั้ง  โดยพยายามชี้แจงถึงกรณี  การตั้งคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหากำหนดเขตทะเลชายฝั่งในบริเวณจังหวัดสตูล  พุทธศักราช 2565 ว่า เป็นทางออกของการนำมาซึ่งการแก้ปัญหาในพื้นที่ประมงระหว่าง 2 กลุ่มที่มีความเห็นไม่ตรงกันขณะนี้

        ซึ่งในเรื่องนี้ทางด้านนายอับดุลรอสัก  เกมหวัง   นายกสมาคมประมงพื้นบ้านจังหวัดสตูล  ตั้งข้อสังเกตว่า  การตั้งคณะกรรมการขึ้นมารับฟังข้อคิดเห็นใหม่ในครั้งนี้นั้น  เป็นผลมากับการปิดอ่าวในครั้งนั้น   พบว่ามีเพียงเรือไม่กี่ลำที่มาเป็นเงื่อนไขเพื่อเปิดเวทีรับฟังใหม่และยกเลิกแนวเขต   ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่า    หน่วยงานของรัฐไปรับคำสั่งมาจากใคร   ถ้าถามกลับว่าประมงพื้นบ้านเดือดร้อนไหม  ยืนยันว่าพวกเราเดือดร้อนมากหากเป็นปัญหาการจัดการทรัพยากรทางทะเล   เพราะพื้นที่ที่มีการประกาศคุ้มครองชายฝั่งถือเป็นพื้นที่สำคัญในการฟื้นฟูสัตว์น้ำ เมื่อสัตว์น้ำโตเต็มวัยก็ออกไปฐานทะเลข้างนอก ทุกคนก็มีสิทธิ์ที่จะจับปลาได้ไม่ว่าจะเป็นประมงพื้นบ้านหรือประมงพาณิชย์ทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน /การประกาศเขตชายฝั่งถือเป็นการประกาศเขตอำนาจให้กับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติ

 

         ขณะที่ด้าน  นายนิพนธ์  เสนอินทร์  ประมงจังหวัดสตูล  ยังคงยืนยันว่า   อยากจะทำความเข้าใจกับทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นประมงพาณิชย์และประมงพื้นบ้าน ว่าจะต้องใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน มีใช้จนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน การแก้ปัญหาทุกฝ่ายต้องมีส่วน เพราะมีการยื่นหนังสือร้องทุกข์เข้ามาของทุกฝ่ายก็ต้องมาพิจารณาด้วยความเป็นธรรม  จึงเป็นที่มาของการตั้งคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการแก้ไขปัญหาการกำหนดเขตทะเลชายฝั่งในบริเวณจังหวัดสตูลพุทธประวัติ 2565 นั้น  เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริง 

 

        ที่มาของการแก้ปัญหาประมงในจังหวัดสตูล   (ทำให้ประมงพื้นบ้านตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการแก้ปัญหาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคุณนายทุนหรือไม่ )  หลังมีการแต่งตั้งคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการกำหนดเขตทะเลชายฝั่งในบริเวณจังหวัดสตูลพุทธศักราช 2565  นั้น  สืบเนื่องจาก   ประมงปลากะตัก ได้รวมตัวกันเรียกร้องถึงปัญหาของแนวเขตประมงชายฝั่งจนเป็นที่มาของการปิดร่องน้ำปากบารา เมื่อเดือนมิถุนายน 2566  สร้างผลกระทบด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว 

……………………………

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา

สตูลสุดมันส์  โชว์ลีลาแข่งกินข้าวโพด  ในเทศกาลข้าวโพดหวานของดีอำเภอท่าแพ

สตูลสุดมันส์  โชว์ลีลาแข่งกินข้าวโพด  ในเทศกาลข้าวโพดหวานของดีอำเภอท่าแพ

       มาที่จังหวัดสตูลมาดูภายในงาน  เทศกาลข้าวโพดหวานของดีอำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล  โดยทุกปีมีการจัดงานขึ้นบริเวณที่ว่าการอำเภอท่าแพ   โดยอบต.ท่าแพ ร่วมกับ  อบจ.สตูล  ร่วมกันจัดการแข่งขันกินข้าวโพดหวาน  โดยปีนี้ดุเดือดมากเมื่อผู้แข่งขันจากหมู่บ้านต่างๆทั้งส่งตัวตึง เข้าร่วมชนิดกินกันแบบฟาส 8  หมุนควงสว่านกันอย่างรวดเร็วทั้งแนวนอนและแนวยาว  ท่ามกลางกองเชียร์แต่ละหมู่บ้านกันอย่างสนุกสนาน  ทั้งการแข่งขันประเภทเด็ก และประเภททั่วไปสร้างสีสันให้งานข้าวโพดหวานครื้นเครงเฮฮา

        นอกจากนี้ภายในงานยังมีการออกร้าน และโชว์ผลผลิตข้าวโพดที่ได้รับรางวัล และจำหน่ายการแปรรูปข้าวโพด ไม่ว่าจะเป็นขนมจากไส้ข้าวโพด จากบ้านท่าน้ำเค็ม ต.ท่าแพ   การจำหน่ายฟักข้าวโพด  ข้าวโพดย่างเนยจากชมรมผู้สูงอายุ และการแปรรูปข้าวโพดมากมายภายในงานรวมทั้งผลผลิตจากกลุ่มอาชีพต่างๆมาแสดงไว้ในงาน  มีให้ชมวันที่ 22-23 ก.ค.2566 ที่ว่าการอำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

ทั้งนี้ ทาง อบต.ฉลุง  โดยนายสุจริต  ยามาสา  นายกฯ  นำทีม เชิญชวนร่วมงานวิ่งรวมใจ  ก้าวต่อไป  เพื่อผู้ด้อยโอกาส

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูล – เริ่มแล้วเทศกาลผลไม้  วันจำปาดะสตูล   21-23 ก.ค.66   เหล่าผู้นำ  ชิม  โชว์  เปิดงานเรียกน้ำย่อยยืนยันความอร่อย ขณะที่เพื่อนบ้านมาเลเซียเข้าช้อปกันไม่ขาดสาย

สตูล  เริ่มแล้วเทศกาลผลไม้  วันจำปาดะสตูล   21-23 ก.ค.66   เหล่าผู้นำ  ชิม  โชว์  เปิดงานเรียกน้ำย่อยยืนยันความอร่อย ขณะที่เพื่อนบ้านมาเลเซียเข้าช้อปกันไม่ขาดสาย

         ที่ลานอเนกประสงค์ เทศบาลตำบลฉลุง อ.เมือง  จ.สตูล  สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสตูล  พร้อมด้วย  องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล   จัดงาน  “เทศกาลผลไม้ ของดีสตูล’66” และวันจำปาดะ   ระหว่างวันที่ 21-23 กรกฎาคม 2566   โดยภายในงาน  มีการนำผลไม้พื้นเมืองและผลไม้ที่ขึ้นชื่อ  ภายในจังหวัด  มาร่วมจัดแสดง อาทิ  จำปาดะขวัญสตูล กระท้อนนาปริก ทุเรียนบ้านโตน    และอีกมากมาย  รวมทั้งจัดการประกวดผลไม้  เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติเด่น  ในการเพิ่มมูลค่าและอนุรักษ์สายพันธุ์   ให้มีคุณภาพยิ่ง ๆ ขึ้นไป 

         นอกจากนี้ภายในงาน  มีการแสดงสินค้าพืชผลทางการเกษตร  ไม่ว่าจะเป็นจำปาดะ  โดยเฉพาะพันธุ์ขวัญสตูลที่โดดเด่น จำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 80 บาท ทั้งผลสดและการแปรรูปเป็นแบบทอด  การจำหน่ายพันธุ์ทุเรียน พันธุ์กระท้อน และพันธุ์จำปาดะ  รวมทั้งผลผลิตทางการเกษตรอื่น ๆ  อีกมากมาย ผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ทางสำนักงานพัฒนาชุมชนสตูล  คัดสรรมาร่วมออกบูธ นอกจากนี้   ยังมีบูธอาหารจานเด็ด  มัดรวมของอร่อยสตูล

 

       การจัดงานในครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการปลูก  และประชาสัมพันธ์ผลไม้อัตลักษณ์ท้องถิ่นสตูล   ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ส่งเสริมด้านการตลาด ให้ผู้ซื้อพบผู้ผลิต  และกระตุ้นให้เกษตรกรผลิต   ผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ  เป็นที่ต้องการของตลาด  อีกทั้ง   ยังส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสตูล  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจในจังหวัด

      และไฮไลท์การเปิดงานในครั้งนี้มี  นายสัมฤทธิ์  เลียงประสิทธิ์  นายกอบจ.สตูล  ประธานเปิดงาน  นางปุณณานันท์  ทองหยู  ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสตูล  และททท.สำนักงานสตูล และบรรดาผู้นำท้องถิ่นในจังหวัดสตูล  ที่มาร่วมเปิดงานด้วยการชูความอุดมสมบูรณ์ของผลผลิตที่ลูกใหญ่  ลูกโต  ผลหวาน  ปลอดภัยจากสารเคมี และชิมโชว์ความเอร็ดอร่อย   เรียกน้อยย่อยได้ไม่น้อย

       สำหรับบรรยากาศภายในงาน   นักท่องเที่ยวภายในและต่างจังหวัด  รวมทั้งนักท่องเที่ยวต่างแดนในมาเลเซีย  เข้าชิม ช็อป ชมงานกันไม่ขาดสาย

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูล-ผู้ดูแลและผู้พิการ ทำน้ำพริก (ปลาร้า-ปลาจิงจัง) ลดรายจ่าย สร้างรายได้ สร้างคุณค่าให้กับตัวเอง

สตูล-ผู้ดูแลและผู้พิการ ทำน้ำพริก (ปลาร้า-ปลาจิงจัง) ลดรายจ่าย สร้างรายได้ สร้างคุณค่าให้กับตัวเอง

        ที่ห้องประชุมศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ  เทศบาลตำบลคลองขุด  อ.เมือง จ.สตูล   ผู้ปกครองและน้องๆ ที่มีความพิการทางร่างกายและสติปัญญา  ได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมอาชีพ  แก่ผู้พิการและผู้ดูแลคนพิการ จำนวน 30 คน  ซึ่งศูนย์บริการคนพิการเทศบาลตำบลคลองขุด  ร่วมกับ พมจ.สตูล  กิจกรรมจัดขึ้นเป็นหลักสูตร 1 วัน   

        ในการสอนทำน้ำพริกปลาจิ้งจั้ง  และน้ำพริกปลาร้า  ซึ่งเป็นเมนูที่ได้รับความนิยม  ขายง่าย  และไม่ยุ่งยาก  โดยน้อง ๆ ที่มีความพิการสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง  ในการร่วมทำกิจกรรม อาทิ  การปอกหอม หรือ การเด็ดพริก  เด็ดกระเทียมตามความสามารถที่เขาจะทำได้  เพื่อให้ผู้พิการและผู้ดูแลได้มีอาชีพติดตัว  และมีรายได้ในการจุนเจือครอบครัว พร้อมกับ  รู้จักคุณค่าในตัวเอง

         โดยนายสุนทร  พรหมเมศร์  นายกเทศมนตรีตำบลคลองขุด  บอกว่า  งบประมาณที่ พมจ.สตูล อุดหนุนมาในครั้งนี้   จะเป็นทักษะในการให้ทั้งผู้พิการและผู้ดูแลมีรายได้เสริม  หรืออาจเป็นรายได้หลัก  มาช่วยเหลือครอบครัวได้อีกทางหนึ่ง  พร้อมทั้ง  เป็นการสร้างกำลังใจที่ดี ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้  ซึ่งการอบรมในครั้งนี้  ให้ความรู้ด้านเทคนิคการทำ   ก่อนไปประกอบอาชีพหลักหรืออาชีพเสริม  ซึ่งจุดเด่นของการทำน้ำพริกคือ  สามารถหาวัตถุดิบในการทำได้ในพื้นที่

        ขณะที่  นางหนูผัด  เตยแก้ว   ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลผู้พิการ  บอกว่า  เป็นโครงการที่จะให้ทุกคนได้ร่วมกันทำ  ในส่วนที่ทำได้ และอีกทั้งยังสามารถขายได้จริง เพราะน้ำพริก เป็นเมนูที่ได้รับความนิยมซื้อรับประทานกันเป็นส่วนใหญ่

  รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

รมว.ศึกษา เปิดงาน TJ-SIF 2024 ผลักดันเยาวชนไทย-ญี่ปุ่นพัฒนานวัตกรรมไอซีทีสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

อัพเดทล่าสุด