Categories
ข่าวเด่น สัมภาษณ์พิเศษ-คอลัมน์นิสต์

สตูลเอกชนมอบที่ดิน 1 ไร่ครึ่งมูลค่า 100 ล้านบาทเพื่อเป็นโฉนดให้ชุมชนชาวเลอุเส็นพร้อมโบสก์คริสต์ใช้ร่วมกัน  โดยมีเงื่อนไขห้ามซื้อขาย

สตูลเอกชนมอบที่ดิน 1 ไร่ครึ่งมูลค่า 100 ล้านบาทเพื่อเป็นโฉนดให้ชุมชนชาวเลอุเส็นพร้อมโบสก์คริสต์ใช้ร่วมกัน  โดยมีเงื่อนไขห้ามซื้อขาย

       สตูลเดินหน้าแก้ปัญหาข้อพิพาทที่ดินบนเกาะหลีเป๊ะอย่างต่อเนื่อง    ล่าสุดทางด้านนายอำเภอเมืองสตูลที่เพิ่งมารับตำแหน่งได้รับการประสานจากเอกชนยินดีมอบที่ดิน 1 ไร่ครึ่งมูลค่า 100 ล้านบาทให้กับชุมชนอุเส็น  ที่มีชาวบ้านอาศัยอยู่  12 ครัวเรือน พร้อมโบสก์คริสต์ที่เป็นศูนย์กลางของชุมชน  หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล   เพื่อเป็นโฉนดชุมชนโดยมีเพียงเงื่อนไข   ห้ามซื้อขายเป็นระยะเวลา 30 ปี 

       เกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูลวันนี้แม้จะเข้าสู่ช่วงฤดูโลซีซัน แต่ยังคงมีนักท่องเที่ยวและแรงงานหลากหลายเดินทางกันมาเยือนเกาะแห่งนี้กันไม่ขาดสาย  แม้บนเกาะขณะนี้ยังมีหากหลายข้อพิพาพาทที่ยังรอการแก้ไขจากคณะ  พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริงกรณีปัญหาข้อพิพาทที่ดินที่เกี่ยวข้องกับชุมชนชาวเล เกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล

 

          ล่าสุด นายพีรพัฒน์  เงินเจริญ  นายอำเภอละงู  (รักษาราชการแทนนายอำเภอเมืองสตูล) คนใหม่ที่เพิ่งเดินทางมารับตำแหน่งใหม่แทนคนเก่า  (ที่ป่วยพักรักษาตัว) เดินหน้าลงเก็บประเด็นปัญหาทางเดินลงทะเลของชาวเลอุรักลาโว้ยและนักท่องเที่ยวที่ยืนยันว่าเป็นที่สาธารณะใช้มาตั้งแต่บรรพบุรุษ   ขณะนี้คดีความอยู่ที่ศาลอยู่ระหว่ารอศาลตัดสิน    ปัญหาการถมที่ดิน และบุกรุกการก่อสร้างลำรางน้ำบนเกาะหลีเป๊ะ ขณะนี้ยังรอความชัดเจนว่าอยู่ในความรับผิดชอบของอุทยานตะรุเตา หรือ ทางท้องถิ่น

 

         นางสาวสุริยงค์   หาญทะเล   อายุ 38 ปี ชาวบ้านชุมชนอุเส็น  กล่าวว่า  พี่น้องมีความหวังมากขึ้นในเรื่องที่ดิน  เพราะช่วงนี้มีปัญหากับนายทุน  ตึกที่อยู่หน้าหาดหากมีการมอบโฉนดชุมชนให้จริงทุกคนในชุมชนมีความหวังมากขึ้น

 

         นายพีรพัฒน์   เงินเจริญ    นายอำเภอละงู (รรท.นายอำเภอเมืองสตูล) กล่าวว่า  ความคืบหน้าการแก้ปัญหาปัญหาที่อยู่อาศัยชาวเลในชุมชนอุเส็นมีความคืบหน้าไปมาก   จากเดิมชุมชนแห่งนี้เคยมีคดีความกับเอกชน ปรากฏว่าเอกชนคือคุณณรงค์ศักดิ์ (เอกชน) ได้ชนะคดี  ในชั้นศาลฎีกา  ชนะมาหลายปีแล้ว

        หลังจากนั้นทางคุณณรงค์ศักดิ์ ปัทมปาณีวงศ์ (เอกชน) ก็มีเจตจำนงว่ามีความประสงค์จะยกที่ดินแปลงนี้ นส 3 เลขที่ 10 เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ครึ่ง ให้กับชุมชนชาวเลอุเส็นได้อยู่ร่วมกัน โดยมีเงื่อนไขว่าห้ามขายอยู่อาศัยไปตลอดชีวิต โดยทางผู้ให้อยากจะอุทิศที่ดินผืนนี้เพราะในอดีตเคยมาทำมาหากินบนเกาะหลีเป๊ะจนมีฐานะและนี่คือเจตนารมณ์ของเอกชนผู้มอบให้

 

          หลังจากนั้นได้มาอธิบายให้กับผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวเลบนเกาะหลีเป๊ะ แล้วผู้ใหญ่บ้านทั้ง 2 หมู่บ้าน พบว่ายังมีชาวบ้านที่มีความระแวงว่าอยู่ดีๆที่ดินมูลค่า 100 ล้านมายกให้เป็นไปได้อย่างไร    จากนั้นก็ให้ทางปลัดส่วนหน้ามาพูดคุยกับชาวบ้านเพื่อสร้างความเข้าใจ  บางส่วนก็เริ่มเข้าใจ โดยตั้งใจจะทำให้ที่ดินแปลงนี้เป็นโฉนดด้วยพร้อมสลักหลังว่าห้ามขาย ซึ่งอาจจะเป็นแปลงแรกของเกาะหลีเป๊ะ หากชาวบ้านทุกคนรับ  หลังจากนั้นจะออกโฉนดให้โรงเรียนและอนามัยบนเกาะซึ่งจากขับเคลื่อนให้เสร็จภายในเดือนนี้ โดยนำเรียนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะพลตำรวจเอกสุรเชษฐ์  หักพาล

         ซึ่งการลงมาครั้งนี้ได้มาตรวจสอบหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำเรื่องไฟฟ้าเรื่องน้ำท่วมเกาะและปัญหายาเสพติดและที่อยู่อาศัยที่ไม่มั่นคงโดยทั้งหมดนี้จะเข้ามาช่วยพี่น้องชาวเลในการแก้ปัญหาก่อน    หลังจากช่วยชาวเลเสร็จ  ในส่วนของผู้ประกอบการขอแก้ไขกฎกระทรวง และออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารและใบอนุญาตโรงแรมตามขั้นตอนต่อไป

         เกาะหลีเป๊ะต้องวางมาตรการให้ชาวเลและผู้ประกอบการอยู่ด้วยกันได้อย่างพึ่งพาอาศัย  และเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนนี่คือเป้าในการทำงานโดยได้ดำเนินงานผ่านไปแล้ว 7-80%  ซึ่งยังมีในส่วนของข้อพิพาทในที่ดินแปลงอื่น ชุมชนชาวเลออื่นก็จะดำเนินการลักษณะนี้เหมือนกัน  ให้เป็นชาวบ้านอยู่ร่วมกันห้ามซื้อขาย   ส่วนข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชนหรือเอกชนกับชาวเลที่อยู่ในขบวนการพิจารณาคดีชั้นศาลขอไม่ก้าวร่วง  ส่วนชาวเลที่คิดว่าไม่ได้รับความยุติธรรมจะประสานหาทนายความผ่านสภาทนายความให้

…………………………

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวเด่น

สตูลวันสิ่งแวดล้อม   ซาเล้ง   รักษ์โลก   รักษ์ปากน้ำ  แก้ปัญหาขยะแหล่งท่องเที่ยว

สตูลวันสิ่งแวดล้อม   ซาเล้ง   รักษ์โลก   รักษ์ปากน้ำ  แก้ปัญหาขยะแหล่งท่องเที่ยว

          วันที่ 5 มิถุนายม 2566    นักท่องเที่ยวที่ลาน 18 ล้าน สถานที่พักผ่อนหย่อนใจชาวจังหวัดสตูล  ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลปากน้ำ  อำเภอละงู  จังหวัดสตูล  หลายคนอิ่มเอมใจ  เพราะได้เป็นส่วนหนึ่งในการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ไม่ว่าจะเป็น   แก้วที่ใส่ในกระบอกไม้ไผ่   อาหารที่ใส่ในภาชนะอย่างใบตอง  ใบกาบหมากที่ทำเป็นจานห่อรอง  หรือแม้กระทั่งกะลามะพร้าว ที่นำมาใส่ข้าวเหนียวให้บริการนักท่องเที่ยวในวันนี้ 

          โดยทางนายอรัญ  เหมรา  ประธานกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารรถซาเล้งตำบลปากน้ำ  อำเภอละงู  มีการรวมตัวกันจำนวน 25 ร้าน ซึ่งเป็นกลุ่มที่จำหน่ายอาหารประเภทต่างๆในพื้นที่ลาน 18 ล้าน ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล  เพื่อต้องการให้ท้องถิ่นได้ยอมรับการมีอยู่จริงของผู้ประกอบการกลุ่มนี้   ซึ่งไม่มีหน้าร้านของตนเองที่จะสามารถขายสินค้าหรืออาหารได้อย่างปกติเหมือนร้านค้าทั่วไป ทั้งยังมีความมุ่งหวังว่ากลุ่มดังกล่าวนี้จะได้รับโอกาสในการใช้พื้นที่เพื่อการค้าขายได้อย่างเป็นระบบระเบียบมากขึ้น

        ทางกลุ่มได้มีความตระหนักต่อปัญหาขยะของพื้นที่ลาน 18 ล้าน ทั้งภาพรวมของแหล่งท่องเที่ยวและพื้นที่ชุมชนทั่วไปในตำบลปากน้ำ โดยทางกลุ่มกำลังออกแบบและสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ให้มีการจัดการขยะทุกประเภทได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น ที่จะต้องสร้างการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม

         ในโอกาสของวันสิ่งแวดล้อมโลก คือวันที่ 5 มิถุนายน 2566 ที่จะถึงนี้ ทางกลุ่มได้ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล , องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ,  ภาคประชาสังคม (มูลนิธิอันดามัน สมาคมรักษ์ทะเลไทย กลุ่มรักจังสตูล)  คณะกรรมการแก้ไขปัญหาขยะฯตำบลปากน้ำ     จัดให้มีกิจกรรมเชิงรณรงค์ เพื่อสร้างความตระหนักในการแก้ไขปัญหาขยะ ซึ่งรวมถึงการลด ละ เลิก การใช้ภาชนะจากโฟมและพลาสติก   ทั้งกับกลุ่มผู้ประกอบการและกับนักท่องเที่ยวทั่วไป ภายใต้ชื่องาน “ซาเล้ง รักษ์โลก รักษ์ปากน้ำ” ซึ่งมีการเชิญชวนให้ผู้ประกอบการด้านอาหารรถซาเล้งในพื้นที่ตำบลปากน้ำทั้งหมดประมาณ 25-30 ร้าน ได้มาร่วมกันจัดพื้นที่บางส่วนของลาน 18 ล้าน เพื่อจัดกิจกรรม โดยจะมีการร่วมกันไม่ใช้ภาชนะจากโฟมและพลาสติกให้กับลูกค้า

         และจะเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวได้ตระหนักร่วมกันที่จะช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยร่วมกันจัดการขยะในพื้นที่ดังกล่าวร่วมกัน นอกจากนี้ยังจะมีกิจกรรมอื่นๆ อย่างเช่นการประกวดการสร้างสรรค์ปฏิมากรรมจากขยะจากคนทั่วไปที่สนใจ อันจะเป็นการสร้างการรณรงค์ทั่วไปได้อีกทางหนึ่ง

          และเพื่อรณรงค์ให้เกิดความตระหนักในการลด ละ เลิกการใช้ภาชนะใส่อาหารจากโฟมและพลาสติกโดยเฉพาะกับกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารในแหล่งท่องเที่ยว   เพื่อส่งเสริมแนวทางการจัดการและการแก้ไขปัญหาขยะในแหล่งท่องเที่ยวและขยะชุมชนในพื้นที่ตำบลปากน้ำ

         โดยผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น   ผู้ประกอบการร้านอาหารรถซาเล้งในพื้นที่ตำบลปากน้ำ ได้มีการร่วมกลุ่มร่วมตัวกันเพื่อออกแบบการจัดการปัญหาขยะในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของตำบลปากน้ำ และอาจจะนำไปสู่การดำเนินกิจกรรมอื่นๆที่เป็นประโยชน์กับส่วนรวม    ได้แนวทางในการสร้างทางออกต่อปัญหาการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมกับภาคส่วนต่าง ทั้งส่วนราชการ ท้องถิ่น ภาคประชาสังคม ภาคเอกชนและผู้ประกอบการ  มีความเข้าใจและความตระหนักร่วมกันของผู้ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมที่เห็นความสำคัญของการสร้างรูปธรรมในการจัดการแก้ไขปัญหาขยะให้เป็นที่ประจักษ์ในอนาคต

       ในงาน  “ซาเล้ง รักษ์โลก รักษ์ปากน้ำ”  ยังได้จัดให้มีการประกวดปฏิมากรรมจากขยะ ฟังเพลงจากเครือข่ายศิลปินเพื่อสิ่งแวดล้อมจังหวัดสตูล   นายสัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด   มอบรางวัลการประกวดปฏิมากรรมจากขยะ   กลุ่มซาเล้งรักษ์ปากน้ำ แถลงคำประกาศ “รักษ์โลก รักษ์ปากน้ำ”

…………………………………………………..

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวเด่น

ลิงแสมยึดอาคารหรูเทศบาลเมืองสตูลสร้างอาณาจักรส่วนตัว ขณะที่ตัวแทนชุมชนสุดทนวอนรัฐเร่งแก้ปัญหา

ลิงแสมยึดอาคารหรูเทศบาลเมืองสตูลสร้างอาณาจักรส่วนตัว ขณะที่ตัวแทนชุมชนสุดทนวอนรัฐเร่งแก้ปัญหา

           วันที่  6 มิ.ย.2566  ที่อาคารของเทศบาลเมืองสตูล  (เขาโต๊ะพญาวัง) ที่เคยให้เอกชนเช่า ขณะนี้ได้กลายเป็นที่อยู่ถาวรของลิงแสมจำนวนมากต่างพาครอบครัวลิงตัวเล็กและตัวใหญ่มายึดครองอาคารที่แสนจะสะดวกสบาย มีห้องน้ำ หลังคาหลบฝน  บันไดราวจับสเตนเลสอย่างดีให้อยู่อาศัยโดยไม่ต้องจ่ายค่าเช่า   

          ซึ่งก่อนหน้านี้อาคารแห่งนี้ได้ปล่อยให้เอกชนเช่าเปิดเป็นร้านอาหาร แต่ไม่สามารถทนต่อประชากรลิงที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งความซุกซนและความฉลาดรอบรู้ สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้เช่า รวมทั้งลูกค้าที่มาใช้บริการไม่สามารถทนต่อความอิทธิพลเถื่อนของลิงแสมฝูงนี้ได้ต้องอพยพย้ายออกไป และยกให้เป็นที่อยู่ของลิงแสมจนถึงปัจจุบันโดยทางเทศบาลเมืองสตูก็ไม่มีวิธีการใด ๆ หรือบังคับใช้กฎหมายและห้ามปรามกับฝูงลิงเหล่านี้ได้

         นางสาวอจรี   ธชพันธ์   อดีตผู้เคยเช่าพื้นที่อาคารของเทศบาลเมืองสตูล  (เขาโต๊ะพญาวัง) แห่งนี้  ยอมรับว่า  ด้วยบรรยากาศร่มรื่น กว้างขวาง ค่าเช่าไม่แพง ได้เปิดร้านอาหารบริหารลูกค้า นานถึง 10 ปีก่อนจะหมดสัญญา โดยระยะหลังๆ พบว่าประชากรลิงเพิ่มขึ้นทุกวัน อีกทั้งปัญหาลิงก่อกวน ทำลายข้าวของลักขโมย   และทำลายรถของลูกค้าไม่สามารถจะทนเช่าอยู่ต่อไปได้แม้ราคาค่าเช่าจะไม่แพง  และเห็นว่าหากหลายฝ่ายช่วยกันแก้ปัญหาลิงที่เพิ่มขึ้นในขณะนี้จะสามารถเปิดแหล่งท่องเที่ยว สร้างรายได้เข้าเทศบาลเมืองสตูลได้อีกจำนวนมาก  

         ปัญหาลิงยังส่งผลกระจายวงกว้างไปในหลายชุมชนของเทศบาลเมืองสตูล  ทั้งการทำลายทรัพย์สิน  การค้นหาอาหารตามบ้านเรือนของชาวบ้าน   ล่าสุดวันนี้  ที่ห้องประชุมโต๊ะพญาวัง  ชั้น 4  ศาลากลางจังหวัดสตูล  ตัวแทนชาวบ้านในชุมชนเทศบาลเมืองสตูล  5 คน (จากชุมชนห้องสมุด,ชุมชนโรงพระสามัคคี,ชุมชนพิมาน,ชุมชนวัดชนาธิปเฉลิม)  นำโดย  นายประชิต   สารานพคุณ  ที่ปรึกษาชุมชนเทศบาลเมืองสตูล  เข้าเสนอขอให้ดำเนินการแก้ปัญหาลิง ก่อกวน  ต่อที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ จังหวัดสตูล  (กรอ.จ.สตูล)  ซึ่งมีนายชาตรี  ณ  ถลาง   รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล  รักษาการผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล  เป็นประธานการประชุม  โดยระยะการแก้ปัญหาระยะสั้นด้วยการจัดหาอาหารให้ลิงที่เขาโต๊ะพญาวังเพื่อจำกัดไม่ให้ลิงออกมาในตัวเมือง  ส่วนระยะยาวการทำหมันลิง  และการจัดหาทีมควบคุมประชากรลิง       

         โดยนายประชิต   สารานพคุณ  ที่ปรึกษาชุมชนเทศบาลเมืองสตูล    กล่าวว่า  เคยยื่นหนังสือไปยังนายกฯเทศมนตรีแล้ว เพื่อให้ช่วยแก้ปัญหาลิงให้กับชาวบ้านในชุมชน  เพราะ ทม.บอกว่าไม่มีอำนาจในการจัดการลิง  เพียงแต่ตั้งงบประมาณสนับสนุนในการทำหมันทุกปี  ปีละประมาณ 4 แสนบาทเท่านั้น วันนี้จึงมาขอคำเสนอแนะและการหาางออกของปัญหาลดความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านในชุมชนเทศบาลเมืองสตูล

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวเด่น

สตูลฉาว! ทิ้งร้างโรงเชือดแพะหนึ่งเดียวในภาคใต้ 

สตูลฉาว! ทิ้งร้างโรงเชือดแพะหนึ่งเดียวในภาคใต้นานถึง 16 ปี  ชาวบ้านขาดโอกาส  ผู้นำท้องถิ่นพร้อมรับการถ่ายโอนสานต่อเพื่อชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์

จากกรณีเพจ  “ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน”  ตีแพร่โรงฆ่าแพะสตูล ถูกปล่อยทิ้งร้างนานนับปีอยู่ในสภาพทรุดโทรมนั้น 

(วันที่ 30 พ.ค.2566)  ทีมข่าวได้ลงพื้นที่ตรวจสอบพื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลควนโพธิ์  อำเภอเมืองสตูล  จุดที่มีการชี้เป้าพบว่าเป็นจริงตามที่มีการนำเสนอ  โดยสภาพทั่วไปพบว่าเป็นอาคารที่เตรียมไว้สำหรับใช้เป็นคอกขังสัตว์ และอาคารสำหรับเตรียมแปรรูป ห้องเย็น ที่เหลือแต่โครงสร้าง ฝากั้นถูกรื้อถอนรวมทั้งฝ้าเพดานและพนัง อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า  แม้กระทั่งวัสดุที่มีเหล็กเส้น  สแตนเลส  แม้แต่กลอนลูกบิดประตู  ก็ถูกถอดไม่เหลือสภาพ  แม้กระทั่งภายในห้องน้ำเหลือเพียงแต่โถส้วมไว้ให้ดูต่างหน้าเท่านั้น

            นายเนาะ  หนูชูสุข  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลควนโพธิ์ อำเภอเมืองสตูล  ยอมรับว่า  อาคารดังกล่าวไว้ใช้สำหรับเป็นโรงเชือดแพะที่มีมาตรฐานของอำเภอเมืองสตูล ขณะที่มีการเปิดอาคารใหม่ๆ ตนได้มาดูขณะนั้นยังไม่เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  อาคารนี้มีความพร้อมสมบูรณ์แบบเหมาะกับการใช้เป็นโรงเชือด แต่วันเวลาผ่านไปขณะที่ตนมารับตำแหน่งจนถึงวันนี้ 2 ปีพบปัญหาขโมยโจรลักทรัพย์ในอาคารนี้บ่อยครั้ง  จนปัจจุบันก็เหลือแต่ซากโครงอาคาร  เพราะหัวขโมยแม้จะถูกจับได้  แต่เมื่อมีการทราบข่าวว่าปล่อยทิ้งร้างก็มีขโมยจากพื้นที่ต่างถิ่นมาขนออกไปชิ้น สองชิ้นเหลือตามสภาพที่เห็น    ยอมรับว่ารู้สึกเสียดายที่ยังไม่ทันใช้ประโยชน์อะไรเลย  และไม่รู้ว่าใครคือหน่วยงานที่รับผิดชอบงบประมาณจำนวนมาก  ที่มากองไว้โดยไม่ได้ทำประโยชน์  ก็อยากให้ส่วนเกี่ยวข้องมาดูแล และรื้อฟื้นให้ใช้ประโยชน์ได้จริง ๆ

            จากนั้นสื่อได้ลงไปสอบถามความจริงจากผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลควนโพธิ์   โดยมีนายบุญมา  โดยพิลา  นายกอบต.ควนโพธิ์  กล่าวกับสื่อว่า  อาคารดังกล่าวที่เป็นโรงเชือดแพะไม่ได้อยู่ในความดูแลของทางอบต.แต่อย่างใด  พร้อมเปิดเผยว่า  ได้พยายามติดต่อไปยังธนารักษ์ และปศุสัตว์ พบว่าเป็นงบพัฒนาจังหวัดที่ลงมาที่ปศุสัตว์จังหวัดสตูล  ประมาณต้นปี 2551-2552 และมีการโอนอาคารทรัพย์สินไปที่ธนารักษ์  หลังจากได้รับตำแหน่งนายกฯประมาณปี 2565 ได้เดินเรื่องขออาคารทรัพย์สินดังกล่าวมาอยู่ในความดูแลของอบต.แต่ติดขัดที่ระเบียบ จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถถ่ายโอนได้

          นายกอบต.ควนโพธิ์  กล่าวเพิ่มเติมว่า  ยอมรับว่าพบว่ามีขโมยเข้ามาลักเล็กขโมยน้อย  ทางอบต.ยังไม่สามารถเป็นเจ้าทุกข์แจ้งความได้  เพราะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ดังกล่าว  ยอมรับว่าเสียดายที่ชาวตำบลควนโพธิ์  ไม่เฉพาะชาวจังหวัดสตูล  และชาวภาคใต้ทุกคนที่เสียโอกาสไม่สามารถใช้อาคารนี้ได้   เพราะเจตนารมณ์ของอาคารนี้ต้องการเป็นโรงเชือดแพะแห่งแรกของภาคใต้ที่ได้รับมาตรฐานส่งออก  จากมูลค่าอาคารและอุปกรณ์ทรัพย์สินประมาณ 2 ล้าน 7 แสนบาทที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง  มาวันนี้ทางท้องถิ่นเองก็พร้อมจะรับการถ่ายโอนมาต่อยอดเพราะแพะคือสัตว์เศรษฐกิจของพื้นที่  หรือจะปรับเป็นอาคารสร้างสุขภาพให้ชาวบ้านตำบลควนโพธิ์ต่อไป  พร้อมรับเป็นเรื่องดีที่มีการตีแพร่ประเด็นนี้จะได้ช่วยกันหาทางออกของปัญหา

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวเด่น

สตูล ปปช.ลงตรวจสอบโรงแพะ หลังถูกทิ้งร้างนาน 14 ปี

         วันที่ 1 มิ.ย.2566  ภายหลังทราบข่าวจากสื่อโซเชียล  เพจ หมาเฝ้าบ้าน กรณี โรงฆ่าแพะที่จังหวัดสตูล ถูกปล่อยทิ้งร้างเหลือแต่โครงสร้าง นานนับ 10 ปี   ทางด้าน ปปช.จังหวัดสตูล นำโดยนายธนกฤต  เลิศวิริยวรางกูร  ผู้อำนวยการสำนักงาน ปปช.  พร้อมเจ้าหน้าที่  ร่วมกับนายประสงค์  เรืองสวัสดิ์  ปศุสัตว์จังหวัดสตูล  ลงตรวจสอบจุดก่อสร้างพื้นที่หมู่ที่ 2 ต.ควนโพธิ์  อ.เมือง  จ.สตูล   หลังเข้าประชุมรับทราบปัญหาจากปศุสัตว์จังหวัด  ก่อนลงพื้นที่จริงพบสภาพโรงฆ่าแพะ   เป็นจริงตามที่มีการนำเสนอ  โดยสภาพทั่วไปพบว่าเป็นอาคารที่เตรียมไว้สำหรับใช้เป็นคอกขังสัตว์ และอาคารสำหรับเตรียมแปรรูป ห้องเย็น ที่เหลือแต่โครงสร้าง ฝากั้นถูกรื้อถอนรวมทั้งฝ้าเพดานและพนัง อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า  แม้กระทั่งวัสดุที่มีเหล็กเส้น  สแตนเลส  แม้แต่กลอนลูกบิดประตู  ก็ถูกถอดไม่เหลือสภาพ  แม้กระทั่งภายในห้องน้ำเหลือเพียงแต่โถสุขภัณฑ์ไว้ให้ดูต่างหน้าเท่านั้น 

          ด้าน  นายธนกฤต  เลิศวิริยวรางกูร  ผู้อำนวยการสำนักงาน ปปช.  กล่าวว่า  โครงการนี้เกิดจากงบประมาณไทยเข้มแข็ง  ใช้งบประมาณค่อนข้างสูง  ในพื้นที่ตำบลควนโพธิ์ ตรงนี้เป็นการก่อสร้างโรงฆ่าสัตว์  พร้อมอุปกรณ์ต่างๆ  หลังจากได้ดำเนินการ  มีประเด็นเรื่องของไฟฟ้า และน้ำ ซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในตัวโครงการทำให้โครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ  ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้   ที่มาในวันนี้พบมีการร้องเรียนในเพจ หมาเฝ้าบ้าน  การลงทุนภาครัฐไม่ก่อประโยชน์  ก่อสร้างแล้วทิ้งร้าง  ไม่สามารถดำเนินการได้   ทางสำนักงานปปช.ได้ประสานไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง คือปศุสัตว์จังหวัด  และสำนักงานจังหวัดสตูล เพื่อขอทราบข้อเท็จจริง ถึงที่มาของโครงการ หลังจากโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จนี้  ได้มีการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์  ในเบื้องต้นเท่าที่ประเมิน สภาพพื้นที่ค่อนข้างได้รับความเสียหายมาก  วันนี้สำนักงานปปช.จะไปดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป  สิ่งที่จะฝากไว้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การที่จะบูรณะซ่อมแซมเพื่อให้โครงการนี้สามารถ ดำเนินการได้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ที่ดำเนินการต่อไป

        ผู้อำนวยการสำนักงาน ปปช.  กล่าวอีกว่า  สำหรับเบาะแสการทุจริต  เบื้องต้นตอนนี้ยังระบุไม่ได้ เท่าที่ทราบ มีในเรื่องของการเข้าใจของเจ้าหน้าที่ เรื่องการส่งมอบโครงการ และการบำรุงดูแลรักษา ตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการสอบถามข้อเท็จจริง ว่าเป็นอย่างไรบ้างซึ่งต้องใช้เวลา มูลค่าความเสียหายถ้าประเมินในเบื้องต้น ที่โครงการก่อสร้างในเบื้องต้นก่อน  แต่จริงๆความเสียหายอาจจะมากกว่านี้ อย่าลืมว่าประโยชน์ที่ได้จากโครงการนี้ในระยะเวลา 10 กว่าปี มันต้องมาประเมินว่ามีความเสียหายมากน้อยแค่ไหน     

            นายประสงค์  เรืองสวัสดิ์  ปศุสัตว์จังหวัดสตูล  กล่าวถึงโครงการดังกล่าวนี้ว่า  เป็นโครงการใช้งบประมาณพัฒนาจังหวัด  ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2553  มี 2 จุดคือ  จุดนี้เป็นโรงฆ่าแพะ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมือง  ส่วนอีกจุดเป็นโรงฆ่าวัว ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอละงู   โครงการดังกล่าวประโยชน์มีเยอะ  เพราะปัจจุบันก็มีเกษตรกร  ผู้ประกอบการที่จะขออนุญาติเปิด  แสดงว่าเป็นความต้องการของพื้นที่  เจ้าหน้าที่ซึ่งทำโครงการในรอบนั้น  ทางกรมปศุสัตว์ก็มีนโยบายที่จะยกระดับอาหารที่ปลอดภัยมาจากโรงฆ่าที่ได้รับมาตรฐาน  การชำแหละต้องฆ่าในโรงฆ่าซึ่งมีสัตวแพทย์ตรวจควบคุมโรค  ดูแลในเรื่องการปล่อยเนื้อออกสู่ผู้บริโภคต้องมาจากโรงฆ่าที่ได้รับมาตรฐาน  ปลอดภัย  ในตอนนี้รัฐก็อยากให้มีโรงฆ่าสัตว์มาตรฐาน 

         แต่ทีนี้เรื่องการก่อสร้าง ที่สร้างเสร็จก็ไม่สามารถดำเนินการส่งมอบ หรือขอให้ภาคท้องถิ่นมารับช่วยต่อได้เนื่องจากว่า  งบประมาณโดยตัดในเรื่องค่าสาธารณูปโภค  ไม่มีไฟฟ้าและน้ำประปา  ซึ่งโรงงานตรงนี้ถ้าไม่มีไฟฟ้า และประปา  ก็ทำไม่ได้  ในส่วนนี้ทางปศุสัตว์ได้ทำเรื่องของบประมาณไฟฟ้าและน้ำประปามาตลอด  กระทั่งค้นเอกสารพบ ในปี 2557  ก็ยังมีการร้องขอประเมินจัดทำไฟฟ้าอยู่ตลอด  ซึ่งทางปศุสัตว์ก็พยายามจะทำให้ดำเนินการได้ 

          ทั้งนี้   สำหรับ โครงการก่อสร้างโรงผลิตแพะเนื้อมาตรฐานพร้อมอุปกรณ์ งบประมาณ 15,150,000 บาท ระยะเวลาโครงการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552-2553  ตั้งอยู่ในพื้นที่  ม.2 ต. ควนโพธิ์ อ.เมืองสตูล จ.สตูล  และ 2.โครงการก่อสร้างโรงฆ่าโคพร้อมอุปกรณ์ งบประมาณ 17,150,000 บาท ปีงบประมาณ พ.ศ.2552-2553  ตั้งอยู่ในพื้นที่ ม.12 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล  รวม 2 โครงการ 32 ล้าน 3 แสนบาท

        สำหรับโรงฆ่าโค ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอละงู นั้น สภาพค่อนข้างสมบูรณ์  ปิดกุญแจแน่นหนา  เสื่อมไปตามกาลเวลา  ที่พบสภาพชำรุดมีเพียงห้องน้ำเท่านั้น   

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวเด่น

สตูลฉาว! ทิ้งร้างโรงเชือดแพะหนึ่งเดียวในภาคใต้นานถึง 16 ปี 

สตูลฉาว! ทิ้งร้างโรงเชือดแพะหนึ่งเดียวในภาคใต้นานถึง 16 ปี  ชาวบ้านขาดโอกาส  ผู้นำท้องถิ่นพร้อมรับการถ่ายโอนสานต่อเพื่อชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์

จากกรณีเพจ  “ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน”  ตีแพร่โรงฆ่าแพะสตูล ถูกปล่อยทิ้งร้างนานนับปีอยู่ในสภาพทรุดโทรมนั้น 

(วันที่ 30 พ.ค.2566)  ทีมข่าวได้ลงพื้นที่ตรวจสอบพื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลควนโพธิ์  อำเภอเมืองสตูล  จุดที่มีการชี้เป้าพบว่าเป็นจริงตามที่มีการนำเสนอ  โดยสภาพทั่วไปพบว่าเป็นอาคารที่เตรียมไว้สำหรับใช้เป็นคอกขังสัตว์ และอาคารสำหรับเตรียมแปรรูป ห้องเย็น ที่เหลือแต่โครงสร้าง ฝากั้นถูกรื้อถอนรวมทั้งฝ้าเพดานและพนัง อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า  แม้กระทั่งวัสดุที่มีเหล็กเส้น  สแตนเลส  แม้แต่กลอนลูกบิดประตู  ก็ถูกถอดไม่เหลือสภาพ  แม้กระทั่งภายในห้องน้ำเหลือเพียงแต่โถส้วมไว้ให้ดูต่างหน้าเท่านั้น

            นายเนาะ  หนูชูสุข  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลควนโพธิ์ อำเภอเมืองสตูล  ยอมรับว่า  อาคารดังกล่าวไว้ใช้สำหรับเป็นโรงเชือดแพะที่มีมาตรฐานของอำเภอเมืองสตูล ขณะที่มีการเปิดอาคารใหม่ๆ ตนได้มาดูขณะนั้นยังไม่เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  อาคารนี้มีความพร้อมสมบูรณ์แบบเหมาะกับการใช้เป็นโรงเชือด แต่วันเวลาผ่านไปขณะที่ตนมารับตำแหน่งจนถึงวันนี้ 2 ปีพบปัญหาขโมยโจรลักทรัพย์ในอาคารนี้บ่อยครั้ง  จนปัจจุบันก็เหลือแต่ซากโครงอาคาร  เพราะหัวขโมยแม้จะถูกจับได้  แต่เมื่อมีการทราบข่าวว่าปล่อยทิ้งร้างก็มีขโมยจากพื้นที่ต่างถิ่นมาขนออกไปชิ้น สองชิ้นเหลือตามสภาพที่เห็น    ยอมรับว่ารู้สึกเสียดายที่ยังไม่ทันใช้ประโยชน์อะไรเลย  และไม่รู้ว่าใครคือหน่วยงานที่รับผิดชอบงบประมาณจำนวนมาก  ที่มากองไว้โดยไม่ได้ทำประโยชน์  ก็อยากให้ส่วนเกี่ยวข้องมาดูแล และรื้อฟื้นให้ใช้ประโยชน์ได้จริง ๆ

            จากนั้นสื่อได้ลงไปสอบถามความจริงจากผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลควนโพธิ์   โดยมีนายบุญมา  โดยพิลา  นายกอบต.ควนโพธิ์  กล่าวกับสื่อว่า  อาคารดังกล่าวที่เป็นโรงเชือดแพะไม่ได้อยู่ในความดูแลของทางอบต.แต่อย่างใด  พร้อมเปิดเผยว่า  ได้พยายามติดต่อไปยังธนารักษ์ และปศุสัตว์ พบว่าเป็นงบพัฒนาจังหวัดที่ลงมาที่ปศุสัตว์จังหวัดสตูล  ประมาณต้นปี 2551-2552 และมีการโอนอาคารทรัพย์สินไปที่ธนารักษ์  หลังจากได้รับตำแหน่งนายกฯประมาณปี 2565 ได้เดินเรื่องขออาคารทรัพย์สินดังกล่าวมาอยู่ในความดูแลของอบต.แต่ติดขัดที่ระเบียบ จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถถ่ายโอนได้

          นายกอบต.ควนโพธิ์  กล่าวเพิ่มเติมว่า  ยอมรับว่าพบว่ามีขโมยเข้ามาลักเล็กขโมยน้อย  ทางอบต.ยังไม่สามารถเป็นเจ้าทุกข์แจ้งความได้  เพราะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ดังกล่าว  ยอมรับว่าเสียดายที่ชาวตำบลควนโพธิ์  ไม่เฉพาะชาวจังหวัดสตูล  และชาวภาคใต้ทุกคนที่เสียโอกาสไม่สามารถใช้อาคารนี้ได้   เพราะเจตนารมณ์ของอาคารนี้ต้องการเป็นโรงเชือดแพะแห่งแรกของภาคใต้ที่ได้รับมาตรฐานส่งออก  จากมูลค่าอาคารและอุปกรณ์ทรัพย์สินประมาณ 2 ล้าน 7 แสนบาทที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง  มาวันนี้ทางท้องถิ่นเองก็พร้อมจะรับการถ่ายโอนมาต่อยอดเพราะแพะคือสัตว์เศรษฐกิจของพื้นที่  หรือจะปรับเป็นอาคารสร้างสุขภาพให้ชาวบ้านตำบลควนโพธิ์ต่อไป  พร้อมรับเป็นเรื่องดีที่มีการตีแพร่ประเด็นนี้จะได้ช่วยกันหาทางออกของปัญหา

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป ข่าวเด่น ท้องถิ่น-การเมือง ท่องเที่ยว-กีฬา ทั้งหมด สัมภาษณ์พิเศษ-คอลัมน์นิสต์ เยาวชน-การศึกษา

สตูล เขตห้ามล่าสัตว์ป่าฯ ชวนส่องนกอพยพ และ นกประจำถิ่น หลากชนิดกว่า 5,000 ตัวหนีหนาวอวดโฉมรับปีใหม่

สตูล เขตห้ามล่าสัตว์ป่าฯ ชวนส่องนกอพยพ และ นกประจำถิ่น หลากชนิดกว่า 5,000 ตัวหนีหนาวอวดโฉมรับปีใหม่

ที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่า  “หนองปลักพระยา เขาระยาบังสา”  ตำบลฉลุง   อำเภอเมือง  จังหวัดสตูล  เป็นห้วงที่มีการอพยพของนกต่างถิ่นหนีหนาวมาจากซีกโลกเหนือ   อพยพมาอยู่ที่นี่กันเป็นจำนวนมากซึ่งเป็นเขตอบอุ่นและมีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ  โดยเฉพาะนกเป็ดแดง   นกอ้ายงั่ว   นกอีโก้ง   นกกระสา   และกลุ่มนกยางชนิดต่างๆ

          โดยเฉพาะนกเป็ดแดงที่อพยพมาจำนวนมากและนกนานาชนิดรวมไม่น้อยกว่า 5,000 ตัว   ที่มาอวดโฉมให้เห็นในห้วงเดือน ก.ย.- ส.ค.ของทุกปี   ทำให้บรรดานักส่องนกทั้งมือเก่าและมือใหม่   จะเดินทางมาชมนกที่นี่กันเป็นจำนวนมาก  ที่นี่มีความพิเศษที่ไม่ได้มีเฉพาะหนองน้ำเท่านั้น    ที่นี่ยังมีภูเขาและมีนกหายากให้ชม   อย่างนกประจำถิ่น “นกทึดทือพันธุ์เหนือ”   เป็นตระกูลนกเค้าแมวและเป็นสัญลักษณ์ประจำเขตห้ามล่าสัตว์ป่า  “หนองปลักพระยา เขาระยาบังสา” ที่หาดูได้ยากแต่สามารถหาดูได้ที่นี่ที่มีประชากร 10 ตัว

นายชุติพงค์   พลวัฒน์ 

          นายชุติพงค์   พลวัฒน์   นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ  หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองปลักพระยาและเขาระยาบังสา  กล่าวว่า  สำหรับนกประจำถิ่นที่หาชมได้ยากแต่มีที่นี่คือนกทึดทือพันธุ์เหนือ  เป็นตระกูลนกเค้าแมวและเป็นสัญลักษณ์ประจำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองปักพญา หาดูได้ยากและเป็นนกประจำถิ่น    สำหรับนักดูนกที่สนใจจะมาทำกิจกรรมที่นี่สามารถดูได้ตลอดทั้งปี หากจะดูนกอพยพก็สามารถมาดูได้ในห้วงเดือนกันยายนถึงเมษายนของทุกปีสามารถเข้ามาติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อุปกรณ์ต่างๆก็มีบริการให้สำหรับนักท่องเที่ยว 

และในห้วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ทางกรมอุทยานฯ มอบให้สำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใน  เขตห้ามล่าสัตว์ป่า“หนองปลักพระยา  เขาระยาบังสา” จะมีบริการน้ำดื่ม  กาแฟ  และความปลอดภัย  ให้กับนักท่องเที่ยวรวมถึงการงดจัดเก็บการเข้ามาใช้บริการ 31 -1 มกราคม  2566

และในห้วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ทางกรมอุทยานฯ มอบให้สำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใน  เขตห้ามล่าสัตว์ป่า“หนองปลักพระยา  เขาระยาบังสา” จะมีบริการน้ำดื่ม  กาแฟ  และความปลอดภัย  ให้กับนักท่องเที่ยวรวมถึงการงดจัดเก็บการเข้ามาใช้บริการ 31 -1 มกราคม  2566

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป ข่าวเด่น ท้องถิ่น-การเมือง ท่องเที่ยว-กีฬา ทั้งหมด สัมภาษณ์พิเศษ-คอลัมน์นิสต์ เยาวชน-การศึกษา

วันงดสูบบุหรี่โลก สตูลประกาศให้ 2 ท่าเทียบเรือสำคัญระหว่างประเทศและท่าเทียบเรือท่องเที่ยวปลอดบุหรี่ยกระดับมาตราฐานท่าเรือสู่นานาชาติ

วันงดสูบบุหรี่โลก สตูลประกาศให้ 2 ท่าเทียบเรือสำคัญระหว่างประเทศและท่าเทียบเรือท่องเที่ยวปลอดบุหรี่ยกระดับมาตราฐานท่าเรือสู่นานาชาติ

ที่ห้องประชุมตำรวจน้ำจังหวัดสตูล   นางสาวพัชรี  เกิดพรม  ผู้ทรงคุณวุฒิควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัดสตูล , ศูนย์ข่าวปลอดควันจังหวัดสตูล  , องค์กรงดเหล้าสูบบุหรี่ที่จังหวัดสตูล  ร่วมเป็นสักขีพยาน  การลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU)  ในการดำเนินการให้ท่าเรือตำมะลัง เป็นท่าเรือปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย

          โดยนายเสรี  พงศ์นฤเดช รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสตูล  ได้รับมอบหมายจากนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสตูล ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU)  ในการดำเนินการให้ท่าเรือตำมะลัง เป็นท่าเรือปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดให้ สถานที่ท่าเรือตำมะลัง เป็นสถานที่สาธารณะที่มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 

โดยหน่วยงานที่ร่วมลงนามประกอบด้วย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาสตูลด่านศุลกากรสตูล  ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสตูล ตำรวจน้ำ 3 กองกำกับการ 9 กองบังคับการตำรวจน้ำ   ด่านตรวจสัตว์ป่า  ด่านตรวจคนหางาน ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 5  ด่านกักกันสัตว์  ห้างหุ้นส่วนจำกัด อันดามัน บิซิเนส แอนด์ คอนสตรัคชั่น 

          ส่งผลให้ท่าเทียบเรือในจังหวัดสตูล ถูกประกาศเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่แล้วจำนวน 2 แห่ง  โดยแห่งแรกได้ถูกประกาศขึ้นที่ท่าเทียบเรือปากบารา (ซึ่งเป็นท่าเทียบเรือท่องเที่ยวสำคัญที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่มาเยือนจังหวัดสตูล)  และแห่งที่ 2 คือท่าเทียบเรือตำมะลัง (ท่าเทียบเรือระหว่างประเทศไทยจังหวัดสตูล เกาะลังกาวีประเทศมาเลเซีย)

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป ข่าวเด่น ท้องถิ่น-การเมือง ท่องเที่ยว-กีฬา ทั้งหมด สัมภาษณ์พิเศษ-คอลัมน์นิสต์ เยาวชน-การศึกษา

เลขาธิการ ศอ.บต.เปิดกิจกรรมสานสัมพันธ์คนไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่ อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ระบุ ศอ.บต. พร้อมดูแลประชาชนทุกศาสนิกอย่างเท่าเทียม

เลขาธิการ ศอ.บต.เปิดกิจกรรมสานสัมพันธ์คนไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่ อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ระบุ ศอ.บต. พร้อมดูแลประชาชนทุกศาสนิกอย่างเท่าเทียม

วันนี้ (5 กุมภาพันธ์ 2566) เวลา 18.30 น. ที่ ห้องปลายสยาม โรงแรมเก็นติ้ง อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นประธานเปิดกิจกรรม และพบปะประชาชนคนไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ในกิจกรรมสานสัมพันธ์คนไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สังคมหลากหลายวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของอำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส พร้อมร่วมรับประทานอาหารเนื่องในโอกาสต้อนรับวันตรุษจีน ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นนโยบายของ พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. ที่กำหนดให้จัดขึ้นในโอกาสวันตรุษจีน และเป็นวันปีใหม่ของชาวไทยเชื้อสายจีน นับเป็นโอกาสที่ดี เพื่อให้ประชาชนชาวไทยเชื้อสายจีน ได้มารวมตัวกัน พบปะแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นในการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นสมาคม มูลนิธิ ศาลเจ้า หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เข้าร่วมจำนวนมาก โดยมี นายไพโรจน์ จริตงาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นางสุนิสา รามแก้ว ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. (กรมประชาสัมพันธ์) นาวาเอกจักรพงษ์ อภิมหาธรรม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนงานพัฒนาฝ่ายพลเรือน ศอ.บต. นางสุชาดา พันธุ์นรา นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโกลก เจ้าหน้าที่สำนักกอง / ศอ.บต. หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ทหาร และประชาชนชาวไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่อำเภอสุไหหงโกลก เข้าร่วมกว่า 600 คน

สำหรับ กิจกรรมภายในงาน มีการแสดงรำจีน ในชุดการแสดง 7 นางฟ้ารำอวยพร ชุดการแสดง คนไทยเชื้อสายจีน เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การแสดงเชิ่ดสิงโตจาก ศิษย์เจ้าแม่โต๊ะโมะ และคณะสิงโตลูกท้าวมหาพรหม สุไหงโกลก

ในการนี้ เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งที่ดีงามและเป็นสิริมงคลต่อบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง และที่สำคัญทุกคนที่อยู่ในงานแห่งนี้ถึงแม้จะเป็นคนจีนโดยกำเนิดแต่ทุกคนก็ได้ร้องเพลงชาติด้วยความไพเราะ บ่งบอกถึงว่า เราทุกคนได้รัก และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ของสถาบันพระมหากษัตริย์ และรู้สึกภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ร่วมกิจกรรมสานสัมพันธ์ พี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน ในพื้นที่ต่าง ๆ มาแล้ว และครั้งนี้ได้จัดขึ้นในพื้นที่อำ้ภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ท่ามกลางพี่น้องประชาชนเข้าร่วมอย่างคึกคัก อยากให้ได้รับรู้ว่า ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติใด ศาสนาใด ท่านทุกคนอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะต้องได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าท่านมาจากมณฑลใด ยุคใด วันนี้ท่านคือพลเมืองไทย ที่รัฐบาล โดย ศอ.บต. จะต้องดูแลทุกคน เพราะอำเภอสุไหงโกลก คือพื้นที่สังคมพหุวัฒนธรรมอย่างแท้ เราเองจะพยายามด้วยความสามารถเพื่อให้ชาวไทนเชื้อสายจีน สามารถอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมีความสุข

ด้าน หนึ่งในผู้ร่วมงานจากสมาคมแต้จิ๋ว ได้กล่าวถึงความรู้สึกในการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ว่า ขอขอบคุณศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้จัดกิจกรรมพบปะคนไทยเชื้อสายจีนในครั้งนี้ และได้ความรู้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นของการใช้ชีวิตประจำวัน สิทธิของคนไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และที่สำคัญ สายด่วนอุ่นใจ ศอ.บต. 1880 เป็นเลขหมายที่คนไทยทุกคนในพื้นที่ สามารถใช้จริง และช่วยเหลือคนไทยพื้นที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ปทิตตา หนดกระโทก ผู้สื่อข่าว นราธิวาสรายงาน

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป ข่าวเด่น ท้องถิ่น-การเมือง ท่องเที่ยว-กีฬา ทั้งหมด สัมภาษณ์พิเศษ-คอลัมน์นิสต์ เยาวชน-การศึกษา

สตูล พรรคก้าวไกลประกาศชัยชนะด้วยคะแนนถล่มทลาย แห่ขอบคุณทุกคะแนนเสียงประชาชน

เลขาธิการ ศอ.บต.เปิดกิจกรรมสานสัมพันธ์คนไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่ อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ระบุ ศอ.บต. พร้อมดูแลประชาชนทุกศาสนิกอย่างเท่าเทียม

วันนี้ (5 กุมภาพันธ์ 2566) เวลา 18.30 น. ที่ ห้องปลายสยาม โรงแรมเก็นติ้ง อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นประธานเปิดกิจกรรม และพบปะประชาชนคนไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ในกิจกรรมสานสัมพันธ์คนไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สังคมหลากหลายวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของอำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส พร้อมร่วมรับประทานอาหารเนื่องในโอกาสต้อนรับวันตรุษจีน ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นนโยบายของ พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. ที่กำหนดให้จัดขึ้นในโอกาสวันตรุษจีน และเป็นวันปีใหม่ของชาวไทยเชื้อสายจีน นับเป็นโอกาสที่ดี เพื่อให้ประชาชนชาวไทยเชื้อสายจีน ได้มารวมตัวกัน พบปะแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นในการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นสมาคม มูลนิธิ ศาลเจ้า หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เข้าร่วมจำนวนมาก โดยมี นายไพโรจน์ จริตงาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นางสุนิสา รามแก้ว ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. (กรมประชาสัมพันธ์) นาวาเอกจักรพงษ์ อภิมหาธรรม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนงานพัฒนาฝ่ายพลเรือน ศอ.บต. นางสุชาดา พันธุ์นรา นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโกลก เจ้าหน้าที่สำนักกอง / ศอ.บต. หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ทหาร และประชาชนชาวไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่อำเภอสุไหหงโกลก เข้าร่วมกว่า 600 คน

สำหรับ กิจกรรมภายในงาน มีการแสดงรำจีน ในชุดการแสดง 7 นางฟ้ารำอวยพร ชุดการแสดง คนไทยเชื้อสายจีน เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การแสดงเชิ่ดสิงโตจาก ศิษย์เจ้าแม่โต๊ะโมะ และคณะสิงโตลูกท้าวมหาพรหม สุไหงโกลก

ในการนี้ เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งที่ดีงามและเป็นสิริมงคลต่อบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง และที่สำคัญทุกคนที่อยู่ในงานแห่งนี้ถึงแม้จะเป็นคนจีนโดยกำเนิดแต่ทุกคนก็ได้ร้องเพลงชาติด้วยความไพเราะ บ่งบอกถึงว่า เราทุกคนได้รัก และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ของสถาบันพระมหากษัตริย์ และรู้สึกภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ร่วมกิจกรรมสานสัมพันธ์ พี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน ในพื้นที่ต่าง ๆ มาแล้ว และครั้งนี้ได้จัดขึ้นในพื้นที่อำ้ภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ท่ามกลางพี่น้องประชาชนเข้าร่วมอย่างคึกคัก อยากให้ได้รับรู้ว่า ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติใด ศาสนาใด ท่านทุกคนอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะต้องได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าท่านมาจากมณฑลใด ยุคใด วันนี้ท่านคือพลเมืองไทย ที่รัฐบาล โดย ศอ.บต. จะต้องดูแลทุกคน เพราะอำเภอสุไหงโกลก คือพื้นที่สังคมพหุวัฒนธรรมอย่างแท้ เราเองจะพยายามด้วยความสามารถเพื่อให้ชาวไทนเชื้อสายจีน สามารถอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมีความสุข

ด้าน หนึ่งในผู้ร่วมงานจากสมาคมแต้จิ๋ว ได้กล่าวถึงความรู้สึกในการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ว่า ขอขอบคุณศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้จัดกิจกรรมพบปะคนไทยเชื้อสายจีนในครั้งนี้ และได้ความรู้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นของการใช้ชีวิตประจำวัน สิทธิของคนไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และที่สำคัญ สายด่วนอุ่นใจ ศอ.บต. 1880 เป็นเลขหมายที่คนไทยทุกคนในพื้นที่ สามารถใช้จริง และช่วยเหลือคนไทยพื้นที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ปทิตตา หนดกระโทก ผู้สื่อข่าว นราธิวาสรายงาน

 เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

สตูล- เห็ดนางฟ้า…พาเปลี่ยนชีวิต จากครูสู่วิสาหกิจชุมชน บ้านทางยางสตูล สร้างรายได้มั่นคง–แบ่งปันโอกาสให้ชุมชน

อัพเดทล่าสุด