Categories
ข่าวเด่น

สตูล..อบจ.สตูลโต้เพจ ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน  ผู้รับเหมายังไม่ได้ทิ้งงานเชื่อคนสตูลได้ประโยชน์จากค่าปรับ 

สตูล..อบจ.สตูลโต้เพจ ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน  ผู้รับเหมายังไม่ได้ทิ้งงานเชื่อคนสตูลได้ประโยชน์จากค่าปรับ  ขณะที่ชาวบ้านวอนเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ  สร้างอาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยวจ.สตูล 29ล้าน 6 ปีที่ยังไม่เสร็จ  

         (วันที่ 19 มิ.. 66)  จากกรณีเพจปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน  โพสต์งบประมาณ  29 ล้าน 6 ปี ยังไม่ก่อสร้างเสร็จ  อบจ.สตูล  ก่อสร้างศูนย์บริการนักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่อำเภอควนโดน พิกัดริมถนนทางหลวงหมายเลข 406 ใกล้ตลาดนัดดุสน วงเงิน 29,798,000 บาท จัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ ทำสัญญากับห้างเกียรติเจริญชัยการโยธา กำหนดแล้วเสร็จ 22 .. 60 แต่โครงการมีความล่าช้าเป็นอย่างมาก จนถึงปี 61 ก็ยังดำเนินการไม่เสร็จ

 

           นางศุภลักษณ์  สตอหลง เจ้าของร้านก๊ะดา  บอกว่า  รู้สึกเสียดายวันเวลา เพราะนานแล้วการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จหากมีการนำงบนี้ไปสร้างที่อื่นก็น่าจะดีกว่า  แต่ก็อยากเห็นการกระตุ้นเศรษกิจจากสิ่งปลูกสร้างนี้ด้วยเหมือนกัน และหวังว่าจะมีการผลักดันให้ก่อสร้างแล้วเสร็จโดยไว  เพื่อพี่น้องชาวควนโดนและจังหวัดสตูลได้ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากยิ่งขึ้น

       ในเรื่องนี้นายสัมฤทธิ์    เลียงประสิทธิ์  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลได้ชี้แจงว่า   โครงการก่อสร้างศูนย์บริการนักท่องเที่ยวสัญญาจ้างเลขที่ 49/2559 ลงวันที่ 28 กันยายน 2559 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 22 ธันวาคม 2560   ผู้รับจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดเกียรติเจริญชัยการโยธางบประมาณในการก่อสร้าง 29,798,000 บาทงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557  ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลได้แจ้งเร่งรัดงานก่อสร้างแล้วจำนวน 28 ครั้งขณะนี้อยู่ระหว่างทำการก่อสร้างผลงานอยู่ที่ 78.91% ไม่ได้ทำงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2565  ค่าปรับณวันที่ 9 มิถุนายน 2566 เป็นเงิน 59,447,010 บาทคิดเป็น 199.50%  (1,995 วัน)

           ขณะที่ โครงการพัฒนาศูนย์บริการนักท่องเที่ยวจังหวัดสตูล สัญญาจ้างเลขที่ 23/2561 ลงวันที่ 3 กันยายน2562 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 ผู้รับจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดเกียรติเจริญชัยการโยธาด้วยงบประมาณ12,990,000 บาทงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2559 บันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาจ้างครั้งที่ 1 วันที่ 15 พฤษภาคม2562 แก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาโดยไม่เพิ่มวงเงินค่าก่อสร้างเนื่องจากมีการก่อสร้างโครงการประตูสู่อุทยานธรณีสตูลสตูลจีโอปาร์คเกตเวย์ทำให้พื้นที่สำหรับก่อสร้างลานจอดรถลดลง

          ข้อตกลงแนบท้ายสัญญาจ้างครั้งที่ 2 วันที่ 17 มิถุนายน 2562 แก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาโดยไม่เพิ่มวงเงินค่าก่อสร้างเนื่องจากแนวเขตที่ดินด้านที่อยู่ติดกับทางหลวงแผ่นดินเลขที่ 406 ต้องเว้นระยะครูระบายน้ำสาธารณะและระยะการถมดินมีผลกระทบกับความยาวของถนนทางเข้าขณะนี้งานก่อสร้างได้ดำเนินการแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างซ่อมแซมเพื่อคืนหลักประกันซ่อมคอนกรีตแล้วแต่ยังไม่ได้ตีเส้นจราจร

อัพเดทล่าสุด

          นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า  ทางอบจ.ยังมองว่าผู้รับเหมายังมีศักยภาพในการรับผิดชอบด้วยการเสียค่าปรับเห็นได้จากยังมีการรับเหมาก่อสร้างในวงเงินหลักพันล้านบาท   พร้อมทั้งไม่ปฏิเสธความเกี่ยวพัน (เป็นพี่น้องกับนายกฯ) โดยยืนยันว่าเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ    อีกทั้งจุดโครงการก่อสร้างยังคงมีการปฏิบัติงานอยู่ซึ่งเชื่อได้ว่าค่าปรับจากผู้รับเหมาวงเงิน 59 ล้านบาท ขณะนี้ผู้รับเหมายังสามารถแบกรับไว้ได้  พร้อมเห็น     ว่าชาวสตูลอาจจะมองว่าเป็นการเสียโอกาส  แต่อยากให้ประชาชนมองมุมกลับว่ายังอยุ่ในกระบวนการขั้นตอนของระเบียบที่ผู้รับเหมายังสามารถทำได้   อีกทั้งเงินจำนวนค่าปรับสูงกว่าราคารับเหมาก่อสร้าง นั่นหมายถึงว่าคนสตูลได้อาคารหลังนี้มาฟรี   ส่วนจะมีการยืดเยื้อการจ่ายค่าปรับไปถึงไหนนั้น  ในเรื่องนี้อบจ.สตูลเชื่อว่า หลังมีข่าวออกไปทางผู้รับเหมาน่าจะเร่งดำเนินการเพื่อไม่ให้เสียชื่อเสียง 

……………………………………………

         

Categories
ข่าวเด่น

ทุกข์ชาวบ้านลิง 1,200 ตัวบุกเมืองหลวงชั้นใน รับเป็นวาระเร่งด่วน เสนอ 3 ทางออกก่อนปล่อยเกาะตะรุเตา

สตูล-ทุกข์ชาวบ้านลิง 1,200 ตัวบุกเมืองหลวงชั้นใน รับเป็นวาระเร่งด่วน เสนอ 3 ทางออกก่อนปล่อยเกาะตะรุเตา

         วันที่  16 มิ.ย.2566  ปัญหาลิงก่อกวน สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านในเขตเทศบาลเมืองสตูล  ขณะนี้กำลังเป็นวาระเร่งด่วน  ที่ทางเทศบาลเมืองสตูล ชุมชนที่ได้รับผลกระทบ และทางจังหวัดได้พยายามหาทางออก  เพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน   

         โดยเฉพาะวันนี้   ได้รวบรวมผลไม้จากชาวบ้าน ชุมชน  โดยเฉพาะมะม่วงที่ตกเกรดจำนวน 2 เข่งใหญ่  มาวางไว้ยังจุดให้อาหารลิง   ภายในสวนสาธารณะเขาโต๊ะพญาวัง ซึ่งอยู่ในความดูแลของเทศบาลเมืองสตูล  ที่เตรียมพื้นที่ไว้จำนวน 3 จุด   เชื่อว่าเป็นการบรรเทาปัญหาลิงแสม  อดอาหาร และไม่ให้ออกจากเขาไปก่อกวนในตัวเมืองได้

        หลังประชากรลิง  มีตัวเลขที่เพิ่งสูงขึ้น 1,200  ตัว หลังเคยมีการทำหมันไปเมื่อปี 2556 -2557 จากนั้นก็ไม่ได้ทำหมันอีก  มาปัจจุบันลิงได้กลับมาสร้างปัญหาอีกครั้ง ในหลายชุมชน   ทั้ง   ชุมชนม้าขาว /ชุมชนโรงพระ/ ชุมชนหลังห้องสมุด/ ชุมชนศาลากันตง  โดยเฉพาะในย่านเศรษฐกิจ   นอกจากรื้อค้นทรัพย์สินชาวบ้าน แย่งของในมือเด็ก ทำลายข้าวของชาวบ้านชุมชนแล้ว  ลิงยังบุกโรงแรมใหญ่กลางเมือง ทำลายหม้อแปลงดับ   เสียหายมูลค่าทรัพย์สินนับแสนบาท  อีกทั้งอาคารหรูของเทศบาลเมืองสตูลหลายแห่ง   ก็มีการยึดเป็นที่อยู่ไปแล้ว

         จากปัญหาดังกล่าวได้มีการหารือกับนายเทอดไทย   ขวัญทอง  ผู้อำนวยการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสตูล  หรือทสจ.   เพื่อหาทางออก    โดยทางชาวบ้าน  ชุมชนได้สรุปปัญหาในการแก้ไข 3 ระยะคือ  การให้อาหารตามจุด    เพื่อบรรเทาการขาดแคลน  อาหารของลิง  , การทำหมัน (โดยมีเทศบาลเมืองสตูลสนับสนุนงบประมาณ  ,และการนำไปปล่อยเกาะที่อุดมสมบูรณ์ อย่างเช่นเกาะตะรุเตา  ซึ่งปัญหาทั้งหมดนี้  จะนำเข้าที่ประชุมแก้ปัญหาลิง  ระดับจังหวัดต่อไปในเร็ว ๆนี้

        ด้านนายประชิต  สารานพคุณ  ที่ปรึกษาชุมชนห้องสมุด กล่าวว่า   ชาวบ้านที่เดือดร้อนปัญหาลิงแสมก่อกวน  ลงรายชื่อความเดือนร้อนจากลิง ประมาณ 200 กว่าครัวเรือน  ลิงก่อกวน ดึงสายไฟฟ้า หลังคาบ้าน บุกรื้อข้าวของ แม้กระทั้ง เรื่องอาหารการกิน  ลิงขโมย จนน่ารำคาญ นับว่าวิกฤติเลยทีเดียว  ลิงมีเยอะเกินจนชาวบ้านทนรับไม่ไหว ที่จะอยู่ร่วมกับลิง

       ทั้งนี้นายวิเชียร  ตันติอาภรณ์ นายกเทศมนตรีเมืองสตูล กล่าวว่า  ทางเทศบาลเมืองสตูล เราทราบปัญหาความเดือดร้อน   ในส่วนภาพรวมทางเทศบาลฯนั้น เราประชุมหาทางออก  จัดงบส่วนหนึ่งที่ทำหมันลิงแสม แต่ลิงเหล่านี้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง  ต้องหารือทางจังหวัดด้วย  และทางเทศบาลฯ เอง  รับทราบว่าทางชุมชน  ร่วมใจกันหาผลไม้สุก เป็นอาหารให้ลิงแสม ดังนั้น ทางเทศบาลฯขอเป็นธุระจัดรถ  ขนผลไม้สุก  นำอาหารมาให้ลิงเหล่านี้เอง เพื่อช่วยกันในเบื้องต้น

……………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวเด่น

สตูลประมงปลากะตักประกาศดีเดย์ เสาร์ที่ 17  นี้ปิดร่องเต็มพื้นที่ หลังชุมนุมยืดเยื้อเป็นวันที่ 4 

สตูลประมงปลากะตักประกาศดีเดย์ เสาร์ที่ 17  นี้ปิดร่องเต็มพื้นที่ หลังชุมนุมยืดเยื้อเป็นวันที่ 4 

        (15 มิ.ย.2566)  การชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มเรือประมงอวนครอบ อวนช้อนและ  อวนยกปลากะตัก  ที่ใช้เครื่องปั่นไฟ ดำเนินมาเป็นวันที่ 4 หลังนำเรือกว่า 20 ลำมาปิดร่องน้ำปากคลองปากบารา  ตำบลปากน้ำ  อำเภอละงู จังหวัดสตูล เพื่อเรียกร้องให้ทางการให้คำตอบที่ชัดเจนว่าจะสามารถให้พวกตน  ทำประมงไปก่อนจนกว่าจะมีการ  ทบทวนแก้ไขผู้ได้รับผลกระทบจากกฎกระทรวง ปี 2565  เรื่องการกำหนดเขตทะเลชายฝั่ง ในบริเวณจังหวัดสตูลได้หรือไม่   พร้อมทั้งการเรียกร้องในครั้งนี้ได้สร้างความน้อยเนื้อต่ำใจว่าไม่ได้รับการเหลียวแลจากทางจังหวัดที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหา 

        ขณะที่วันนี้ทางด้านนายนิพนธ์  เสนอินทร์   หัวหน้าประมงจังหวัดสตูล พร้อมหัวหน้าประมงอำเภอละงู   ตำรวจสอบสวนกลางตำรวจน้ำ  ตำรวจสภ.ละงู  ได้เดินทางเข้าเยียมเยียนกลุ่มประมงพร้อมรับฟังปัญหาพูดคุยถึงทางออกร่วมกัน  โดยมี  3 แนวทางแก้ปัญหาคือ  การเปิดเวทีทบทวนกฎกระทรวงในพื้นที่ 4 อำเภอ  ที่ได้รับผลกระทบ   2 .การให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนเครื่องมือประมงพื้นบ้านที่ถูกกฎหมาย ในผู้ที่เต็มใจที่จะเปลี่ยนเครื่องมือ  และ 3 การยังบังคับใช้กฎกระทรวงทะเลชายฝั่ง พ.ศ.2565   โดยไม่ได้รับการตอบรับจากกลุ่มประมงผู้ประท้วง

           สำหรับประมงปลากะตักเป็นเครื่องมือประมงพาณิชย์ที่มีประสิทธิ์ภาพสูง แต่สามารถทำการประมงได้นอกเขตประมงชายฝั่งที่กำหนด 

        ขณะที่ด้านกลุ่มประมงผู้ประท้วงได้มีมติยกระดับปิดร่องน้ำปากคลองปากบาราทั้งหมด  วันเสาร์ที่ 17 มิ.ย.2566 ตั้งแต่เวลา 10 นาฬิกาเป็นต้นไป แบบไม่มีกำหนดจนกว่าจะมีการเจรจาเป็นที่พอใจ  โดยระหว่างนี้ได้ขออภัยผู้ใช้เส้นทางถึงความจำเป็นของพวกตน  และให้เวลาในการเตรียมพร้อมสำหรับการใช้เส้นทางอื่น

………………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวเด่น

ด่วน! สตูลประกาศยกระดับปิดร่องน้ำเดินเรือพรุ่งนี้   เรือประมงปลากะตักฯ  อ้างไร้รัฐเหลียวแล  ท่องเที่ยว เรือประมงขนาดใหญ่จ่อกระทบ

ด่วน! สตูลประกาศยกระดับปิดร่องน้ำเดินเรือพรุ่งนี้   เรือประมงปลากะตักฯ  อ้างไร้รัฐเหลียวแล  ท่องเที่ยว เรือประมงขนาดใหญ่จ่อกระทบ  ขณะที่สำนักงานประมงจังหวัดเตรียมแผนทบทวนกฎกระทรวง 2565 

         วันที่ 14 มิ.ย.2566  ที่ปากร่องน้ำในคลองปากบารา ตำบลปากน้ำ  อำเภอละงู  จังหวัดสตูล   กลุ่มเรือประมงที่ใช้เครื่องมือ อวนครอบปลากะตักที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ยังคงปักหลักในการชุมนุมประท้วงด้วยการนำเรือขณะนี้ 23 ลำปิดเส้นทางเข้า-ออก (แม้ขณะนี้เส้นทางเดินเรือดังกล่าวยังเข้าออกได้)   เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ต่อเป็นวันที่ 3 เพื่อเรียกร้องให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแสดงความชัดเจนในข้อเสนอ

           หลังตลอดของการประท้วงเรียกร้องตลอด 3 วันที่ผ่านมากลับมองว่าไม่ได้รับการพูดคุยเจรจามีเพียงปลัดอาวุโสรักษาการแทนนายอำเภอละงู เข้ามารับหนังสือข้อเรียกร้องเท่านั้น  ทำให้ทางกลุ่มประมงผู้ชุมนุมประท้วงมีมติว่าในวันพรุ่งนี้จะยกระดับการชุมนุมด้วยการปิดร่องน้ำหนึ่งฝั่งหลังไม่ได้รับการเหลียวแลจากภาครัฐมาพูดคุยเจรจา

 

          นายวรวิทย์ หมีนหวัง อายุ 38 ปี หนึ่งในแกนนำขับเคลื่อนในครั้งนี้ของชาวประมง  เปิดเผยว่า  ตลอดการชุมนุมเรียกร้องไม่ได้รับการเหลียวแล หรือคำชี้แจงมีเพียงการมาเพื่อรับเรื่องร้องเรียกร้องเท่านั้น  ข้อเสนอต่างๆก็เงียบหายไป  ในเมื่อเป็นแบบนี้ทางผู้ชุมนุมมีมติว่าจำเป็นต้องยกระดับ  เพื่อให้รัฐเร่งออกมาพูดคุยหาทางออกให้กับพวกตน  ไม่ใช่เงียบแบบนี้ด้วยการปิดร่องน้ำหนึ่งช่องในวันพรุ่งนี้  ซึ่งพวกเราก็ไม่อยากทำแต่เห็นว่าภาครัฐได้บีบบังคับ 

 

         สำหรับข้อเรียกร้องยังคงยืนยันในข้อเดิม  2 ข้อเรียกร้อง คือ 1.สอบถามข้อมูล MOU ที่ได้จัดทำขึ้น เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 โดยมี พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. เป็นประธาน ณ ห้องประชุมเฉลิมเกียรติ ภ.จว.สตูล ยังมีผลอยู่หรือไม่    และ  2.กรณีศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลกระบี่ กองตรวจการประมง กรมประมงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์(ชุดใบไม้เขียว) ได้ดำเนินการจับกุมเรือประมงชาวบ้าน เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.66 โดยชุดจับกุมแจ้งว่าไม่ทราบ MOU ที่ได้จัดทำขึ้น แต่เมื่อทราบ MOU ที่ได้ตกลงกันไว้ จะถือปฏิบัติตาม MOU นั้นหรือไม่

 

อัพเดทล่าสุด

          นายนิพนธ์    เสนอินทร์ ประมงจังหวัดสตูล   เปิดเผยว่าไม่ได้นิ่งเฉย  ได้เตรียมแผนเสนอทางจังหวัดด้วยการเปิดเวทีทบทวน 4 อำเภอ ในกฎกระทรวง กำหนดเขตทะเลชายฝั่ง  ปี 2565 ที่ออกมาบังคับใช้ว่ามีส่วนใดได้รับผลกระทบบ้าง ซึ่งในเรื่องนี้มีส่วนที่เกี่ยวข้อง 3 ฝ่ายทั้ง ประมงพื้นบ้าน  ประมงพื้นบ้านที่ใช้เครื่องมือพาณิชย์ และประมงพาณิชย์ รวมทั้ง NGO เชื่อว่าน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดเพื่อพูดคุยร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาระยะยาว ส่วนระยะสั้นต้องขอความร่วมมือผู้ชุมนุมให้เปิดเส้นทางเพราะมีคนอื่นได้รับความเดือดร้อน  ส่วน MOU ที่กล่าวอ้างไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากผิดต่อกฎหมายทั้งด้วยวาจา หรือเป็นลายลักษณ์อักษร 

           เหตุการณ์นี้สืบเนื่องจาก  (วันที่ 11 มิ.ย.ที่ผ่านมา) เจ้าหน้าที่ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลกระบี่ บูรณาการร่วมกับหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลเกาะหลีเป๊ะ (สตูล) ออกตรวจปราบปรามผู้ฝ่าฝืน พ.ร.ก. การประมง พ.ศ.2558 และ พ.ศ.2560 (ฉบับแก้ไข)  โดยพบเรือประมงใช้เครื่องมือ อวนครอบปลากะตักที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) กำลังลักลอบทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งบริเวณ เกาะเละละ ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล (ห่างจากชายฝั่งเกาะเละละ ประมาณ 969 เมตร) จำนวน 3 ลำได้แก่เรือ ประกอบด้วยเรือซิฟาร์     เรือโชคอามีหรน    และเรือโชคสมุทร   พร้อมลูกเรือรวมจำนวนทั้งสิ้น 12 คนซึ่งถูกควบคุมตัวดำเนินคดีที่สถานีตำรวจภูธรเกาะหลีเป๊ะนั้น  

…………………………………………….

Categories
ข่าวเด่น

คืบหน้า..สตูลเรือปลากะตักทวงสัญญากดดันต่อ   หลังถูกจับ 3 ลำ 12 คน

คืบหน้า…สตูลเรือปลากะตักทวงสัญญากดดันต่อ   หลังถูกจับ 3 ลำ 12 คน

        (11 มิถุนายน 2566)  จากเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลกระบี่ บูรณาการร่วมกับหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลเกาะหลีเป๊ะ (สตูล) ออกปฏิบัติงานตรวจปราบปรามผู้ฝ่าฝืน พ.ร.ก. การประมง พ.ศ.2558 และ พ.ศ.2560 (ฉบับแก้ไข) ปรากฏพบมีเรือประมงใช้เครื่องมือ อวนครอบปลากะตัก  ที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) กำลังลักลอบทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งบริเวณ  เกาะเละละ ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล (ห่างจากชายฝั่งเกาะเละละ ประมาณ 969 เมตร)

            จึงเข้าทำการตรวจสอบและจับกุม ทราบต่อมาว่าเรือประมงอวนครอบปลากะตัก  ที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) จำนวน 3 ลำได้แก่เรือ ประกอบด้วยเรือซิฟาร์     เรือโชคอามีหรน    และเรือโชคสมุทร   พร้อมลูกเรือรวมจำนวนทั้งสิ้น 12 คน  ซึ่งถูกควบคุมตัวดำเนินคดี  ที่สถานีตำรวจภูธรเกาะหลีเป๊ะ   อำเภอเมือง    จังหวัดสตูล  ส่งผลให้ชาวประมงเรือ  อวนปลากะตักทุกลำ  ที่ทำการประมงในพื้นที่   ไม่กล้าออกทำการประมงต่อไปอีกได้

           ส่งผลให้วันนี้  มีการนำเรือมาจอด  บริเวณปากเส้นทางเข้าออก  ร่องน้ำปากบารา  ตำบลปากน้ำ  อำเภอละงู  จังหวัดสตูล  เพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  หาแนวทางแก้ไขในเรื่อง  พื้นที่ทำการประมง    ตามพระราชบัญญัติฉบับใหม่  และพื้นที่ทับซ้อนของเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา    พร้อมอ้างถึง   วันที่ได้มาทำข้อตกลงร่วมกัน  ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เช่น   นายอำเภอ   ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสตูล    หัวหน้าอุทยานเกาะตะรุเตา   สมาชิกสภาจังหวัด   สมาคมประมงจังหวัดและผู้นำชุมชนในพื้นที่   เพื่อให้มีการลดหย่อนพื้นที่  ออกทำการประมงพื้นบ้าน  ที่มีขนาดไม่เกิน 10 ตันกอส  จนกว่าจะหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน  

 

          อีกทั้งได้อ้างถึงเอกสาร  ประกอบกับวันที่ 17 มีนาคม 2566  พลตำรวจเอกสุรเชษฐ์    หักพาล   รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  และเชิญตัวแทนประมงพื้นบ้านเข้าร่วมประชุมหารือแนวทางแก้ไขปัญหา  พื้นที่ทำประมงในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา    และได้มีคำสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัด  รับเรื่องความเดือดร้อน  จากการประกาศเขตไมล์ทะเลไว้พิจารณา   และเร่งรัดการประชุมกับคณะกรรมการประมงจังหวัด  ซึ่งประกอบด้วยประมงจังหวัด  และอุทยาน   ว่าจะกำหนดเขตใหม่  มีร่องน้ำใดที่ชาวบ้านสามารถประกอบอาชีพต่อไปได้    ซึ่งทางอำเภอละงูได้ทำหนังสือไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล   เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือ  จึงขอให้ท่านช่วยติดตามความคืบหน้าดังกล่าว  และแจ้งให้กรมประมงทราบอีกทางหนึ่งด้วย

         ด้าน นายวรวิทย์   หมีนหวัง  อายุ 38 ปี   ตัวแทนประมงปลากะตัก  ผู้ยื่นข้อเรียกร้องเปิดเผยว่า  การนำเรือมาครั้งนี้เพื่อทวงสิทธิ์ในครั้งนั้นที่มีการพูดคุย   มาวันนี้ยังมีการจับกุมอีก  และหากมีการเสียค่าปรับไปแล้วตามที่เจ้าหน้าที่จับกุมกล่าวอ้าง  ว่าไม่รู้การทำข้อตกลงกัน  แล้วจะจับกุมอีกหรือไม่     การจอดเรือในครั้งนี้  ไม่ต้องการให้ใครเดือดร้อนหรือเสียหาย แต่จะจอดอยู่แบบนี้ไปจนกว่าจะได้คำตอบที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรไม่เอาแล้วด้วยวาจา 

 

อัพเดทล่าสุด

         จากนั้นได้มีการพูดคุยเจรจากับนายธวัช   ช่วยเกตุ  ปลัดอาวุโสอำเภอละงู (รักษาการแทนนายอำเภอละงู) พร้อมรับหนังสือข้อเสนอต่อผู้บังคับบัญชา และเชื่อว่าจะสามารถพูดคุยกันได้  สถานการณ์น่าจะคลี่คลายในเร็ววัน  เพราะที่ผ่านมากลุ่มประมงดังกล่าวก็พร้อมจะปฏิบัติตาม  หากมีการชี้แจงพูดคุย  เพื่อให้พวกเขามีพื้นที่ทำกิน

         ขณะที่เรือสปีดโบทโดยสารจำนวน   20 ลำ  วิ่งจากท่าเทียบเรือปากบารา ตำบลปากน้ำ  ไปยังเกาะตะรุเตาและหลีเป๊ะ  (ซึ่งต้องวิ่งผ่านร่องน้ำคลองปากบารา)  ยังไม่เชื่อมั่นถึงสถานการณ์ว่า  จะยืดเยื้อหรือไม่   ได้นำเรือไปจอดลอยลำบริเวณชายหาดปากบารา  และที่บริเวณแหลมเต๊ะปันไว้ชั่วคราวทั้ง 2 จุด   เพื่อเตรียมความพร้อมหากเกิดเหตุการณ์    ชาวประมงเรือเล็กเครื่องมือพาณิชย์  (ปลากะตัก) เกิดนำเรือปิดอ่าว  บริเวณร่องน้ำปากคลองปากบารา  จะได้ไม่เกิดผลกระทบกับนักท่องเที่ยว  ที่จะเดินทางจากท่าเทียบเรือปากบารา  ไปยังเกาะหลีเป๊ะได้

………………………………………………

Categories
ข่าวเด่น

ประมงเรือเล็กเครื่องมือพาณิชย์ทวงสัญญา  บิ๊กโจ๊ก  นำเรือจอดเชิงสัญลักษณ์หลังเรือถูกจับ 

ประมงเรือเล็กเครื่องมือพาณิชย์ทวงสัญญา  บิ๊กโจ๊ก  นำเรือจอดเชิงสัญลักษณ์หลังเรือถูกจับ  ขณะที่เรือโดยสารท่องเที่ยวหวั่นกระทบหาที่จอดชั่วคราว

         (วันที่ 12 มิ.ย. 2566)  ที่ชายหาดปากบาราและที่บริเวณแหลมเต๊ะปัน   ร่องน้ำคลองปากบารา ตำบลปากน้ำ  อำเภอละงู จังหวัดสตูล  ผู้ประกอบการนำเที่ยวเรือสปีดโบทโดยสารจำนวน  20  ลำ  ออกมาหาที่จอดรับส่งนักท่องเที่ยวชั่วคราวไว้ทั้งสองจุด   เพื่อเตรียมความพร้อมหากเกิดเหตุการณ์    ชาวประมงเรือเล็กเครื่องมือพาณิชย์นำเรือปิดอ่าวบริเวณร่องน้ำปากคลองปากบารา  เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางจากท่าเทียบเรือปากบารา  ไปยังเกาะหลีเป๊ะ

          นายมะหาด   นาดมา อายุ 52 ปี  กัปตันเรือพลอยสยาม  ยืนยันว่าได้นำเรือออกมาจากท่าเทียบเรือปากบารา  เพราะหวั่นว่า  หากมีการชุมชนประท้วงปิดปากคลองร่องน้ำจะไม่สามารถนำเรือออกมาได้  ซึ่งเรือที่เชื่อว่าต้องเอาออกมาจอดตามชายหาดปากบาราไม่น้อยกว่า 20 ลำ  เพื่อป้องกันความยืดเยื้อของการชุมนุมที่อาจจะส่งผลต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยวได้

          โดยขณะนี้กลุ่มชาวประมงเรือเล็กเครื่องมือพาณิชย์ได้นำเรือจำนวน 15   ลำ  ต่างทยอยนำเรือมาจอดเพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์แล้วที่ร่องน้ำคลองปากบารา ตำบลปากน้ำ  อำเภอละงู จังหวัดสตูลแล้ว   

         โดย  พ.ต.ท.ประเดิม   แก้วทอง   รอง ผกก.สส.สภ.ละงู ,พ.ต.ท.อำนวย จันทร์สุข รอง ผกก.ป.สภ.ละงู พร้อม จนท.ตร.สภ.ละงู   ได้รับแจ้งว่า  มีตัวแทนชาวประมงจังหวัดสตูล นำโดย นายวรวิทย์   หมีนหวัง  ชาวบ้าน  ม.6 ต.ปากน้ำ อ.ละงู พร้อมชาวประมง จำนวนประมาณ 10 คน นำเรือประมงมาร่วมแสดงเชิงสัญลักษณ์    โดยยืนยันว่าไม่ได้ปิดเส้นทางเดินเรือแต่อย่างใด   โดยได้รวมตัวกันที่บริเวณแหลมเต๊ะปัน ม.2 ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล โดยตัวแทนชาวประมงจังหวัดสตูล ได้เรียกร้องจำนวน 2 ข้อ ดังนี้

        1.สอบถามข้อมูล MOU ที่ได้จัดทำขึ้น เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 โดยมี พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. เป็นประธาน ณ ห้องประชุมเฉลิมเกียรติ ภ.จว.สตูล ยังมีผลอยู่หรือไม่

        2.กรณีศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลกระบี่ กองตรวจการประมง กรมประมงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์(ชุดใบไม้เขียว) ได้ดำเนินการจับกุมเรือประมงชาวบ้าน เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.66 โดยชุดจับกุมแจ้งว่าไม่ทราบ MOU ที่ได้จัดทำขึ้น แต่เมื่อทราบ MOU ที่ได้ตกลงกันไว้ จะถือปฏิบัติตาม MOU นั้นหรือไม่

อัพเดทล่าสุด

          เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้น   หลังมีการจับกุมเรือ   ชาวประมงเรือเล็กเครื่องมือพาณิชย์ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2566 โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลกระบี่ บูรณาการร่วมกับหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลเกาะหลีเป๊ะ (สตูล) ออกปฏิบัติงานตรวจปราบปรามผู้ฝ่าฝืน พ.ร.ก. การประมง พ.ศ.2558 และ พ.ศ.2560 (ฉบับแก้ไข) ปรากฏพบมีเรือประมงใช้เครื่องมือ อวนครอบปลากะตักที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) จำนวน 3 ลำ  กำลังลักลอบทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งบริเวณ เกาะเละละ ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล (ห่างจากชายฝั่งเกาะเละละ ประมาณ 969 เมตร) จึงเข้าทำการตรวจสอบและจับกุม ทราบต่อมาว่าเรือประมงอวนครอบปลากะตักที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ลำดังกล่าว ชื่อเรือ ชิฟาอ์  ขนาด 9.93 ตันกรอส มี นายวิรัตน์ หนูวงศ์ อายุ 43 ปี ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล เป็นผู้ควบคุมเรือ  ส่วนอีก 2 ลำ คือ  เรือชื่อ โชคสมุทรนำโชค  และ เรือโชคอามีรน

Categories
ข่าวเด่น สัมภาษณ์พิเศษ-คอลัมน์นิสต์

สตูลเอกชนมอบที่ดิน 1 ไร่ครึ่งมูลค่า 100 ล้านบาทเพื่อเป็นโฉนดให้ชุมชนชาวเลอุเส็นพร้อมโบสก์คริสต์ใช้ร่วมกัน  โดยมีเงื่อนไขห้ามซื้อขาย

สตูลเอกชนมอบที่ดิน 1 ไร่ครึ่งมูลค่า 100 ล้านบาทเพื่อเป็นโฉนดให้ชุมชนชาวเลอุเส็นพร้อมโบสก์คริสต์ใช้ร่วมกัน  โดยมีเงื่อนไขห้ามซื้อขาย

       สตูลเดินหน้าแก้ปัญหาข้อพิพาทที่ดินบนเกาะหลีเป๊ะอย่างต่อเนื่อง    ล่าสุดทางด้านนายอำเภอเมืองสตูลที่เพิ่งมารับตำแหน่งได้รับการประสานจากเอกชนยินดีมอบที่ดิน 1 ไร่ครึ่งมูลค่า 100 ล้านบาทให้กับชุมชนอุเส็น  ที่มีชาวบ้านอาศัยอยู่  12 ครัวเรือน พร้อมโบสก์คริสต์ที่เป็นศูนย์กลางของชุมชน  หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล   เพื่อเป็นโฉนดชุมชนโดยมีเพียงเงื่อนไข   ห้ามซื้อขายเป็นระยะเวลา 30 ปี 

       เกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูลวันนี้แม้จะเข้าสู่ช่วงฤดูโลซีซัน แต่ยังคงมีนักท่องเที่ยวและแรงงานหลากหลายเดินทางกันมาเยือนเกาะแห่งนี้กันไม่ขาดสาย  แม้บนเกาะขณะนี้ยังมีหากหลายข้อพิพาพาทที่ยังรอการแก้ไขจากคณะ  พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริงกรณีปัญหาข้อพิพาทที่ดินที่เกี่ยวข้องกับชุมชนชาวเล เกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล

 

          ล่าสุด นายพีรพัฒน์  เงินเจริญ  นายอำเภอละงู  (รักษาราชการแทนนายอำเภอเมืองสตูล) คนใหม่ที่เพิ่งเดินทางมารับตำแหน่งใหม่แทนคนเก่า  (ที่ป่วยพักรักษาตัว) เดินหน้าลงเก็บประเด็นปัญหาทางเดินลงทะเลของชาวเลอุรักลาโว้ยและนักท่องเที่ยวที่ยืนยันว่าเป็นที่สาธารณะใช้มาตั้งแต่บรรพบุรุษ   ขณะนี้คดีความอยู่ที่ศาลอยู่ระหว่ารอศาลตัดสิน    ปัญหาการถมที่ดิน และบุกรุกการก่อสร้างลำรางน้ำบนเกาะหลีเป๊ะ ขณะนี้ยังรอความชัดเจนว่าอยู่ในความรับผิดชอบของอุทยานตะรุเตา หรือ ทางท้องถิ่น

 

         นางสาวสุริยงค์   หาญทะเล   อายุ 38 ปี ชาวบ้านชุมชนอุเส็น  กล่าวว่า  พี่น้องมีความหวังมากขึ้นในเรื่องที่ดิน  เพราะช่วงนี้มีปัญหากับนายทุน  ตึกที่อยู่หน้าหาดหากมีการมอบโฉนดชุมชนให้จริงทุกคนในชุมชนมีความหวังมากขึ้น

 

         นายพีรพัฒน์   เงินเจริญ    นายอำเภอละงู (รรท.นายอำเภอเมืองสตูล) กล่าวว่า  ความคืบหน้าการแก้ปัญหาปัญหาที่อยู่อาศัยชาวเลในชุมชนอุเส็นมีความคืบหน้าไปมาก   จากเดิมชุมชนแห่งนี้เคยมีคดีความกับเอกชน ปรากฏว่าเอกชนคือคุณณรงค์ศักดิ์ (เอกชน) ได้ชนะคดี  ในชั้นศาลฎีกา  ชนะมาหลายปีแล้ว

        หลังจากนั้นทางคุณณรงค์ศักดิ์ ปัทมปาณีวงศ์ (เอกชน) ก็มีเจตจำนงว่ามีความประสงค์จะยกที่ดินแปลงนี้ นส 3 เลขที่ 10 เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ครึ่ง ให้กับชุมชนชาวเลอุเส็นได้อยู่ร่วมกัน โดยมีเงื่อนไขว่าห้ามขายอยู่อาศัยไปตลอดชีวิต โดยทางผู้ให้อยากจะอุทิศที่ดินผืนนี้เพราะในอดีตเคยมาทำมาหากินบนเกาะหลีเป๊ะจนมีฐานะและนี่คือเจตนารมณ์ของเอกชนผู้มอบให้

 

          หลังจากนั้นได้มาอธิบายให้กับผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวเลบนเกาะหลีเป๊ะ แล้วผู้ใหญ่บ้านทั้ง 2 หมู่บ้าน พบว่ายังมีชาวบ้านที่มีความระแวงว่าอยู่ดีๆที่ดินมูลค่า 100 ล้านมายกให้เป็นไปได้อย่างไร    จากนั้นก็ให้ทางปลัดส่วนหน้ามาพูดคุยกับชาวบ้านเพื่อสร้างความเข้าใจ  บางส่วนก็เริ่มเข้าใจ โดยตั้งใจจะทำให้ที่ดินแปลงนี้เป็นโฉนดด้วยพร้อมสลักหลังว่าห้ามขาย ซึ่งอาจจะเป็นแปลงแรกของเกาะหลีเป๊ะ หากชาวบ้านทุกคนรับ  หลังจากนั้นจะออกโฉนดให้โรงเรียนและอนามัยบนเกาะซึ่งจากขับเคลื่อนให้เสร็จภายในเดือนนี้ โดยนำเรียนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะพลตำรวจเอกสุรเชษฐ์  หักพาล

         ซึ่งการลงมาครั้งนี้ได้มาตรวจสอบหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำเรื่องไฟฟ้าเรื่องน้ำท่วมเกาะและปัญหายาเสพติดและที่อยู่อาศัยที่ไม่มั่นคงโดยทั้งหมดนี้จะเข้ามาช่วยพี่น้องชาวเลในการแก้ปัญหาก่อน    หลังจากช่วยชาวเลเสร็จ  ในส่วนของผู้ประกอบการขอแก้ไขกฎกระทรวง และออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารและใบอนุญาตโรงแรมตามขั้นตอนต่อไป

         เกาะหลีเป๊ะต้องวางมาตรการให้ชาวเลและผู้ประกอบการอยู่ด้วยกันได้อย่างพึ่งพาอาศัย  และเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนนี่คือเป้าในการทำงานโดยได้ดำเนินงานผ่านไปแล้ว 7-80%  ซึ่งยังมีในส่วนของข้อพิพาทในที่ดินแปลงอื่น ชุมชนชาวเลออื่นก็จะดำเนินการลักษณะนี้เหมือนกัน  ให้เป็นชาวบ้านอยู่ร่วมกันห้ามซื้อขาย   ส่วนข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชนหรือเอกชนกับชาวเลที่อยู่ในขบวนการพิจารณาคดีชั้นศาลขอไม่ก้าวร่วง  ส่วนชาวเลที่คิดว่าไม่ได้รับความยุติธรรมจะประสานหาทนายความผ่านสภาทนายความให้

…………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวเด่น

สตูลวันสิ่งแวดล้อม   ซาเล้ง   รักษ์โลก   รักษ์ปากน้ำ  แก้ปัญหาขยะแหล่งท่องเที่ยว

สตูลวันสิ่งแวดล้อม   ซาเล้ง   รักษ์โลก   รักษ์ปากน้ำ  แก้ปัญหาขยะแหล่งท่องเที่ยว

          วันที่ 5 มิถุนายม 2566    นักท่องเที่ยวที่ลาน 18 ล้าน สถานที่พักผ่อนหย่อนใจชาวจังหวัดสตูล  ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลปากน้ำ  อำเภอละงู  จังหวัดสตูล  หลายคนอิ่มเอมใจ  เพราะได้เป็นส่วนหนึ่งในการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ไม่ว่าจะเป็น   แก้วที่ใส่ในกระบอกไม้ไผ่   อาหารที่ใส่ในภาชนะอย่างใบตอง  ใบกาบหมากที่ทำเป็นจานห่อรอง  หรือแม้กระทั่งกะลามะพร้าว ที่นำมาใส่ข้าวเหนียวให้บริการนักท่องเที่ยวในวันนี้ 

          โดยทางนายอรัญ  เหมรา  ประธานกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารรถซาเล้งตำบลปากน้ำ  อำเภอละงู  มีการรวมตัวกันจำนวน 25 ร้าน ซึ่งเป็นกลุ่มที่จำหน่ายอาหารประเภทต่างๆในพื้นที่ลาน 18 ล้าน ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล  เพื่อต้องการให้ท้องถิ่นได้ยอมรับการมีอยู่จริงของผู้ประกอบการกลุ่มนี้   ซึ่งไม่มีหน้าร้านของตนเองที่จะสามารถขายสินค้าหรืออาหารได้อย่างปกติเหมือนร้านค้าทั่วไป ทั้งยังมีความมุ่งหวังว่ากลุ่มดังกล่าวนี้จะได้รับโอกาสในการใช้พื้นที่เพื่อการค้าขายได้อย่างเป็นระบบระเบียบมากขึ้น

        ทางกลุ่มได้มีความตระหนักต่อปัญหาขยะของพื้นที่ลาน 18 ล้าน ทั้งภาพรวมของแหล่งท่องเที่ยวและพื้นที่ชุมชนทั่วไปในตำบลปากน้ำ โดยทางกลุ่มกำลังออกแบบและสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ให้มีการจัดการขยะทุกประเภทได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น ที่จะต้องสร้างการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม

         ในโอกาสของวันสิ่งแวดล้อมโลก คือวันที่ 5 มิถุนายน 2566 ที่จะถึงนี้ ทางกลุ่มได้ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล , องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ,  ภาคประชาสังคม (มูลนิธิอันดามัน สมาคมรักษ์ทะเลไทย กลุ่มรักจังสตูล)  คณะกรรมการแก้ไขปัญหาขยะฯตำบลปากน้ำ     จัดให้มีกิจกรรมเชิงรณรงค์ เพื่อสร้างความตระหนักในการแก้ไขปัญหาขยะ ซึ่งรวมถึงการลด ละ เลิก การใช้ภาชนะจากโฟมและพลาสติก   ทั้งกับกลุ่มผู้ประกอบการและกับนักท่องเที่ยวทั่วไป ภายใต้ชื่องาน “ซาเล้ง รักษ์โลก รักษ์ปากน้ำ” ซึ่งมีการเชิญชวนให้ผู้ประกอบการด้านอาหารรถซาเล้งในพื้นที่ตำบลปากน้ำทั้งหมดประมาณ 25-30 ร้าน ได้มาร่วมกันจัดพื้นที่บางส่วนของลาน 18 ล้าน เพื่อจัดกิจกรรม โดยจะมีการร่วมกันไม่ใช้ภาชนะจากโฟมและพลาสติกให้กับลูกค้า

         และจะเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวได้ตระหนักร่วมกันที่จะช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยร่วมกันจัดการขยะในพื้นที่ดังกล่าวร่วมกัน นอกจากนี้ยังจะมีกิจกรรมอื่นๆ อย่างเช่นการประกวดการสร้างสรรค์ปฏิมากรรมจากขยะจากคนทั่วไปที่สนใจ อันจะเป็นการสร้างการรณรงค์ทั่วไปได้อีกทางหนึ่ง

          และเพื่อรณรงค์ให้เกิดความตระหนักในการลด ละ เลิกการใช้ภาชนะใส่อาหารจากโฟมและพลาสติกโดยเฉพาะกับกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารในแหล่งท่องเที่ยว   เพื่อส่งเสริมแนวทางการจัดการและการแก้ไขปัญหาขยะในแหล่งท่องเที่ยวและขยะชุมชนในพื้นที่ตำบลปากน้ำ

         โดยผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น   ผู้ประกอบการร้านอาหารรถซาเล้งในพื้นที่ตำบลปากน้ำ ได้มีการร่วมกลุ่มร่วมตัวกันเพื่อออกแบบการจัดการปัญหาขยะในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของตำบลปากน้ำ และอาจจะนำไปสู่การดำเนินกิจกรรมอื่นๆที่เป็นประโยชน์กับส่วนรวม    ได้แนวทางในการสร้างทางออกต่อปัญหาการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมกับภาคส่วนต่าง ทั้งส่วนราชการ ท้องถิ่น ภาคประชาสังคม ภาคเอกชนและผู้ประกอบการ  มีความเข้าใจและความตระหนักร่วมกันของผู้ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมที่เห็นความสำคัญของการสร้างรูปธรรมในการจัดการแก้ไขปัญหาขยะให้เป็นที่ประจักษ์ในอนาคต

       ในงาน  “ซาเล้ง รักษ์โลก รักษ์ปากน้ำ”  ยังได้จัดให้มีการประกวดปฏิมากรรมจากขยะ ฟังเพลงจากเครือข่ายศิลปินเพื่อสิ่งแวดล้อมจังหวัดสตูล   นายสัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด   มอบรางวัลการประกวดปฏิมากรรมจากขยะ   กลุ่มซาเล้งรักษ์ปากน้ำ แถลงคำประกาศ “รักษ์โลก รักษ์ปากน้ำ”

…………………………………………………..

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวเด่น

ลิงแสมยึดอาคารหรูเทศบาลเมืองสตูลสร้างอาณาจักรส่วนตัว ขณะที่ตัวแทนชุมชนสุดทนวอนรัฐเร่งแก้ปัญหา

ลิงแสมยึดอาคารหรูเทศบาลเมืองสตูลสร้างอาณาจักรส่วนตัว ขณะที่ตัวแทนชุมชนสุดทนวอนรัฐเร่งแก้ปัญหา

           วันที่  6 มิ.ย.2566  ที่อาคารของเทศบาลเมืองสตูล  (เขาโต๊ะพญาวัง) ที่เคยให้เอกชนเช่า ขณะนี้ได้กลายเป็นที่อยู่ถาวรของลิงแสมจำนวนมากต่างพาครอบครัวลิงตัวเล็กและตัวใหญ่มายึดครองอาคารที่แสนจะสะดวกสบาย มีห้องน้ำ หลังคาหลบฝน  บันไดราวจับสเตนเลสอย่างดีให้อยู่อาศัยโดยไม่ต้องจ่ายค่าเช่า   

          ซึ่งก่อนหน้านี้อาคารแห่งนี้ได้ปล่อยให้เอกชนเช่าเปิดเป็นร้านอาหาร แต่ไม่สามารถทนต่อประชากรลิงที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งความซุกซนและความฉลาดรอบรู้ สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้เช่า รวมทั้งลูกค้าที่มาใช้บริการไม่สามารถทนต่อความอิทธิพลเถื่อนของลิงแสมฝูงนี้ได้ต้องอพยพย้ายออกไป และยกให้เป็นที่อยู่ของลิงแสมจนถึงปัจจุบันโดยทางเทศบาลเมืองสตูก็ไม่มีวิธีการใด ๆ หรือบังคับใช้กฎหมายและห้ามปรามกับฝูงลิงเหล่านี้ได้

         นางสาวอจรี   ธชพันธ์   อดีตผู้เคยเช่าพื้นที่อาคารของเทศบาลเมืองสตูล  (เขาโต๊ะพญาวัง) แห่งนี้  ยอมรับว่า  ด้วยบรรยากาศร่มรื่น กว้างขวาง ค่าเช่าไม่แพง ได้เปิดร้านอาหารบริหารลูกค้า นานถึง 10 ปีก่อนจะหมดสัญญา โดยระยะหลังๆ พบว่าประชากรลิงเพิ่มขึ้นทุกวัน อีกทั้งปัญหาลิงก่อกวน ทำลายข้าวของลักขโมย   และทำลายรถของลูกค้าไม่สามารถจะทนเช่าอยู่ต่อไปได้แม้ราคาค่าเช่าจะไม่แพง  และเห็นว่าหากหลายฝ่ายช่วยกันแก้ปัญหาลิงที่เพิ่มขึ้นในขณะนี้จะสามารถเปิดแหล่งท่องเที่ยว สร้างรายได้เข้าเทศบาลเมืองสตูลได้อีกจำนวนมาก  

         ปัญหาลิงยังส่งผลกระจายวงกว้างไปในหลายชุมชนของเทศบาลเมืองสตูล  ทั้งการทำลายทรัพย์สิน  การค้นหาอาหารตามบ้านเรือนของชาวบ้าน   ล่าสุดวันนี้  ที่ห้องประชุมโต๊ะพญาวัง  ชั้น 4  ศาลากลางจังหวัดสตูล  ตัวแทนชาวบ้านในชุมชนเทศบาลเมืองสตูล  5 คน (จากชุมชนห้องสมุด,ชุมชนโรงพระสามัคคี,ชุมชนพิมาน,ชุมชนวัดชนาธิปเฉลิม)  นำโดย  นายประชิต   สารานพคุณ  ที่ปรึกษาชุมชนเทศบาลเมืองสตูล  เข้าเสนอขอให้ดำเนินการแก้ปัญหาลิง ก่อกวน  ต่อที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ จังหวัดสตูล  (กรอ.จ.สตูล)  ซึ่งมีนายชาตรี  ณ  ถลาง   รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล  รักษาการผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล  เป็นประธานการประชุม  โดยระยะการแก้ปัญหาระยะสั้นด้วยการจัดหาอาหารให้ลิงที่เขาโต๊ะพญาวังเพื่อจำกัดไม่ให้ลิงออกมาในตัวเมือง  ส่วนระยะยาวการทำหมันลิง  และการจัดหาทีมควบคุมประชากรลิง       

         โดยนายประชิต   สารานพคุณ  ที่ปรึกษาชุมชนเทศบาลเมืองสตูล    กล่าวว่า  เคยยื่นหนังสือไปยังนายกฯเทศมนตรีแล้ว เพื่อให้ช่วยแก้ปัญหาลิงให้กับชาวบ้านในชุมชน  เพราะ ทม.บอกว่าไม่มีอำนาจในการจัดการลิง  เพียงแต่ตั้งงบประมาณสนับสนุนในการทำหมันทุกปี  ปีละประมาณ 4 แสนบาทเท่านั้น วันนี้จึงมาขอคำเสนอแนะและการหาางออกของปัญหาลดความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านในชุมชนเทศบาลเมืองสตูล

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวเด่น

สตูลฉาว! ทิ้งร้างโรงเชือดแพะหนึ่งเดียวในภาคใต้ 

สตูลฉาว! ทิ้งร้างโรงเชือดแพะหนึ่งเดียวในภาคใต้นานถึง 16 ปี  ชาวบ้านขาดโอกาส  ผู้นำท้องถิ่นพร้อมรับการถ่ายโอนสานต่อเพื่อชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์

จากกรณีเพจ  “ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน”  ตีแพร่โรงฆ่าแพะสตูล ถูกปล่อยทิ้งร้างนานนับปีอยู่ในสภาพทรุดโทรมนั้น 

(วันที่ 30 พ.ค.2566)  ทีมข่าวได้ลงพื้นที่ตรวจสอบพื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลควนโพธิ์  อำเภอเมืองสตูล  จุดที่มีการชี้เป้าพบว่าเป็นจริงตามที่มีการนำเสนอ  โดยสภาพทั่วไปพบว่าเป็นอาคารที่เตรียมไว้สำหรับใช้เป็นคอกขังสัตว์ และอาคารสำหรับเตรียมแปรรูป ห้องเย็น ที่เหลือแต่โครงสร้าง ฝากั้นถูกรื้อถอนรวมทั้งฝ้าเพดานและพนัง อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า  แม้กระทั่งวัสดุที่มีเหล็กเส้น  สแตนเลส  แม้แต่กลอนลูกบิดประตู  ก็ถูกถอดไม่เหลือสภาพ  แม้กระทั่งภายในห้องน้ำเหลือเพียงแต่โถส้วมไว้ให้ดูต่างหน้าเท่านั้น

            นายเนาะ  หนูชูสุข  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลควนโพธิ์ อำเภอเมืองสตูล  ยอมรับว่า  อาคารดังกล่าวไว้ใช้สำหรับเป็นโรงเชือดแพะที่มีมาตรฐานของอำเภอเมืองสตูล ขณะที่มีการเปิดอาคารใหม่ๆ ตนได้มาดูขณะนั้นยังไม่เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  อาคารนี้มีความพร้อมสมบูรณ์แบบเหมาะกับการใช้เป็นโรงเชือด แต่วันเวลาผ่านไปขณะที่ตนมารับตำแหน่งจนถึงวันนี้ 2 ปีพบปัญหาขโมยโจรลักทรัพย์ในอาคารนี้บ่อยครั้ง  จนปัจจุบันก็เหลือแต่ซากโครงอาคาร  เพราะหัวขโมยแม้จะถูกจับได้  แต่เมื่อมีการทราบข่าวว่าปล่อยทิ้งร้างก็มีขโมยจากพื้นที่ต่างถิ่นมาขนออกไปชิ้น สองชิ้นเหลือตามสภาพที่เห็น    ยอมรับว่ารู้สึกเสียดายที่ยังไม่ทันใช้ประโยชน์อะไรเลย  และไม่รู้ว่าใครคือหน่วยงานที่รับผิดชอบงบประมาณจำนวนมาก  ที่มากองไว้โดยไม่ได้ทำประโยชน์  ก็อยากให้ส่วนเกี่ยวข้องมาดูแล และรื้อฟื้นให้ใช้ประโยชน์ได้จริง ๆ

            จากนั้นสื่อได้ลงไปสอบถามความจริงจากผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลควนโพธิ์   โดยมีนายบุญมา  โดยพิลา  นายกอบต.ควนโพธิ์  กล่าวกับสื่อว่า  อาคารดังกล่าวที่เป็นโรงเชือดแพะไม่ได้อยู่ในความดูแลของทางอบต.แต่อย่างใด  พร้อมเปิดเผยว่า  ได้พยายามติดต่อไปยังธนารักษ์ และปศุสัตว์ พบว่าเป็นงบพัฒนาจังหวัดที่ลงมาที่ปศุสัตว์จังหวัดสตูล  ประมาณต้นปี 2551-2552 และมีการโอนอาคารทรัพย์สินไปที่ธนารักษ์  หลังจากได้รับตำแหน่งนายกฯประมาณปี 2565 ได้เดินเรื่องขออาคารทรัพย์สินดังกล่าวมาอยู่ในความดูแลของอบต.แต่ติดขัดที่ระเบียบ จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถถ่ายโอนได้

          นายกอบต.ควนโพธิ์  กล่าวเพิ่มเติมว่า  ยอมรับว่าพบว่ามีขโมยเข้ามาลักเล็กขโมยน้อย  ทางอบต.ยังไม่สามารถเป็นเจ้าทุกข์แจ้งความได้  เพราะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ดังกล่าว  ยอมรับว่าเสียดายที่ชาวตำบลควนโพธิ์  ไม่เฉพาะชาวจังหวัดสตูล  และชาวภาคใต้ทุกคนที่เสียโอกาสไม่สามารถใช้อาคารนี้ได้   เพราะเจตนารมณ์ของอาคารนี้ต้องการเป็นโรงเชือดแพะแห่งแรกของภาคใต้ที่ได้รับมาตรฐานส่งออก  จากมูลค่าอาคารและอุปกรณ์ทรัพย์สินประมาณ 2 ล้าน 7 แสนบาทที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง  มาวันนี้ทางท้องถิ่นเองก็พร้อมจะรับการถ่ายโอนมาต่อยอดเพราะแพะคือสัตว์เศรษฐกิจของพื้นที่  หรือจะปรับเป็นอาคารสร้างสุขภาพให้ชาวบ้านตำบลควนโพธิ์ต่อไป  พร้อมรับเป็นเรื่องดีที่มีการตีแพร่ประเด็นนี้จะได้ช่วยกันหาทางออกของปัญหา

อัพเดทล่าสุด