Categories
เยาวชน-การศึกษา

สตูลจัดกิจกรรม  สืบสานงานบุญเดือนสิบ   ดึงเด็กเยาวชนร่วมอนุรักษ์ประเพณีดีงาม  โดยให้ลงมือทำ และร่วมการแข่งขันกันอย่างสนุกสนาน

สตูลจัดกิจกรรม  สืบสานงานบุญเดือนสิบ   ดึงเด็กเยาวชนร่วมอนุรักษ์ประเพณีดีงาม  โดยให้ลงมือทำ และร่วมการแข่งขันกันอย่างสนุกสนาน

         ที่วัดชนาธิปเฉลิม (พระอารามหลวง)  ตำบลพิมาน  อำเภอเมือง  จังหวัดสตูล  ที่นี่  มีการจัดกิจกรรมสืบสานประเพณีบุญเดือนสิบ  ด้วยการจัดการแข่งขันขูดมะพร้าวของเด็ก ๆ นักเรียน  ที่นำเครื่องมือโบราณอย่างกระต่ายขูดมะพร้าว   มาทำการแข่งขัน  ซึ่งเป็นหนึ่งในการใช้มะพร้าว  เป็นส่วนผสมในการทำขนม  บุญเดือนสิบ  ที่จะใช้มะพร้าวเป็นส่วนผสมเป็นส่วนใหญ่

         นอกจากนี้ก็ยังมีการแข่งขันการกินขนมเดือนสิบ   โดยมี  เด็กๆ เข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขัน  นอกจากจะเป็นการสร้างความสนุกสนานของเด็ก ๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมแล้ว   ยังเป็นการแฝงไปด้วยความรู้เรื่องของขนมเดือนสิบ   ที่มีการสืบทอดกันมาไม่ว่าจะเป็นขนมต้ม  ขนมเจาะหู  ขนมสะบ้า  หรือแม้กระทั่ง ขนมข้าวพอง  สร้างสีสันและบรรยากาศที่สนุกสนานให้กับกองเชียร์ได้ไม่น้อย

        ภายในงานยังมีการทำขนมโดยฝีมือเด็ก ๆ และคุณครู  มาโชว์ภายในงานพร้อมแจกจ่ายให้ผู้เข้าร่วมงาน และเด็กๆได้ชิมกันฟรี   รวมทั้งการทำหมับ  ที่ตกแต่งอย่างสวยงามทั้งเล็กและใหญ่ให้เห็นถึงวัฒนธรรมประเพณี  ของการจัดเตรียมเพื่อถวายพระ  ในบุญเดือนสิบแรก 

        นอกจากนี้ยังมีการละเล่นพื้นเมืองอย่างหมากขุม   การละเล่นดนตรีไทย  ของโรงเรียนเทศบาล 2 รวมทั้งเด็ก ๆ จากโรงเรียนเทศบาลในเขตอำเภอเมืองสตูล  เข้าร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก   โดยทางผู้จัดหวังว่ากิจกรรมในครั้งนี้  จะเป็นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม  แล้วยังเป็นการส่งต่อให้เยาวชน  เด็ก ๆ ได้ร่วมเห็นคุณค่าและอนุรักษ์ความสวยงาม  และดีงามของประเพณีบุญเดือนสิบของชาวไทยพุทธสืบไป

…………………………..

อัพเดทล่าสุด
Categories
เยาวชน-การศึกษา

พระสตูลเปิดกองทุนช่วย เด็กมานิ ศรีมะนัง  พร้อมสนับสนุนความยั่งยืนทางด้านอาหาร

พระสตูลเปิดกองทุนช่วย เด็กมานิ ศรีมะนัง  พร้อมสนับสนุนความยั่งยืนทางด้านอาหาร  

        ที่โรงเรียนบ้านป่าพน  ตำบลปาล์มพัฒนา  อำเภอมะนัง  จังหวัดสตูล   เด็ก ๆ ชาวมานิ   ศรีมะนัง   ใช้ช่วงเวลาว่างทบทวนบทเรียน  ในช่วงพักกลางวัน  หลังที่เด็กๆ ชาวมานิกลุ่มนี้ได้เข้าสู่ระบบการเรียนการสอนเพียงไม่นาน   พบว่าพวกเขาสามารถปรับตัวเข้ากับเพื่อน ๆ ได้เป็นอย่างดี

       เด็ก ๆ ชาวมานิ  8 คน  ที่เข้ามาเรียนที่โรงเรียนบ้านป่าพน  โดยมีชาวบ้านในหมู่บ้านใกล้กับที่อยู่ของชาวมานิ   ช่วยเป็นธุระขับรถยนต์มาส่งและมารับทุกเช้า  ขณะนี้กลับพบว่า  ชาวบ้านดังกล่าวกำลังประสบปัญหาด้านปัจจัย   การในการจัดซื้อน้ำมัน ขับรับส่งเด็ก ๆ ชาวมานิ    ด้านพระครูโสภณปัญญาสาร   เจ้าคณะอำเภอมะนังและเป็นเจ้าอาวาสวัดนิคมพัฒนารามผัง 7  ได้ลงมาติดตามปัญหาและเตรียมความช่วยเหลือ  เพื่อให้เด็ก ๆ ได้มาเรียนอย่างมีความสุข  และจบหลักสูตรตามที่รัฐกำหนด  เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวมานิกลุ่มนี้

        พระครูโสภณปัญญาสาร   กล่าวว่า  ทางวัดได้นำเรียนเจ้าคณะจังหวัด  ถึงแนวทางการช่วยเหลือ  ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาร่วมกับทางอำเภอ และท้องถิ่นอย่างอบต.ปาล์มพัฒนา   ในการช่วยสร้างคลังอาหาร โดยนำความรู้จากวัด   ที่มีคลังอาหารมาช่วยเผยแพร่   ให้กลุ่มชาวมานิ ศรีมะนัง  ชุดนี้  ที่อาศัยกันจำนวน 35 คน ได้มีอาหารเลี้ยงชีพที่ยั่งยืน  พร้อมระบบสาธารณสุขต่างๆ  ทั้งระบบน้ำ และระบบไฟฟ้า ให้ทัดเทียมหรือใกล้เคียงความเป็นชุมชนที่ปกติสุขทั่วไป  จึงเปิดบัญชีช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือชาวมานิ  ผ่านบัญชี  ชื่อบัญชี  “กองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิต กลุ่มชาติพันธุ์มันนิ  อำเภอมะนัง  จังหวัดสตูล” ธนาคาร  ธ.ก.ส. เลขบัญชี 020-225-933-478  เพื่อจัดหาค่าเดินทางให้เด็กๆได้ไปโรงเรียน

          ด้าน นายไพโรจน์   ดำพลบ  หรือลุงกอบ   อายุ  65 ปี คนใกล้ชิดชาวมานิที่ไว้เนื้อเชื่อใจ  สะท้อนว่า  ชาวมานิชุดนี้  มีความแตกต่างกับมานิชุดอื่นคือมีความขี้อาย  ไม่กล้าเข้าสังคม ด้านสาธารณสุขพบว่า  มีการทำอาหารปรุงสุกใหม่กินด้วยการเผา  ซึ่งแตกต่างจากเมื่อก่อน  อยากเห็นพวกเขามีอาชีพเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา และงานฝีมือ  เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้พวกเขา  รวมทั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือเด็ก ๆ ที่ไปเรียน รวมทั้ง อาหารสัตว์ที่ให้มาเลี้ยง เพื่อช่วยเหลือในเบื้องต้นในช่วงเรียนรู้การสร้างคลังอาหาร ที่ยั่งยืน

อัพเดทล่าสุด
Categories
เยาวชน-การศึกษา

มติชาวอาชีวะค้านการหลอมรวม  แต่หนุนตั้งมหาวิทยาลัยสตูล 

มติชาวอาชีวะค้านการหลอมรวม  แต่หนุนตั้งมหาวิทยาลัยสตูล 

     ประเด็นการตั้งมหาวิทยาลัยสตูลได้กลับมาเป็นที่วิพากษ์อีกครั้ง   เมื่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์จังหวัดชายแดนภาคใต้  ได้มีแนวคิดที่จะหลอมรวม  3  อาชีวะในจังหวัดสตูล   ทั้งวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสตูล  มีนักศึกษาประมาณ 600 คน ,  วิทยาลัยเทคนิคสตูล 2,000 คน, วิทยาลัยการอาชีพละงู  1,000 คน  และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล  ซึ่งนักศึกษา  200 คน  มาหลอมรวมกันเพื่อตั้งมหาวิทยาลัยสตูล

     ในประเด็นนี้ได้มีกระแสการต่อต้าน ว่าจะดีกว่าไหม หากมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล  จะผลักดันตัวเองเป็นมหาวิทยาลัย โดยไม่จำเป็นต้องหลอมรวม  เพื่อโอกาสทางการศึกษาที่สูงกว่าระดับ ปวช.ปวส.  เพื่อความหลากหลายของการศึกษาอย่างแท้จริง ที่ผู้เรียนมีโอกาสได้เลือกตามความสมัครใจ  ตามความต้องการ ตามกำลังทุนทรัพย์ ตามวิชาชีพที่ต้องการ  ว่าเรียนที่ไหน เพื่อให้เหมาะกับตัวเอง

     และเพื่อเป็นการรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  กับการจัดการศึกษาที่อาชีวศึกษาในจังหวัดสตูล  มีความเห็นด้วยหรือไม่  ในการหลอมรวมวิทยาลัยเทคนิคสตูลในการจัดตั้ง  มหาวิทยาลัยสตูล   3  ส่วน  คือ 1 กรรมการบริหารสถานศึกษา (วิทยาลัยเทคนิคสตูล 100 เปอร์เซ็นต์ไม่เห็นด้วย) 2 ผู้บริหารครู บุคลากร 97.8 เปอร์เซ็นต์ ไม่เห็นด้วย) 3.นักเรียน นักศึกษา ศิษย์ปัจจุบัน 95.93 เปอร์เซ็นต์ไม่เห็นด้วย)  และสัปดาห์ต่อไป จะเป็นการทำประชามติในผู้ปกครอง สมาคมศิษย์เก่าและศิษย์เก่า ต่อด้วยผู้ได้รับบริการวิชาชีพ เครือข่ายความร่วมมือ สถานประกอบการ ภาคประชาชน และพี่น้องชาวอาชีวะทั่วประเทศ

       คุณครูธิษณา  บำรุงเมือง  คุณครู ว.เทคนิคสตูล   เปิดเผยว่า บริบทของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยเทคนิคต่างกันมาก ตนเป็นครูอยู่อาชีวะมา 30 ปี  จะเห็นว่าเด็กอาชีวะเป็นอย่างไร  1 มีฐานะยากจน 2 ทักษะการเรียนเข้าระดับมหาลัยไม่ได้  เด็กอาชีวะอาจจะไม่เก่งทางด้านทางวิชาการ  แต่สิ่งที่เจอมาตลอดคือซ่อมไปได้เปิดบริษัทเป็นของตัวเองได้ บางครั้งทางวิชาการก็ไม่ได้ตอบโจทย์ชีวิต 

        คุณครู ว.เทคนิคสตูล  เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ในความคิดของตนคนเดียวมองว่า  ผู้ที่จะจัดตั้งให้มีการหลอมรวมอาชีวะไม่มั่นใจว่ามีผลประโยชน์อื่นใดแอบแฝงอยู่   แต่พวกเราจะยินดีมากๆที่จะมีมหาวิทยาลัยสตูลเกิดขึ้นในจังหวัดสตูล   แต่เราควรจะแยกกันจัดการศึกษากัน  แต่มาพูดคุยกันในการเอาหลักสูตรมารวมกัน วิธีการนี้เชื่อว่าเด็กเราไปไกลหากมีการมาเขียนหลักสูตรด้วยกัน  แต่หากจะหลอมรวมกันจริงผลกระทบเกิดขึ้นกับเด็ก ๆ และครอบครัวอย่างแน่นอนเพราะนั่นหมายถึงค่าเทอมที่สูงขึ้น และเด็กไม่มีโอกาสเลือกเรียนในสายอาชีพที่ตนถนัด

        นายวิเชียร  บุญเตี่ยว  ผอ.วิทยาลัยเทคนิคสตูล  กล่าวว่า  สถานการณ์การจัดตั้งมหาวิทยาลัยสตูลโดยใช้วิธีการหลอมรวม ด้วยความเป็นบริบทการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ อาชีวศึกษาที่ตั้งขึ้นเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคน ตอบโจทย์ประเทศที่ต้องการแรงงานที่มีฝีมือ คือ ปวช.และปวส. ขณะนี้วิทยาลัยเทคนิคสตูลได้ผลิตเด็กในระบบอยู่ที่ 2,000 คน หากเทียบในประเภทเดียวกันกับอาชีวศึกษาถือว่าเป็นขนาดกลาง  

         แต่เรายังมีนอกระบบซึ่งเกิดจากความร่วมมือของโรงเรียนและความต้องการของชุมชนเป็นโมเดลเด็กเข้ามาสัมผัสโลกของอาชีพจริงๆ  ทุกวันพฤหัสบดีจะมีเด็กเข้ามาเรียนและฝึกอบรมในช่วงวันเสาร์อาทิตย์ฟรี 100% อยู่ประมาณ 2,100 คนในปีการศึกษาที่ผ่านมา

         ผอ.วิทยาลัยเทคนิคสตูล  กล่าวด้วยว่า  ขอพูดในฐานะคนสตูลถอดหมวกผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคออกไปวันนี้   ที่ทำประชามติเกิดขึ้นด้วยการจัดตั้งหลอมรวม ทำให้อาชีวะเสียบริบทที่มีวัตถุประสงค์ของสำนักงานกลางอาชีวศึกษาที่ผลิตกำลังคนสมรรถนะสูง  เพื่อตอบโจทย์การต้องการแรงงานให้กับประเทศหลังได้หนังสือเมื่อวันที่ 25 ที่ผ่านมา  ก็รู้สึกตกใจหลังทางคณะกรรมการที่จะจัดตั้ง  ใช้คำว่าหลอมรวมแล้วเอาโมเดลของของมหาวิทยาลัย  ซึ่งขออนุญาตเอยถึงคือ  มหาลัยนราธิวาส   เป็นโมเดลในการขับเคลื่อนและที่มาของการหลอมรวม  ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  คณะกรรมการที่ส่งต่อให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์จังหวัดชายแดนภาคใต้  โดยสำนักงานที่ดูแลในพื้นที่  คือ  ศอบต.  ทำให้เกิดคำถามเพราะเราไม่สามารถตัดสินใจคนเดียวได้และเราก็ไม่ใช่นิติบุคคล 

         ขั้นตอนแรกของเราทำคือการคุยกับกรรมการสถานศึกษา กรรมการศึกษาไม่เห็นด้วยในการหลอมรวมแต่  เห็นชอบที่จะมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในจังหวัดสตูล   เราไม่ได้ขัดแย้ง  หลังจากนั้นได้ขอมติเพื่อที่จะไปทำกับผู้บริหาร  ครู  บุคลากร  ที่มีผลกระทบเนื่องจาก  ม.นรา มีคนที่ไม่ประสงค์อยู่ต่อเกินกว่าร้อยละ 80 ที่จะต้องเดินออกจากบ้านหลังนี้  และหาสถานที่ใหม่  จำเป็นจะต้องให้พวกเขารู้ เมื่อมีมติเห็นชอบ  ขอมติของครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งหมดที่ไม่เห็นด้วยในการหลอมรวม

         ชี้แจงให้พวกเขาได้รับทราบผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเขา  และคนรุ่นๆต่อไปว่า   ถ้าหลอมรวมแล้วจะไม่มีความเป็นตัวตนของอาชีวะ  ตามบริบทของการจัดตั้งอยู่เลย  และจะมีผลกระทบหากเปรียบเทียบข้อมูลจาก  ม.นราธิวาส  ปวช.อาจจะต้องจ่ายเงินจากที่วิทยาลัยเทคนิคเก็บอยู่ไม่เกิน 800 บาท หากเป็นมหาวิทยาลัย  2,000 เปรียบเทียบกับ  ม.นราธิวาส  ผู้ปกครองเดือดร้อนแน่นอน   ส่วน ปวส.วิทยาลัยเทคนิคเก็บ อยู่ที่ประมาณ 2000  ถึง  2040 เทียบเคียงกับ ม.นราธิวาส  ขั้นต่ำ 6,000 บาท 

       หากถามว่า วิทยาลัยเทคนิคมีความพร้อมในการเปิดปริญญาตรีหรือไม่  เรามีความพร้อมอยู่แล้ว 2 สาขา  คือ   เทคโนโลยียานยนต์ และ  ภาควิชาการตลาด มีเด็กเรียนและจบมาแล้วไม่น้อยกว่า 7 รุ่น 

         ผอ.วิทยาลัยเทคนิคสตูล  กล่าวต่อว่า  จากบริบทของอาชีวะเห็นได้จากตัวผม   ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เมื่อก่อนก็ไม่มีรายได้   ทำงานและก็เรียนไปด้วย   โดยตลอดมาตั้งแต่ปวช.   ปวส.  จนถึงระดับเทียบเท่าปริญญาตรีผมเรียนที่อาชีวะมาตลอด   อาชีวะเป็นช่องทางที่ตอบโจทย์ผู้ปกครองในกลุ่มที่มีรายได้น้อย ถึงปานกลาง  ที่หาเช้ากินค่ำ  ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย 

          พร้อมจะสอบถามกลับไปว่า  หากมองเห็นศักยภาพของสถานศึกษาแห่งนี้ว่ามีคุณภาพ ก็อยากให้เติมงบประมาณมาที่นี่ แล้วเราจะทำให้ดูว่ามันมีคุณภาพอย่างไร  เพราะจาก 400 แห่งอาชีวะ  วิทยาลัยเทคนิคสตูลสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศมาแล้ว  แม้เด็กเราไม่มีตัวเลือกมากแต่ก็สามารถคว้าการแข่งขันทักษะชนะเลิศมาแล้วหลายรายการ…ผอ.วิทยาลัยเทคนิค  กล่าวทิ้งท้าย 

         วันนี้เกิดคำถามมากมาย  ถึงอาชีวศึกษาทั้ง 3 วิทยาลัยไม่มีศักยภาพพอ  ที่จะพัฒนาฝีมือให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพเท่ามหาวิทยาลัยได้ หรือ จังหวัดสตูล พัฒนาได้โดยไม่ต้องสูญเสียความเป็นตัวตนของการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาที่จัดให้คนทุกช่วงวัย

……………………………….

อัพเดทล่าสุด
Categories
เยาวชน-การศึกษา

อาชีวสตูลฝึกอาชีพระยะสั้น  ทำขนมเบเกอร์รี่ งานศิลปะบนผืนผ้า และซ่อมวิลแชร์  ผู้พิการและผู้ดูแล 

อาชีวสตูลฝึกอาชีพระยะสั้น  ทำขนมเบเกอร์รี่ งานศิลปะบนผืนผ้า และซ่อมวิลแชร์  ผู้พิการและผู้ดูแล 

          วันที่ 23 ส.ค. 66  ที่ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูล  ได้เปิดหลักสูตรระยะสั้นในการฝึกอาชีพให้กับผู้มีความพิการและผู้ปกครองของน้องผู้พิการ   ในการฝึกทักษะงานศิลปะบนผืนผ้าให้เกิดความสวยงาม นอกจากจะสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับน้องๆ แล้ว ทุกคนยังสนุกสนานกับกิจกรรม  โดยทักษะงานศิลปะบนผืนผ้านี้นอกจากจะให้น้องผู้มีความพิการจะได้ใช้ความสามารถตามจินตนาการแต่งแต้มสีสันแล้ว  ผู้ปกครองยังสามารถช่วยในการต่อยอดงานศิลปะผ่านการตัดเย็บ เป็นกระเป๋า  หมวก  หมอน ผ้าเช็ดหน้าในการสร้างงาน สร้างรายได้ตามความชื่นชอบและถนัดได้

           นอกจากนี้การฝึกทักษะการทำขนมเบเกอร์รี่แบบง่ายหลากหลายสีสัน  ยังช่วยเพิ่มน่าสนใจให้กับผู้เรียน และผู้ปกครองได้ทำเป็นงานเสริมรายได้ให้กับครัวเรือนหรือสามารถทำไว้ทานเองที่บ้านได้ด้วย  รวมทั้งการฝึกทักษะการบำรุงรักษาวิลแชร์ให้กับผู้ปกครองน้องหรือคนในครอบครัวที่พิการ  เพื่อลดรายจ่าย   โดยการฝึกทั้ง 3  ทักษะจะแบ่งเป็นกลุ่มตามความสนใจ จากผู้พิการและผู้ปกครองที่เข้าร่วมจำนวน 38 คน

          ศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาจังหวัดสตูล (วิทยาลัยเทคนิคสตูล)โดยนายวิเชียร   บุญเตี่ยว   ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสตูล  นางปฏิมา  จ่าพันธ์  รองผู้อำนวยการรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูล   ได้เปิดโครงการพัฒนาอาชีพระยะสั้นและมอบสื่อสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียนพิการและประชาชนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ  ประจำปีการศึกษา 2566 เพื่อให้ผู้เรียนประชาชนผู้พิการและผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในจังหวัดสตูล  สามารถปฏิบัติวิชาชีพระยะสั้นตามหลักสูตรที่เรียนและสามารถนำทักษะความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพหรือเข้าสู่การมีงานทำในอนาคต

………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
เยาวชน-การศึกษา

ห้องเรียนธรรมชาติ  คุณปู่สอนหลานวัย 6 ขวบ  ขับเรือหางยาวในทะเลกว้าง   อนาตอยากเป็นไกด์ท่องเที่ยวศรชล.ภาค 3  จัดทริปเอาใจเยาวชนกระตุ้น  รักษ์ทะเลบ้านเรา  เส้นทางจากภูผาสู่ทะเล

ห้องเรียนธรรมชาติ  คุณปู่สอนหลานวัย 6 ขวบ  ขับเรือหางยาวในทะเลกว้าง   อนาตอยากเป็นไกด์ท่องเที่ยว

        ทุกครั้งที่โรงเรียนอนุบาลบ้านบ่อเจ็ดลูก   หยุดการเรียนการสอน   น้องนราวิทย์   ไทรบุรี  หนูน้อยวัย 6 ขวบ    ต.ปากน้ำ อำเภอละงู  จังหวัดสตูล   และน้องณัทกฤษ  หลงสมัน วัย  5 ขวบ  สองพี่น้องจะรบเร้าให้ปู่  หรือ นายยูหนา  หลงสมัน  อายุ  53  ปี  (ซึ่งเป็นประธานท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก)  นำไปขับเรือเล่น   และไปท่องเที่ยวในท้องทะเลกว้างริมชายหาดทะเลหน้าบ้านของพวกตน 

       โดยการนำเรือหางยาวออกไปทุกครั้งน้องนราวิทย์  หนูน้อยวัย 6 ขวบ  จะขอขับเรือเอง โดยมีปู่ยูหนา  คอยเป็นพี่เลี้ยงอยู่ข้าง ๆ ด้วยท่าทางและความชำนิชำนาญเริ่มส่อแวว  เนื่องจากมีการขับเรือแล้วหลายต่อหลายครั้ง สร้างความสนุกสนาน   และตื่นเต้นให้กับหนูน้อยได้ไม่น้อย

       ปู่ของหนูน้อยทั้งสอง  บอกว่า  เมื่อเด็ก ๆเห็นเราขับเรือและทำอะไรเขาก็อยากเรียนรู้และทดลองทำบ้าง  ซึ่งมองว่าก็เป็นเรื่องที่ดีที่เด็กๆ จะได้เรียนรู้การอยู่กับท้องทะเลกว้าง   นับเป็นอีกหนึ่งห้องเรียนที่ผู้ปกครองจะได้ถือโอกาสนี้ในการบอกเล่า และให้พวกเขาได้ซึมซับความสวยงามของท้องทะเล  และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรที่เป็นเครื่องมือ  ในการหล่อเลี้ยงครอบครัวของพวกเรา  รวมทั้งการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันของคนกับธรรมชาติท้องทะเล  

 

       น้องนราวิทย์  หนูน้อยวัย 6 ขวบ   บอกว่า ปู่สอนให้วิดน้ำในเรือ  สอนให้จับปู สอนให้รู้จักเขา  เกาะแก่งต่างๆ  สอนปลูกป่าโกงกาง  และสอนให้ขับเรือซึ่งชอบมากและสนุกดี  ขับก็ไม่ยาก  โดยน้องบอกว่า หากจะเลี้ยงซ้ายให้โยกหางเสือเรือไปทางขวา  หากจะเลี้ยวขวาให้โยกไปทางซ้าย  โตขึ้นก็อยากเดินตามรอยปู่ที่เป็นไกด์และทำท่องเที่ยวชุมชนอยู่ในบ้านของตัวเอง

       นายยูหนา  หลงสมัน  อายุ  53  ปี  (ประธานท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก)  บอกว่า  หลาน ๆ คือเมล็ดพันธุ์ของลูกเล  และเป็นหน้าที่ของพวกเราที่จะบอกกล่าวให้พวกเขาได้เรียนรู้  รู้คุณค่าวิถีของตัวเองตามวัย  ที่จะนำไปต่อยอดได้ในอนาคตในการดำรงชีวิต   พร้อมสร้างความสนุกสนาน  สอนให้รู้จักร่องน้ำทะเล การดูสภาพอากาศเพราะเราคือลูกทะเล  สอนการเรียนรู้การเก็บฝักไม้ป่าโกงกางปลูก  และการใช้เรือซึ่งพาหนะในการเดินทางตามวัยที่เขาจะเรียนรู้ได้  ดีกว่าปล่อยให้ลูกอยู่กับโทรศัพท์เพียงอย่างเดียว

…………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท้องถิ่น-การเมือง เยาวชน-การศึกษา

อบต.ควนโดน เปิดพื้นที่ “เฟ้นหาสุดยอดไอเดียพัฒนาเมืองควนโดน”  ภายใต้ concept พัฒนาคนให้คนพัฒนาเมือง

อบต.ควนโดน เปิดพื้นที่ “เฟ้นหาสุดยอดไอเดียพัฒนาเมืองควนโดน”  ภายใต้ concept พัฒนาคนให้คนพัฒนาเมือง

         ภายใต้การบริหารงานของ นายวริศ  มาลินี  นายก อบต.ควนโดน  ที่มุ่งหวังพัฒนาตำบลควนโดนไปสู่ความยั่งยืนภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชน  ซึ่งสอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ในการพัฒนาคนให้คนพัฒนาเมือง ของ ผู้บริหารบริษัท  วี สมาร์ท ซิตี้ จำกัด  จึงเกิดเป็นความร่วมมือกัน   เดินหน้าโครงการ   One city One wish “เฟ้นหาสุดยอดไอเดียพัฒนาเมืองควนโดน”  ภายใต้โจทย์   โดนใจนักท่องเที่ยว  โดนใจคนพื้นที่  และ โดยใจสิ่งแวดล้อม    

          โอกาสนี้  ผู้จัดได้เปิดพื้นที่นำเสนอไอเดีย  พร้อมรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญและการสนับสนุนด้านต่างๆ  เพื่อต่อยอดไอเดียให้เกิดขึ้นจริงในการเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการ  ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรของเมือง  รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง  ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี  มีความสุข  ปลอดภัย  และยั่งยืน   โดยมีเยาวชนจากหลายๆโรงเรียนในพื้นที่เข้าร่วมโครงการจาก 15 ทีม ให้คณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย  นักวิจัยอิสระ  ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสตูล  ผอ.กองสาธารณสุข   ทต.ควนโดน   นายกฯอบต.ควนโดน  และ บริษัท วี สมาร์ท ซิตี้ จำกัด  คัดให้เหลือเพียง  4 ทีม  เป็นสุดยอดไอเดียพัฒนาเมืองควนโดน

         ด้าน นางสาวนัฐชยา เชี่ยวชาญ   ผู้จัดการโครงการ one city one wish    บริษัท วี สมาร์ท ซิตี้ จำกัด   กล่าวว่า  บริษัทวีสมาร์ทซิตี้   เกิดจากคุณเฉลิมชัย   มีวิชั่นการพัฒนาคนเพื่อให้คนพัฒนาเมือง   ผ่านหลักสูตรการสอน   ที่มีชื่อว่าดีไซน์ติ้งกิ้ง   จะมีกิจกรรมสี่ห้ากิจกรรม   ตั้งแต่การอบรม   การแข่งขัน   การลงพื้นที่   จนถึงการรายงานผล   โครงการที่ถูกเอาไปทดสอบและมีข้อเสนอแนะในการขยายในพื้นที่    ปัจจุบันที่จังหวัดสตูลที่ตำบลควนโดนถือเป็นที่แรกของสตูล   ได้จัดภายใต้หัวข้อควนโดนโดนใจ    โดนใจคนที่มาท่องเที่ยว   โดนใจคนที่อยู่ที่นี่   และโดนใจสิ่งแวดล้อม  

 

      สำหรับไอเดียน้องๆมีหลากหลาย ตั้งแต่การใช้หลักวิทยาศาสตร์เข้ามาผนวก   เช่นการสกัดแพ็คกิ้งจากเปลือกจำปาดะ   เป็นการลดขยะและทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ   อีกกลุ่มหนึ่งคือทำแพ็คเกจทัวร์ที่สามารถเริ่มดำเนินการได้เลย   ติดตามน้องๆได้ทางเพจ   ธรรมชาติเยียวยาใจ   ส่วนกลุ่มอื่นๆก็นำแพลตฟอร์มสำหรับจองบุ๊คกิ้งต่างๆ  ใช้เอไอบ้างเปลี่ยนภาษาบ้าง   สำหรับท่านที่สนใจ โปรเจคของน้องๆที่ควนโดน   สามารถเข้าไปติดตามได้ที่เพจ   วันซิตี้วันวิช  ๆเป็นโปรเจคที่เราต้องการพัฒนาคนเพื่อให้คนพัฒนาเมืองต่อไป

         นายยาริส   กูเล็ม  อายุ 17 ปี ม.5  โรงเรียนควนโดนวิทยา  กล่าวถึงเหตุผลที่เขาเลือกเข้าร่วมโครงการ  เพราะคิดว่าควนโดนควรได้รับการพัฒนาไปมากกว่านี้  เพราะที่นี่มีดีในด้านต่างๆเยอะมาก   สำหรับวันนี้มีการนำเสนอในเรื่องเมล็ดจำปาดะซึ่งมีสรรพคุณในเรื่องขับน้ำนมให้กับคุณแม่   ก็อยากพัฒนาด้านนี้ให้โดดเด่นขึ้นมา    หลังจากพรีเซนต์ทางคณะกรรมการมองว่าดีแล้ว  แต่อยากให้เน้นเรื่องการตลาดมากกว่านี้   ซึ่งที่คิดไว้สามารถนำไปใช้ได้จริงๆ   เพราะปัญหานี้เกิดขึ้นเยอะ    เหตุผลที่เลือกเม็ดจำปาดะเพราะเป็นของในพื้นที่ของคนโดนครับ

         นางสาวสิริวิภา สวัสดีรักษา นักเรียนจาก โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล  หนึ่งในกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการ  กล่าวว่า   พวกหนูเลือกเข้าโครงการนี้  เพื่อที่จะพัฒนาชุมชนควนโดน   โดยหัวข้อที่เลือก   ควนโดนโดนใจนักท่องเที่ยว   ซึ่งที่เลือกเพราะในควนโดนมีสถานที่ท่องเที่ยวหลายอย่างมาก   ไม่ว่าจะเป็นทะเลบัน   ภูเขาต่างๆ   และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์   นอกจากนี้ยังมีวิสาหกิจชุมชนไว้ศึกษาดูงานได้ซึ่งสตูลมีรายได้หลักทางด้านการท่องเที่ยว   และรายได้นี้มาจากเกาะหลีเป๊ะเป็นส่วนใหญ่   โดยควนโดนเป็นเพียงทางผ่าน   พวกหนูจะทำให้คนมาอยู่ที่ควนโดน   มาพักมากขึ้น   จะทำให้รายได้ของสตูลเพิ่มขึ้นในส่วนนี้ด้วย    ก็เลยอยากพัฒนาควนโดน   โอกาสนี้  อยากเชิญชวนให้คนมาเที่ยวคอนโดน  ที่ควนโดนเรามีจำปาดะ   มีกระท้อนนาปริก   มีทะเลบัน  มีครบมีทุกอย่างให้ทุกคนมาเยี่ยม

         ทางด้าน  นายวริศ  มาลินี  นายก อบต. ควนโดน  กล่าวว่า   ทางอบต.ควนโดน  ได้จัดโครงการวันซิตี้ วันวิช    ขึ้นที่อบต. ควนโดน   ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการแข่งขันเฟ้นหาสุดยอดไอเดียควนโดนโดนใจ   ซึ่งมีน้องๆร่วมแข่งขันเยอะแยะหลายทีม   โดยหลายท่านได้ระเบิดไอเดียร์การพัฒนาเมืองควนโดน  ซึ่งดีมาก   โอกาสนี้ก็คาดหวังที่จะมีไอเดียที่เกิดจากเวทีนี้นำมาพัฒนาเมืองเพื่อต่อยอดให้เป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชนต่อไป

          โดยน้องๆได้เสนอไอเดีย ที่สามารถต่อยอดได้  อย่าง   เรื่องการท่องเที่ยวโดยน้องๆเขียนแอพพลิเคชั่นท่องเที่ยว  ที่มีหลายภาษา   ทั้งแพลตฟอร์มการขายออนไลน์   นำผลไม้ของตำบลไปขายออนไลน์   มีการรีไซเคิลขยะซึ่งเป็นปัญหาของชุมชน   เช่นการนำเปลือกจำปาดะมาทำเป็น package  เพื่อพัฒนาต่อยอดในเชิงอุตสาหกรรมต่อไป   ซึ่งเป็นประโยชน์มากและเป็นไอเดียที่ดี   โอกาสนี้ก็ขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายที่ให้โอกาสกับเราได้ทำงานกับชุมชน ได้ร่วมกันช่วยผลักดันส่งเสริมให้ได้จัดกิจกรรมในครั้งนี้เพื่อพัฒนาต่อยอดไอเดียทำเป็นกิจกรรมให้สู่ชุมชน ร่วมกันพัฒนาบ้านพัฒนาเมืองต่อไป

…………………..

อัพเดทล่าสุด
Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา เยาวชน-การศึกษา

ศรชล.ภาค 3  จัดทริปเอาใจเยาวชนกระตุ้น  รักษ์ทะเลบ้านเรา  เส้นทางจากภูผาสู่ทะเล

ศรชล.ภาค 3  จัดทริปเอาใจเยาวชนกระตุ้น  รักษ์ทะเลบ้านเรา  เส้นทางจากภูผาสู่ทะเล

        พลเรือโทอาภากร   อยู่คงแก้ว   ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 พร้อมภริยาร่วมกับทัพเรือภาคที่ 3  นาวาเอกแสนย์ไท   บัวเนียม รองผู้อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสตูล  นำนักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42  จำนวน 50 คน  (ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง)  เดินทางศึกษาเส้นทางธรรมชาติที่อุทยานแห่งชาติทะเลบัน อำเภอควนโดน  จังหวัดสตูล   เพื่อทำกิจกรรมสร้างความรับรู้การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล  และปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเยาวชนได้รู้จักเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล  และช่วยกันดูแลรักษาไว้ให้ยั่งยืน ภายใต้โครงการ  “รักษ์ทะเลบ้านเรา”   จากภูผาอุทยานแห่งชาติทะเลบัน  สู่ท้องทะเลตำมะลังอำเภอเมืองสตูล  นักเรียนเยาวชน  จากศรชล.ภาค 3 ที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้  ยังได้เปิดประสบการณ์ใหม่ด้วยการนั่งเรือชมเส้นทางธรรมชาติ  ศึกษาวิถีชีวิตชาวบ้านริมชายฝั่งตำมะลังดินแดนมลายู ไปพร้อมเรียนรู้วิถีชีวิต  และชื่นชมฝูงนกอินทรีย์ที่ออกมาต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน  ผ่านการท่องเที่ยวชุมชนตำมะลัง  เพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่เรียนรู้การอยู่ควบคู่กันระหว่างธรรมชาติ ชุมชน และการท่องเที่ยวโดยชุมชน

 

           จากนั้นน้อง ๆ เยาวชน ศรชล.ภาค 3 ยังได้ร่วมกันปล่อยกุ้งกุลาดำ จำนวน 90,000 ตัว และร่วมปลูกไม้ป่าชายเลนในพื้นที่ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 24 ตำมะลังจังหวัดสตูล

          นางสาวเกศรา  ขันติวงศ์   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42  บอกว่า  ประทับใจวิทยากร  อาหาร  การดูแลของพี่ๆทีมผู้จัด การได้มาครั้งนี้ทำได้เจอกับสัตว์หายากอย่าง  เขียดว้าก  หรือ หมาน้ำ  เพราะไม่สามารถเจอสัตว์เหล่านี้ได้ในพื้นที่อื่น  ต้องมาดูที่นี่เท่านั้น  ไปเดินในป่าแล้วเจอพันธุ์ไม้หลายชนิดและไม้ยืนต้นที่มีอายุหลายร้อยปี  และได้มาร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนๆที่นี่ได้ความรู้นำไปพัฒนาในชีวิตประจำวัน เพราะจังหวัดสตูลเป็นจังหวัดที่ติดทะเล  เราควรจะช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล

         พลเรือโทอาภากร   อยู่คงแก้ว   ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3  บอกว่า   ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 และทัพเรือภาคที่ 3 ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล  ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดและมีผลกระทบต่อถิ่นที่อยู่อาศัยวิถีชีวิตการประกอบอาชีพของประชากรในท้องถิ่นซึ่งมีผลกระทบเชื่อมโยงไปถึงระดับชาติ   จึงมีความสำคัญจำเป็นต้องสร้างความรับรู้   รวมทั้งการปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเยาวชนได้เห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลในท้องถิ่นของตนเองให้มีความยั่งยืนตลอดไป  

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป ข่าวเด่น ท้องถิ่น-การเมือง ท่องเที่ยว-กีฬา ทั้งหมด สัมภาษณ์พิเศษ-คอลัมน์นิสต์ เยาวชน-การศึกษา

สตูล เขตห้ามล่าสัตว์ป่าฯ ชวนส่องนกอพยพ และ นกประจำถิ่น หลากชนิดกว่า 5,000 ตัวหนีหนาวอวดโฉมรับปีใหม่

สตูล เขตห้ามล่าสัตว์ป่าฯ ชวนส่องนกอพยพ และ นกประจำถิ่น หลากชนิดกว่า 5,000 ตัวหนีหนาวอวดโฉมรับปีใหม่

ที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่า  “หนองปลักพระยา เขาระยาบังสา”  ตำบลฉลุง   อำเภอเมือง  จังหวัดสตูล  เป็นห้วงที่มีการอพยพของนกต่างถิ่นหนีหนาวมาจากซีกโลกเหนือ   อพยพมาอยู่ที่นี่กันเป็นจำนวนมากซึ่งเป็นเขตอบอุ่นและมีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ  โดยเฉพาะนกเป็ดแดง   นกอ้ายงั่ว   นกอีโก้ง   นกกระสา   และกลุ่มนกยางชนิดต่างๆ

          โดยเฉพาะนกเป็ดแดงที่อพยพมาจำนวนมากและนกนานาชนิดรวมไม่น้อยกว่า 5,000 ตัว   ที่มาอวดโฉมให้เห็นในห้วงเดือน ก.ย.- ส.ค.ของทุกปี   ทำให้บรรดานักส่องนกทั้งมือเก่าและมือใหม่   จะเดินทางมาชมนกที่นี่กันเป็นจำนวนมาก  ที่นี่มีความพิเศษที่ไม่ได้มีเฉพาะหนองน้ำเท่านั้น    ที่นี่ยังมีภูเขาและมีนกหายากให้ชม   อย่างนกประจำถิ่น “นกทึดทือพันธุ์เหนือ”   เป็นตระกูลนกเค้าแมวและเป็นสัญลักษณ์ประจำเขตห้ามล่าสัตว์ป่า  “หนองปลักพระยา เขาระยาบังสา” ที่หาดูได้ยากแต่สามารถหาดูได้ที่นี่ที่มีประชากร 10 ตัว

นายชุติพงค์   พลวัฒน์ 

          นายชุติพงค์   พลวัฒน์   นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ  หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองปลักพระยาและเขาระยาบังสา  กล่าวว่า  สำหรับนกประจำถิ่นที่หาชมได้ยากแต่มีที่นี่คือนกทึดทือพันธุ์เหนือ  เป็นตระกูลนกเค้าแมวและเป็นสัญลักษณ์ประจำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองปักพญา หาดูได้ยากและเป็นนกประจำถิ่น    สำหรับนักดูนกที่สนใจจะมาทำกิจกรรมที่นี่สามารถดูได้ตลอดทั้งปี หากจะดูนกอพยพก็สามารถมาดูได้ในห้วงเดือนกันยายนถึงเมษายนของทุกปีสามารถเข้ามาติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อุปกรณ์ต่างๆก็มีบริการให้สำหรับนักท่องเที่ยว 

และในห้วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ทางกรมอุทยานฯ มอบให้สำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใน  เขตห้ามล่าสัตว์ป่า“หนองปลักพระยา  เขาระยาบังสา” จะมีบริการน้ำดื่ม  กาแฟ  และความปลอดภัย  ให้กับนักท่องเที่ยวรวมถึงการงดจัดเก็บการเข้ามาใช้บริการ 31 -1 มกราคม  2566

และในห้วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ทางกรมอุทยานฯ มอบให้สำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใน  เขตห้ามล่าสัตว์ป่า“หนองปลักพระยา  เขาระยาบังสา” จะมีบริการน้ำดื่ม  กาแฟ  และความปลอดภัย  ให้กับนักท่องเที่ยวรวมถึงการงดจัดเก็บการเข้ามาใช้บริการ 31 -1 มกราคม  2566

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป ข่าวเด่น ท้องถิ่น-การเมือง ท่องเที่ยว-กีฬา ทั้งหมด สัมภาษณ์พิเศษ-คอลัมน์นิสต์ เยาวชน-การศึกษา

วันงดสูบบุหรี่โลก สตูลประกาศให้ 2 ท่าเทียบเรือสำคัญระหว่างประเทศและท่าเทียบเรือท่องเที่ยวปลอดบุหรี่ยกระดับมาตราฐานท่าเรือสู่นานาชาติ

วันงดสูบบุหรี่โลก สตูลประกาศให้ 2 ท่าเทียบเรือสำคัญระหว่างประเทศและท่าเทียบเรือท่องเที่ยวปลอดบุหรี่ยกระดับมาตราฐานท่าเรือสู่นานาชาติ

ที่ห้องประชุมตำรวจน้ำจังหวัดสตูล   นางสาวพัชรี  เกิดพรม  ผู้ทรงคุณวุฒิควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัดสตูล , ศูนย์ข่าวปลอดควันจังหวัดสตูล  , องค์กรงดเหล้าสูบบุหรี่ที่จังหวัดสตูล  ร่วมเป็นสักขีพยาน  การลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU)  ในการดำเนินการให้ท่าเรือตำมะลัง เป็นท่าเรือปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย

          โดยนายเสรี  พงศ์นฤเดช รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสตูล  ได้รับมอบหมายจากนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสตูล ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU)  ในการดำเนินการให้ท่าเรือตำมะลัง เป็นท่าเรือปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดให้ สถานที่ท่าเรือตำมะลัง เป็นสถานที่สาธารณะที่มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 

โดยหน่วยงานที่ร่วมลงนามประกอบด้วย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาสตูลด่านศุลกากรสตูล  ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสตูล ตำรวจน้ำ 3 กองกำกับการ 9 กองบังคับการตำรวจน้ำ   ด่านตรวจสัตว์ป่า  ด่านตรวจคนหางาน ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 5  ด่านกักกันสัตว์  ห้างหุ้นส่วนจำกัด อันดามัน บิซิเนส แอนด์ คอนสตรัคชั่น 

          ส่งผลให้ท่าเทียบเรือในจังหวัดสตูล ถูกประกาศเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่แล้วจำนวน 2 แห่ง  โดยแห่งแรกได้ถูกประกาศขึ้นที่ท่าเทียบเรือปากบารา (ซึ่งเป็นท่าเทียบเรือท่องเที่ยวสำคัญที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่มาเยือนจังหวัดสตูล)  และแห่งที่ 2 คือท่าเทียบเรือตำมะลัง (ท่าเทียบเรือระหว่างประเทศไทยจังหวัดสตูล เกาะลังกาวีประเทศมาเลเซีย)

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป ข่าวเด่น ท้องถิ่น-การเมือง ท่องเที่ยว-กีฬา ทั้งหมด สัมภาษณ์พิเศษ-คอลัมน์นิสต์ เยาวชน-การศึกษา

เลขาธิการ ศอ.บต.เปิดกิจกรรมสานสัมพันธ์คนไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่ อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ระบุ ศอ.บต. พร้อมดูแลประชาชนทุกศาสนิกอย่างเท่าเทียม

เลขาธิการ ศอ.บต.เปิดกิจกรรมสานสัมพันธ์คนไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่ อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ระบุ ศอ.บต. พร้อมดูแลประชาชนทุกศาสนิกอย่างเท่าเทียม

วันนี้ (5 กุมภาพันธ์ 2566) เวลา 18.30 น. ที่ ห้องปลายสยาม โรงแรมเก็นติ้ง อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นประธานเปิดกิจกรรม และพบปะประชาชนคนไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ในกิจกรรมสานสัมพันธ์คนไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สังคมหลากหลายวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของอำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส พร้อมร่วมรับประทานอาหารเนื่องในโอกาสต้อนรับวันตรุษจีน ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นนโยบายของ พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. ที่กำหนดให้จัดขึ้นในโอกาสวันตรุษจีน และเป็นวันปีใหม่ของชาวไทยเชื้อสายจีน นับเป็นโอกาสที่ดี เพื่อให้ประชาชนชาวไทยเชื้อสายจีน ได้มารวมตัวกัน พบปะแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นในการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นสมาคม มูลนิธิ ศาลเจ้า หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เข้าร่วมจำนวนมาก โดยมี นายไพโรจน์ จริตงาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นางสุนิสา รามแก้ว ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. (กรมประชาสัมพันธ์) นาวาเอกจักรพงษ์ อภิมหาธรรม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนงานพัฒนาฝ่ายพลเรือน ศอ.บต. นางสุชาดา พันธุ์นรา นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโกลก เจ้าหน้าที่สำนักกอง / ศอ.บต. หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ทหาร และประชาชนชาวไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่อำเภอสุไหหงโกลก เข้าร่วมกว่า 600 คน

สำหรับ กิจกรรมภายในงาน มีการแสดงรำจีน ในชุดการแสดง 7 นางฟ้ารำอวยพร ชุดการแสดง คนไทยเชื้อสายจีน เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การแสดงเชิ่ดสิงโตจาก ศิษย์เจ้าแม่โต๊ะโมะ และคณะสิงโตลูกท้าวมหาพรหม สุไหงโกลก

ในการนี้ เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งที่ดีงามและเป็นสิริมงคลต่อบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง และที่สำคัญทุกคนที่อยู่ในงานแห่งนี้ถึงแม้จะเป็นคนจีนโดยกำเนิดแต่ทุกคนก็ได้ร้องเพลงชาติด้วยความไพเราะ บ่งบอกถึงว่า เราทุกคนได้รัก และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ของสถาบันพระมหากษัตริย์ และรู้สึกภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ร่วมกิจกรรมสานสัมพันธ์ พี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน ในพื้นที่ต่าง ๆ มาแล้ว และครั้งนี้ได้จัดขึ้นในพื้นที่อำ้ภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ท่ามกลางพี่น้องประชาชนเข้าร่วมอย่างคึกคัก อยากให้ได้รับรู้ว่า ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติใด ศาสนาใด ท่านทุกคนอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะต้องได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าท่านมาจากมณฑลใด ยุคใด วันนี้ท่านคือพลเมืองไทย ที่รัฐบาล โดย ศอ.บต. จะต้องดูแลทุกคน เพราะอำเภอสุไหงโกลก คือพื้นที่สังคมพหุวัฒนธรรมอย่างแท้ เราเองจะพยายามด้วยความสามารถเพื่อให้ชาวไทนเชื้อสายจีน สามารถอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมีความสุข

ด้าน หนึ่งในผู้ร่วมงานจากสมาคมแต้จิ๋ว ได้กล่าวถึงความรู้สึกในการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ว่า ขอขอบคุณศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้จัดกิจกรรมพบปะคนไทยเชื้อสายจีนในครั้งนี้ และได้ความรู้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นของการใช้ชีวิตประจำวัน สิทธิของคนไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และที่สำคัญ สายด่วนอุ่นใจ ศอ.บต. 1880 เป็นเลขหมายที่คนไทยทุกคนในพื้นที่ สามารถใช้จริง และช่วยเหลือคนไทยพื้นที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ปทิตตา หนดกระโทก ผู้สื่อข่าว นราธิวาสรายงาน

อัพเดทล่าสุด