Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูล-อดีตนายกท้องถิ่น ผันตัวเป็นเกษตรกร  เลี้ยงปูหน้าขาว  สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่  

สตูล-อดีตนายกท้องถิ่น ผันตัวเป็นเกษตรกร  เลี้ยงปูหน้าขาว  สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่

        จะอาชีพไหน ๆ แม้แต่นักการเมืองท้องถิ่นอย่างอดีตนายกองค์การส่วนตำบล  อำเภอทุ่งหว้า  จังหวัดสตูล   ได้ผันตัวเป็นเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  และ สิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน หรือ  ทสม. และเป็นเกษตรกรในช่วงบั้นปลายชีวิต    เพื่อสร้างคลังอาหารในครอบครัว  พร้อมกับเสริมรายได้สร้างความสุขกับครอบครัวที่ได้อยู่กับธรรมชาติ    ด้วยการเลี้ยงปูหน้าขาว  สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ด้วยวิธีการเลี้ยงแบบห่วงโซ่อาหาร   

        นายสมยศ  ฤทธิ์ธรรมนารถ  อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบล  และสมาชิก  ทสม.  หลังพักเรื่องการเมืองได้หันหน้าทำเกษตรอยู่บ้าน   ด้วยการปรับเปลี่ยนพื้นที่บ่อกุ้งร้าง  บนพื้นที่ 3 ไร่ เป็นบ่อเลี้ยงปูและปลา   โดยเฉพาะการเลี้ยงปูหน้าขาวสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่   ที่เชื่อว่า  จะเป็นที่ต้องการของตลาดด้วยคุณสมบัติเลี้ยงง่าย  โตไว  เปลือกไม่แข็งหนา  เนื้อแน่นทานอร่อยกว่าปูดำ

       สำหรับการเลี้ยงปูหน้าขาวได้  นายวรุตม์  หลงสะ   ประธานกลุ่มผู้เลี้ยงปูหน้าขาวจังหวัดตรัง  มาเป็นพี่เลี้ยงและเครือข่าย จากคุณสมบัติของปูหน้าขาวที่เลี้ยงง่ายโตเร็วเพียง  3 เดือน  สามารถทำน้ำหนักได้ถึงครึ่งกิโลกรัม  ซึ่งเป็นขนาดกำลังดีเนื้อหวาน  ปอกง่ายกว่าปูดำ   นับเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ในฝั่งอันดามัน   โดยราคาปูหน้าขาวไข่กิโลกรัมละ 800 บาท ขณะที่ปูดำกิโลกรัมละ 350 บาท    อีกทั้งปูหน้าขาวกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดจีนและมาเลเซียเพื่อนบ้าน   ร้านอาหารในประเทศก็รับจำนวนมาก    เหมาะกับการเลี้ยงในบ่อกุ้งร้าง 

 

         นายสมยศ  ฤทธิ์ธรรมนารถ  อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบล  และสมาชิก  ทสม.  ในตำบลขอนคลาน  อำเภอทุ่งหว้า  มีบ่อกุ้งร้างจำนวนมากจึงเห็นว่าหากมาปรับเปลี่ยนเป็นบ่อเลี้ยงปูและปลา  ซึ่งภายในบ่อจะทำเป็น (โรงแรมปลา ศาลาปู)  และเลี้ยงแบบห่วงโซ่อาหารเริ่มตั้งแต่ใช้มูลแพะ  มูลวัว  ใส่ในผักที่ปลูกรอบบ่ออย่าง  ผักบุ้งเม็กซิโก หรือที่รู้จักคือผักผงชูรส   เมื่อเติบโตเต็มที่   ผักเหล่านี้จะเป็นอาหารของปลาภายในบ่อ  และปลาเองก็จะเป็นอาหารของปูได้อีกทอดหนึ่ง   เป็นการลดต้นทุนให้ธรรมชาติเชื่อมร้อย

 

          การเลี้ยงปูหน้าขาว  จะเลี้ยงตามธรรมชาติเกินไปไม่ได้  เพราะต้องดูค่า PH ของน้ำด้วย สำหรับอาหารปูหน้าขาวใช้เนื้อ  ปลา 5 กก/1000 ตัว   สำหรับผู้ที่สนใจจะใช้บ่อกุ้งร้างปรับมาเป็นบ่อเลี้ยงปู  สามารถติดต่อสอบถามและปรึกษาการเลี้ยงผ่านนายวรุตม์  หลงสะ   ประธานกลุ่มผู้เลี้ยงปูหน้าขาวจังหวัดตรัง ได้ที่เบอร์โทร.065   -046  4925

………………………………………

อัพเดทล่าสุด

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

Categories
ข่าวทั่วไป

สตูล – จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องใน วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2566

สตูล – จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องใน วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2566

        วันที่ (5 ธ.ค. 65) ที่บริเวณหน้าสำนักงานเทศบาลเมืองสตูล อำเภอเมือง จังหวัดสตูล นายศักระ กปิลกาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นประธานในพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ และสามเณร จำนวน 89 รูป เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2566 โดยมีทพญ.สุกีรติ กปิลกาญจน์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสตูล นายชาตรี ณ ถลาง นายชูชีพ ธรรมเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล พร้อมด้วยนายวิชาญ ชัยเศรษฐ์สัมพันธ์ ปลัดจังหวัดสตูล คณะตุลาการ อัยการ ทหาร ตำรวจ หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ และประชาชนเข้าร่วมพิธีจำนวนมาก

          เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ตลอดระยะเวลา 70 ปี แห่งการครองราชย์ พระองค์ทรงมีทรงปฏิบัติตามพระราชปณิธานด้วยพระราชหฤทัยตั้งมั่น ทรงครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฎร์ ทรงเป็นต้นแบบการพัฒนาดิน ป่า และ น้ำ ตลอดจนโครงการพระราชดำริ ของพระองค์ที่ทรงห่วงใยพสกนิกร แก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของพสกนิกรทั่วประเทศ อีกทั้งทรงพระราชทาน “ศาสตร์แห่งพระราชา” เพื่อเป็นแนวทางให้ราษฎรพึงพาตนเองได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืนและใช้แผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด

……………………

ภาพ-ข่าว : ศุภาพิชญ์ ดวงไข / ส.ปชส.สตูล

อัพเดทล่าสุด

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

Categories
เยาวชน-การศึกษา

ชุมชนบ้านยาบี จัดกิจกรรม TO BE NUMBER ONE ภายใต้โครงการรณรงค์และแก้ไขปัญหายาเสพติด

ชุมชนบ้านยาบี จัดกิจกรรม TO BE NUMBER ONE ภายใต้โครงการรณรงค์และแก้ไขปัญหายาเสพติด

         อบต.ยาบี อ.หนองจิก จ.ปัตตานี โดยสำนักปลัด (งานสาธารณสุขฯ) ร่วมกับชมรม TO BE NUMBER ONE ชุมชนบ้านยาบี จัดกิจกรรม TO BE NUMBER ONE ภายใต้โครงการรณรงค์และแก้ไขปัญหา ยาเสพติด TO BE NUMBER ONE (ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นในชุมชน/หมู่บ้าน) ทูลกระหม่อมหญิงอุบล รัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ร่วมกับภาคีเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี โรงเรียนยาบีบรรณวิทย์ ระหว่างวันที่ 27 – 29 พ.ย.2566  ณ โรงเรียนยาบีบรรณวิทย์ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี และ ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา 

          นางสาวอลีนา ประมวลการ หัวหน้าสำนักปลัด และนางสาวจัสมิล  มุมินรุ่งเรืองเดช นักวิชาการสาธารณสุข ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวถึงโครงการดังกล่าวประกอบด้วยกิจกรรมมากมายที่จะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันและความตระหนักรู้เกี่ยวกับพิษภัยของยาเสพติดให้กับเด็กและเยาวชน เช่น กิจกรรมละลายพฤติกรรมและสันทนาการ กิจกรรม my choices กิจกรรม Walk Rally (ถอดรหัสลับ) กิจกรรม

          ถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้สถานการณ์ยาเสพติด กิจกรรมการแสดงบทบาทสมมุติ และกิจกรรมเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนศึกษาดูงานสถานที่จริง เช่น สถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสงขลา และทัณฑสถานบำบัดพิเศษสงขลา เป็นต้น

          ทั้งนี้เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับรู้และรับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด เพื่อเสริมสร้างทักษะการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น โดยปราศจากการเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดและอบายมุข  เพื่อสร้างผู้นำเยาวชนในการต่อต้านและป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษาและชุมชน ดังคำขวัญของโครงการ TO BE NUMBER ONE คือ “เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด” นายจักรพงษ์  อดุลรัส ปลัด อบต.ยาบี ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมดังกล่าว

         ด้านนายอับดุลเลาะห์  เจะปอ นายก อบต.ยาบี กล่าวว่า อบต.ยาบี เป็นสมาชิกของชมรม TO BE NUMBER ONE ในระดับชุมชน เพื่อบูรณาการร่วมกันขับเคลื่อนงานด้านยาเสพติดในทุกมิติ เพราะปัญหายาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดในทุกพื้นที่ของประเทศไทยได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ประกอบกับกลุ่มเด็กและเยาวชนเป็นวัยที่อยากรู้อยากลอง จึงถูกชักจูงให้ใช้สิ่งเสพติดได้ง่าย ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกาย และเมื่อเสพไปนานก็ส่งผลต่อสุขภาพจิต ทำให้เกิดปัญหาทางจิตมีผลทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา  

……………………………….

รุสลาม  มะแซ //รายงาน

อัพเดทล่าสุด

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

Categories
เยาวชน-การศึกษา

สตูล-รร.ไทยรัฐ ๑๑๑ น้อมนำศาสตร์พระราชา ผ่านมือครูสู่ใจ นร.สานต่อ อารยเกษตรในวันดินโลก 5 ธันวา

สตูล-รร.ไทยรัฐ ๑๑๑ น้อมนำศาสตร์พระราชา ผ่านมือครูสู่ใจ นร.สานต่อ อารยเกษตรในวันดินโลก 5 ธันวา

           นางวรรธิดา คมขำ ผู้อำนวยการโรงเรียน รร.ไทยรัฐ ๑๑๑ (บ้านทุ่งนางแก้ว) หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งนางแก้ว ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล กล่าวว่า โรงเรียนจับมือกับอำเภอละงู น้อมนำศาสตร์พระราชา  สนองพระบรมราโชบายพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ  พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระราชทานชื่อโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” เพื่อให้ทุกคนอยู่รอดเข้าใจ เข้าถึงและร่วมมือกันทำร่วมมือกันพัฒนา ผ่านมือครูสู่ใจ นร.สานต่ออารยเกษตร สร้างการเกษตรแก่ นักเรียนส่งต่อชุมชน  ติดตามครัวเรือนผู้ปกครองในชุมชนพื้นที่บริการของโรงเรียน  

          นำโดยนายธีระพงษ์ คุ่มเคี่ยม นายอำเภอละงู พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ทหาร ร่วมจัดกิจกรรมเนื่องในวันดินโลก”5 ธันวาคม 2566 “และขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรม สู่ชุมชนสุขภาวะ ด้านโครงการอาหารชุมชนโรงเรียนต้นแบบสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน    อาทิ การทำนา เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ทำปุ๋ย การตลาด พืชเศรษฐกิจ สวนปาล์มสวนยาง  แปรรูปให้เห็นชัดๆ ทำจริง กินจริง ไปดูกการจับปลา การลากอวน คัดขนาดปลา   การขุดคลองไส้ไก่ เพื่อหล่อเลี้ยงน้ำ   การทำฝายต้นน้ำ 4)การแปรรูปปลาน้ำจืด   การทำแซนวิชปลา   และ เราขาวไทยรัฐวิทยา ๑๑๑ จะสานต่อพระบรมราโชบายสู่ความยั่งยืน

……………………..

อัพเดทล่าสุด

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

Categories
ข่าวทั่วไป

สตูล- เปิด “ศูนย์มินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลท่าแพ” ตามนโยบาย Quick win 100 วัน ของกระทรวงสาธารณสุข

สตูล- เปิดกิจกรรม kick off “ศูนย์มินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลท่าแพ” ตามนโยบาย Quick win 100 วัน ของกระทรวงสาธารณสุข

        (4 ธ.ค.2566) ที่โรงพยาบาลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล นายชูชีพ  ธรรมเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม kick off “ศูนย์มินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลท่าแพ” ตามนโยบาย Quick win 100 วัน ของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อรองรับผู้ป่วยยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดสตูล โดยมี นายแพทย์สวัสดิ์ อภิวัจนีวงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 12 ร่วมมอบนโยบายฯ ผ่านระบบวิดิทัศน์ออนไลน์ พร้อมด้วยนายแพทย์สมบัติ ผดุงวิทย์วัฒนา สาธารณสุขนิเทศน์ เขตสุขภาพที่ 12 แพทย์หญิงวันทนา ไทรงาม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสตูล หัวหน้าส่วนราชการ  บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก ในโอกาสนี้ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลและคณะ ได้ร่วมเยี่ยมชมและให้กำลังใจผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาภายในโรงพยาบาลอีกด้วย

           สำหรับศูนย์มินิธัญญารักษ์เป็นต้นแบบที่พัฒนาขึ้นโดย กรมการแพทย์ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี(สบยช.)และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ ซึ่งเป็นรูปแบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ใช้ยาและสารเสพติดผู้ป่วยในแบบแยกหอผู้ป่วยเฉพาะ ภายใต้กระทรวงสาธารณสุขในระดับโรงพยาบาลชุมชน ให้มีศักยภาพในการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ใช้ยาและสารเสพติดได้แบบเดียวกับโรงพยาบาลธัญญารักษ์ที่เหมาะสมกับบริบทและสภาพปัญหาของพื้นที่ โดยให้การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ใช้ยาและสารเสพติด ด้วยการบำบัดรักษาระยะกลางหรือการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพระยะยาว ร่วมกับโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปที่มีศักยภาพสามารถบำบัดรักษาระยะเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน อย่างครบวงจร โดยในพื้นที่จังหวัดสตูล มีการให้บริการจำนวน 25 เตียง เพื่อรองรับการรักษาของประชาชนในพื้นที่

…………………………….

ภาพ-ข่าว: ภาสินี  จันทจักษุ / ส.ปชส.สตูล

อัพเดทล่าสุด

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

Categories
ข่าวเด่น

สตูล-ฝนตกสะสม ส่งผลให้น้ำลำคลองล้นทะลักท่วมบ้านเรือน

สตูลฝนตกสะสม ส่งผลให้น้ำลำคลองล้นทะลักท่วมบ้านเรือน

          วันที่ 5 ธ.ค.2566  ที่จังหวัดสตูลฝนที่ตกสะสมในระยะนี้แต่ส่งผลให้น้ำในลำคลองสายสำคัญ  อย่างคลองควนโดน  ซึ่งอยู่ในหมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 7 ของตำบลย่านซื่อ  อำเภอควนโดน  จังหวัดสตูล ได้เอ่อล้นตลิ่งไหลทะลักเข้าร่วมบ้านเรือนและถนนรวมทั้งพืชสวนไร่นาที่อยู่ใกล้ริมคลองท่วมขัง

          ทำให้ชาวบ้านต้องช่วยกันเคลื่อนย้ายสิ่งของขึ้นหนีน้ำกลางดึกที่ผ่านมา  หลังปริมาณน้ำจากคลองไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนเพิ่มสูงขึ้น   เพื่อไม่ให้ทรัพย์สินเกิดความเสียหาย 

          นายอนุวัฒน์   หมันเส็น  ชาวบ้านหมู่ที่ 7 ตำบลย่านซื่อ  เปิดเผยว่าน้ำได้ไหลทะลักเอ่อล้นจากคลองเข้าท่วมบ้านในช่วง 5 นาฬิกา  ของวันนี้ทำให้ทุกคนภายในบ้านต้องรีบตื่นเพื่อเคลื่อนย้ายสิ่งของไว้บนที่สูงเพื่อหนีน้ำ โดยระยะนี้ในพื้นที่มีฝนตกสะสมติดต่อกันหลายวัน  บางหมู่บ้านพบว่าน้ำได้ไหลทะลักเข้าในช่วง 3  นาฬิกา  ซึ่งขณะนี้ฝนได้หยุดตกแต่ปริมาณน้ำยังคงท่วมขัง

          สำหรับพื้นที่น้ำท่วมจากลำคลองที่ล้นทะลัก ริมตลิ่ง   หากปริมาณฝนไม่ตกมาซ้ำ 1-2 วันปริมาณน้ำก็จะแห้งลง  จังหวัดสตูลในระยะนี้มีฝนตกน้ำกระจายทั่วทั้งจังหวัด

……

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

ทะเลสตูล ปูม้าอุดมสมบูรณ์จากการต่อยอดช่วยกันอนุรักษ์  จนมามีอาชีพที่ยังยืนของคนในชุมชน 

ทะเลสตูล ปูม้าอุดมสมบูรณ์จากการต่อยอดช่วยกันอนุรักษ์  จนมามีอาชีพที่ยังยืนของคนในชุมชน

     ปูม้า  กลายเป็นตัวชี้วัดความสมบูรณ์ของท้องทะเลจังหวัดสตูล  หลังพบว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้น  โดยจากการร่วมกันอนุรักษ์ ฟื้นฟู จนมาสู่การเพาะเลี้ยงปูไข่ ก่อนนำไปปล่อยสู่ธรรมชาติ  จากกิจกรรมโครงการ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของธนาคารปูม้าจังหวัดสตูล ตามแนวทางการพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจ BCG   

 

โดยเป็นการสร้างความเข้มแข็งในกลุ่มหมู่บ้านชายฝั่งแห่งนี้  ซึ่งโครงการดังกล่าวนำร่องโดย ผศ.ดร.ทัศนภา ว่องสนั่นศิลป์ หัวหน้าโครงการ  ผศ.พาสนา เอกอุดมพงษ์ ผศ.สุภาพร เจริญสุข ผู้ร่วมโครงการ จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง    โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อหนุนเสริมการทำธนาคารปูม้าชุมชนให้ดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน   พัฒนาชุมชนชายฝั่งที่มีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG    เพื่อสร้างการรับรู้และจิตสำนึกของสังคมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรปูม้า  และเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการธนาคารปูม้าอย่างยั่งยืนให้กับนักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป  สิ่งที่สำคัญโครงการดีๆนี้ได้สนับสนุนโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  

 

ผศ.ดร.ทัศนภา ว่องสนั่นศิลป์ หัวหน้าโครงการฯ  กล่าวว่า   การลงมาส่งเสริมในพื้นที่จังหวัดสตูล เรามีแผนการดูแล ทั้งพื้นที่ชายฝั่ง และตามเกาะแก่ง ของธนาคารปูม้านี้ เพื่อต้องการสร้างความเข็มแข็งในกลุ่มสู่ความยั่งยืน  พร้อมทั้งสนับสนุนการสร้างชุมชน สู่อาชีพที่ยั่งยืน รายได้ดี และที่สำคัญการสร้างให้ชาวบ้าน ที่ร่วมทำนี้ มีใจที่อนุรักษ์ปูม้าไปด้วย 

       สำหรับสถานนการณ์ปูม้าในจังหวัดสตูลนี้ พบปูม้ามีเพิ่มมากขึ้น แหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์ ดูจากที่ประชาชน ชาวประมงนำมาทำเป็นเมนูอาหารแปลรูปเป็นจำนวนมาก  และสิ่งที่เรานำลูกปูม้าไปปล่อยคืนสู่แหล่งธรรมชาติ จุดตรงไหน ตรงนั้นก็อุดมสมบูรณ์เห็นได้ชัดเจน

ส่วนกิจกรรมที่เกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ก็จะทำเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงการดูธนาคารปูม้าอีกด้วย ทั้งอนุรักษ์ ทั้งเป็นเส้นทางท่องเที่ยวทางธรรมชาติในครั้งต่อไป และทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง   พร้อมเป็นพี่เลี้ยงคอยดูแล การสร้างธนาคารปูม้าในจังหวัดสตูล แบบยั่งยืนต่อไป

อัพเดทล่าสุด

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา สัมภาษณ์พิเศษ-คอลัมน์นิสต์

สัมภาษณ์พิเศษกลุ่มออกแบบ นักสร้างสรรค์ และหน่วยงานสำคัญ   ที่ช่วยผลักดัน “มาแต่ตรัง” เทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์ ให้เกิดขึ้นได้

สัมภาษณ์พิเศษกลุ่มออกแบบ นักสร้างสรรค์ และหน่วยงานสำคัญ   ที่ช่วยผลักดัน “มาแต่ตรัง” เทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์ ให้เกิดขึ้นได้

          คุณเพ็ญศิริรัตน์ อาจทวีกุล ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง  งาน “มาแต่ตรัง” ดำเนินการภายใต้กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน จังหวัดตรัง โดยสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง คุณเพ็ญศิริรัตน์ อาจทวีกุล ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง เผยถึงแนวคิดในการจัดงานครั้งนี้ว่า “เราริเริ่มมาจากสำนวนโบราณของคนตรังที่มักพูดกันว่า “มาแต่ตรัง ไม่หนังก็โนราห์” ซึ่งเป็นสำนวนที่สื่อให้เห็นว่าเมืองตรังเป็นแหล่งศิลปะการแสดงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมโนราห์ หรือหนังตะลุง นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นด้วยว่าเมืองตรังเป็นเมืองแห่งศิลปิน ตัวคนตรังเป็นคนมีปฏิภาณไหวพริบ  มีความเป็นศิลปิน การจัดงานนี้ก็จะเหมือนเป็นการเปิดเวทีให้ศิลปิน นักสร้างสรรค์ รวมถึง  ผู้ประกอบการต่าง ๆ ได้มานำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนความมคิดเห็นซึ่งกันและกัน รวมถึงสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นในจังหวัดตรังด้วย”

         “นอกจากนี้เราคาดหวังในเรื่องของการสร้างเครือข่ายกลุ่มนักสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดกลไกการทำงานร่วมกันในกลุ่มคนพื้นที่ และคาดว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นในห้วงการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองเก่า รวมถึงเกิดการต่อยอดธุรกิจใหม่ และมีการรับรู้การจัดการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองเก่าตรังเป็นวงกว้าง”

         ดร. สัญญา ศรีวิเชียร นายกเทศมนตรีนครตรัง    หนึ่งในหน่วยงานที่มีบทบาทอย่างมากในเทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรม “มาแต่ตรัง” คือเทศบาลนครตรัง โดยดร. สัญญา ศรีวิเชียร นายกเทศมนตรีนครตรัง กล่าวว่า “เทศบาลนครตรังเป็นหน่วยงานท้องถิ่น มีนโยบายและภารกิจเรื่องการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และแก้จน พัฒนาคน พัฒนาเมือง เรามุ่งพัฒนาเมืองทุกส่วนให้เกิดความยั่งยืน พัฒนาสวนสาธารณะให้พี่น้องได้พักผ่อนได้ออกกำลังกาย”

           “ผมต้องการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะให้อนุชนรุ่นหลังมีความเข้าใจ อาทิ การคัดแยกขยะ การดูและแยกพลาสติกไม่ให้ลงแม่น้ำลำคลองที่จะไหลลงไปสู่ทะเล ซึ่งตอนนี้เราได้ดำเนินการทำ MOU กับมูลนิธิของเยอรมัน เราทำโครงการบำบัดน้ำเสีย ต้องการไม่ให้น้ำเสียลงคลองห้วยยาง ไม่ให้น้ำในครัวเรือนลงในคลองน้ำเย็น ทั้งสองคลองในเทศบาลนครตรัง เพื่อต้องการความยั่งยืนเช่นกัน ฉะนั้นเรามีของดีอยู่แล้ว เราก็พยายามให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคตในทุกเรื่อง”

“ซึ่งบัดนี้ น้ำในคลองห้วยยางก็ดูสะอาดมากยิ่งขึ้น คลองสวยน้ำใส สามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแหล่งหนึ่งในทางวัฒนธรรม ในทางประวัติศาสตร์ของคลองห้วยยาง การที่เราจัดงานนี้เพื่อต้องการที่จะสืบสานพัฒนาเมืองเก่าของเรา พัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น และช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย”

 

         พยุงศักดิ์ ช่องลมกรด กลุ่ม Back Yard Cinematic พูดถึงการมีส่วนร่วมในงาน “มาแต่ตรัง” ในครั้งนี้ว่า “Back Yard Cinematic เป็นกลุ่มฉายหนังนอกกระแส เหมือนเป็นตัวเลือกหนึ่งในการดูหนัง เพิ่มความหลากหลายในการดูหนัง ปกติในตรังจะมีโรงหนังที่อยู่ในห้างสรรพสินค้าซึ่งฉายหนังตลาดอยู่แล้ว เราเป็นกลุ่มที่เพิ่มมุมมอง เพิ่มกิจกรรมในการดูหนังขึ้นมา อาจจะแตกต่างออกไป เราจะฉายหนังที่หาดูยากหน่อย พอดูจบแล้วเราก็จะคุยกันถึงความรู้สึกของคนดูว่ารู้สึกอย่างไร หรือมีอะไรไปทัชใจเขา เป็นความรู้สึกร่วมกับหนัง ปกติทุกคนดูจบก็จะลุกไป ของเราดูจบก็จะได้มาคุยกัน เป็นคอมมูนิตี้ใหม่ ๆ”

กลุ่มนักออกแบบสร้างสรรค์ หัว – Born 

      กลุ่มหัว – Born  (หัวบอน) คือ หัวที่เกิดความคิดสร้างสรรค์ให้วัยรุ่นหรือคนรุ่นใหม่เข้าถึงงานศิลปะและมีความคิดสร้างสรรค์ในจังหวัดตรังมากขึ้น คุณอัจจิมา รัตตมณี (ผึ้ง) ตัวแทนจากกลุ่มหัวบอนเล่าถึงกิจกรรมที่กลุ่มหัวบอนได้จัดขึ้นที่ ตึกตรังชาตะ (ตึกเก่า) โดยเริ่มตั้งแต่ 10.00 – 21.00 น. ตลอด 5วัน

       “งานนี้เราใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ตั้งแต่เริ่มเดินเข้ามาในตึกชาตะ เราจะมี Blind Test มีอาหาร มีเวิร์คชอปต่าง ๆ ที่ใช้วัสดุธรรมชาติ มีดินปั้นแปะเป็นผลงานสร้างสรรค์ของทุกคน และจะมีนิทรรศการภาพถ่ายในห้องมืด เพื่อให้คนที่ไปร่วมชมงานได้มีส่วนร่วมกับคนที่ถ่ายทอดภาพด้วย ส่วนฝั่งตรงข้ามตึกตรังชาตะเป็นปศุสัตว์ เราจัดเป็นตลาดนัดครีเอทีฟ เรียกว่า เถเพลย์ครีเอทีฟมาร์เก็ต แนวคิดคือ ต้องการนำวัสดุของผู้ประกอบการในตรังมาใช้ อาจจะเป็นสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว เราก็เอามาทำให้เป็นงานศิลปะแนวใหม่ ๆ เช่น กระดาษของสำนักพิมพ์ แกนผ้า ตระกร้าผลไม้ ตระกร้าขนมจีนที่วางทิ้งไว้ พอมาอยู่ในมือนักสร้างสรรค์ก็จะเกิดเป็นงานศิลปะ”

        “ตลาดนัดครีเอทีฟ เป็นการรวมตัวของผู้ค้าในจังหวัดตรังและจังหวัดใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็น สงขลา นครศรีธรรมราช ยะลา ปัตตานี ในงานมีส่วนการจัดแสดงของ Plan Toys (ผู้ผลิตของเล่นไม้เจ้าดังของไทย) มีเกมที่ทางหัวบอนจะจัดให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เข้ามาร่วมสนุกและมีการแสดงโชว์ทั้งเด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ มาเต้นลีลาศ รองเง็ง นอกจากนี้ยังมีหน่วยย่อยของนิทรรศการ เป็นเวิร์คชอป ลองเล่น. ลองทำ. ลองเถ เมืองประชา – ซน คนช่างเถ ที่เราอยากให้คนในจังหวัดตรัง และจังหวัดใกล้เคียง ได้มามีส่วนร่วม มาเล่น ให้เขารู้สึกสนุก เรามีเกมและของรางวัลเล็กๆ น้อยๆ ให้คนที่มาร่วมงานด้วย ทางกลุ่มทีมหัวบอนจึงอยากให้รู้ว่าจังหวัดตรังไม่ได้มีแค่ของกิน แต่เรามีงานศิลปะ งานแสดงที่คนรุ่นใหม่ต้องการถ่ายทอดให้ทุกคนได้ชมกัน”

กลุ่มนักออกแบบสร้างสรรค์ Urban Seeker

         กลุ่ม Urban Seeker คือกลุ่มที่ตามหาคุณค่าของเมืองว่าเมืองนี้มีคุณค่าอย่างไร เราได้ใช้ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมมาจัดการ เรียบเรียง เผยแพร่ให้คนอื่น ๆ ดู ทำให้คนที่สนใจ รักเมืองนี้ หรือมีงานอดิเรกได้ติดตามต่อได้

       

        คุณยิ่งยศ แก้วมี (กอล์ฟ) จากกลุ่ม Urban Seeker ให้ความเห็นถึงแนวคิดในการส่งเสริมการท่องเที่ยวว่า “ถ้าเราเป็นเจ้าบ้านที่ดี มีข้อมูลที่ดี ทุกคนสามารถเป็นไกด์ให้เมืองได้หมดทุกอย่าง ซึ่งจะมีเรื่องที่สงวนไว้ให้คนเมืองเท่านั้นที่จะรู้ ฉะนั้นเวลานักท่องเที่ยวมาก็ต้องตามหาคนเมือง เข้าถึงจะรู้เรื่องราวนั้น ๆ”

       งาน “มาแต่ตรัง” ในครั้งนี้ กลุ่ม Urban Seeker ได้นำเสนอผลงานสร้างสรรค์การท่องเที่ยวเมืองเก่า ในรูปแบบศิลปะการจัดวาง Installation Art อาทิ “ผักบุ้งริมคลอง ตัวแทนพืชผักริมคลองในอดีตประกอบกับชุมชนในอดีตเขาเลี้ยงหมู ชาวบ้านเขาก็จะนำ 2 อย่างนี้มาผสมกัน เกิดเป็นนวัตกรรมอย่างนึง เรียก “หัวหมูผักบุ้ง” ซึ่งน่าจะมีเฉพาะที่ตรังเท่านั้น” ผลงานสร้างสรรค์ชิ้นนี้สะท้อนถึงความมั่นคงทางอาหารที่เกิดจากความอุดมสมบูรณ์ของคลองห้วยยาง ในเมื่อครั้งอดีตคนตรังทับเที่ยงได้นำหมูที่เลี้ยง และผักบุ้งที่ปลูกริมคลอง มารังสรรค์อาหารร่วมกับน้ำราดสีแดงอันเป็นเอกลักษณ์ เพื่อเรียกร้องให้ผู้คนหันกลับมาทบทวนถึงความมั่นคงทางอาหารในชุมชนเมืองทับเที่ยงนี้อีกครั้ง

        “เรื่องที่สองคือ ไซดักทรัพย์ สามารถเห็นได้ตามร้านค้า เราจำลองมาเพื่อดักทรัพย์ให้กับเมือง ไซดักทรัพย์ ยังไปพ้องกับไซจับปลา ซึ่งในอดีตมีปลาชุกชมอยู่ในคลอง สะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของคลองห้วยยางในอดีตได้อีกด้วย”

          อีกไฮไลท์ของกลุ่ม Urban Seeker คือ Pocket Park พื้นที่นั่งเล่นสร้างสรรค์ที่เล่าผ่านภูมิปัญญาของทางเดินห้าฟุต (หง่อคาขี่) ใต้อาคารบ้านแถวตึกแถวในอดีต พื้นที่แห่งนี้บ่งบอกถึงความเข้าใจในสภาพบริบทของที่ตั้งอาคาร รวมทั้งเป็นหนึ่งในการแสดงออกถึงความใจกว้างของเจ้าของอาคารที่ให้ความสำคัญต่อประโยชน์แห่งสาธารณะในกรรมสิทธิ์ของตน เพราะแม้เป็นพื้นที่ใต้ที่ดินของคนอื่น แต่เราสามารถเดินผ่านได้ สามารถหลบแดดหลบฝนได้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความใจกว้างของคนตรังนั่นเอง

ชมภาพบรรยากาศ “งานมาแต่ตรัง” ได้ที่เพจ https://facebook.com/TrangRenown

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง

น้ำท่วมสตูล! ปิดช่องจราจรสายหลัก ชาวบ้านอพยพ-ใช้ปี๊บกั้นน้ำ วัวชนแสนบาทหนีขึ้นที่สูง  

อัพเดทล่าสุด