Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา

สตูล-ออกแล้ว! ผลไม้อัตลักษณ์พื้นถิ่น  กระท้อนนาปริกใหญ่ยักษ์ 80 ตัน จากดินแดนประวัติศาสตร์โบราณ  ประตูสู่อุทยานธรณีโลก พร้อมผลักดันเป็นพืช GI ต่อจากจำปาดะ 

สตูล-ออกแล้ว! ผลไม้อัตลักษณ์พื้นถิ่น  กระท้อนนาปริกใหญ่ยักษ์ 80 ตัน จากดินแดนประวัติศาสตร์โบราณ  ประตูสู่อุทยานธรณีโลก พร้อมผลักดันเป็นพืช GI ต่อจากจำปาดะ

         (วันที่ 20 มิ.. 2566)  ที่บ้านนาปริก  ตำบลควนโดน   อำเภอควนโดน  จังหวัดสตูล ดินแดนที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่ง “กระท้อนนาปริกสตูล” ที่มีผลใหญ่  เนื้อหนา นุ่มฟู รสชาติหวานอร่อยเฉพาะตัว  บนดินแดนประวัติศาสตร์โบราณ และประตูสู่อุทยานธรณีโลก  นับเป็นผลไม้อัตลักษณ์พื้นถิ่นที่ขึ้นชื่อในขณะนี้ที่กำลังให้ผลผลิตระหว่างเดือน มิ.ย. – ส.ค.2566 โดยราคาปีนี้ยังอยู่ที่กิโลกรัมละ 60-70 บาทหน้าสวนเริ่มทยอยออกผลผลิตมาให้ทานกันแล้ว

         โดยนายชูชีพ  ธรรมเพชร  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล พร้อมนายชาญณรงค์   วิรุณสาร   เกษตรจังหวัดสตูล ฝ่ายปกครองของอำเภอควนโดน เกษตรอำเภอควนโดน และนายอิบรอเหม เด็นสำดี   เกษตรกรเจ้าของสวนกระท้อนบ้านนาปริก และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และวิถีเกษตรชุมชนเขาโต๊ะกรัง  นำชมผลผลิตและสวนกระท้อนที่กำลังออกสู่ตลาด   จากสวนต้นแบบคุณภาพแห่งนี้  ซึ่งในแต่ละปีในอำเภอควนโดนให้ผลผลิตไม่น้อยกว่า 66 ตันจาก 46 ไร่ อำเภอควนกาหลง  7 ตัน 7 ไร่และทั้งจังหวัดผลผลิตจากกระท้อนมากถึง 80 ตันจากพื้นที่ 60 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่ปลูกแบบผสมผสาน

          ด้วยความพิเศษของกระท้อนที่นี่มีผลใหญ่กว่าฝ่ามือ  มีผลที่เคยใหญ่สุดเกือบลูกละ 2 กิโลกรัมโดยพันธุ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ พันธุ์อีล่า  ด้วยผลใหญ่ยักษ์ เปลือกบาง  ใช้ช้อนตักกินแบบสบาย ๆ เนื้อปุยนิ่ม อร่อยกำลังดี อร่อยจนโด่งดังและมีชื่อเสียงแพร่หลาย   นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ปุยฝาย  พันธุ์นิ่มนวล  พันธุ์เขียวหวาน และพันธุ์ทับทิม

         ขณะที่ทางกรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดสตูล   ได้มีการเพิ่มมูลค่าสินค้ากระท้อนด้วยการส่งเสริมการแปรรูปเพิ่มมูลค่าให้มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและมีคุณภาพ   การพัฒนาบรรจุภัณฑ์   เพื่อสร้างแบรนด์ให้กระท้อนสตูลอีกทั้งการพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการกลุ่มองค์กรเกษตร  ผู้ผลิตเกิดการเชื่อมโยงการตลาดได้   กรมส่งเสริมการเกษตรโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดสตูลได้เข้ามาส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น   ส่งเสริมและพัฒนาสินค้ากระท้อนในพื้นที่ 7 อำเภอบนพื้นที่ผลิต 60 ไร่ จังหวัดสตูลเป็นที่รู้จักและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค

         จากลักษณะเด่นผลใหญ่เนื้อหนานุ่มฟู  รสชาติหวาน  สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้เป็นอย่างดีและมีการขยายผลไปสู่การเชื่อมโยงท่องเที่ยวชุมชน  ตามคำขวัญ  “แหล่งกระท้อน  นุ่มหวานดินแดนประวัติศาสตร์โบราณ  ประตูอุทยานธรณี” 

อัพเดทล่าสุด

        นายชาญณรงค์   วิรุณสาร   เกษตรจังหวัดสตูล  กล่าวว่า  กรมส่งเสริมการเกษตร   สำนักงานเกษตรจังหวัดสตูล   ยังได้ส่งเสริมและพัฒนานำสินค้ากระท้อนในพื้นที่ 7 อำเภอพื้นที่ผลิต 60 ไร่โดยสร้างกิจกรรมอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสินค้าผลไม้อัตลักษณ์พื้นถิ่น  โดยมีเกษตรกรเป้าหมาย 50 ราย , การทำแปลงเรียนรู้การผลิตผลไม้อัตลักษณ์ที่ได้มาตรฐานจำนวน 1 แปลง  ,  การพัฒนาสินค้าผลไม้อัตลักษณ์สู่กระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ  ,  การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลไม้อัตลักษณ์ 5 พัฒนาจุดรวบรวมและจัดชั้นคุณภาพผลไม้อัตลักษณ์อีกทั้งยังมีแผนขับเคลื่อนส่งเสริมพัฒนาสินค้ากระท้อนคุณภาพที่มีอยู่เดิมและขยายพื้นที่ปลูกใหม่โดยยกระดับสู่มาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัย GAP ได้รับการรับรองมาตรฐานแล้ว 7 รายพื้นที่ 13 ไร่และอยู่ระหว่างการดำเนินการ 20 รายหรือ 20 แปลงและในปี 2565 หลายหน่วยงานได้มีการบูรณการในจังหวัดสตูลและกลุ่มภาคใต้อันดามัน ส่งเสริมการขึ้นทะเบียนสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย  โดยคัดเลือกกระท้อนสู่การขึ้นทะเบียน GI  โดยกำหนดขอบเขตพื้นที่ 2 อำเภอ คืออำเภอควนโดน และอำเภอควนกาหลง ต่อจากพืชจำปาดะ                

Categories
ข่าวเด่น

สตูล..อบจ.สตูลโต้เพจ ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน  ผู้รับเหมายังไม่ได้ทิ้งงานเชื่อคนสตูลได้ประโยชน์จากค่าปรับ 

สตูล..อบจ.สตูลโต้เพจ ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน  ผู้รับเหมายังไม่ได้ทิ้งงานเชื่อคนสตูลได้ประโยชน์จากค่าปรับ  ขณะที่ชาวบ้านวอนเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ  สร้างอาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยวจ.สตูล 29ล้าน 6 ปีที่ยังไม่เสร็จ  

         (วันที่ 19 มิ.. 66)  จากกรณีเพจปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน  โพสต์งบประมาณ  29 ล้าน 6 ปี ยังไม่ก่อสร้างเสร็จ  อบจ.สตูล  ก่อสร้างศูนย์บริการนักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่อำเภอควนโดน พิกัดริมถนนทางหลวงหมายเลข 406 ใกล้ตลาดนัดดุสน วงเงิน 29,798,000 บาท จัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ ทำสัญญากับห้างเกียรติเจริญชัยการโยธา กำหนดแล้วเสร็จ 22 .. 60 แต่โครงการมีความล่าช้าเป็นอย่างมาก จนถึงปี 61 ก็ยังดำเนินการไม่เสร็จ

 

           นางศุภลักษณ์  สตอหลง เจ้าของร้านก๊ะดา  บอกว่า  รู้สึกเสียดายวันเวลา เพราะนานแล้วการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จหากมีการนำงบนี้ไปสร้างที่อื่นก็น่าจะดีกว่า  แต่ก็อยากเห็นการกระตุ้นเศรษกิจจากสิ่งปลูกสร้างนี้ด้วยเหมือนกัน และหวังว่าจะมีการผลักดันให้ก่อสร้างแล้วเสร็จโดยไว  เพื่อพี่น้องชาวควนโดนและจังหวัดสตูลได้ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากยิ่งขึ้น

       ในเรื่องนี้นายสัมฤทธิ์    เลียงประสิทธิ์  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลได้ชี้แจงว่า   โครงการก่อสร้างศูนย์บริการนักท่องเที่ยวสัญญาจ้างเลขที่ 49/2559 ลงวันที่ 28 กันยายน 2559 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 22 ธันวาคม 2560   ผู้รับจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดเกียรติเจริญชัยการโยธางบประมาณในการก่อสร้าง 29,798,000 บาทงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557  ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลได้แจ้งเร่งรัดงานก่อสร้างแล้วจำนวน 28 ครั้งขณะนี้อยู่ระหว่างทำการก่อสร้างผลงานอยู่ที่ 78.91% ไม่ได้ทำงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2565  ค่าปรับณวันที่ 9 มิถุนายน 2566 เป็นเงิน 59,447,010 บาทคิดเป็น 199.50%  (1,995 วัน)

           ขณะที่ โครงการพัฒนาศูนย์บริการนักท่องเที่ยวจังหวัดสตูล สัญญาจ้างเลขที่ 23/2561 ลงวันที่ 3 กันยายน2562 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 ผู้รับจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดเกียรติเจริญชัยการโยธาด้วยงบประมาณ12,990,000 บาทงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2559 บันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาจ้างครั้งที่ 1 วันที่ 15 พฤษภาคม2562 แก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาโดยไม่เพิ่มวงเงินค่าก่อสร้างเนื่องจากมีการก่อสร้างโครงการประตูสู่อุทยานธรณีสตูลสตูลจีโอปาร์คเกตเวย์ทำให้พื้นที่สำหรับก่อสร้างลานจอดรถลดลง

          ข้อตกลงแนบท้ายสัญญาจ้างครั้งที่ 2 วันที่ 17 มิถุนายน 2562 แก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาโดยไม่เพิ่มวงเงินค่าก่อสร้างเนื่องจากแนวเขตที่ดินด้านที่อยู่ติดกับทางหลวงแผ่นดินเลขที่ 406 ต้องเว้นระยะครูระบายน้ำสาธารณะและระยะการถมดินมีผลกระทบกับความยาวของถนนทางเข้าขณะนี้งานก่อสร้างได้ดำเนินการแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างซ่อมแซมเพื่อคืนหลักประกันซ่อมคอนกรีตแล้วแต่ยังไม่ได้ตีเส้นจราจร

          นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า  ทางอบจ.ยังมองว่าผู้รับเหมายังมีศักยภาพในการรับผิดชอบด้วยการเสียค่าปรับเห็นได้จากยังมีการรับเหมาก่อสร้างในวงเงินหลักพันล้านบาท   พร้อมทั้งไม่ปฏิเสธความเกี่ยวพัน (เป็นพี่น้องกับนายกฯ) โดยยืนยันว่าเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ    อีกทั้งจุดโครงการก่อสร้างยังคงมีการปฏิบัติงานอยู่ซึ่งเชื่อได้ว่าค่าปรับจากผู้รับเหมาวงเงิน 59 ล้านบาท ขณะนี้ผู้รับเหมายังสามารถแบกรับไว้ได้  พร้อมเห็น     ว่าชาวสตูลอาจจะมองว่าเป็นการเสียโอกาส  แต่อยากให้ประชาชนมองมุมกลับว่ายังอยุ่ในกระบวนการขั้นตอนของระเบียบที่ผู้รับเหมายังสามารถทำได้   อีกทั้งเงินจำนวนค่าปรับสูงกว่าราคารับเหมาก่อสร้าง นั่นหมายถึงว่าคนสตูลได้อาคารหลังนี้มาฟรี   ส่วนจะมีการยืดเยื้อการจ่ายค่าปรับไปถึงไหนนั้น  ในเรื่องนี้อบจ.สตูลเชื่อว่า หลังมีข่าวออกไปทางผู้รับเหมาน่าจะเร่งดำเนินการเพื่อไม่ให้เสียชื่อเสียง 

……………………………………………

         

Categories
ข่าวทั่วไป

สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ จัดงานครบรอบ 26 ปี ส่วนภูมิภาคที่จังหวัดขอนแก่น

สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ จัดงานครบรอบ 26 ปี ส่วนภูมิภาคที่จังหวัดขอนแก่น ฟังปาฐกถาพิเศษ  “BCG: โอกาสของการพัฒนาอีสาน” โดย ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ และ “บทบาทสื่อและองค์กรสื่อที่สังคมคาดหวัง” โดย ดร.เจษฏ์ โทณะวณิก และการเสวนาหัวข้อ “จริยธรรมสื่อกับความอยู่รอดทางธุรกิจของสื่อภูมิภาค”

        สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ องค์กรวิชาชีพสื่อทำหน้าที่กำกับดูแลกันเองทางด้านจริยธรรมครอบคลุมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และดิจิทัล โดย นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ จะจัดงานครบรอบ 26 ปี สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ ในส่วนภูมิภาคที่จังหวัดขอนแก่น ในวันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน 2566 เป็นการจัดเสวนาในภูมิภาคครั้งที่ 2 โดยเมื่อปี 2565 จัดที่จังหวัดเชียงใหม่  

          สำหรับรายละเอียดกำหนดการจัดงาน วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน 2566 เวลา 08.00-12.00 น. ที่ห้องคำแก่นคูณ โรงแรมเลอแคสเชีย จังหวัดขอนแก่น เริ่มจากปาฐกถาพิเศษ เรื่องBCG: โอกาสของการพัฒนาอีสาน” โดย​ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาการสื่อมวล​ชนแห่งชาติ  ถัดมาเป็นปาฐกถาพิเศษ เรื่อง“บทบาทสื่อและองค์กรสื่อที่สังคมคาดหวัง” โดย ดร.เจษฏ์ โทณะวณิก ประธานหลักสูตรนิติศาสตร์ วิทยาลัยบัณทิตเอเชีย อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) และอดีตกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

       

เสวนา หัวข้อ “จริยธรรมสื่อกับความอยู่รอดทางธุรกิจของสื่อภูมิภาค” วิทยากรร่วมเสวนา ประกอบด้วย

  • นายปฏิวัติ เฉลิมชาติ สมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่น
  • นายชุมพร พารา เพจฟอร์มออนไลน์ขอนแก่นลิงก์
  • นายชาญณรงค์ บุริสตระกูล ประธานหอการค้า จังหวัดขอนแก่น
  • รศ.ดร.วนิดา แสงสาระพันธ์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นายจักรกฤชณ์ แววคล้ายหงษ์ กรรมการสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ และบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ประชามติ จังหวัดตราด

          ดำเนินรายการโดย นางสาววลัยลักษณ์ ชมโนนสูง เจ้าหน้าที่พัฒนาเครือข่ายสื่อ ไทยพีบีเอส

         สรุปผลการนำเสนอ “ทิศทางอนาคตของสื่อปี 2023” โดย ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ นักวิชาการอิสระด้านสื่อดิจิทัลและสื่อใหม่ อาจารย์พิเศษสาขาวารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และสื่อสารมวลชน ที่ปรึกษาด้านการสื่อสาร/การผลิตสื่อ และผู้วิจัยอิสระสาขาสื่อสารมวลชน สื่อดิจิทัลและสื่อใหม่

        กล่าวขอบคุณ โดย นายเจริญลักษณ์ เพ็ชรประดับ บรรณาธิการอำนวยการ อีสานบิซ  ผู้ประสานงานและรับผิดชอบการจัดงาน 

        สำหรับผู้สนใจที่ไม่สามารถเข้าร่วมงานที่โรงแรมเลอแคสเชีย จังหวัดขอนแก่นได้  ชมการถ่ายทอดสดทางเพจเฟซบุ๊ก สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ และองค์กรสมาชิก ประกอบด้วย อีสานบิซ เชียงใหม่นิวส์ ตราดออนไลน์ นครเชียงราย หมากแข้ง หัวหินสาร ลานนาโพสต์ ตรังไทม์ ส่องใต้นิวส์ และสงขลาโฟกัส

 

Categories
ข่าวทั่วไป

สตูล-รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดอาคารสำนักงานใหญ่ สหกรณ์อิสลามอิบนูเอาฟ ชื่นชมทำงานเพื่อสังคมส่วนรวม

สตูล-รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดอาคารสำนักงานใหญ่ สหกรณ์อิสลามอิบนูเอาฟ ชื่นชมทำงานเพื่อสังคมส่วนรวมแก่พี่น้องประชาชนชาวมุสลิมดีเยี่ยม

         วันที่ 17 มิถุนายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  นายนิรันดร์  มูลธิดา  รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานใหญ่กดปุ่มป้ายอาคาร และร่วมตัดริบบิ้นของอาคารสำนักงานใหญ่สหกรณ์อิสลามอิบนูเอาฟ จำกัด  เลขที่ 373/1 หมู่ที่ตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล โดยมีนายอับดุลลฮ์  อาเก็ม ประธานคณะกรรมการสหกรณ์อิสลามอิบนูเอาฟจำกัด  พร้อมด้วย คุณพสุธา ระวังสุข  รองผู้อำนวยการ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้  ผศ.อับดุลรอชีดเจะมะ  ผู้จัดการชุมนุมสหกรณ์อิสลามแห่งประเทศไทย  และ นายอูมัร อาเก็ม  ผู้จัดการใหญ่สหกรณ์อิสลามอิบนูเอาฟจำกัด  พร้อมกับนายถาวรศักดิ์ รัตนชูศรี  สหกรณ์จังหวัดสตูล ( เป็นผู้แทนรองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล )ในการร่วมงานและตอนรับในครั้งนี้ด้วย

           สำหรับความเติมโตของสหกรณ์อิสลามอิบนูเอาฟ จำกัด ครบรอบ 30 ปีที่อยู่คู่พี่น้องชาวมุสลิมในจังหวัดสตูล มาช้านานด้วยการช่วยเหลือสังคม และการให้โอกาสด้านการเงินเป็นสหกรณ์ช่วยเหลือประชาชนพี่น้องชาวมุสลิมมาช้านาน และยังมีภารกิจช่วยเหลือสังคม แก้ไขปัญหาความเดือนร้อนอีกด้วย

        และวันนี้มาสู่ความสำเร็จของการเป็นสหกรณ์อิสลามอิบนูเอาฟ จำกัด จึงได้จัดเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ ความโตที่มาพร้อมความช่วยเหลือสังคม ในวันนี้จึงมีกิจกรรมอาทิเช่น  ปฐกถาพิเศษ หัวข้อ การบริหารจัดการสหกรณ์เชิงรุกต่อความท้าทายเพื่อโอกาสในการเติมโตที่ยังยืน

           

       นายอูมัร อาเก็ม  ผู้จัดการใหญ่สหกรณ์อิสลามอิบนูเอาฟ จำกัด    กล่าวว่า กิจกรรมวันนี้เรามีการทำอาหาร ไอติมฟรี  แก่พี่น้องชาวมุสลิมที่มาร่วมงาน และคนยากจนได้ทานจนอิ่ม และมีกิจกรรมอีกมากมายอาทิ เช่น พิเศษ!! เปิดรับสมาชิกใหม่ภายในงาน 30 ปีอิบนูเอาฟ ครบรอบ30ปีอิบนูเอาฟ Big Family Day เพื่อให้ทุกท่านได้รับสิทธิ์ลุ้นรางวัลโดย ช่วงท้ายรายการจับรางวัลแจกสมาชิกอิบนูเอาฟ  นอกจากนี้ยังมีพบกับบูธสินเชื่อฮาลาลและให้คำปรึกษาการขอสินเชื่อต่างๆเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่หลากหลาย

  

         ภายใจงาน 30ปีอิบนูเอาฟ ครบรอบ30ปีอิบนูเอาฟ Big Family Day และ   ภาคกลางคืน ช่วง Short Talk  พบกูรูในแวดวงเศรษฐศาสตร์อิสลาม  ผศ.อับดุลรอชีด เจะมะ   ผศ.ดร. สุกรี หลังปูเต๊ะ  และ Influencer ด้านการเงินอิสลาม  ดร.ศิดดิก ลาลีวัน

          ที่จะมาคุยในแบบฉบับที่สั้น กระชับ เข้าใจง่าย   ในมิติของ Islamic finance. 30ปีอิบนูเอาฟ ครบรอบ30ปีอิบนูเอาฟ Big Family Day  ย้ำมีของรางวัลมากมาย เราให้สังคมอย่างยิ่งใหญ่

Categories
ข่าวทั่วไป ท่องเที่ยว-กีฬา

สตูล-หนุ่มมัคคุเทศก์ สู่ ดริปไรเดอร์อิสระ พร้อมเสิร์ฟไปกับจยย.คู่ใจบริการตามจุดเช็คอินเอาใจคอกาแฟถึงที่ 

สตูลจากหนุ่มมัคคุเทศก์ สู่ ดริปไรเดอร์อิสระ พร้อมเสิร์ฟไปกับจยย.คู่ใจบริการตามจุดเช็คอินเอาใจคอกาแฟถึงที่

         วันนี้พาไปดูคนสู้ชีวิตอีก 1 รายในพื้นที่ตำบลปากน้ำ   อำเภอละงู   จังหวัดสตูล ที่ผันตัวเองจากเป็นไกด์นำเที่ยวในจังหวัดสตูล อีกทั้งเป็นคนที่ชอบดื่มกาแฟสด  แต่ไม่มีเงินทุนมากนักที่จะเปิดร้านกาแฟ  จึงหันมาใช้รถจักยานยนต์ส่วนตัว  เป็นรถบรรทุกอุปกรณ์เครื่องมือทำกาแฟสดแบบง่าย ตระเวนขี่ไปจอดตามแหล่งท่องเที่ยว ต่าง ๆในจังหวัดสตูล ดริปกาแฟสดกันถึงที่เลยทีเดียว 

        โดยทีมข่าวไปพบนายอิสระพงศ์  โสะเต่ง อายุ  32 ปี เจ้าของร้านกาแฟเครื่องที่ หรือเรียกว่า  ดริปไรเดอร์อิสระ เปิดเผยกับทีมข่าวว่า เมื่อก่อนทำอาชีพนำเที่ยว และรู้สึกอยากมาทำอาชีพที่ตนเองรัก  และมีความฝันอยากมีร้านกาแฟ แต่ไม่มีงบประมาณทำเหมือนคนอื่นๆ แต่ด้วยความชอบดื่มกาแฟสดแบบ เรียล ๆ จึงหันศึกษาเมล็ดพันธุ์กาแฟต่าง ๆ จากผู้รู้ และมาลองผิดถูก  ดริปกาแฟเอง ถึง  3 ปี ลอง กิน  ลองคั่วเอง จนได้รสชาติที่ถูกคอถูกใจ ลูกค้าทุกกลุ่มวัย

 

       ด้านนายอิสระพงศ์   กล่าวอีกว่า  ทำไมถึงใช้ จยย.ทำร้านกาแฟ และดริปบนรถเลย  เพราะ สะดวก และ หาวิวชุมชน  หากใครอยากชิม สามารถแวะอุดหนุนได้ โดยช่วงเช้าทุก ๆ วัน ประมาณ 9 โมงเช้า จะขายข้างร้านอาหารตามสั่ง ร้านบังวร ใกล้จุดท่าเทียบเรือท่องเที่ยวปากบารา  ตำบปากน้ำ  อำเภอละงู จังหวัดสตูล ช่วงบ่ายขี่จยย.ไปขาย  บริเวณริมทะเลท่ามาลัย  ช่วงพระอาทิตย์ตกจะขายบริเวณลาน 18 ล้าน ริมชายหาดปากบารา  ส่วนเมนูยอดฮิตลูกค้าสั่งบ่อยค่อย เมนู กาแฟดริปเย็น.  คาปูชิโน่  กาแฟส้ม กาแฟร้อน วันหนึ่งขายได้ถึง  10 แก้ว ราคาแก้วละ 40 บาท จนถึง 150 บาท ใครสนใจอยากชิมโทรสอบถาม ได้ที่ 093 – 669 5183  ดริปไรเดอร์อิสระ ตอนนี้เปิดขายมา 6 เดือนตั้งแต่ปีใหม่ จนถึงปัจจุบันนี้

 

          ทั้งนี้ร้านกาแฟดริปไรเดอร์  เป็นร้านกาแฟเคลื่อนที่ไปตามวิวสวยๆ  มีเก้าอีก 3 ตัว ไว้ให้ลูกค้าได้นั่งรอ  นั่งจิบกาแฟแลวิว   โดยจะออกขายตามแหล่งท่องเที่ยวปากบารา เคยวิ่งไปไกลสุดที่จังหวัดพัทลุง  ลูกค้าขาประจำก็มี  ขาจรก็เป็นลูกค้าจากประเทศมาเลเซีย  ราคามีหลากหลายทั้งราคาแพง  และราคาถูก  เพราะซื้อมาแพงเริ่มต้นที่ 40 บาทจนถึง 150 บาทต่อแก้ว  

          ขณะที่ลูกค้าที่แวะซื้อกิน บอกว่า กาแฟสดเข้มข้น อร่อยเหมือนทานในร้านกาแฟเลย แถมมีแนวคิดดีน่าชื่นชมคนขยัน

……………………..

Categories
ข่าวเด่น

ทุกข์ชาวบ้านลิง 1,200 ตัวบุกเมืองหลวงชั้นใน รับเป็นวาระเร่งด่วน เสนอ 3 ทางออกก่อนปล่อยเกาะตะรุเตา

สตูล-ทุกข์ชาวบ้านลิง 1,200 ตัวบุกเมืองหลวงชั้นใน รับเป็นวาระเร่งด่วน เสนอ 3 ทางออกก่อนปล่อยเกาะตะรุเตา

         วันที่  16 มิ.ย.2566  ปัญหาลิงก่อกวน สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านในเขตเทศบาลเมืองสตูล  ขณะนี้กำลังเป็นวาระเร่งด่วน  ที่ทางเทศบาลเมืองสตูล ชุมชนที่ได้รับผลกระทบ และทางจังหวัดได้พยายามหาทางออก  เพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน   

         โดยเฉพาะวันนี้   ได้รวบรวมผลไม้จากชาวบ้าน ชุมชน  โดยเฉพาะมะม่วงที่ตกเกรดจำนวน 2 เข่งใหญ่  มาวางไว้ยังจุดให้อาหารลิง   ภายในสวนสาธารณะเขาโต๊ะพญาวัง ซึ่งอยู่ในความดูแลของเทศบาลเมืองสตูล  ที่เตรียมพื้นที่ไว้จำนวน 3 จุด   เชื่อว่าเป็นการบรรเทาปัญหาลิงแสม  อดอาหาร และไม่ให้ออกจากเขาไปก่อกวนในตัวเมืองได้

        หลังประชากรลิง  มีตัวเลขที่เพิ่งสูงขึ้น 1,200  ตัว หลังเคยมีการทำหมันไปเมื่อปี 2556 -2557 จากนั้นก็ไม่ได้ทำหมันอีก  มาปัจจุบันลิงได้กลับมาสร้างปัญหาอีกครั้ง ในหลายชุมชน   ทั้ง   ชุมชนม้าขาว /ชุมชนโรงพระ/ ชุมชนหลังห้องสมุด/ ชุมชนศาลากันตง  โดยเฉพาะในย่านเศรษฐกิจ   นอกจากรื้อค้นทรัพย์สินชาวบ้าน แย่งของในมือเด็ก ทำลายข้าวของชาวบ้านชุมชนแล้ว  ลิงยังบุกโรงแรมใหญ่กลางเมือง ทำลายหม้อแปลงดับ   เสียหายมูลค่าทรัพย์สินนับแสนบาท  อีกทั้งอาคารหรูของเทศบาลเมืองสตูลหลายแห่ง   ก็มีการยึดเป็นที่อยู่ไปแล้ว

         จากปัญหาดังกล่าวได้มีการหารือกับนายเทอดไทย   ขวัญทอง  ผู้อำนวยการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสตูล  หรือทสจ.   เพื่อหาทางออก    โดยทางชาวบ้าน  ชุมชนได้สรุปปัญหาในการแก้ไข 3 ระยะคือ  การให้อาหารตามจุด    เพื่อบรรเทาการขาดแคลน  อาหารของลิง  , การทำหมัน (โดยมีเทศบาลเมืองสตูลสนับสนุนงบประมาณ  ,และการนำไปปล่อยเกาะที่อุดมสมบูรณ์ อย่างเช่นเกาะตะรุเตา  ซึ่งปัญหาทั้งหมดนี้  จะนำเข้าที่ประชุมแก้ปัญหาลิง  ระดับจังหวัดต่อไปในเร็ว ๆนี้

        ด้านนายประชิต  สารานพคุณ  ที่ปรึกษาชุมชนห้องสมุด กล่าวว่า   ชาวบ้านที่เดือดร้อนปัญหาลิงแสมก่อกวน  ลงรายชื่อความเดือนร้อนจากลิง ประมาณ 200 กว่าครัวเรือน  ลิงก่อกวน ดึงสายไฟฟ้า หลังคาบ้าน บุกรื้อข้าวของ แม้กระทั้ง เรื่องอาหารการกิน  ลิงขโมย จนน่ารำคาญ นับว่าวิกฤติเลยทีเดียว  ลิงมีเยอะเกินจนชาวบ้านทนรับไม่ไหว ที่จะอยู่ร่วมกับลิง

       ทั้งนี้นายวิเชียร  ตันติอาภรณ์ นายกเทศมนตรีเมืองสตูล กล่าวว่า  ทางเทศบาลเมืองสตูล เราทราบปัญหาความเดือดร้อน   ในส่วนภาพรวมทางเทศบาลฯนั้น เราประชุมหาทางออก  จัดงบส่วนหนึ่งที่ทำหมันลิงแสม แต่ลิงเหล่านี้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง  ต้องหารือทางจังหวัดด้วย  และทางเทศบาลฯ เอง  รับทราบว่าทางชุมชน  ร่วมใจกันหาผลไม้สุก เป็นอาหารให้ลิงแสม ดังนั้น ทางเทศบาลฯขอเป็นธุระจัดรถ  ขนผลไม้สุก  นำอาหารมาให้ลิงเหล่านี้เอง เพื่อช่วยกันในเบื้องต้น

……………………………

Categories
ข่าวทั่วไป

สตูล-ช่างเสริมสวยจิตอาสาใช้เวลาว่างลงตัดผมผู้ป่วยติดเตียงถึงบ้าน 

สตูล-ช่างเสริมสวยจิตอาสาใช้เวลาว่างลงตัดผมผู้ป่วยติดเตียงถึงบ้าน

           4 ปีแล้ว ที่ครอบครัว ประไพ อินทรสมบัติ  ใช้เวลาว่างจากการเปิดร้านเสริมสวย ทำผมให้ลูกค้า   ออกตระเวนตัดผมให้ผู้ป่วยติดเตียงฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

          นางประไพ  อินทรสมบัติ  เจ้าของร้านเสริมสวยในตัวเมืองสตูล  พร้อมบุตรสาว  นำบัตตาเลี่ยน  กรรไก เครื่องมือทำมาหาเลี้ยงชีพ  ออกบริการตัดผมให้ลุงปรีชา วัย 68 ปี  ผู้ป่วยติดเตียง ในซอยเรืองฤทธิ์จรูญ ซอย 9  ต.พิมาน อ.เมือง จ.สตูล  โดยใช้ทักษะการตัดผมอย่างชำนาญ  ค่อยๆตัดผมที่ยาวออกก่อนจะตัดแต่งทรง  พร้อมโกนหนวดเคราให้ลุงปรีชาตามตั้งตอนเสมือนตัดผมในร้านเสริมสวย  ซึ่งลุงบอกว่า ไม่ได้ตัดผมมาร่วมครึ่งปีแล้ว 

          โดยลุงปรีชาเป็นโรคกระดูกทับเส้นมานาน 16 ปี  อยู่บ้านเพียงลำพัง การจะออกไปตัดผมที่ร้านถือเป็นเรื่องยาก  ก่อนจะโชว์ความหล่อหลังตัดผมเสร็จเรียบร้อยด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้ม

          โอกาสนี้  ประไพ และบุตรสาว  ยังได้เดินทางต่อไปยังบ้านผู้ป่วยติดเตียงหลังที่ 2 เป็นหญิงสูงวัย อายุ 62 ปี  เพื่อตัดผมให้ ตามความต้องการของผู้ป่วย   โดยทรงผมที่ผู้ป่วยเลือก มีทั้ง  รองทรงสูงในผู้ชาย  ซอย ทรงผมบ๊อบ ทรงสวอกกี้  ในผู้หญิง     

 

             นางประไพ  อินทรสมบัติ  จิตอาสา กล่าวว่า  ให้บริการด้านนี้มานานเข้าปีที่ 4 แล้ว   รับผู้ป่วยติดเตียงเคสที่มีความลำบาก  มีความพิการ  ดูแล้วศักยภาพดูแลตัวเองไม่ได้   ผู้ป่วยเอดส์ก็มีในภาวะไม่แพร่กระจายของโรค  เมื่อมีคนติดต่อมา หากมีเวลาก็จะลงทำให้  โดยพยายามเลือกเคสที่ลำบากที่สุด 

         “เมื่อก่อนเปิดร้านทำผมมา 30 ปี  จะเจอลูกค้าที่หลากหลาย  จะมีลูกค้าที่เดินมาถามว่าโกนผม โกนหัวให้พ่อหนูมั้ยเพราะท่านเป็นผู้ป่วยติดเตียง  และมีผู้ป่วยพาร์กินสันส์ที่เดินได้อยู่ๆก็เดินไม่ได้   พอตัดผมไปนานๆเพราะถึงจุดอิ่มตัวก็เริ่มมองว่าจะทำบุญด้านไหนได้บ้าง    ส่วนตัวมีทักษะวิชาชีพ ในกลุ่มนี้จะมีช่างที่เข้าไปทำให้น้อยที่สุดซึ่งส่วนนี้ญาติผู้ป่วยจะมีปัญหามากที่สุด 

         เคยตัดมากสุดวันละ  3  คน  ด้วยเวลาที่ต้องเรียนด้วย  บางครั้งก็มีลูกค้ามาทำผมที่ร้าน   ส่วนเคสที่ตัดจะเป็นผู้ป่วยติดเตียงโดยจะแนะนำให้โกนศีรษะเพราะทำความสะอาดง่าย  และต้องเวียนมาตัดให้สามเดือนครั้ง 

         จริงๆแล้วอยากส่งเสริมให้ช่างในสตูลเข้ามาช่วยตรงนี้  เพราะผู้ป่วยติดเตียงที่บ้านมีเยอะนะตอนนี้   แต่ทำคนเดียวก็อยากกระจายตรงนี้ ให้มาช่วยกันได้ช่วยเหลือแบ่งเบาภาระและทำบุญร่วมกัน”

               ด้านนางอรัตนยา  โอสถาน   สมาชิกสภาเทศบาลเมืองสตูลเขต 3  // อสม.กล่าวว่า   น้องหมวย   อยู่ในทีมเดียวกันคือ ซีจี ดูแลผู้ป่วยฟื้นฟูที่ติดบ้านติดเตียง  เป็นทีมเดียวกัน   แต่อยู่คนละชุมชน   เมื่อมีอะไรก็จะไปเยี่ยม  ถ้ามีคนผมยาวหรือจะต้องทำความสะอาดบ้านก็จะนัดกัน  โดยจะทำให้โดยไม่เกี่ยงว่าเป็นคนแบบไหนลำบากคนฐานะดีๆ  ก็จะไปทำให้หากอยู่ติดบ้านติดเตียง   ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นคนที่ลำบากเสมอไป   ขอให้บอกจะมีทีมอย่างบ้านไหนที่คนแก่อยู่คนเดียว   ลูกหลานทิ้ง   ไม่เคยทำความสะอาดบ้านเลย   เราจะมีทีม   แจ้งมาเราจะไปช่วยทำความสะอาด
               

         การให้บริการตัดผมฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ   นั้น  ครอบครัวนางประไพ ก็ไม่ได้เกี่ยงว่าจะเป็นคนรวยหรือคนจน   คนรวยที่ไม่สามารถออกจากบ้านได้  ก็พร้อมไปตัดให้ฟรีเช่นกัน    

           

         นอกจากนี้ยังมีทีมจิตอาสา  อสม.  ซึ่งใกล้ชิดกับชาวบ้าน  กองงานสวัสดิการสังคมของเทศบาลเมืองสตูล   เมื่อพบผู้ป่วยติดเตียง ต้องการให้ช่วยตัดผม  ก็จะแจ้งมายังครอบครัวนางประไพ   และร่วมกันลงพื้นที่ให้บริการช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียงที่ต้องการความช่วยเหลือ 

…………………………………….

 

Categories
ข่าวเด่น

สตูลประมงปลากะตักประกาศดีเดย์ เสาร์ที่ 17  นี้ปิดร่องเต็มพื้นที่ หลังชุมนุมยืดเยื้อเป็นวันที่ 4 

สตูลประมงปลากะตักประกาศดีเดย์ เสาร์ที่ 17  นี้ปิดร่องเต็มพื้นที่ หลังชุมนุมยืดเยื้อเป็นวันที่ 4 

        (15 มิ.ย.2566)  การชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มเรือประมงอวนครอบ อวนช้อนและ  อวนยกปลากะตัก  ที่ใช้เครื่องปั่นไฟ ดำเนินมาเป็นวันที่ 4 หลังนำเรือกว่า 20 ลำมาปิดร่องน้ำปากคลองปากบารา  ตำบลปากน้ำ  อำเภอละงู จังหวัดสตูล เพื่อเรียกร้องให้ทางการให้คำตอบที่ชัดเจนว่าจะสามารถให้พวกตน  ทำประมงไปก่อนจนกว่าจะมีการ  ทบทวนแก้ไขผู้ได้รับผลกระทบจากกฎกระทรวง ปี 2565  เรื่องการกำหนดเขตทะเลชายฝั่ง ในบริเวณจังหวัดสตูลได้หรือไม่   พร้อมทั้งการเรียกร้องในครั้งนี้ได้สร้างความน้อยเนื้อต่ำใจว่าไม่ได้รับการเหลียวแลจากทางจังหวัดที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหา 

        ขณะที่วันนี้ทางด้านนายนิพนธ์  เสนอินทร์   หัวหน้าประมงจังหวัดสตูล พร้อมหัวหน้าประมงอำเภอละงู   ตำรวจสอบสวนกลางตำรวจน้ำ  ตำรวจสภ.ละงู  ได้เดินทางเข้าเยียมเยียนกลุ่มประมงพร้อมรับฟังปัญหาพูดคุยถึงทางออกร่วมกัน  โดยมี  3 แนวทางแก้ปัญหาคือ  การเปิดเวทีทบทวนกฎกระทรวงในพื้นที่ 4 อำเภอ  ที่ได้รับผลกระทบ   2 .การให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนเครื่องมือประมงพื้นบ้านที่ถูกกฎหมาย ในผู้ที่เต็มใจที่จะเปลี่ยนเครื่องมือ  และ 3 การยังบังคับใช้กฎกระทรวงทะเลชายฝั่ง พ.ศ.2565   โดยไม่ได้รับการตอบรับจากกลุ่มประมงผู้ประท้วง

           สำหรับประมงปลากะตักเป็นเครื่องมือประมงพาณิชย์ที่มีประสิทธิ์ภาพสูง แต่สามารถทำการประมงได้นอกเขตประมงชายฝั่งที่กำหนด 

        ขณะที่ด้านกลุ่มประมงผู้ประท้วงได้มีมติยกระดับปิดร่องน้ำปากคลองปากบาราทั้งหมด  วันเสาร์ที่ 17 มิ.ย.2566 ตั้งแต่เวลา 10 นาฬิกาเป็นต้นไป แบบไม่มีกำหนดจนกว่าจะมีการเจรจาเป็นที่พอใจ  โดยระหว่างนี้ได้ขออภัยผู้ใช้เส้นทางถึงความจำเป็นของพวกตน  และให้เวลาในการเตรียมพร้อมสำหรับการใช้เส้นทางอื่น

………………………………

Categories
ข่าวทั่วไป

นิพนธ์ ร่วมในพิธีสถาปนาคณะกรรมการบริหารสมาคมฮกเกี้ยนสงขลา ปีบริหาร 66-68 ย้ำจุดยืนในเรื่องความรักความสามัคคี

นิพนธ์ ร่วมในพิธีสถาปนาคณะกรรมการบริหารสมาคมฮกเกี้ยนสงขลา ปีบริหาร 66-68 ย้ำจุดยืนในเรื่องความรักความสามัคคี และมุ่งเน้นทำประโยชน์เพื่อชุมชน

         นายนิพนธ์ บุญญามณี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย  ในฐานะประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมฮกเกี้ยนสงขลา  พร้อมด้วยนายสรรเพชญ  บุญญามณี ว่าที่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เขต 1 สงขลา ในฐานะที่ปรึกษาสมาคมฯ ร่วมในพิธีสถาปนากรรมการบริหารสมาคมฮกเกี้ยนสงขลา ปีบริหาร 2566-2568  มี นายไพโรจน์ สุวรรณจินดา นายกสมาคมฮกเกี้ยนสงขลา สมัยที่ 15  นายอนุสรณ์ โค่ยสัตยา รองนายกสมาคมฯ และคณะกรรมการสมาคมฯฮกเกี้ยนสงขลา ประจำปีบริหาร 2566-2568 ร่วมให้การต้อนรับ  ณ โรงแรมกรีนเวิล์ด พาเลช สงขลา

         ทั้งนี้สมาคมฮกเกี้ยนสงขลา ได้จัดให้มีการเลือกตั้งนายกสมาคมคนใหม่ ในการประชุมใหญ่สามัญสมาชิกฯ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2566 โดยนายไพโรจน์ สุวรรณจินดา ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกสมาคมฯคนใหม่ เป็นสมัยที่ 15 พร้อมกับการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารของสมาคม ประจำปีบริหาร 2566-2568  ทางสมาคมฮกเกี้ยนสงขลาจึงได้จัดให้มีพิธีสถาปนาสมาคมฯขึ้น เพื่อเป็นเกียรติและแสดงความยินดีกับคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ของสมาคมฯ พร้อมกับการมอบตราตั้งของสมาคมฯจากนาย คณธร รัตนปราการ นายกสมาคมฮกเกี้ยนสมัยที่ 14   โดยได้รับเกียรติจาก นางอู๋ ตงเหมย กงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำจังหวัดสงขลา นายดนัยธร จารุพฤกษ์พันธุ์ ประธานห้าสมาคมจีนสงขลาพร้อมคณะกรรมการสมาคมฯ นายสุรพล กำพลานนท์วัฒน์ ประธานเขตพื้นที่สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย   และแขกผู้มีเกียรติร่วมในพิธีสถาปนาสมาคมฯและแสดงความยินดีกับคณะกรรมการสมาคมฮกเกี้ยน ประจำปีบริหาร 2566-2568

           นายนิพนธ์  กล่าวว่า ต้องขอขอบคุณ คุณคณธร รัตนปราการ  นายกสมาคมฮกเกี้ยนที่ได้ทำหน้าที่ด้วยความเข้มแข็ง และส่งมอบภารกิจของสมาคมฮกเกี้ยนให้กับท่านนายกคนที่ 15 ในวันนี้ ผมจึงถือโอกาสนี้ขอแสดงความยินดีกับท่านไพโรจน์ สุวรรณจินดา และแสดงความยินดีกับคณะกรรมการสมาคมฮกเกี้ยนทุกท่านที่ได้เสียสละ เข้ามาแบ่งรับภารกิจของสมาคม สิ่งหนึ่งที่พวกเราควรรักษาเอาไว้นั่นคือความรักความสามัคคีในหมู่คนไทยเชื้อสายจีนทุกตระกูลแซ่ ที่เราถือว่าเมื่อเรามาอยู่ในประเทศไทยและได้ช่วยเหลือเกื้อกูลกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษของพวกเรา จากรุ่นสู่รุ่น จนมาถึงรุ่นของพวกเรา แต่สิ่งหนึ่งที่สอนเรา นั่นคือความรักความสามัคคีช่วยเหลือกัน ผมอยากเห็นบรรยากาศอย่างนี้อยู่คู่กับเมืองสงขลา  หรือแม้แต่อยู่คู่ชาวหาดใหญ่ ซึ่งผมไม่อยากแบ่งสงขลาหรือหาดใหญ่ แต่อยากบอกว่าพวกเราสงขลาทั้งหมดอยากให้มีความรักความสามัคีกัน และทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม อยากเห็นพวกเราร่วมมือกันกับทุกภาคส่วนพัฒนาชุมชนที่พวกเราอยู่อาศัย

        วันนี้จึงดีใจที่เห็นสมาคมฮกเกี้ยนเป็นปึกแผ่น และร่วมมือร่วมในกันที่จะพัฒนาสมาคม นำสมาคมไปสู่การทำกิจกรรมเพื่อสาธารณกุศลต่างๆในวันข้างหน้า ช่วยเหลือกลุ่มผู้ด้อยโอกาสหรือสมาชิกด้วยกันด้วยความผูกพันในความรักความสามัคคี

        ซึ่งท่านกงสุลใหญ่ประจำสาธารณรัฐประชาชนจีน  ท่านได้พูดถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ผมคิดว่าความสัมพันธ์อันนี้เรามีทุกระดับ ซึ่งเป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งว่า สมเด็จพระเทพฯท่านได้เสด็จเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนครบครั้งที่ 50 นั่นหมายความว่าความสัมพันธ์ตั้งแต่ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับราชวงศ์มาถึงระดัยฝ่ายบริหารต่างๆมีความใกล้ชิดกับสาธารณรัฐประชาชนจีน

  ผมจึงขอถือโอกาสนี้ให้กำลังใจทุกภาคส่วนในการที่จะช่วยกันสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยกับจีน ดั่งที่พวกเราพูดกันว่าไทยจีนมิใช่อื่นไกล เราพี่น้องกัน จึงอยากให้พวกเรายึดถือสิ่งเหล่านี้ แล้วรำลึกภึงบรรพบุรุษเรามาอยู่ที่นี่ด้วยความยากลำบาก และเราผ่านพ้นวิกฤตทุกวิกฤตที่เกิดขึ้นด้วยความผูกพันของพวกเรา ด้วยการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จึงอยากเห็นสิ่งเหล่านี้ดำรงอยู่และใช้ในการสร้างสานสัมพันธ์ทุกตระกูล แซ่เข้าด้วยกัน

………..

Categories
ข่าวเด่น

ด่วน! สตูลประกาศยกระดับปิดร่องน้ำเดินเรือพรุ่งนี้   เรือประมงปลากะตักฯ  อ้างไร้รัฐเหลียวแล  ท่องเที่ยว เรือประมงขนาดใหญ่จ่อกระทบ

ด่วน! สตูลประกาศยกระดับปิดร่องน้ำเดินเรือพรุ่งนี้   เรือประมงปลากะตักฯ  อ้างไร้รัฐเหลียวแล  ท่องเที่ยว เรือประมงขนาดใหญ่จ่อกระทบ  ขณะที่สำนักงานประมงจังหวัดเตรียมแผนทบทวนกฎกระทรวง 2565 

         วันที่ 14 มิ.ย.2566  ที่ปากร่องน้ำในคลองปากบารา ตำบลปากน้ำ  อำเภอละงู  จังหวัดสตูล   กลุ่มเรือประมงที่ใช้เครื่องมือ อวนครอบปลากะตักที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ยังคงปักหลักในการชุมนุมประท้วงด้วยการนำเรือขณะนี้ 23 ลำปิดเส้นทางเข้า-ออก (แม้ขณะนี้เส้นทางเดินเรือดังกล่าวยังเข้าออกได้)   เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ต่อเป็นวันที่ 3 เพื่อเรียกร้องให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแสดงความชัดเจนในข้อเสนอ

           หลังตลอดของการประท้วงเรียกร้องตลอด 3 วันที่ผ่านมากลับมองว่าไม่ได้รับการพูดคุยเจรจามีเพียงปลัดอาวุโสรักษาการแทนนายอำเภอละงู เข้ามารับหนังสือข้อเรียกร้องเท่านั้น  ทำให้ทางกลุ่มประมงผู้ชุมนุมประท้วงมีมติว่าในวันพรุ่งนี้จะยกระดับการชุมนุมด้วยการปิดร่องน้ำหนึ่งฝั่งหลังไม่ได้รับการเหลียวแลจากภาครัฐมาพูดคุยเจรจา

 

          นายวรวิทย์ หมีนหวัง อายุ 38 ปี หนึ่งในแกนนำขับเคลื่อนในครั้งนี้ของชาวประมง  เปิดเผยว่า  ตลอดการชุมนุมเรียกร้องไม่ได้รับการเหลียวแล หรือคำชี้แจงมีเพียงการมาเพื่อรับเรื่องร้องเรียกร้องเท่านั้น  ข้อเสนอต่างๆก็เงียบหายไป  ในเมื่อเป็นแบบนี้ทางผู้ชุมนุมมีมติว่าจำเป็นต้องยกระดับ  เพื่อให้รัฐเร่งออกมาพูดคุยหาทางออกให้กับพวกตน  ไม่ใช่เงียบแบบนี้ด้วยการปิดร่องน้ำหนึ่งช่องในวันพรุ่งนี้  ซึ่งพวกเราก็ไม่อยากทำแต่เห็นว่าภาครัฐได้บีบบังคับ 

 

         สำหรับข้อเรียกร้องยังคงยืนยันในข้อเดิม  2 ข้อเรียกร้อง คือ 1.สอบถามข้อมูล MOU ที่ได้จัดทำขึ้น เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 โดยมี พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. เป็นประธาน ณ ห้องประชุมเฉลิมเกียรติ ภ.จว.สตูล ยังมีผลอยู่หรือไม่    และ  2.กรณีศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลกระบี่ กองตรวจการประมง กรมประมงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์(ชุดใบไม้เขียว) ได้ดำเนินการจับกุมเรือประมงชาวบ้าน เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.66 โดยชุดจับกุมแจ้งว่าไม่ทราบ MOU ที่ได้จัดทำขึ้น แต่เมื่อทราบ MOU ที่ได้ตกลงกันไว้ จะถือปฏิบัติตาม MOU นั้นหรือไม่

 

          นายนิพนธ์    เสนอินทร์ ประมงจังหวัดสตูล   เปิดเผยว่าไม่ได้นิ่งเฉย  ได้เตรียมแผนเสนอทางจังหวัดด้วยการเปิดเวทีทบทวน 4 อำเภอ ในกฎกระทรวง กำหนดเขตทะเลชายฝั่ง  ปี 2565 ที่ออกมาบังคับใช้ว่ามีส่วนใดได้รับผลกระทบบ้าง ซึ่งในเรื่องนี้มีส่วนที่เกี่ยวข้อง 3 ฝ่ายทั้ง ประมงพื้นบ้าน  ประมงพื้นบ้านที่ใช้เครื่องมือพาณิชย์ และประมงพาณิชย์ รวมทั้ง NGO เชื่อว่าน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดเพื่อพูดคุยร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาระยะยาว ส่วนระยะสั้นต้องขอความร่วมมือผู้ชุมนุมให้เปิดเส้นทางเพราะมีคนอื่นได้รับความเดือดร้อน  ส่วน MOU ที่กล่าวอ้างไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากผิดต่อกฎหมายทั้งด้วยวาจา หรือเป็นลายลักษณ์อักษร 

           เหตุการณ์นี้สืบเนื่องจาก  (วันที่ 11 มิ.ย.ที่ผ่านมา) เจ้าหน้าที่ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลกระบี่ บูรณาการร่วมกับหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลเกาะหลีเป๊ะ (สตูล) ออกตรวจปราบปรามผู้ฝ่าฝืน พ.ร.ก. การประมง พ.ศ.2558 และ พ.ศ.2560 (ฉบับแก้ไข)  โดยพบเรือประมงใช้เครื่องมือ อวนครอบปลากะตักที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) กำลังลักลอบทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งบริเวณ เกาะเละละ ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล (ห่างจากชายฝั่งเกาะเละละ ประมาณ 969 เมตร) จำนวน 3 ลำได้แก่เรือ ประกอบด้วยเรือซิฟาร์     เรือโชคอามีหรน    และเรือโชคสมุทร   พร้อมลูกเรือรวมจำนวนทั้งสิ้น 12 คนซึ่งถูกควบคุมตัวดำเนินคดีที่สถานีตำรวจภูธรเกาะหลีเป๊ะนั้น  

…………………………………………….