Categories
ข่าวทั่วไป

สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์ไทยเยือนเวียดนามสานต่อความร่วมมือวิชาชีพสื่อ

สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์ไทยเยือนเวียดนามสานต่อความร่วมมือวิชาชีพสื่อ

          ตัวแทนสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเดินทางเยือนเวียดนาม สานต่อสัมพันธ์สื่อมวลชน 2 ประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ด้านทูตไทยในเวียดนามชื่นชมองค์กรวิชาชีพสื่อไทยช่วยกระชับความสัมพันธ์ไทย-เวียดนาม

          เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 คณะตัวแทนสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นำโดยนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติและที่ปรึกษาสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย ได้เดินทางมาเยือนประเทศเวียดนามตามคำเชิญของสมาคมนักข่าวเวียดนาม  เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนการพัฒนาวิชาชีพสื่อมวลชนของทั้งสองประเทศร่วมกัน

         สำหรับผู้แทนของสมาคมสื่อมวลชนไทยที่ร่วมเดินทางไปในครั้งนี้ได้แก่ นายอนันต์ นิลมานนท์ นายกสมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย ในฐานะรองประธานสมาพันธ์หนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายพลาดิศัย สิทธิธัญญกิจ อุปนายกสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยฯ นางสาวปิยะสุดา จันทรสุข อุปนายกสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย นางชนิดา จันทเลิศลักษณ์ อุปนายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ นายสมศักดิ์ ศรีกำเหนิด เหรัญญิกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และนายกฤษติน นิลมานนท์ กรรมการสมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทยและเจ้าหน้าที่ประสานงานของสมาพันธ์ฯ

 

         หลังจากเดินทางโดยสายการบินแอร์เอเชียมาถึงยังกรุงฮานอยได้เดินทางเข้าพบ  นายนิกรเดช  พลางกูร เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เพื่อเข้าเยี่ยมคารวะรับฟังบรรยายสรุปถึงสถานการณ์ต่างๆ ของประเทศเวียดนาม  เช่น ทางด้านการเมืองที่เพิ่งมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารประเทศระดับสูง ด้านสังคมเรื่องการต่อสู้กับโรคโควิด 19 ด้านเศรษฐกิจที่มีนโยบายส่งเสริมการค้าและการลงทุน มีการทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศ (FTA)กับหลายประเทศ และด้านความสัมพันธ์ ไทย – เวียดนามที่อยู่ในระดับ Strategic partner หรือหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็ง นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตไทยยังได้กล่าวชื่นชมความพยายามในการสานสัมพันธ์ทางด้านสื่อมวลชนระหว่างองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนไทยและเวียดนามด้วย

        จากนั้นช่วงบ่ายเดินทางไปยังสมาคมนักข่าวเวียดนาม โดยมี นาย LE QUOC MINH นายกสมาคมนักข่าวเวียดนามและคณะให้การต้อนรับเพื่อพบปะพูดคุยถึงการดำเนินกิจกรรมร่วมกันระหว่างสื่อมวลชนของประเทศไทยและประเทศเวียดนาม โดยการพูดคุยสรุปพอสังเขปได้ว่าทั้งสมาพันธ์หนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและสมาคมนักข่าวเวียดนามต่างมีความยินดีที่จะสานต่อกิจกรรมร่วมกัน ได้แก่ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและการอบรมพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในวิชาชีพสื่อมวลชน เช่น ด้านภาษา ด้านเทคนิคการทำงานภาคสนามในสถานการณ์ที่เกิดภัยพิบัติ รวมถึงกิจกรรมทางวัฒนธรรมอื่นๆ ที่จะได้มีการหารือในรายละเอียดกันต่อไป

       ซึ่งการเดินทางเยือนประเทศเวียดนามครั้งนี้  คณะสมาพนธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้รับการสนับสนุนการเดินทางจากสายการบินไทยแอร์เอเชีย เหมือนเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา และการสนับสนุนด้านกิจกรรมกระชับความสัมพันธ์จากธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสื่อมวลชนไทยและสื่อมวลชนเวียดนาม./

 

#สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (CTJ)

#สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์(SonP)

พม.สตูล จัดโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชน เพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ ศรส.

พม.สตูล จัดโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชน เพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูล-จุดเช็คอินใหม่  อดีตไกด์เปิดสวนวาสนาดีศูนย์รวมทุเรียน 100 สายพันธุ์พื้นเมืองโบราณ

สตูล-จุดเช็คอินใหม่  อดีตไกด์เปิดสวนวาสนาดีศูนย์รวมทุเรียน 100 สายพันธุ์พื้นเมืองโบราณ

       ที่บ้านสวนวาสนาดี  หมู่ที่  1 บ้านทุ่งไหม้   ตำบลน้ำผุด  อำเภอละงู  จังหวัดสตูล  ที่นี่ดูผิวเผินก็คล้ายๆ สวนผลไม้ทั่วไปแต่!! ที่นี่ได้ถูกขึ้นชื่อว่าเป็นสวนทุเรียนเบญจพรรณ  เพราะเป็นสวนที่มีทุเรียนหลากหลายสายพันธุ์บนพื้นที่ 5 ไร่  โดยเฉพาะสายพันธุ์หอยโข่ง ทุเรียนพื้นเมืองโบราณอายุไม่น้อยกว่า 100 ปีมีมากถึง 93 ต้น

       โดยทุเรียนแต่ละต้นต่างมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามรูปลักษณ์ อย่าง  พันธุ์ไอ้ตูดรูปทรงเหมือนก้นเปลือกบางพูชัดเจน , พันธุ์ไอ้เขียวเปลือกเขียวเข้มเนื้อหวานคล้ายใบเตยเป็นที่นิยมมีออเดอร์จองทุกปีจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 60 บาท , พันธุ์ขมิ้นมีเนื้อเหลืองสวยพิเศษ, ความพิเศษของทุเรียนโบราณนี้จะทานได้ต่อเมื่อหล่นจากต้นเอง เพราะนั่นหมายถึงผลสุกพร้อมรับประทานได้  นอกจากนี้ที่นี่ยังมีผลไม้ประเภท ทุเรียนหมอนทอง  , ลองกอง  สะตอ  มังคุดและจำปาดะ ปลูกผสมผสานไปพร้อมกันด้วย 

        นายธนทรัพย์  ทรัพย์เฟื้องฟุ้ง  อายุ 42 ปี เกษตรกรยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์  พร้อมภรรยาคุณวาสนา   คงปรีชา  (อดีตคุณครู และไกด์นำเที่ยว)  ก่อนจะผันตัวมาเป็นเกษตรกรเต็มตัว โดยเห็นช่องทางหลังพบว่าทุเรียน 1 ต้นทำเงินได้ถึง 15,000 บาท หากมีมากนั่นหมายถึงรายได้ และอิสรภาพทางเวลา  จึงช่วยกันดูแลสวนทุเรียนโดยเฉพาะพันธุ์พื้นเมืองโบราณนี้หวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยว   ให้คนที่ชื่นชอบการทานทุเรียน ผลไม้ ได้เข้ามาทานกันถึงสวน พร้อมขายแพคเกจทานไม่อั้น พร้อมอาหารเที่ยง 1 มื้อและถือกลับบ้านได้ในราคาชาวสวนนี้คือเป้าหมายที่เตรียมวางไว้  หลังได้รับการตอบรับจากลูกค้าที่สั่งจองเข้ามามากเนื่องจากชื่นชอบการทานทุเรียนพื้นเมืองโบราณ เพราะปลอดสารพิษ โดยทางสวนจะนำไปแกะวางขายในตลาดชุมชนจนเป็นที่ยอมรับ และชื่นชอบ

          นอกจากนี้ได้เปิดเผยว่า  สวนผลไม้นี้เป็นของตกทอดมาจากบรรพบุรุษ  เนื่องจากเป็นส่วนทุเรียนพื้นบ้านโบราณยืนต้นขนาดใหญ่ มีความหลากหลายทางสายพันธุ์แบ่งแยกตามรูปลักษณ์  รสชาติ สีเนื้อ  สร้างเสน่ห์ให้ลูกค้าที่รับประทานได้มาก เพราะทุกครั้งที่นำไปขายตามท้องตลาดจะได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก  นักท่องเที่ยวจะได้ชิมทุเรียน 100  ต้นก็ร้อยลูก/ร้อยเนื้อ/ร้อยรสชาติ แล้วแต่ความชื่นชอบ และ 2 คืออยากอนุรักษ์พันธุ์พื้นเมืองที่กำลังหายไป เพราะพันธุ์เศรษฐกิจอย่างหมอนทองเยอะล้นตลาดของพวกนี้หากินอยาก  และนี่คือโอกาสของเราจึงอยากจะต่อยอดที่ปู่ย่าตายายปลูกไว้ให้  ทุกคนได้มาเที่ยว อนาคตต่อไปเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ให้เข้ามากินทุเรียนพื้นเมืองที่หาทานยาก และพัก เที่ยว 

พม.สตูล จัดโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชน เพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ ศรส.

พม.สตูล จัดโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชน เพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ

อัพเดทล่าสุด

        นางปวีณา   นิลมาตย์   เกษตรอำเภอละงู  กล่าวว่า   สวนนี้เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ  ปลูกนานหลายสิบปี  เป็นธรรมชาติจริง ๆ ปลอดสารพิษ มีทุเรียนมากมาย และส่งเสริมการปลูกที่ตายไปภัยธรรมชาติ   พยายามผลักดันเกิดการท่องเที่ยว โดยทางท้องถิ่นอย่าง อบต.น้ำผุด ทำเส้นทางคมนาคม  เดินทางได้สะดวก  ทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้ร่วมกันผลักดันมาตรฐาน GAP และตั้งเป็นศูนย์รวมผลไม้  เครือข่ายตำบลน้ำผุดในการคัดแยก ทุเรียน ลองกอง เงาะ ผลไม้ในจุดนี้ด้วย

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูล-สุดปัง! เกษตรกรสวนปาล์มน้ำมันปลูกข้าวโพดเสริม  ทำเงินแตะปี 3 แสน

สตูลสุดปัง! เกษตรกรสวนปาล์มน้ำมันปลูกข้าวโพดเสริม  ทำเงินแตะปี 3 แสน

       ข้าวโพด  อาหารยอดนิยมที่ชาวสวนปาล์มน้ำมันในจังหวัดสตูล  หันมาปลูก  เป็นรายได้เสริม  แซมต้นปาล์มน้ำมันที่กำลังรอการเติบโต   โดยเกษตรกรที่บ้านไทรทอง  หมู่ 10 ต.ปาล์มพัฒนา อ.มะนัง  จ.สตูล  ภายใต้กลุ่มวิสาหกิจชุมชน  พืชไร่พอใจพอเพียง   ได้ปรับพื้นที่ส่วนหนึ่งมาปลูกข้าวโพด  เพื่อเป็นรายได้เสริมปีละ 250,000 – 300,000 บาท ระหว่างที่รอให้ต้นปาล์มน้ำมันเติบโตในช่วง 1-3 ปี

       นางธารีย์   สะอาด  อายุ 43 ปี หนึ่งในสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน  พืชไร่พอใจพอเพียง บอกว่า ทางกลุ่มได้มีสมาชิกรวมตัวกัน 6 คน  เพื่อปลูกข้าวโพดแซมสวนปาล์มน้ำมัน  ในช่วงที่ต้นปาล์มอายุเพียง 1-3 ปี  เพื่อเป็นรายได้เสริมในครอบครัว  โดยวางแผนการปลูกเป็นรอบ ๆ เก็บผลผลิตต่อครั้งละ 1200-1500 กก ขายในหมู่บ้านกิโลกรัมละ 15-20 บาท  

        ไม่เฉพาะข้าวโพดเท่านั้น  ที่เกษตรกรชาวสวนปาล์มในอำเภอมะนังนำมาปลูก  ไม่ว่าจะเป็น บวบเหลี่ยม  มะเขือ แตงกวา  ก็มีการปลูกแซมหมุนเวียนสร้างรายได้เสริมระหว่างรอต้นปาล์มให้ผลผลิต  

          ด้าน   นายเฉลิมพร   ศรีสวัสดิ์ เกษตรอำเภอมะนัง   กล่าวว่า เกษตรกรกลุ่มนี้  มีการรวมตัวกันปลูกข้าวโพดหวาน  และข้าวโพดข้าวเหนียว  ซึ่งมีพื้นที่ปลูกทั้งอำเภอมะนัง  จำนวน  40 ไร่  โดยมีรายได้หลัก  คือปาล์มน้ำมัน  สนง.เกษตรอำเภอมะนัง  ได้เข้ามาให้ความรู้ การจัดการแปลงข้าวโพด การกำจัดศัตรูพืช อย่างหนอนกระทู้ลายจุด  ที่มีการระบาด  ให้คำแนะนำและกำจัดศัตรูพืช รวมทั้งช่วยขยายตลาดในพื้นที่   ส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกร  เพิ่มพื้นที่ปลูกให้เพิ่มมากขึ้น 

พม.สตูล จัดโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชน เพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ ศรส.

พม.สตูล จัดโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชน เพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ

อัพเดทล่าสุด

           ข้าวโพดมีความทนทานกว่าพืชหลายชนิด  ทนแล้งชอบแดดจัด  ต้นทุนต่อไร่ประมาณ 3500  บาท  โดยขณะนี้เกษตรกรปลูกขายในหมู่บ้าน  ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ  สนใจโทร.หรือติดต่อสอบถามได้ที่  095 403 86  95

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

มะละกอเรดเลดี้  เปลี่ยนชีวิตเกษตรกรสวนยางพาราสตูล

มะละกอเรดเลดี้  เปลี่ยนชีวิตเกษตรกรสวนยางพาราสตูล

          เกษตรกรรุ่นใหม่พบว่ามีการปรับตัวในการทำเกษตรแบบผสมผสาน  และอีกหนึ่งเกษตรกรที่มีการปรับตัวที่สวนคุณถาวรเกษตรกรสมาร์ทฟาร์มเมอร์  ในพื้นที่หมู่4   ซอย 7  ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง  จังหวัดสตูล ของนายถาวร บุญรัตน์ อายุ 45 ปี  ได้ผันตัวเองจากงานด้านเทคนิคสื่อสารกลับมาดูแลสวนยางพาราเพียงคนเดียว   พื้นที่  10 ไร่ซึ่งเป็นของครอบครัว

         ก่อนจะตัดสินใจโค่นล้มแปลงสวนยางจำนวน 3 ไร่ จากทั้งหมด 10 ไร่ เพื่อปลูกต้นมะละกอพันธุ์เรดเลดี้  และกล้วยน้ำหว้า  หลังได้ศึกษาจนเป็นที่แน่ใจแล้วว่านี้คือรายได้ที่จะมาเลี้ยงครอบครัว  เพื่อเป็นทางรอดจากราคายางพาราที่ผันผวนอย่างต่อเนื่อง    จึงตัดสินใจในการลงมือปลูกโดยเชื่อว่าให้ผลผลิตเร็ว 150 ต้นไม่ถึงปี สามารถเก็บผลผลิตขาย 3 วันครั้งได้ครั้งละ 120 กิโลกรัม  (ไซร์ 3ลูก 2 กิโลกรัม) ราคาขายปลีก 40 บาท/กก. สร้างรายได้เป็นที่พอใจแทรงรายได้จากยางพาราตกเดือนละไม่น้อยกว่า 28,000 บาท

         นายถาวร บุญรัตน์  เกษตรกรสมาร์ทฟาร์มเมอร์  บอกว่า   ด้วยเป็นผลผลิตที่มีรอบออกเร็ว  เป็นผลไม้ที่มีคุณค่า ด้วยตัวเอง  อีกทั้งมีทีมงานและเครือข่ายแลกเปลี่ยนความรู้กันรวมทั้งสำนักงานส่งเสริมการเกษตรอำเภอควนกาหลง   ทั้งในเรื่องการหาตลาด  ความรู้   ขั้นตอนการปลูก  พร้อมแนะนำว่าหัวใจของการปลูกมะละกอเรดเลดี้ต้องรู้จักพืช ต้องมีแหล่งน้ำ และรู้จักตลาด  เพราะการปลูกมะละกอไม่ได้ต่างกับการปลูกทุเรียนต้องมีน้ำที่เพียงพอมีการถ่ายเทที่ดีเพราะไม่อย่างนั้นรากอาจจะเน่าได้ มะละกอพันธุ์เรดเลดี้มีความพิเศษคือหอมหวานเชื่อว่าตลาดตอบรับอย่างแน่นอนสุดท้ายก็ขายได้ดีจริงๆ

พม.สตูล จัดโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชน เพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ ศรส.

พม.สตูล จัดโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชน เพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ

อัพเดทล่าสุด

           นางสาวจุฑามาศ   เกียรติอุปถัมภ์  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ  สนง.เกษตรอำเภอควนกาหลง กล่าวว่า  ได้เข้ามาช่วยส่งเสริมเกษตรกรรายนี้ตั้งแต่การปลูก การใช้สารชีวพันธุ์อย่าง   ไตรโคเดอร์มา : เชื้อรามหัศจรรย์สำหรับใช้ควบคุมโรคพืช  ซึ่งเป็นเชื้อราดี ช่วยในเรื่องป้องกันเชื้อราตัวร้าย หลังได้ผลผลิตก็มาช่วยส่งเสริมในเรื่องการตลาดให้กับเกษตรกร หลังพบว่าในกลุ่มคนรักสุขภาพยังมีการเรียกร้องผลไม้ชนิดนี้ ไม่ต่างกับแหล่งท่องเที่ยว

           สำหรับ  มะละกอเรดเลดี้ มีรสหวาน เนื้อแน่นหนึบ พร้อมกลิ่นหอมคล้ายดอกไม้ป่าที่เป็นเอกลักษณ์ของสายพันธุ์ทำให้น่ารับประทาน อุดมด้วยวิตามินเอและเบต้าแคโรทีน  ที่ช่วยบำรุงสายตา  ลดความเสื่อมของประสาทตาและต้านมะเร็ง มีกากใยสูงช่วยให้การย่อยอาหารและการขับถ่ายเป็นปกติ สำหรับท่านใดที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่  สวนคุณถาวร  โทร. 083-457-3911  หรือเพจ มะละกอเรดเลดี้สวนคุณถาวร

………………….

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 สตูล-เรียนครูไม่ได้เป็นครู  ช่วยแม่ปลูกเก็บผักกูดในสวนยางพารา

สตูล..เรียนครูไม่ได้เป็นครู  ช่วยแม่ปลูกเก็บผักกูดในสวนยางพารา

        เกษตรกรชาวสวนยางยุคใหม่  มีการผสมผสานพืชลงปลูกในแปลงสวนยางพาราเพื่อใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างเปล่าในการเพิ่มรายได้  เช่นเดียวกับเกษตรในพื้นที่ หมู่ที่10 บ้านวังนาใน ต.น้ำผุด อำเภอละงู ที่ “สวนผักกูดวังสายทอง จ.สตูล”  มีการทำแปลงปลูกผักกูดในสวนยางพารา  ที่เจ้าของสวนได้เรียนรู้ลองผิดลองถูกและจนสามารถปลูกผักกูดมานานถึง  11 ปีบนพื้นที่  6 ไร่ เป็นรายได้ให้กับครอบครัวได้อีกทางหนึ่ง

        โดยทุก ๆ เช้านางระวิ   นวลโยม อายุ 52 ปี พร้อมนางสาวรุ่งไพลิน   ปล้องไหม  อายุ 25 ปี  พร้อมบุตรสาวที่เรียนจบครูมาแต่มองเห็นช่องทางการทำอาชีพเกษตรที่มีรายได้ดีกว่าอาชีพครู    มาช่วยกันเก็บผักกูดตามออเดอร์ลูกค้า ดูแลช่องทางการตลาดตามสไตล์คนรุ่นใหม่   ส่งขายตามรีสอร์ตชุมชนลูกค้าหลัก   และพ่อค้าแม่ค้าในตลาดวันละไม่น้อยกว่า 50 ถึง 100 กิโลกรัม โดยจะขายปลีกกิโลกรัมละ 35 บาท

        นางระวิ   นวลโยม อายุ 52 ปี เกษตรกรบอกว่า  แนวคิดการปลูกผักกูดในสวนยางเกิดจากที่ดินมีฝนเยอะและมีพื้นที่ว่าง จึงไปซื้อพันธุ์ผักกูดมาปลูก  โดยสายพันธุ์ที่ปลูกคือผักกูดยอดร้อน  (โดยผักกูดมี 2 สายพันธุ์คือยอดร้อน และยอดดำ) แรกเริ่มจำนวน 50 ต้นปลูกจากนั้นถึงวันนี้มีผักกูดแซมในสวนยางพาราแล้วจำนวน 6 ไร่ โดยสปอร์ในผักกูดจะกระจายไปทั่วสร้างรายได้อีกทางให้เกษตรกร  ด้วยผักกูดชอบพื้นที่ร้อนชื้นแดด 50-60 เปอร์เซ็นต์  ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมี  ให้น้ำ 2 วันครั้ง ครั้งละ30 นาที ที่แปลงผักกูดที่นี่มีความอุดมสมบูรณ์เรื่องของน้ำจากหลังเขาน้ำตกซึ่งเป็นป่าต้นน้ำ   จึงนำมาปลูกแซมพืชไม้ร่มได้อย่างสวนยางพาราและสวนทุเรียน หรือว่า สวนกล้วยก็สามารถปลูกได้ 

พม.สตูล จัดโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชน เพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ ศรส.

พม.สตูล จัดโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชน เพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ

อัพเดทล่าสุด

           นายปิยทัศน์  ทองปาน   นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สนง.เกษตรอำเภอละงู  กล่าวว่า  เกษตรกรรายนี้ถือเป็นตัวอย่างที่เข้มแข็ง โดยทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้เข้ามาช่วยแนะนำเรื่องการบำรุงดิน และการจัดการศัตรูพืช รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีพืชสวนผสมอีกหลายอย่างที่น่าสนใจ ทั้งสวนทุเรียนและสวนกระท้อน นอกเหนือจากสวนยางพารา

          โดยวันนี้ทางเกษตรกร สวนผักกูดวังสายทอง จ.สตูล ยังได้ปรุงเมนูอาหารจากผักกูด  อาทิ ผักกูดผัดน้ำมัน และผักกูดลวกกะทิ  (หรือแกงส้ม แกงกะทิ,ยำผักกูดและอีกหลายเมนู)  พร้อมโชว์ความกรอบ  อร่อย สด ก้านอวบ ๆ ให้สื่อได้ชมพร้อมบอกว่าเป็นผักที่มีให้ทานได้ตลอดทั้งปี   สำหรับนักท่องเที่ยว   หรือพ่อค้าแม่ค้า  ท่านใดสนใจติดต่อสอบถามได้ทางเพจ สวนผักกูดวังสายทอง จ.สตูล หรือโทร.096 835 4356

…………………………………..

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 สตูล-ขนมลากรอบ  จากพิมพ์กะลามะพร้าวอาหารพื้นถิ่นทำทานดี ทำขายกำไรงาม

สตูล-ขนมลากรอบ  จากพิมพ์กะลามะพร้าวอาหารพื้นถิ่นทำทานดี ทำขายกำไรงาม

         ขนมพื้นเมืองที่ไม่เคยตกยุค  ทำทานง่ายในครัวเรือนหรือจะขายสร้างรายได้ดีงาม  รายนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 17 บ้านควนน้ำใส  ตำบลละงู   จังหวัดสตูลมาอย่างยาวนาน  วันนี้ภายใต้กลุ่ม  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้าน บ้านควนน้ำใส  ที่อยู่คู่ตำบลละงู  มาร่วม 25 ปี ได้เติบโตและประสบความสำเร็จเป็นวิทยากรในการเรียนรู้ให้กับนักท่องเที่ยว และชาวบ้านทั่วไป 

        โดยสมาชิกหลังได้รับออเดอร์จะทำขนมกันภายในบ้านของตนเองและนำมาส่งให้   นางรัตนาวรรณ  หมีนเหม อายุ 53 ปี ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้าน บ้านควนน้ำใสนำออกขายตามบูธ และตามออเดอร์ที่สั่ง  ซึ่งทางกลุ่มไม่ได้มีเฉพาะขนมลากรอบเท่านั้น  ยังมีขนมบุหงาบุด๊ะ  ขนมไข่เต่า ขนมรังต้อ เป็นต้น  โดยเฉพาะขนมลาแม้ส่วนผสมจะไม่มาก แต่มีความพิเศษคือมีความกรอบ ซึ่งอยู่ที่เทคนิคการทำขนมที่ต้องผ่านการฝึกฝนอย่างดี  

         โดยวันนี้ได้สาธิตการทำขนมลากรอบให้ทาง นายจำรัส  ฮ่องสาย นายกอบต.ละงู  และผู้บริหาร รวมทั้งสมาชิกสภาได้เห็นถึงความพิเศษของขนมนี้ว่า  ไม่จำเป็นต้องมีส่วนผสมเยอะ  มีเพียงแป้งข้าวจ้าว 1 กก.  น้ำตาลทรายครึ่ง  กก.  และน้ำ 500 มิล  คลุกเคล้าเข้ากันจนแป้งสลบ ไม่ขาดเส้นเป็นอันใช้ได้  ก่อนนำไปทอดในน้ำมันร้อนพอดีและแม่พิมพ์ที่ใช้กะลามะพร้าวเจาะรู  คล้ายกับการทำขนมลาเช็ด  แต่นี่เป็นขนมลากรอบ  เก็บไว้ได้นาน 1 เดือน ขายชิ้นละ 4-5 บาท ห่อละ 8 ชิ้น 35 บาทหรือ 3 ถุง 100 บาท

พม.สตูล จัดโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชน เพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ ศรส.

พม.สตูล จัดโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชน เพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ

อัพเดทล่าสุด

           นายจำรัส  ฮ่องสกุล  นายกอบต.ละงู  เปิดเผยว่า   กลุ่มแม่บ้านทำขนมในตำบลละงู มีหลายกลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มทำขนมพื้นเมืองเพราะขึ้นชื่อด้านนี้  เหมือนอย่างเจ้านี้เป็นเจ้าดั้งเดิมรุ่นที่ 2 ทำมายาวนานมีสมาชิกจำนวนมาก ซึ่งยังมีความต้องการเครือข่ายในการทำขนมเพิ่ม  ถือเป็นจุดเด่นของจังหวัดสตูล

           ติดต่อสอบถาม หรือสั่งจองขนมได้ที่  โทร. 063 539 2487    

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 สู้วิกฤต..สตูลร้านข้าวห่อไข่ไก่กะเพรา  ปรับกลยุทธ์ขายสวนกระแสอัดโปรตีนจุกๆเพิ่มไข่ 2 ฟองราคามิตรภาพหวังเรียกลูกค้าในยุค ไข่แพง

สู้วิกฤต..สตูลร้านข้าวห่อไข่ไก่กะเพรา  ปรับกลยุทธ์ขายสวนกระแสอัดโปรตีนจุกๆเพิ่มไข่ 2 ฟองราคามิตรภาพหวังเรียกลูกค้าในยุค ไข่แพง

         ในยุคที่ข้าวยาก  หมากแพง  พ่อค้าแม่ค้าก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์  ทั้งกลยุทธ์ที่จะมัดใจลูกค้าทั้งราคาและความอิ่มอร่อย  เหมือนอย่างร้าน “ผัดไท-ห่อไข่”  ตรงสามแยกไฟแดง  เขตเทศบาลตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นร้านของ นางสาวขวัญใจ   ทับโทน   อายุ 47 ปี  หรือที่รู้จักในนาม  ก๊ะน๊ะ

         ร้านนี้บอกว่า  ราคาไข่ไก่ที่แพงขึ้น   ใช่ว่าแม่ค้าจะไม่ได้รับผลกระทบ  แต่ลูกค้าที่เป็นหัวใจหลักของเราก็ได้รับผลกระทบจากราคาที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน  จึงมาคิดว่าจะทำอย่างไรให้ลูกค้าอยู่ได้  ร้านก็ต้องอยู่ได้ด้วย  จึงคิดเมนูเพื่อช่วยเหลือกันในยามนี้

          ด้วยการขายข้าวห่อไข่  ทุกเมนู  ไม่ว่าจะเป็นเมนูเหมาะสำหรับเด็ก ๆ ที่ไม่ทานเผ็ด  ได้ทานอิ่มมีประโยชน์จากโปรตีนไข่ แบบจุก ๆ ไปเลย 2 ฟอง พร้อมห่อด้วยสาหร่าย และไก่ผัดเครื่องราดซอส มายองเนสห่อไข่  จานนี้เพียง 40 บาททุกเมนู  นอกจากนี้ยังมีเมนู  ข้าวห่อไข่ผัดกะเพราไก่  และ  ข้าวห่อไข่เครื่องแกงไก่

        แม้จะขายสวนกระแสราคาไข่ไก่ที่ขยับตัวแพงขึ้น  แต่ทางร้านบอกว่า  อยากให้ลูกค้าอยู่ได้  ได้ทานแม้กำไรจะเล็กน้อย เพราะในยามเศรษฐกิจแบบนี้ลูกค้าต้องแบกรับภาระอะไรอีกหลายอย่าง  เชื่อว่าคนที่มาทานเยอะขึ้นจะทำให้ทางร้านอยู่ต่อไปได้

พม.สตูล จัดโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชน เพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ ศรส.

พม.สตูล จัดโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชน เพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ

อัพเดทล่าสุด

        นางสาวขวัญใจ   หรือ ก๊ะน๊ะ  ยังบอกอีกว่า  ทางร้านต้องปรับกลยุทธขายของไปเรื่อย ๆเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน  แม้วันนี้จะขายยากก็ตาม เพราะข้าวของเพิ่มราคา  วันนี้ราคาไข่ไก่อยู่ที่ฟองละ 5 บาทกว่า   ทำให้มีรายได้ไม่หักค่าใช้จ่ายเพียงวันละ 1,000 บาท  สำหรับท่านที่สนใจเมนูข้าวห่อไข่เมนูต่างๆ ของทางนี้ก็ยังมีผัดไทห่อไข่  และผัดไทกุ้งสดด้วย  สามารถโทรติดต่อสอบถามได้ที่  063  602 8023

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 สาวสตูลตามฝันเปิดร้านอาหารวัฒนธรรม โรตีโอ่ง ชาปากี และเมนูคนรุ่นใหม่

สาวสตูลตามฝันเปิดร้านอาหารวัฒนธรรม โรตีโอ่ง ชาปากี และเมนูคนรุ่นใหม่

        เดินตามฝันและความถนัดของตัวเอง  สาวสตูลวัย 20 ที่ค้นพบอาชีพที่เชื่อว่า   นี่คือความสุขและจะสร้างรายได้ให้กับตนโดยมีคุณพ่อคอยซัพพอร์ต  กับร้านอาหารวัฒนธรรมพื้นเมือง อย่างโรตีโอ่งชาปากี และจิ้มจุ๋ม – ย่างเนยฮาลาลเมนูตอบโจทย์คนรุ่นใหม่

         นางสาวญูนีย์   หลีเส็น  เจ้าของร้าน Junee Halal Street Foods  อายุ 20 ปี  ซึ่งร้านตั้งอยู่ย่านถนนสตรีทฟู้ด  สายฉลุง – ละงู   ตำบลฉลุง   อำเภอเมือง  จังหวัดสตูล ที่นี่จำหน่าย  อาหารฮาลาล ที่ขี้นชื่อ  และอีกหลากหลายเมนูมากมายให้ลูกค้าได้เลือกสรร  โดยเจ้าของร้านก็จะลงมือทำเองอย่างพิถีพิถันจะมีลูกมือคอยช่วย แต่น้องญูนีย์ เจ้าของร้านบอกว่า  อยากใส่ใจทุกรายละเอียดก่อนเสิร์ฟสิ่งดี ๆให้กับลูกค้า

         โดยเฉพาะเมนูวัฒนธรรมของคนพื้นถิ่นดินแดนมลายูที่ชอบทานโรตี  อย่างโรตีโอ่ง หรือโรตีนาน  ที่จะมีทานเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญ  มาวันนี้ทางร้านนำมาให้ทานได้ทุกวัน  กับน้ำแกงเนื้อและแกงไก่ เพียงชุดละ  50 บาทเท่านั้น  ทานคู่กับชาปากีร้อน ๆ ที่มีการปรุงตามแบบฉบับสูตรดั้งเดิม นอกจากนี้ยังมีเมนูยอดฮิต  ที่ทางร้านขายจิ้มจุ๋ม และย่างเนย ก๋วยเตี๋ยวต้มยำหม้อไฟทะเล  แบบล้นทะลักเนื้อแน่นๆ ขายเพียงชุดละ 199 ถึง 259 บาท ทานได้ 2-4 คนแบบสบายๆ

พม.สตูล จัดโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชน เพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ ศรส.

พม.สตูล จัดโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชน เพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ

อัพเดทล่าสุด

         ด้วยน้องญูนีย์   เจ้าของร้านฯ ที่ได้คลุกคลีอยู่กับคุณพ่อมาตลอด   เห็นการบริหารร้านอาหารหลากหลายสาขา  พบเห็นปัญหาอุปสรรคในการบริหารร้าน และการใส่ใจดูแลลูกค้า  มาวันนี้น้องอยากจะมีร้านเป็นของตัวเอง  กับเมนูที่ถนัดและชื่นชอบที่จะทำ  โดยมีคุณพ่อคอยซัพพอร์ตห่าง ๆ  ยิ่งสร้างมั่นใจให้กับน้องญูนีย์  ที่จะบริหารร้านให้เติบโตยิ่งขึ้นไป  

       สำหรับร้านนี้เปิด 10.00 -22.00 น. หยุดทุกวันพฤหัสบดี จองโต๊ะได้ที่หมายเลข 066-102 2606 หรือ 062-941  9474 สั่งจองผ่านเพจ Junee Halal Street Foods    

………………………………………….

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 หนุ่มวิศวะเครื่องกล หันทำกับข้าว อาหารทะเลขาย แกงส้มไข่ปลาลิวกิ้ว ขายดีลูกค้าชอบ

สตูล-หนุ่มวิศวะเครื่องกล หันทำกับข้าว อาหารทะเลขาย แกงส้มไข่ปลาลิวกิ้ว ขายดีลูกค้าชอบ

       วันนี้จะไปหาอาหารทะเลอร่อยๆได้ที่ชายหาดปากบารา ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล  ที่มีวิวชายทะเลตกยามเย็น นั่นคือร้าน บ้านแบบโรล ซีฟู้ด เป็นร้านของน้องอาร์ต  หรือนายสุรชัย ทองแหยม  อายุ 39 ปี และแฟนสาว นางสาว นิศากร พร้อมเพียง อายุ 39 ปี ที่หันมาประกอบอาชีพทำร้านอาหาร แถมมีฝีมือรสชาติเด็ด ลูกค้าสั่งกลับบ้าน และมาทานที่ร้านกัน โดยเฉพาะเมนูอาหารทะเลสดๆใหม่ๆทุกวัน     

       ด้านนางสาว นิศากร พร้อมเพียง  อายุ 39 ปี   แฟนสาว  เจ้าของร้านอาหาร กล่าวว่า ร้านนี้เปิดตั้งแต่ 10 โมงจนถึง1 ทุ่ม ครึ่ง  ส่วนวัตถุดิบนั้นมาจากท้องทะเล ทะลเบ้านเรา   หากต้องการมาชิมร้านอาหาร บ้านแบบโรล ซีฟู้ด  โทร  0858964298  และรับทำอาหารกล่อง อีกด้วย

          คุณอาร์ต  หรือนายสุรชัย ทองแหยม  อายุ 39 ปี พ่อครัว ได้โชว์ทำเมนูแกงส้ม แกงส้มไข่ปลาลิ้วกิ้ว ( ไข่ปลาล้วน )  ใส่ผัก และขายชามละ  300  บาท หากใส่เนื้อปลาผสมอยู่ราคา 400 บาท  นอกจากนี้ยังมีเมนูราคาทานแบบครอบครัวอิ่มมี กั้งไข่ต้ม จานละ 500  บาท หมึกไข่จานละ 250  บาท และ ส้มตำกุ้งสดจานละ  150  บาท ไข่เจียวกุ้งจานละ 80 บาทและ น้ำพริกกุ้งสดพร้อมผักต้มชุดละ 120 บาท

พม.สตูล จัดโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชน เพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ ศรส.

พม.สตูล จัดโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชน เพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ

อัพเดทล่าสุด

        และวันนี้นี้โชว์เมนูที่ยอดฮิตทางร้านคือแกงส้มไข่ปลาลิวกิ้ว ตั้งหมอไฟร้อนๆต้มให้เดือดในเครื่องแกงแส้มทำเอง ตำเองกับมือ ใส่ ปรุงรมชาตใส่น้ำมะข้ามเปียก จากนั้นไข่ปลาลิวกิ้ว เอาไปล้างน้ำเกลือ ต้มน้ำร้อนใส่สมุนไพรกันคาว เทในหมอแกงส้ม ยกขึ้นทันที  และหากชอบเนื้อปลาใส่เนื้อปลาหนาม ปลาริวกิว  ลงไป ยกเสริฟทานอย่างอร่อย

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 สตูลปอเปี๊ยะจิ๋ว  อาหารสองแผ่นดินนานกว่า 10 ปี

สตูล-ปอเปี๊ยะจิ๋ว  อาหารสองแผ่นดินนานกว่า 10 ปี

        หมู่บ้านชุมชนที่ได้ขึ้นชื่อว่ามีวัตถุดิบจากท้องทะเลมากอีกหนึ่งแห่งในจังหวัดสตูล  ต้องที่ชุมชนนี้เลย   ที่ชุมชนตำบลเจ๊ะบิลัง   อำเภอเมืองสตูล ที่นี่มีอาหารทะเลสดใหม่ทุกวันแล้วยังมีการแปรรูปมาเป็นอาหารคาวหวานด้วย 

       โดยที่ (บ้านขนมผูกรัก-ปอเปี๊ยะจิ๋ว)   ซึ่งตั้งอยู่ในหมู่ที่ 2 เขตเทศบาลตำบลเจ๊ะบิลัง  ภายใต้กลุ่มส่งเสริมอาชีพสตรีเจ๊ะบิลังที่มีการรวมตัวกันมานาน 10 ปี เริ่มแรกจากการทำขนมผูกรัก  และพัฒนามาเป็นปอเปี๊ยะจิ๋ว  ไส้ปลา,กุ้งและล่าสุดไส้ถั่ว (ขายกลุ่มทานเจ หรือมังสิวิรัต  กับสมาชิก 14 คนส่วนใหญ่เป็นสตรีในหมู่บ้านหลังเสร็จงานหลักในครอบครัวบ้างทำสวน ค้าขาย ก็มาช่วยกันทำขนมงานรองอยู่ภายในหมู่บ้าน ทำอยู่อย่างนี้กันอย่างมีความสุข

 

        สำหรับวัตถุดิบหลักของปอเปี๊ยะจิ๋ว  มีเนื้อปลา 80% แป้ง 14 %สมุนไพร 2% (สำหรับเครื่องสมุนไพรประกอบด้วย พริกแห้ง , ใบมะกรูด , หอมแดง , ขิง , ข่า , ตะไคร้)  ผัดคลุกเคล้ากันใช้เวลาทำไส้เลย 1 วันเต็ม จากนั้นมานั่งห่อกันและทอดซับน้ำมันจนแห้ง ก่อนนำมาเพ็คใส่บรรจุภัณฑ์  ขายออกบูธครั้งละ 1,000 กล่อง หากซื้อราคาส่งกิโลกรัมละ  300  บาท หรือ กระปุก 100 บาท ส่วนขนมผูกรักครึ่งกิโล 110 บาท กิโลกรัมละ 220 บาท

        สมาชิกมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนละ 3,000 บาทถึง5,000 บาท และช่วงไหนมีออเดอร์ชุก ๆ เคยแตะที่หลักหมื่นบาทต่อคน สนใจติดต่อดูงาน หรือสั่งสินค้าได้ที่เบอร์โทร 083-183-3044 ทางกลุ่มยังมีเครื่องหมายฮาลาล และมผช.ด้วย

พม.สตูล จัดโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชน เพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ ศรส.

พม.สตูล จัดโครงการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชน เพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวง พม. และ

อัพเดทล่าสุด

      นางชไมพร   หมันสง่า   ประธานและผู้ก่อตั้งบ้านขนมผูกรัก-ปอเปี๊ยะจิ๋ว  บอกว่า  สำหรับขนมผูกรัก หรือ ปอเปี๊ยะจิ๋ว เป็นอาหารวัฒนธรรมที่มีการแลกเปลี่ยนกันกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย และมีปรับรูปลักษณ์ให้มาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นและไส้ที่เยอะขึ้น  ส่วนใหญ่ลูกค้าทั่วไปและจากมาเลเซียเพื่อนบ้านเป็นอาหารทานเล่น เพลินอร่อยมีประโยชน์  

………………………..