
สตูลสุดปัง! เกษตรกรสวนปาล์มน้ำมันปลูกข้าวโพดเสริม ทำเงินแตะปี 3 แสน
ข้าวโพด อาหารยอดนิยมที่ชาวสวนปาล์มน้ำมันในจังหวัดสตูล หันมาปลูก เป็นรายได้เสริม แซมต้นปาล์มน้ำมันที่กำลังรอการเติบโต โดยเกษตรกรที่บ้านไทรทอง หมู่ 10 ต.ปาล์มพัฒนา อ.มะนัง จ.สตูล ภายใต้กลุ่มวิสาหกิจชุมชน พืชไร่พอใจพอเพียง ได้ปรับพื้นที่ส่วนหนึ่งมาปลูกข้าวโพด เพื่อเป็นรายได้เสริมปีละ 250,000 – 300,000 บาท ระหว่างที่รอให้ต้นปาล์มน้ำมันเติบโตในช่วง 1-3 ปี
นางธารีย์ สะอาด อายุ 43 ปี หนึ่งในสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน พืชไร่พอใจพอเพียง บอกว่า ทางกลุ่มได้มีสมาชิกรวมตัวกัน 6 คน เพื่อปลูกข้าวโพดแซมสวนปาล์มน้ำมัน ในช่วงที่ต้นปาล์มอายุเพียง 1-3 ปี เพื่อเป็นรายได้เสริมในครอบครัว โดยวางแผนการปลูกเป็นรอบ ๆ เก็บผลผลิตต่อครั้งละ 1200-1500 กก ขายในหมู่บ้านกิโลกรัมละ 15-20 บาท

ไม่เฉพาะข้าวโพดเท่านั้น ที่เกษตรกรชาวสวนปาล์มในอำเภอมะนังนำมาปลูก ไม่ว่าจะเป็น บวบเหลี่ยม มะเขือ แตงกวา ก็มีการปลูกแซมหมุนเวียนสร้างรายได้เสริมระหว่างรอต้นปาล์มให้ผลผลิต

ด้าน นายเฉลิมพร ศรีสวัสดิ์ เกษตรอำเภอมะนัง กล่าวว่า เกษตรกรกลุ่มนี้ มีการรวมตัวกันปลูกข้าวโพดหวาน และข้าวโพดข้าวเหนียว ซึ่งมีพื้นที่ปลูกทั้งอำเภอมะนัง จำนวน 40 ไร่ โดยมีรายได้หลัก คือปาล์มน้ำมัน สนง.เกษตรอำเภอมะนัง ได้เข้ามาให้ความรู้ การจัดการแปลงข้าวโพด การกำจัดศัตรูพืช อย่างหนอนกระทู้ลายจุด ที่มีการระบาด ให้คำแนะนำและกำจัดศัตรูพืช รวมทั้งช่วยขยายตลาดในพื้นที่ ส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกร เพิ่มพื้นที่ปลูกให้เพิ่มมากขึ้น


ป.ป.ช.ลุยตรวจการ์ดเรลแขวงทางหลวงสตูล หลังพบประเด็นสร้างไม่ได้มาตรฐานในพัทลุง
ป.ป.ช.ลุยตรวจการ์ดเรลแขวงทางหลวงสตูล หลังพบประเด็นสร้างไม่ได้มาตรฐานในพัทลุง
-
ป.ป.ช.ลุยตรวจการ์ดเรลแขวงทางหลวงสตูล หลังพบประเด็นสร้างไม่ได้มาตรฐานในพัทลุง
-
สตูลเดินหน้าแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก! เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นศึกษาผลกระทบโครงการบรรเทาอุทกภัยควนโดน–เมืองสตูล
-
อบต.ละงู เดินหน้ายกระดับตลาดนัด สร้างมาตรฐาน “ตลาดน่าซื้อ” ผู้สัมผัสอาหารรับความรู้-บัตรรับรอง
-
อบต.ฉลุง จัดใหญ่งานเทศกาลอาหารฮาลาลตำบลฉลุง ครั้งที่ 1 ส่งเสริมและกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักสู่สากล
-
“28 ปี แห่งความภาคภูมิใจ วิทยาลัยการอาชีพละงู” คว้ารางวัลสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ประจำปี 2566
ข้าวโพดมีความทนทานกว่าพืชหลายชนิด ทนแล้งชอบแดดจัด ต้นทุนต่อไร่ประมาณ 3500 บาท โดยขณะนี้เกษตรกรปลูกขายในหมู่บ้าน ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ สนใจโทร.หรือติดต่อสอบถามได้ที่ 095 403 86 95