Categories
ข่าวทั่วไป

มติเอกฉันท์เลือก ‘นันทสิทธิ์ นิตย์เมธา’ นั่ง นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์คนใหม่

มติเอกฉันท์เลือก ‘นันทสิทธิ์ นิตย์เมธา’ นั่ง นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์คนใหม่

       เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2566 สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ได้จัดงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565-2566 ณ โรงแรม เดอะ รอยัล ริเวอร์ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 38 คน จาก 38 องค์กรเพื่อรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ในรอบปีที่ผ่านมา (ตุลาคม 2565-กันยายน 2566)

โดยมีรายละเอียดโครงการประกอบด้วย

  1. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ผลิตข่าวดิจิทัลรุ่นเยาว์ รุ่นที่ 6 ประจำปี 2565
  2. งานประกาศผล “รางวัลข่าวดิจิทัลยอดเยี่ยม ประจำปี 2565” (Digital News Excellene Awards 2022)
  3. โครงการ หยุดข้อมูลลวง…Stop Fake, Spread Facts “ร่วมปลุกสังคม รู้เท่าทันข้อมูลลวง”
  4. กิจกรรม SONP Outing และกิจกรรมระดมสมอง Gallery Walk with SONP วันที่26-29 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรม ณ ทรีธารา
  5. โครงการ Regional Seminar 2023
  6. การจัดประชุม “ทิศทางการพัฒนาสื่อออนไลน์ของลาว” ณ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติลาว นครเวียงจันทน์ สปป.ลาว
  7. “โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ผลิตข่าวดิจิทัลรุ่นเยาว์” หรือ “Young Digital News Providers” รุ่นที่ 7 ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 22-24 กันยายน 2566 ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี
  8. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) จัดกิจกรรมเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับสื่อมวลชน ร่วมกับผู้ทรงวุฒิด้านกฎหมาย PDPA และกิจการสื่อ

       ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ มีมติเอกฉันท์เลือก นันทสิทธิ์ นิตย์เมธา Senior Manager ฝ่ายนิวมีเดีย สถานีโทรทัศน์โมโน 29 นั่งนายกสมาคมฯ คนใหม่ พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคม ฯ ชุดใหม่ รวม 20 คน จากผู้แทนองค์กรสมาชิก

………………….

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป

โค้งสุดท้าย ! สั่งจองสินค้า “Limited Education”

โค้งสุดท้ายภายใน 30 กันยายน ศกนี้  ! สำหรับผู้สนใจร่วมลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาผ่าน แคมเปญ Limited Education ด้วยการสั่งจองของที่ระลึกสร้างสรรค์โดยนักออกแบบไทยรุ่นใหม่สุดปังซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างโครงการร้อยพลังการศึกษา และ โครงการ Designers’ Room & Talent Thai Promotion 2023  รวมทั้งหมด 5 ผลิตภัณฑ์เป็นเครื่องมือระดมทุนช่วยเหลือเยาวชนโครงการร้อยพลังการศึกษา

          นางสาวกนกวรรณ โชว์ศรี ผู้อำนวยการโครงการร้อยพลังการศึกษา มูลนิธิยุวพัฒน์ กล่าวว่า หลังจากเปิดให้มีการสั่งจองของที่ระลึกของแคมเปญ Limited Education มาตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน กระแสตอบรับอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ตาม ดังที่ทราบกันว่าปัญหาการศึกษานั้นมีขนาดใหญ่มาก โครงการจึงยังคงต้องการการสนับสนุนจากประชาชนเพิ่ม โดยเด็กนักเรียนในโครงการมีทั้งหมดกว่า 45,000 คน จาก 112 โรงเรียนซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ทั้งนี้ ทางโครงการจะนำรายได้ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วเพื่อสนับสนุนเยาวชนกลุ่มนี้ผ่านเครื่องมือต่างๆ ทั้งทุนการศึกษา ห้องเรียนดิจิทัลวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ การสนับสนุนบุคลากรครูผู้สอน การพัฒนาทักษะชีวิตและคุณธรรม รวมถึงการสนับสนุนให้เด็กๆ ได้รับโภชนาการอาหารที่ครบถ้วนอีกด้วย

       เช่นเดียวกับทุกปี ผลิตภัณฑ์ภายใต้แคมเปญ Limited Education ยังคงมุ่งเน้นสื่อสารปัญหาการศึกษาไทยและปีนี้นับเป็นปีที่ 2 ที่ร้อยพลังการศึกษาได้ร่วมมือกับสำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ผู้สนับสนุนเครือข่ายนักออกแบบของโครงการมาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ โดยโจทย์การออกแบบของปีนี้จะเป็นวิชาสามัญ 5 วิชาที่เยาวชนควรจะมีโอกาสได้เรียนหากยังศึกษาอยู่ในระบบการศึกษา ประกอบด้วย วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคมศาสตร์ ซึ่งกลุ่มนักออกแบบได้ระดมไอเดียเพื่อออกแบบผลงานเป็น 5 ผลิตภัณฑ์ ต่อไปนี้

 

  1. ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ “ลูกเก๋า” เก๋ทุกชิ้น เพิ่มยิ้มให้น้อง มี 3 ชิ้น คือ สร้อยคอ สร้อยข้อมือ และต่างหู โดยบนเครื่องประดับแต่ละชิ้นมีตัวเลขจากลายมือของน้องๆ และเพชร 1 เม็ดที่บนลูกเต๋าเปรียบเสมือน “เด็ก” ที่เป็น “อัญมณีที่มีค่า” ได้แรงบันดาลใจจาก วิชาคณิตศาสตร์ โดยตัวเลขที่หายไปจากลูกเต๋าคือ เลข 2 และเลข 4 สื่อถึงเด็กไทยจำนวนกว่า 4% ที่หายไประหว่างทางจากระบบการศึกษา
  2. ผลิตภัณฑ์ “ผ้าห่ม ด.ดาว” มาร่วมกันหา ด.ดาว ที่หายไป ได้แรงบันดาลใจจากวิชาวิทยาศาสตร์ ในคอนเซ็ปต์ “ลอสสตาร์” พูดถึงดวงดาวที่หายไปเปรียบได้กับเด็กๆที่หายไปจากระบบการศึกษา กว่า 4% ของ ด.ดาว ดวงน้อยเหล่านั้น อาจยังไม่ได้หายไปไหน แต่แค่ไม่มีแสงสว่างส่องไปถึง จึงอยากเชิญชวนมาช่วยกันสะท้อนแสงแห่งโอกาส ตามหาดวงดาวที่มองไม่เห็นให้กลับมาส่องประกายอีกครั้ง
  3. ผลิตภัณฑ์ชุดเสื้อผ้า “ด.เด็กสมบูรณ์” คอลเลคชั่นเสื้อผ้า ‘วัตถุฮาไว’ ชุดเสื้อผ้าฮาวายร่วมสมัย ผสมผสานกับการเล่าเรื่องผ่านลวดลายบนผืนผ้าที่หยิบเอาคำไทยในชีวิตประจำวันซึ่งทุกคนคุ้นเคยและรู้จักกันดีมาใช้ ได้แรงบันดาลใจจากวิชาภาษาไทย เมื่อ “ด.เด็ก” หายไป คำต่างๆ บนเสื่อผ้าจึงผิดเพี้ยนและไร้ความหมาย ประกอบกับภาพวาดลายเส้นขาวดำที่ชวนให้ทุกคนนึกย้อนกลับไปช่วงวัยเรียน
  4. ผลิตภัณฑ์กระเป๋า “Good for Good” กระเป๋า ฮาว อา ยู ทูเด๊? ได้แรงบันดาลใจจากวิชาภาษาอังกฤษ เป็นกระเป๋าที่มาพร้อมกับเข็มกลัด ชุดพู่กัน และสี สำหรับการต่อจุดและลากเส้นตามแบบฝึกหัดสมัยเรียน เป็นคำว่า “How Are You Today?” ทำให้ผู้ใช้และผู้พบเห็นได้หวนนึกถึงช่วงเวลาวัยเด็กในคาบวิชาภาษาอังกฤษ พร้อมการใช้สี Photochromic เพื่อเน้นย้ำให้เห็นว่า ทุกคนสามารถเป็นแสงสว่างที่เต็มไปด้วยความหวังให้กับเด็กๆ ทุกคนได้
  5. ผลิตภัณฑ์กระเป๋าเพื่อสังคม “Tote Bag for Society” ได้แรงบันดาลใจจากวิชาสังคม ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับผู้คน และสะท้อนส่วนที่หายไปหรือไม่สมบูรณ์ผ่านลายกราฟิกคำว่า “Soci ty” ที่ไม่มีตัว e ที่แทนคำว่า education และลวดลายกราฟิกรูปคนหลากหลายสีสันสดใสแสดงความเป็นเด็กที่แตกต่างหลากหลายในสังคม เพื่อสร้างความตระหนักให้ผู้คนได้เห็นถึงปัญหา และเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยให้เด็กๆ ได้รับโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา
  6. การร่วมสนับสนุนสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ทั้งหมดนี้จะเป็นรูปแบบพรีออร์เดอร์ ทุกคนสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยได้เพียงร่วมบริจาคและเลือกรับของที่ระลึกจากนักออกแบบ โดยสั่งจองล่วงหน้าได้ที่ https://www.tcfe.or.th/ttdrxlimitededucation2023/  ผ่านช่องทางเวบไซต์ร้อยพลังการศึกษา(www.tcfe.or.th)  ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 กันยายน ศกนี้

     

     

    #TTDRKeepAnEyeOn2023 #DITP

    #LimitedEducation #ร้อยพลังการศึกษา

    #ร่วมลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

    #พลังความร่วมมือนักออกแบบไทย #ร่วมให้โอกาสทางการศึกษา

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป

จาก ‘หลักการ’ สู่ ‘การปฏิบัติจริง’ ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดตัว Integrity Hotline เครื่องมือเสริมความเชื่อมั่นด้านธรรมาภิบาล และกลไกขับเคลื่อนวัฒนธรรมการ Speak Up ของพนักงานทุกระดับ

จาก ‘หลักการ’ สู่ ‘การปฏิบัติจริง’ ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดตัว Integrity Hotline เครื่องมือเสริมความเชื่อมั่นด้านธรรมาภิบาล และกลไกขับเคลื่อนวัฒนธรรมการ Speak Up ของพนักงานทุกระดับ

จากผลสำรวจของบริษัทผู้ตรวจสอบบัญชีระดับโลกชี้ให้เห็นว่า ผู้นำทางธุรกิจกว่า 97% เล็งเห็นความสำคัญของการแสดงออกถึงจุดยืนด้านการดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล จริยธรรม และความรับผิดชอบ (integrity) ขององค์กร ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร คณะกรรมการบริษัท และพนักงานในทุกระดับ ล้วนมีบทบาทสำคัญในการจัดการความเสี่ยงอย่างทันท่วงทีและร่วมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง

ในโอกาสนี้ ขอเชิญไปรู้จักกับ ‘Integrity Hotline’ หรือ ‘สายด่วนธรรมาภิบาล’ เครื่องมือการดำเนินงานสำคัญที่ช่วยบริหารจัดการความเสี่ยงและยกระดับมาตรฐานด้านธรรมาภิบาลของทรู คอร์ปอเรชั่น

สร้างวัฒนธรรมการ Speak Up
การดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล นอกจากจะเป็นการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จที่สำคัญขององค์กรอีกด้วย ทั้งในด้านการรักษาชื่อเสียง การดึงดูดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ไปจนถึงการทำให้ลูกค้า พนักงาน คู่ค้า และสังคมโดยรวม เกิดความไว้วางใจในองค์กรและแบรนด์

 

อย่างไรก็ดี การดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาลต้องอาศัยการบังคับใช้กฎเกณฑ์ที่เข้มข้น โมเดลบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและทันท่วงที และการกำหนดโครงสร้างองค์กรที่ส่งเสริมความเป็นอิสระและถ่วงดุลอำนาจ (check and balance) สูงสุด


ภายหลังการรวมธุรกิจ ทรูจึงเพิ่มระดับการดำเนินงานด้านธรรมาภิบาลให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น และได้พัฒนา Integrity Hotline เพื่อเป็นช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียนความประพฤติหรือการกระทำของพนักงานที่อาจละเมิดต่อหลักธรรมาภิบาล (Code of Conduct) ของบริษัท ซึ่งเปิดให้ทั้งพนักงานและบุคคลภายนอกสามารถมีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแสได้

 

ช่องทาง Integrity Hotline นี้เอง เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถนำหลักธรรมาภิบาลมาปฏิบัติจริงในองค์กร (Governance in action) พร้อมทั้งขับเคลื่อนวัฒนธรรมที่ส่งเสริมให้พนักงานทุกระดับมั่นใจและใช้ช่องทาง ‘speak up’ หรือรายงานสถานการณ์ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม

 

Whistleblower หยุดยั้งวิกฤต

ก้าวสำคัญสู่การสร้างวัฒนธรรมการ speak up และธรรมาภิบาลที่ดีในองค์กรนั้น คือการให้ความมั่นใจแก่ผู้แจ้งเบาะแสหรือ ‘whistleblower’ ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยยับยั้งความเสี่ยง และจำกัดความรุนแรงที่อาจลุกลามเป็นวิกฤตได้อย่างทันท่วงที จากเหตุการณ์ทั้งในอดีตและปัจจุบันที่เกิดขึ้นในตลาดทุนล้วนเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงบทบาทของ whistleblower และความสำคัญของการมีช่องทางรายงานการละเมิดธรรมาภิบาลที่ไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแส

ปัจจุบัน ช่องทาง Integrity Hotline ของทรู มีผู้เชี่ยวชาญระดับโลกอย่าง EQS Group ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ชั้นนำของยุโรป เป็นผู้ให้บริการ ผ่านมาตรฐาน ISO 27001 ด้านความปลอดภัยของระบบสารสนเทศและข้อมูล มั่นใจได้ว่าข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแส หรือ whistleblower จะไม่ถูกเปิดเผยและได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม โดยผู้แจ้งเบาะแสสามารถเลือกได้ว่าจะเปิดเผยตัวตนหรือไม่ และระบบจะไม่เก็บข้อมูลผู้รายงาน ไม่ว่าจะเป็นรหัสพนักงาน รหัสของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการแจ้งเบาะแส หรืออีเมลก็ตาม


มั่นใจใน 4 ขั้นตอนค้นหาความจริง

ความเชื่อมั่น (trust) ยังถือเป็นแก่นสำคัญในการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมั่นใจได้ ตั้งแต่ระบบต้นทาง กระบวนการ การตีความ ความสมเหตุสมผล ไปจนถึงปัจจัยแวดล้อม ทรูจึงได้กำหนดกรอบการทำงานที่เข้มข้น ชัดเจน เป็นอิสระสูงสุด สอดรับกับเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และมาตรฐานระดับโลกอย่างดัชนี Dow Jones Sustainability Index (DJSI) โดยในกรณีที่มีการรายงานสถานการณ์หรือพฤติกรรมที่อาจละเมิดต่อหลักธรรมาภิบาลผ่าน Integrity Hotline ทรูจะมีการดำเนินงานใน 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ได้แก่

 

  • ขั้นตอนที่ 1 Risk assessment เป็นการประเมินความน่าเชื่อถือของการรายงานนั้นๆ เพื่อป้องกันการใช้ช่องทาง Integrity Hotline เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้ง

 

  • ขั้นตอนที่ 2 Categorization เมื่อประเมินแล้วว่ารายงานที่ได้รับนั้นมีความน่าเชื่อถือเพียงพอ ทางทีม Investigation จะมีการจัดชั้นความเสี่ยงของรายงานข้อกังวลนั้นตามนโยบายของบริษัท เพื่อบริหารจัดการตามความเหมาะสม โดยมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญดำเนินการตามแต่ละประเภทของความเสี่ยง

 

  • ขั้นตอนที่ 3 Fact-finding การตรวจสอบข้อเท็จจริง จะมีการตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการและพิจารณาโดยเฉพาะ และมีผู้เกี่ยวข้องกับประเด็นนั้นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ โดยดำเนินงานภายใต้ความอิสระ รวมถึงในบางกรณีอาจมีผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกที่มีชื่อเสียงและเป็นอิสระมาดำเนินการ เพื่อป้องกันการเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) และเพิ่มความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน

 

  • ขั้นตอนที่ 4 Filing report เมื่อพิจารณาข้อร้องเรียนเรียบร้อยแล้ว คณะทำงานจะส่งเรื่องต่อให้คณะกรรมการ DAC (Disciplinary Action Committee) เพื่อพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสม ในการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานให้ดีขึ้น รวมถึงพิจารณาบทลงโทษทางวินัย กรณีที่รายงานข้อกังวลนั้นเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามนโยบายบริษัท  

 

มาร่วมกันเป็นหูเป็นตาเพื่อสร้างธรรมาภิบาลที่ดีในองค์กรและตลาดทุน หากผู้ใดพบเห็นสิ่งผิดปกติ สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่ https://truecorp.integrityline.com/  

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

   พิษโควิด 3 ปีที่ผ่านมาทำให้หนุ่มนิเทศฯสตูล  ผันตัวเป็นเกษตรกรปลูกผักปลอดภัย  รายได้งาม   

พิษโควิด 3 ปีที่ผ่านมาทำให้หนุ่มนิเทศฯสตูล  ผันตัวเป็นเกษตรกรปลูกผักปลอดภัย  รายได้งาม 

        หากคุณมีความตั้งใจ และมุ่งมั่น   ไม่ว่าสิ่งนั้นที่ลงมือทำ  จะไม่ถนัด   แต่เชื่อว่า   การขวนขวายเรียนรู้   ก็จะทำให้ประสบความสำเร็จได้เหมือนอย่างคุณอา   หรือนายภัทรนันต์   บุญรอด   อายุ 27 ปี  เกษตรกรหนุ่ม   อาศัยอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง  จ.สตูล  เจ้าของ “บุญรอดไฮโดรฟาร์ม”  ที่เริ่มต้นทำเกษตรด้วยการปลูกพืชในลังโฟม  ก่อนจะค่อย ๆเรียนรู้   จนมาถึงวันนี้  เข้าสู่ปีที่ 3 แล้ว ของธุรกิจด้านการเกษตร   เติบโตมาจนถึง 5 โรงเรือนบนพื้นที่ 1 ไร่  ได้ทำเกษตรแบบระบบโรงเรือน  สามารถผลิตผักปลอดภัยส่งลูกค้าทุกวัน  วันละ 15 กก.

        ถือว่าไม่ธรรมดาสำหรับหนุ่มสตูลรายนี้  ที่ได้ก้าวเข้าสู่วงการเกษตรกรแบบสถานการณ์บังคับ   หลังเรียนจบคณะนิเทศศาสตร์  มาในช่วงพิษโควิด19 เข้ามาระบาดพอดี  งานหลายอย่างที่ตั้งใจไว้   ต้องหยุดชะงัก   แต่คุณอา  หนุ่มสตูลก็ไม่หยุดคิด   ก่อนจะมองว่า  อาชีพเกษตรกรมีความจำเป็นต่อชีวิต  ช่วงที่สถานการณ์โควิดทุกอย่างก็จะหยุดไป  แต่การเกษตรไม่หยุด   เพราะทุกคนต้องกิน  ทำให้สนใจว่า   หากทำสิ่งนี้ก็จะมีความมั่นคงทางด้านอาหาร จึงสนใจผักสลัด เห็นว่าเป็นเทรนของการรักษ์สุขภาพ  กำลังได้รับความสนใจมากขึ้น  

           จึงลงมือศึกษาเอาจริงเอาจังกับการปลูกผักสลัด หรือที่เรียกว่า  ผักไฮโดรโปนิกส์  ผักปลอดสารพิษ  เรียนรู้อย่างจริงจังและลงมือทำ   โดยยอมรับว่า   ขั้นตอนของการเรียนรู้  ทางการเกษตร   เป็นช่วงแรกถือว่ายากที่สุดแล้ว ต้องเรียนรู้ใหม่เองทั้งหมดทางออนไลน์   ตั้งแต่การเพาะ  เลือกเมล็ดและชนิดพันธุ์  เลือกระบบที่จะปลูกว่าเป็นระบบไหน  ทั้งระบบดิน  ระบบน้ำ ก็เลยศึกษามาเรื่อย ๆ ตรงนั้นถือเป็นจุดที่ยากที่สุด  

           มาวันนี้คุณอา  ทำการเกษตรแบบรับปลูก   ตามออเดอร์เท่านั้น  โดยมีกลุ่มลูกค้าประจำเพียง 9 ราย   แต่ ติดต่อขอรับผักทุกวัน   วันละ 15 กก.โดยมีการตกลงเสนอขายกิโลกรัมละ 100 บาท   ในผัก 8 ชนิด อาทิ  กรีนโอ๊ค  เรดโอ๊ค  ที่ขายดีที่สุด  ส่วน  บัตเตอร์เฮด  กรีนปัตตาเวีย  คอส  ผักเคล  ฟินเล่ ก็มีปลูก  ตามออเดอร์ลูกค้า  มีรายได้เฉลี่ย 30,000 ถึง 45,000 บาท

อัพเดทล่าสุด

         นางสาวปฏิมา   ลิมานัน    นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร  กล่าวว่า    ทางเกษตรอำเภอได้เข้ามาแนะนำในเรื่องของเชื้อรา   ป้องกันการเกิดโรครากเน่า  โคนเน่า พร้อมแนะนำให้น้องเข้าสมัครเข้าร่วมโครงการยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์   ในการเข้าโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เวทีระดับจังหวัด  เป็นเกษตรกรที่ปลูกผักปลอดสารพิษจุดเด่น 

         สำหรับแปลงผักของคุณอา  ใช้ระบบปิด   ปลูกในโรงเรือน  จำนวน 5 โรงเรือน  สภาพอากาศร้อนจัดและฝนเยอะทำให้ต้องเรียนรู้ และศึกษา   ทำความรู้จักพืชนิดนี้  และขณะนี้ก็กำลังทดลองปลูกนอกโรงเรือน  ว่าจะมีแมลง หรือปัจจัยอย่างอื่นที่มีผลต่อผักหรือไม่  หากไม่มี   ก็พร้อมจะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่ม  เพราะต้นทุนจะได้ถูกลงด้วย  และอนาคตจะใช้ระบบสมาร์ทโฟนเข้าควบคุมน้ำ ปุ๋ย โดยผักสลัดใช้เวลา 40-45 วัน   ก็ให้ผลผลิตแล้ว

         เมื่ออาชีพนี้อยู่ตัวแล้ว  คุณอาก็อยากส่งต่อให้พ่อกับแม่ เป็นคนดูแลต่อ  และตัวเองก็อยากตามหาฝัน   กับอาชีพที่เรียนมา  วิชาเอกภาพยนตร์  คณะนิเทศศาสตร์  เพื่อตามความใฝ่ฝัน  แต่หากท่านใดสนใจอาชีพปลูกผักสลัดนี้   คุณอา ก็ยินดีจะแลกเปลี่ยนความรู้   ติดต่อสอบถามได้ที่   โทร  063-2042636 

………………………………………..

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

   สตูลสร้างคลังอาหารให้กลุ่มชาติพันธุ์ชาว  มานิศรีมะนัง  หลังพบว่าเริ่มขาดแหล่งอาหาร 

สตูลสร้างคลังอาหารให้กลุ่มชาติพันธุ์ชาว  มานิศรีมะนัง  หลังพบว่าเริ่มขาดแหล่งอาหาร 

         วันที่ 19 ก.ย.2566  ที่ทับภูผาเพชร  บ้านเหล็กไหล   ตำบลปาล์มพัฒนา  อำเภอมะนัง  จังหวัดสตูล  ภายในหน่วยพิทักษ์ป่าภูผาเพชร   พระครูโสภณปัญญาสาร   เจ้าคณะอำเภอมะนัง/เจ้าอาวาสวัดนิคมพัฒนารามผัง 7  นายอำเภอมะนัง  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปาล์มพัฒนา   และกำลังเจ้าหน้าที่  ช่วยกันนำอาหาร และ อุปกรณ์เครื่องมือ  จอบ เสียม เครื่องตัดหญ้า  รวมทั้งพืชพันธุ์ไม้ยืนต้น  อย่างต้นทุเรียนบ้าน   ต้นมะพร้าว  ต้นสะตอ   มาช่วยกันสร้างคลังอาหารให้กับกลุ่มชาติพันธุ์  ชาวมานิศรีมะนัง  ที่ทับภูผาเพชร  ที่มีประมาณ  30 คนที่อาศัยที่ทับแห่งนี้นานถึง 10 ปีแล้ว

       จากสภาพปัญหาความแร้นแค้น  อาหารป่าเริ่มขาดแคลน   ทำให้ชาวมานิกลุ่มนี้ยอมรับว่า  หาอาหารในป่าได้น้อยลง  น้ำผึ้ง  หรือแม้กระทั่งหัวสมุนไพร  ไปแลกกับข้าวก็ได้ราคาไม่ดี   และแม้จะออกไปรับจ้างชาวบ้านขึ้นต้นสะตอ ต้นเงาะ แต่ด้วยฝีมือแรงงานที่ไม่หลากหลายเหมือนชาวบ้านทั่วไป  ทำให้การจ้างงานก็น้อย  มาวันนี้ทางภาครัฐเห็นว่า   หากไม่เข้ามาช่วยเหลือ  ในการสร้างแหล่งอาหารที่ยั่งยืน  ด้วยการ เลี้ยงไก่  เลี้ยงปลา ปลูกพืชให้ผล  ก็อาจจะสร้างความยากลำบากให้พวกเขาได้ในภายภาคหน้า 

       นายแป้น  ศรีมะนัง  ชาวมานิทับภูผาเพชร   บอกว่า  ตนคิดว่าไม่ยาก  การเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เมื่อเจ้าหน้าที่เอามาให้เลี้ยง หรือมาปลูกต้นไม้ให้  ก็น่าจะดี  จะได้ไม่ต้องไปพึ่งพาชาวบ้านในชุมชนมากนัก

      นอกจากนี้  การส่งเสริมอาชีพประเภทงานฝีมือ  การจักสารกระเป๋า  ในรูปแบบต่าง ๆ พบว่าชาวมานิหลายคนมีฝีมือ หากได้รับการต่อยอดด้านฝีมือ และช่วยกระจายสินค้ายามที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามา  น่าจะเป็นรายได้ให้พวกเขาไม่มากก็น้อย 

อัพเดทล่าสุด

           ด้าน  นายเชษฐ  บุตรรักษ์  นายอำเภอมะนัง  กล่าวว่า   ที่ทับมานิแห่งนี้มี 4 ครอบครัวใหญ่ 30 คน  ทุกคนมีชื่อในทะเบียนราษฎร  มีบัตรประจำตัวประชาชน  และได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล  มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ   ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต  ทางผู้บังคับบัญชาระดับจังหวัดและส่วนกลาง โดยเฉพาะท่านปลัดกระทรวงมหาดไทย ให้ความสำคัญมากโดยได้ส่งผู้ตรวจราชการ  กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาเยี่ยม  และมีแนวทางในการพัฒนาความมั่นคงด้านอาหาร  คุณภาพชีวิตและการศึกษา  รวมทั้งเรื่องสาธารณสุข 

          โดยเฉพาะเรื่องเร่งด่วน  คือความมั่นคงทางด้านอาหาร  โดยมีแผนพัฒนาแหล่งน้ำโดยจัดหาน้ำจากน้ำตก  ที่อยู่ห่างจากทับแห่งนี้ประมาณ 1 กิโลเมตร  โดยใช้ระบบประปาภูเขา  จากน้ำตกใช้ในการอุปโภคบริโภค  เลี้ยงปลาในบ่อ  และเลี้ยงไก่ไข่  ไก่พื้นเมืองและแปลงเกษตร เพื่อพัฒนาแหล่งอาหารให้   โดยพบว่ามานิหลายคนให้ความสนใจมาก จากที่พาไปดูงานที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์42 จ.สตูล  ที่มีบ่อปลาเขาตื่นเต้นมาก  ชอบทานปลาน้ำจืด  น่าจะเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญให้ได้   และยังพบว่ากลุ่มชาติพันธ์มานิชุดนี้    สามารถสื่อสารพูดคุยกับเขาได้โดยตรง  ว่ามีความต้องการสิ่งใด

………………………….

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

   หนุ่มสตูลดีกรีปริญญาโท  เนรมิตพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก  ไร้ประโยชน์  เป็นสวนเสารส พันธุ์บรูไน   ลูกโต ให้ผลผลิตทั้งปี

หนุ่มสตูลดีกรีปริญญาโท  เนรมิตพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก  ไร้ประโยชน์  เป็นสวนเสารส พันธุ์บรูไน   ลูกโต ให้ผลผลิตทั้งปี

       จากพื้นที่ 1 งาน  ที่ดูเหมือนจะไม่มีประโยชน์เพราะน้ำท่วมขังตลอดเกือบทั้งปีที่ฝนตกหนัก  ที่บ้านทุ่งพัฒนา ม.13   ต.ละงู  อ.ละงู   จ.สตูล   มาวันนี้นายอานนท์  แอหลัง อายุ 33 ปี  ดีกรีปริญญาโท คณะสัตวศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัย  ได้เนรมิตพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก  เป็นสวนเสาวรสสายพันธุ์บรูไน   ลูกใหญ่   ผลโต   น้ำหนักดี   และยังให้ผลผลิตทั้งปี  สร้างรายได้อย่างงามให้กับครอบครัวได้ไม่น้อย

      จากคุณสมบัติพิเศษของเสาวรส สายพันธุ์บรูไน  ที่คุณอานนท์  นำมาปลูกด้วยความชื่นชอบผลไม้ชนิดนี้เป็นพิเศษ  อีกทั้งพบว่า   มีคุณสมบัติในการทนทานต่อน้ำท่วมขังได้เป็นอย่างดี  และแมลงที่ไม่สามารถจะเจาะเปลือกผลเสาวรสที่หนาได้  มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน  และผลใหญ่ 8-9 ลูกต่อกิโลกรัม  ทำให้เป็นพืชที่เหมาะกับการปลูกเป็นอย่างมาก 

        นายอานนท์  แอหลัง  เจ้าของสวนเสาวรสสตูล  บอกว่า  เรียนจบมาเป็นครูได้เพียง  7 ปี  ตัดสินใจลาออก   กลับมาอยู่บ้านที่ จ.สตูล  มาทำงานเป็น  หน.นักวิชาการเกษตร ทต.กำแพง  และก็หารายได้เสริมจากการปลูกเสาวรส   ปัจจุบันจะแซงรายได้หลักแล้ว   โดยจุดเริ่มต้นของการปลูกเสาวรสพันธุ์บรูไน  เป็นความชอบส่วนตัว  เมื่อก่อนเคยอยู่ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย  ชื่นชอบในการปลูกพืช  จึงได้ลาออกจากงาน มาปลูกพืช   พืชชนิดแรกที่นำมาปลูกก็คือเสาวรส  เนื่องจากที่ดินใกล้บ้านเป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมบ่อยครั้ง  และพบว่าเสาวรสเป็นพืชที่ทนน้ำ  จึงเป็นที่มาของการปลูกเสาวรส

       สำหรับเสาวรสที่นำมาปลูกเป็นสายพันธุ์บรูไน   มีความพิเศษคือ  ลูกใหญ่ลูกดก  มีรสชาติเปรี้ยวอมหวานนิดๆ  อร่อยกว่าพันธุ์อื่นเยอะ  จึงเอาลักษณะเด่นนี้มาปลูกในพื้นที่ของตน  การให้ผลผลิตอยู่ที่ 50 กิโลต่อ 1 ต้น ในพื้นที่มีทั้งหมด 35 ต้น  โดย 1 กิโลตกอยู่ที่ 8-9 ลูก  ให้ผลผลิตทั้งปี  ช่องทางการตลาดขายผ่านตลาดออนไลน์  มีบริการส่งทั่วประเทศ  ราคากิโลกรัมละ 80 บาท  ดูแลง่ายมากไม่ต้องห่วงเรื่องโรคหรือแมลง  เพราะเสาวรสเป็นพืชที่แมลงไม่สามารถทำลายเปลือกของมันได้  เพราะมีเปลือกแข็งทำลายได้ยาก  

อัพเดทล่าสุด

          ด้าน นายปิยทัศน์   ทองปาน   นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สนง.เกษตรอำเภอละงู  กล่าวว่า   เสาวรสที่สวนให้ผลผลิตทั้งปี แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อผู้บริโภค  ทางสำนักงานเกษตรอำเภอละงู  จะมีการส่งเสริมให้มีการขยายพื้นที่  โดยมีการจำหน่ายต้นพันธุ์  แล้วส่งเสริมให้ตัวเกษตรกรได้ใบรับรองสินค้าการเกษตร  หรือว่า  GAP  จะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตได้   นอกจากนี้ก็จะแนะนำให้มีการแปรรูป เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตด้วย

       นายอานนท์  แอหลัง  เจ้าของสวนเสาวรสสตูล  บอกด้วยว่า  อนาคตจะเพาะพันธุ์ต้นขาย   โดยขณะนี้มีน้องสาวและครอบครัว  มาช่วยดูแลในการทำร้านน้ำ   จากเสาวรส  กาแฟเสาวรส   ติดต่อสอบถามโทร  094 – 876  3659

……..

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

แม่ค้าทุเรียนใจดี    แจกฟรีหมอนทอง ชะนี 3000 กิโล แก่ชาวบ้าน หลังบนบานตาหลวงไข่ วัดเจดีย์   ยอดขายส่งออกทุเรียนได้กำไรทะลุเป้า

แม่ค้าทุเรียนใจดี    แจกฟรีหมอนทอง ชะนี 3000 กิโล แก่ชาวบ้าน หลังบนบานตาหลวงไข่ วัดเจดีย์   ยอดขายส่งออกทุเรียนได้กำไรทะลุเป้า

        เมื่อวันที่ 12  กันยายน 2566  ชาวจังหวัดสตูล ทั้งเด็กเล็ก  จนไปถึงผู้ใหญ่ คนเฒ่าคนแก่ กว่า 500 คน มายืนรอ รับทุเรียนสายพันธุชะนี หมอนทอง  ของนางสาวจุฑาพร   สุดสวย  อายุ 26 ปี  หรือ เจ๊เมย์  ที่ขายทุเรียนผ่านเพจร้านของตนเอง  ชื่อว่า พรรณารา  เด็กใต้ทุเรียนซิ่ง  โดยโพสต์ก่อนหน้านี้ว่า ( พรุ่งนี้เจอกันที่สตูล  แจกทุเรียนฟรี ช่วยแชร์กันเยอะๆ  จะนำไปแจกกินฟรี ยกให้ทั้งลูก ให้ชาวบ้าน โดยทำการแจกจ่ายบริเวณตรงข้าม ศาลากลางจังหวัดสตูล ใกล้ร้านข้าวมันไก่บังโกบ ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล )

      ทางทีมข่าวได้พูดคุยสอบถาม  นางสาวจุฑาพร   สุดสวย  อายุ 26 ปี (เจ๊เมย์) เจ้าของทุเรียน ซึ่งได้เล่าให้ผู้สื่อข่าวฟังว่า ที่ได้นำทุเรียนมาแจกให้กับชาวบ้านในครั้งนี้ คือได้บนบานสานกล่าวไว้กับตาหลวงไข่ วัดเจดีย์ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช  โดยบนไว้ว่า  ให้แผงทุเรียนของตนที่่ทำการขายส่งออก ถึงเป้าหมายรายได้ที่กำหนดไว้ ให้มีกำไรสุดปัง  ยอดขายเป็นหมื่นเป็นแสน    และถ้าสำเร็จดังที่ขอ  จะรีบไปแก้บนโดยนำทุเรียน สายพันธุ์หมอนทอง สายพันธุ์ชะนี  ลูกใหญ่ๆ ไปแจกให้กับชาวบ้านที่ยากจน ผู้มีรายได้น้อยและเด็กๆ ได้กิน 

     นางสาวจุฑาพร   เจ้าของทุเรียน ยังกล่าวอีกว่า  ในวันนี้สิ่งที่บนบานสานกล่าวไว้   เป็นผลสำเร็จบรรลุยอดถึงเป้าหมาย  จึงรีบมาแก้บนทันที  โดยได้นำทุเรียนหมอนทอง และชะนี จำนวน 3000 กิโลกรัม ประมาณ 1,000 ลูก และเมื่อแก้บนตามที่ขอไว้แล้ว ก็จะเดินทางไปกราบตาหลวงไข่   วัดเจดีย์   ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชอีกครั้ง  เพราะเชื่อว่า หากบนบานสานกล่าวอะไรไว้ เมื่อท่านรับสิ่งที่เราบนบาน เราต้องรีบมาแก้ หากช้ากลัวท่านจะไม่ให้พรอีก

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

  ปลาเค็มกางมุ้งพลิกชีวิต  ด้วยความยากจนวัยเด็กเติบโตมากับปลาเค็ม  ก้าวสู่อาณาจักรครบวงจร  

ปลาเค็มกางมุ้งพลิกชีวิต  ด้วยความยากจนวัยเด็กเติบโตมากับปลาเค็ม  ก้าวสู่อาณาจักรครบวงจร

             ที่บ้านควนไสน  หมู่ที่ 9 ตำบลควนสตอ  อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล   ที่นี่มีปลาเค็มแดดเดียวจำนวนมากมายหลากหลายชนิดนับ 1000 กก.  ตากเพื่อรอเวลาในการเก็บไปขายยังตลาดนัดในหมู่บ้าน   เหมือนกับปลาเค็มทั่วไป  โดยก๊ะบ๊ะ  หรือนางสุไวบ๊ะ  ดาแลหมัน อายุ 44 ปี เป็นเจ้าของปลาเค็มกางมุ้งก๊ะบ๊ะแห่งนี้  

             แต่! ปลาเค็มที่นี่มีความพิเศษคือ  เป็นปลาเค็มในมุ้ง  หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า  ปลาเค็มกางมุ้งก๊ะบ๊ะ  แม่ค้าปลาเค็มที่นี่จะทำปลาเค็มเอง ขายเองมานานกว่า 16 ปีแล้ว งานนี้การันตีเต็มร้อยว่าปลาเค็มที่นี่ปลอดจากสารพิษ และเป็นปลาที่ไม่เค็มเกินไป

             ที่นี่มีปลาหลากหลายชนิดที่นำมาทำปลาเค็ม  ไม่ว่าจะเป็นปลาจวด  ปลาหลังเขียว  ปลาหลังแข็ง  นอกจากนี้ยังมีปลาสละ  หรือ  ปลาสีเสียดขาว  ตัวโตแบบผ่าหลังจำหน่ายด้วย  ปลาเนื้อแดดเดียว  ปลาเนื้อนิ่ม   โดยเฉพาะปลาเนื้อส้ม  กล้าพูดเต็มปากเลยว่ามีที่ตนทำเพียงรายเดียวในจังหวัดสตูล   ราคาก็จะแตกต่างกันไป

            โดยปลาหลังเขียวขายดีสุด กิโลกรัมละ 70 บาท ปลาหลังแข็งกิโลกรัมละ 80 บาทอันนี้ก็ขายดี  ปลาจวดกิโลกรัมละ 100-120 บาท  ส่วนปลาสีเสียดกิโลกรัมละ 100 บาท และปลาสละ  หรือปลาสีเสียดขาว ตัวโตกิโลกรัมละ 200 บาท

           ทางร้านจะทำปลาสองอาทิตย์ประมาณ 2,000 กิโลกรัม  โดยเป็นปลาของชาวประมงในพื้นที่จังหวัดสตูลที่นำมาส่งให้ถึงที่  ปลาก็จะทำกันเองสองคนสามีเพราะเป็นธุรกิจในครัวเรือน  และออกไปขายกันเองที่ตลาดนัดดุสน  ตลาดนัดควนโดน และตลาดนัดฉลุง ซึ่งเป็นตลาดในชุมชนหมู่บ้าน  นอกจากนี้ยังมีลูกค้าสั่งมาจากต่างจังหวัด รวมทั้งประเทศมาเลเซียเพื่อนบ้านก็จะหิ้วกลับไปคนละ 50 – 100 กิโลกรัมก็มี

           อนาคตวางแผนว่า   จะให้บุตรสาวที่กำลังเรียนใกล้จะจบการศึกษามาต่อยอด  ทำการค้าผ่านธุรกิจออนไลน์  เพราะรุ่นตนยอมรับว่าไม่ค่อยถนัด

            

         ก๊ะบ๊ะ  หรือนางสุไวบ๊ะ  ดาแลหมัน อายุ 44 ปี เจ้าของปลาเค็มกางมุ้งก๊ะบ๊ะ  บอกว่า  จุดเริ่มต้นของอาชีพนี้ด้วยพ่อแม่ยากจนมาก เลี้ยงลูก  6 คน ด้วยปลาเค็ม ทานไปทานมาแพ้ปลาเค็มจนปากเจ่อ  จึงเกิดแนวคิดที่จะทำปลาเค็มเอง จึงทดลองทำจาก 20-30 กิโลกรัม   แรกๆ ให้เพื่อนบ้านทดลองทานบ้าง หลายคนว่าอร่อยจนมั่นใจจึงยึดเป็นอาชีพ ทำสองคนสามี มาวันนี้สามารถเลี้ยงบุตร 3 คนได้อย่างสบาย และมีที่ดิน 2 ไร่ที่ขยายกิจการ  ทำกางมุ้ง  เพื่อหวังให้คนบริโภคได้ทานอย่างมั่นใจ   รายได้ต่อเดือนไม่หักค่าใช้จ่าย 200,000 บาท

         มาวันนี้บวกกับได้คู่ชีวิตที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง  ช่วยกันทำปลาเค็มกางเค็มกางมุ้งบนพื้นที่ 2 ไร่  เพื่อป้องกันแมลงวัน และแมลงหลากหลายชนิดโดยไม่ต้องพึ่งยา   บนพื้นที่นี้ยังมีน้องสามีมาทำช่วยอีกแรง  นอกจากนี้ยังทำแบบครบวงจร คือมีบ่อบำบัดน้ำเสีย   ไหลสู่แปลงผักบุ้งเป็นปุ๋ย  ที่โตเก็บไปให้อาหารปลาดุก และแพะ เป็นรายได้อีกช่องทางหนึ่งด้วย

           สำหรับท่านใดที่สนใจปลาเค็มกางมุ้งสูตรต่าง ๆ สามารถโทรติดต่อได้ที่ 065-057-4781 หรือที่เบอร์ 062-359-9674 หรือที่เฟส สุไวบ๊ะ  ดาแลหมัน

 …………………….

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป

เปิดแล้วเซเว่นอีเลฟเว่นสปป.ลาวสาขาแรกอยู่ในนครหลวงเวียงจันทน์

เปิดแล้วเซเว่น อีเลฟเว่น สปป.ลาว สาขาแรกอยู่ในนครหลวงเวียงจันทน์

          ท่านบุญเถิง ดวงสะหวัน รองรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม และการค้า แห่ง สปป.ลาว นางสาวมรกต ศรีสวัสดิ์เอกอัครราชทูตไทย เวียงจันทน์ ให้เกียรติเป็นประธานตัดริบบิ้นในพิธีเปิดให้บริการร้านเซเว่น อีเลฟเว่น สาขาแรกในสปป. ลาว อย่างเป็นทางการ ร่วมกับนายชัยโรจน์ ทิวัตถ์มั่นเจริญ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส และ Managing Director International Business บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่เมื่อช่วงเช้าวันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา

        โดย เซเว่น อีเลฟเว่น สาขาแรกนี้ ตั้งอยู่ที่ถนนสุพานุวง บ้านหนองปาใน เมืองสีโคดตะบอง ในนครหลวงเวียงจันทน์บริหารโดย บริษัท ซีพี ออลล์ ลาว จำกัด ในกลุ่มซีพี ออลล์ ซึ่งจะเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง นำเสนอสินค้ากว่า 5,000 SKUs เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทุกกลุ่ม มุ่งเน้นคุณภาพมาตรฐาน ทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค อาหารพร้อมทาน รวมถึงสินค้าเอกลักษณ์ที่มีเฉพาะที่ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น อาทิ สินค้ายอดนิยมตลอดกาลในอย่าง Slurpee หรือเครื่องดื่มชงสด All Café นอกจากนี้ ยังมีสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของ สปป.ลาว ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภคภายในประเทศ และผู้ที่มาเยือน สปป. ลาว ซึ่งเพิ่มขึ้นตั้งแต่สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย และการเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงทำให้การคมนาคมขนส่งสะดวกสบายรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในปี 2567 นี้ รัฐบาล สปป. ลาวกำหนดให้เป็นปีท่องเที่ยวลาว ซึ่งจะตรงกับวาระที่สปป.ลาว จะดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ก็จะทำให้บรรยากาศภายในประเทศคึกคักมากยิ่งขึ้นด้วย    

………………………

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ร่วมกับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัด “โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ผลิตข่าวดิจิทัลรุ่นเยาว์” หรือ “Young Digital News Providers” รุ่นที่ 7 ประจำปี 2566

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ร่วมกับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัด “โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ผลิตข่าวดิจิทัลรุ่นเยาว์” หรือ “Young Digital News Providers” รุ่นที่ 7 ประจำปี 2566

      สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ร่วมกับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัด “โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ผลิตข่าวดิจิทัลรุ่นเยาว์” หรือ “Young Digital News Providers” รุ่นที่ 7 ประจำปี 2566 ภายใต้ โครงการความร่วมมือองค์กรสื่อขับเคลื่อนพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมจริยธรรมสื่อเพื่อสร้างระบบนิเวศสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในวันที่ 22-24 กันยายน 2566 ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี บริหารจัดการหลักสูตรโดย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ได้รับทุนสนับสนุนจาก กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้ในทุกมิติของการผลิตข่าวบนโลกดิจิทัล อาทิ ทิศทางในการนำเสนอข่าวสารและพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคดิจิทัล, การใช้เครื่องมือบนเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ, การนำเสนอในรูปแบบมัลติมีเดีย, เรียนรู้จริยธรรมการนำเสนอข่าวที่ถูกต้องและเหมาะสม, การวางแผนการตลาดและประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ข่าว และสื่อสังคมออนไลน์ อีกทั้งจัดให้มีการประกวด “เว็บไซต์ข่าวฝึกปฏิบัติยอดเยี่ยมระดับอุดมศึกษา” โดย นิสิต นักศึกษาส่งผลงานจริงเข้าประกวดหลังจากได้รับการฝึกอบรมไปแล้ว เพื่อสร้างผู้ผลิตข่าวรุ่นใหม่ให้มีคุณภาพ ถูกต้อง และมีความเข้าใจบทบาทภารกิจที่แท้จริงของผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ก่อนที่จะก้าวไปสู่การทำงานอย่างมืออาชีพ

        เนื้อหา และวิทยากรร่วมโครงการ ดังนี้ SPARK YOURSELF คุณกิตติ สิงหาปัด ผู้ดำเนินรายการข่าว 3 มิติ, จริยธรรมและกฎหมายที่ควรรู้ในการผลิตข่าวออนไลน์ อ. ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ อาจารย์พิเศษด้านกฎหมายเทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ปรึกษากฎหมายสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์, Data Journalism คุณสันติชัย อาภาร์ศรี บรรณาธิการ Rocket Media Lab, Content Strategy คุณชุตินธรา วัฒนกุล บรรณาธิการบริหารข่าวออนไลน์ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส, Creative Marketing คุณรัฐโรจน์ จิตรพนาCreative Marketing, THE STANDARD , UX / UI Design คุณณัฐพล เกียรติกอบชัย Lead UX/UI Designer, CLEVERSE

         เปิดรับ นิสิต นักศึกษา สาขานิเทศศาสตร์ หรือวารสารศาสตร์ สาขาประชาสัมพันธ์หรือสื่อสารการตลาด, สาขาการออกแบบสื่อดิจิทัล, สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ในชั้นปีที่ 2 เป็นต้นไป รวม 30 คน จากสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศ โดยต้องมีคุณสมบัติ 3 ด้าน ๆ ละ 1 คนดังนี้
1. ด้านการบรรณาธิกรณ์ (Editorial)  
2. ด้านการออกแบบกราฟฟิกและมัลติมีเดีย (UX/UI Design)
3. ด้านการตลาดเนื้อหาและการสร้างรายได้ (Content Marketing & Monetization)
 
            การรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการมีทั้งแบบ “โควตา” ตัวแทนจากสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 15 คน โดยสถาบันการศึกษาต้องเป็นผู้คัดเลือกและส่งรายชื่อ สถาบันละ 3 คน (ตามความถนัดในแต่ละด้าน) และ รับสมัครผู้เข้าร่วมแบบ “ทั่วไป” อีก 15 คน โดยนักศึกษาต้องสมัครเป็นทีม รายชื่อทีมละ 3 คน (ตามความถนัดในแต่ละด้าน) ซึ่งมีอาจารย์ที่ปรึกษาเซ็นชื่อรับรอง ทั้งนี้นักศึกษาที่เข้าร่วมอบรมต้องส่งรายละเอียดเข้าร่วมประกวด “เว็บไซต์ฝึกปฏิบัติยอดเยี่ยม” ระดับอุดมศึกษา อาทิ ชื่อเว็บไซต์ ระยะเวลาการผลิต ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา รายชื่อนักศึกษาพร้อมหน้าที่ในการดำเนินงาน เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
 
สนใจสมัครร่วมโครงการได้ที่ https://forms.gle/QFBUEK6UNaZQJzhv8

อัพเดทล่าสุด