Categories
ข่าวทั่วไป

สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์ไทยเยือนเวียดนามสานต่อความร่วมมือวิชาชีพสื่อ

สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์ไทยเยือนเวียดนามสานต่อความร่วมมือวิชาชีพสื่อ

          ตัวแทนสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเดินทางเยือนเวียดนาม สานต่อสัมพันธ์สื่อมวลชน 2 ประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ด้านทูตไทยในเวียดนามชื่นชมองค์กรวิชาชีพสื่อไทยช่วยกระชับความสัมพันธ์ไทย-เวียดนาม

          เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 คณะตัวแทนสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นำโดยนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติและที่ปรึกษาสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย ได้เดินทางมาเยือนประเทศเวียดนามตามคำเชิญของสมาคมนักข่าวเวียดนาม  เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนการพัฒนาวิชาชีพสื่อมวลชนของทั้งสองประเทศร่วมกัน

         สำหรับผู้แทนของสมาคมสื่อมวลชนไทยที่ร่วมเดินทางไปในครั้งนี้ได้แก่ นายอนันต์ นิลมานนท์ นายกสมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย ในฐานะรองประธานสมาพันธ์หนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายพลาดิศัย สิทธิธัญญกิจ อุปนายกสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยฯ นางสาวปิยะสุดา จันทรสุข อุปนายกสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย นางชนิดา จันทเลิศลักษณ์ อุปนายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ นายสมศักดิ์ ศรีกำเหนิด เหรัญญิกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และนายกฤษติน นิลมานนท์ กรรมการสมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทยและเจ้าหน้าที่ประสานงานของสมาพันธ์ฯ

 

         หลังจากเดินทางโดยสายการบินแอร์เอเชียมาถึงยังกรุงฮานอยได้เดินทางเข้าพบ  นายนิกรเดช  พลางกูร เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เพื่อเข้าเยี่ยมคารวะรับฟังบรรยายสรุปถึงสถานการณ์ต่างๆ ของประเทศเวียดนาม  เช่น ทางด้านการเมืองที่เพิ่งมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารประเทศระดับสูง ด้านสังคมเรื่องการต่อสู้กับโรคโควิด 19 ด้านเศรษฐกิจที่มีนโยบายส่งเสริมการค้าและการลงทุน มีการทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศ (FTA)กับหลายประเทศ และด้านความสัมพันธ์ ไทย – เวียดนามที่อยู่ในระดับ Strategic partner หรือหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็ง นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตไทยยังได้กล่าวชื่นชมความพยายามในการสานสัมพันธ์ทางด้านสื่อมวลชนระหว่างองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนไทยและเวียดนามด้วย

        จากนั้นช่วงบ่ายเดินทางไปยังสมาคมนักข่าวเวียดนาม โดยมี นาย LE QUOC MINH นายกสมาคมนักข่าวเวียดนามและคณะให้การต้อนรับเพื่อพบปะพูดคุยถึงการดำเนินกิจกรรมร่วมกันระหว่างสื่อมวลชนของประเทศไทยและประเทศเวียดนาม โดยการพูดคุยสรุปพอสังเขปได้ว่าทั้งสมาพันธ์หนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและสมาคมนักข่าวเวียดนามต่างมีความยินดีที่จะสานต่อกิจกรรมร่วมกัน ได้แก่ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและการอบรมพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในวิชาชีพสื่อมวลชน เช่น ด้านภาษา ด้านเทคนิคการทำงานภาคสนามในสถานการณ์ที่เกิดภัยพิบัติ รวมถึงกิจกรรมทางวัฒนธรรมอื่นๆ ที่จะได้มีการหารือในรายละเอียดกันต่อไป

       ซึ่งการเดินทางเยือนประเทศเวียดนามครั้งนี้  คณะสมาพนธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้รับการสนับสนุนการเดินทางจากสายการบินไทยแอร์เอเชีย เหมือนเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา และการสนับสนุนด้านกิจกรรมกระชับความสัมพันธ์จากธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสื่อมวลชนไทยและสื่อมวลชนเวียดนาม./

 

#สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (CTJ)

#สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์(SonP)

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูล-จุดเช็คอินใหม่  อดีตไกด์เปิดสวนวาสนาดีศูนย์รวมทุเรียน 100 สายพันธุ์พื้นเมืองโบราณ

สตูล-จุดเช็คอินใหม่  อดีตไกด์เปิดสวนวาสนาดีศูนย์รวมทุเรียน 100 สายพันธุ์พื้นเมืองโบราณ

       ที่บ้านสวนวาสนาดี  หมู่ที่  1 บ้านทุ่งไหม้   ตำบลน้ำผุด  อำเภอละงู  จังหวัดสตูล  ที่นี่ดูผิวเผินก็คล้ายๆ สวนผลไม้ทั่วไปแต่!! ที่นี่ได้ถูกขึ้นชื่อว่าเป็นสวนทุเรียนเบญจพรรณ  เพราะเป็นสวนที่มีทุเรียนหลากหลายสายพันธุ์บนพื้นที่ 5 ไร่  โดยเฉพาะสายพันธุ์หอยโข่ง ทุเรียนพื้นเมืองโบราณอายุไม่น้อยกว่า 100 ปีมีมากถึง 93 ต้น

       โดยทุเรียนแต่ละต้นต่างมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามรูปลักษณ์ อย่าง  พันธุ์ไอ้ตูดรูปทรงเหมือนก้นเปลือกบางพูชัดเจน , พันธุ์ไอ้เขียวเปลือกเขียวเข้มเนื้อหวานคล้ายใบเตยเป็นที่นิยมมีออเดอร์จองทุกปีจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 60 บาท , พันธุ์ขมิ้นมีเนื้อเหลืองสวยพิเศษ, ความพิเศษของทุเรียนโบราณนี้จะทานได้ต่อเมื่อหล่นจากต้นเอง เพราะนั่นหมายถึงผลสุกพร้อมรับประทานได้  นอกจากนี้ที่นี่ยังมีผลไม้ประเภท ทุเรียนหมอนทอง  , ลองกอง  สะตอ  มังคุดและจำปาดะ ปลูกผสมผสานไปพร้อมกันด้วย 

        นายธนทรัพย์  ทรัพย์เฟื้องฟุ้ง  อายุ 42 ปี เกษตรกรยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์  พร้อมภรรยาคุณวาสนา   คงปรีชา  (อดีตคุณครู และไกด์นำเที่ยว)  ก่อนจะผันตัวมาเป็นเกษตรกรเต็มตัว โดยเห็นช่องทางหลังพบว่าทุเรียน 1 ต้นทำเงินได้ถึง 15,000 บาท หากมีมากนั่นหมายถึงรายได้ และอิสรภาพทางเวลา  จึงช่วยกันดูแลสวนทุเรียนโดยเฉพาะพันธุ์พื้นเมืองโบราณนี้หวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยว   ให้คนที่ชื่นชอบการทานทุเรียน ผลไม้ ได้เข้ามาทานกันถึงสวน พร้อมขายแพคเกจทานไม่อั้น พร้อมอาหารเที่ยง 1 มื้อและถือกลับบ้านได้ในราคาชาวสวนนี้คือเป้าหมายที่เตรียมวางไว้  หลังได้รับการตอบรับจากลูกค้าที่สั่งจองเข้ามามากเนื่องจากชื่นชอบการทานทุเรียนพื้นเมืองโบราณ เพราะปลอดสารพิษ โดยทางสวนจะนำไปแกะวางขายในตลาดชุมชนจนเป็นที่ยอมรับ และชื่นชอบ

          นอกจากนี้ได้เปิดเผยว่า  สวนผลไม้นี้เป็นของตกทอดมาจากบรรพบุรุษ  เนื่องจากเป็นส่วนทุเรียนพื้นบ้านโบราณยืนต้นขนาดใหญ่ มีความหลากหลายทางสายพันธุ์แบ่งแยกตามรูปลักษณ์  รสชาติ สีเนื้อ  สร้างเสน่ห์ให้ลูกค้าที่รับประทานได้มาก เพราะทุกครั้งที่นำไปขายตามท้องตลาดจะได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก  นักท่องเที่ยวจะได้ชิมทุเรียน 100  ต้นก็ร้อยลูก/ร้อยเนื้อ/ร้อยรสชาติ แล้วแต่ความชื่นชอบ และ 2 คืออยากอนุรักษ์พันธุ์พื้นเมืองที่กำลังหายไป เพราะพันธุ์เศรษฐกิจอย่างหมอนทองเยอะล้นตลาดของพวกนี้หากินอยาก  และนี่คือโอกาสของเราจึงอยากจะต่อยอดที่ปู่ย่าตายายปลูกไว้ให้  ทุกคนได้มาเที่ยว อนาคตต่อไปเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ให้เข้ามากินทุเรียนพื้นเมืองที่หาทานยาก และพัก เที่ยว 

อัพเดทล่าสุด

        นางปวีณา   นิลมาตย์   เกษตรอำเภอละงู  กล่าวว่า   สวนนี้เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ  ปลูกนานหลายสิบปี  เป็นธรรมชาติจริง ๆ ปลอดสารพิษ มีทุเรียนมากมาย และส่งเสริมการปลูกที่ตายไปภัยธรรมชาติ   พยายามผลักดันเกิดการท่องเที่ยว โดยทางท้องถิ่นอย่าง อบต.น้ำผุด ทำเส้นทางคมนาคม  เดินทางได้สะดวก  ทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้ร่วมกันผลักดันมาตรฐาน GAP และตั้งเป็นศูนย์รวมผลไม้  เครือข่ายตำบลน้ำผุดในการคัดแยก ทุเรียน ลองกอง เงาะ ผลไม้ในจุดนี้ด้วย

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

สตูล-สุดปัง! เกษตรกรสวนปาล์มน้ำมันปลูกข้าวโพดเสริม  ทำเงินแตะปี 3 แสน

สตูลสุดปัง! เกษตรกรสวนปาล์มน้ำมันปลูกข้าวโพดเสริม  ทำเงินแตะปี 3 แสน

       ข้าวโพด  อาหารยอดนิยมที่ชาวสวนปาล์มน้ำมันในจังหวัดสตูล  หันมาปลูก  เป็นรายได้เสริม  แซมต้นปาล์มน้ำมันที่กำลังรอการเติบโต   โดยเกษตรกรที่บ้านไทรทอง  หมู่ 10 ต.ปาล์มพัฒนา อ.มะนัง  จ.สตูล  ภายใต้กลุ่มวิสาหกิจชุมชน  พืชไร่พอใจพอเพียง   ได้ปรับพื้นที่ส่วนหนึ่งมาปลูกข้าวโพด  เพื่อเป็นรายได้เสริมปีละ 250,000 – 300,000 บาท ระหว่างที่รอให้ต้นปาล์มน้ำมันเติบโตในช่วง 1-3 ปี

       นางธารีย์   สะอาด  อายุ 43 ปี หนึ่งในสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน  พืชไร่พอใจพอเพียง บอกว่า ทางกลุ่มได้มีสมาชิกรวมตัวกัน 6 คน  เพื่อปลูกข้าวโพดแซมสวนปาล์มน้ำมัน  ในช่วงที่ต้นปาล์มอายุเพียง 1-3 ปี  เพื่อเป็นรายได้เสริมในครอบครัว  โดยวางแผนการปลูกเป็นรอบ ๆ เก็บผลผลิตต่อครั้งละ 1200-1500 กก ขายในหมู่บ้านกิโลกรัมละ 15-20 บาท  

        ไม่เฉพาะข้าวโพดเท่านั้น  ที่เกษตรกรชาวสวนปาล์มในอำเภอมะนังนำมาปลูก  ไม่ว่าจะเป็น บวบเหลี่ยม  มะเขือ แตงกวา  ก็มีการปลูกแซมหมุนเวียนสร้างรายได้เสริมระหว่างรอต้นปาล์มให้ผลผลิต  

          ด้าน   นายเฉลิมพร   ศรีสวัสดิ์ เกษตรอำเภอมะนัง   กล่าวว่า เกษตรกรกลุ่มนี้  มีการรวมตัวกันปลูกข้าวโพดหวาน  และข้าวโพดข้าวเหนียว  ซึ่งมีพื้นที่ปลูกทั้งอำเภอมะนัง  จำนวน  40 ไร่  โดยมีรายได้หลัก  คือปาล์มน้ำมัน  สนง.เกษตรอำเภอมะนัง  ได้เข้ามาให้ความรู้ การจัดการแปลงข้าวโพด การกำจัดศัตรูพืช อย่างหนอนกระทู้ลายจุด  ที่มีการระบาด  ให้คำแนะนำและกำจัดศัตรูพืช รวมทั้งช่วยขยายตลาดในพื้นที่   ส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกร  เพิ่มพื้นที่ปลูกให้เพิ่มมากขึ้น 

อัพเดทล่าสุด

           ข้าวโพดมีความทนทานกว่าพืชหลายชนิด  ทนแล้งชอบแดดจัด  ต้นทุนต่อไร่ประมาณ 3500  บาท  โดยขณะนี้เกษตรกรปลูกขายในหมู่บ้าน  ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ  สนใจโทร.หรือติดต่อสอบถามได้ที่  095 403 86  95

Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา

ททท.สตูล ต้อนรับกลุ่มนทท.ชาวสิงคโปร์ คาราวานรถหรู 23 คันเข้าเที่ยวชายแดน เที่ยวไทย 5 วัน

ททท.สตูล ต้อนรับกลุ่มนทท.ชาวสิงคโปร์ คาราวานรถหรู 23 คันเข้าเที่ยวชายแดน เที่ยวไทย 5 วัน

         วันที่ 5 ก.ค.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ชายแดนวังประจัน  อำเภอควนโดน   จังหวัดสตูล  ซึ่งติดกับบ้านวังเกลียน รัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย  วันนี้คึกคักไปด้วยนักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์ เดินทางมาเป็นกลุ่มขบวนคาราวานรถซุปเปอร์คาร์ นำรถหรูจำนวน 23 คัน ขับเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย

        โดยนายไพรัช  สุขงาม ผู้อำนวยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  (ททท.) สำนักงานสตูล มอบหมายให้นายวริช  วิชิต รองผู้อำนวยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  (ททท.) สำนักงานสตูล พร้อมเจ้าหน้าที่ร่วมให้การต้อนรับในครั้งนี้ด้วย 

        นายวริช  วิชิต รองผู้อำนวยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  (ททท.) สำนักงานสตูล  เปิดเผยว่า ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ททท.สำนักงานสิงคโปร์ ได้ส่งเสริมการเดินทางในรูปแบบขับรถยนต์ท่องเที่ยวจากสาธารณรัฐสิงคโปร์ผ่านประเทศมาเลเซีย มายังประเทศไทยโดยนำเสนอเส้นทาง  และสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีศักยภาพ ให้กับกลุ่มที่ชื่นชอบการขับรถยนต์ด้วยตนเอง   เน้นกลุ่มคุณภาพและมีค่าใช้จ่ายสูงในการเดินทางท่องเที่ยว โดยประสานงานให้กับคณะคาราวาน Ferrari Owners’ Club Singapore (FOCS) ในเส้นทาง สตูล-ตรัง-พังงา-ภูเก็ต ในวันระหว่างวันที่  5-9 กรกฎาคม  2566   ( 5 วัน )

          ทั้งนี้ ททท.สำนักงานสตูล ร่วมประสานหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ช่วยอำนวยความสะดวกและร่วมต้อนรับคณะคาราวานรถหรู ณ ด่านวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล และซึ่งเป็นเรื่องดี ที่กลุ่มนักท่องเที่ยวผู้มีระดับ เดินทางโดยมาเที่ยวผ่านทางชายแดนจังหวัดสตูล  และขับรถแวะเที่ยวชมความสวยงามธรรมชาติของจังหวัดสตูล  และ อุดหนุนสินค้าของฝากของประชาชน ให้มีรายได้ ก่อนที่จะมุ่งหน้าไปเที่ยวต่างจังหวัดต่อไป

         สำหรับการเดินทางมาเที่ยวในครั้งนี้ถือว่าในห้วงปีนี้ และปีที่แล้ว กลุ่มนทท.ผู้มีระดับ มาเที่ยว 2 ปี และปีที่แล้วเข้ามาเมื่อวันที่  19 พ.ค. 65 และปี66 ก็ในวันนี้ ที่เข้ามาเที่ยวเป็นคาราวานรถหรู มาเที่ยวหลายๆวัน และหากนับว่า พื้นที่ชายแดนจังหวัดสตูล มีกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย ทั้งกลุ่มขับรถหรู และกลุ่มนักท่องเที่ยวทั่วไป  และกลุ่มคาราวานรถบิ๊กไบค์ของชาวมาเลเซีย ในห้วง 3 เดือนนี้มีเงินสะพัดเข้าประเทศไทย เกือบ 100 ล้านบาท  

อัพเดทล่าสุด

           ด้าน Mr.Kumar Singnam กลุ่มประสานงาน นทท.คาราวานรกหรู ชาวสิงค์โปร กล่าวว่า วันนี้มาเที่ยวในประเทศไทย และพร้อมการเดินทางมาเที่ยวเพราะคนไทยยิ้มสวย และ ต้อนรับดี ยิ่งหน่วยงานราชการ ททท.สตูลสาวสวย และให้การต้อนรับดี ไปถึงเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐคนอื่นๆวันนี้มาพร้อมเที่ยว ช๊อป และพักผ่อนเก็บบรรยากาศไปฝากเพื่อนๆในประเทศสิงคโปร์ต่อไป

……………………………………

Categories
ข่าวเด่น

 สตูลน้ำเริ่มลดแล้ว หลังฝนไม่ตกมาซ้ำ ทหารเรือยังคงเข้าสำรวจจุดพื้นที่น้ำขังช่วยระบายน้ำลงคูคลอง ขณะทะเลมมีคลื่นลม ชาวประมงยังไม่มั่นใจสภาพอากาศในทะเล 

สตูลน้ำเริ่มลดแล้ว หลังฝนไม่ตกมาซ้ำ ทหารเรือยังคงเข้าสำรวจจุดพื้นที่น้ำขังช่วยระบายน้ำลงคูคลอง ขณะทะเลมมีคลื่นลม ชาวประมงยังไม่มั่นใจสภาพอากาศในทะเล

       วันที่ 3 .. 66  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถาการณ์น้ำท่วมใน 7 อำเภอหลายพื้นที่น้ำลดระดับคลี่คลายลงแล้ว บ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วม แห้งลง บางบ้านมีเศษดินโคลนเปื้อนดิน ขณะบางจุดบ้านเรือนที่เป็นแอ่งน้ำ ยังคงมีน้ำขัง ไหลไม่ทัน

ล่าสุดทัพเรือภาคที่ 3 สั่งการให้หน่วยรักษาความปลอดภัยทางทะเล กองทัพเรือ เกาะหลีเป๊ะ .สตูล จัดส่งกำลังพลบางส่วนลงพื้นที่ ให้ความช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสพปัญหาอุทุกภัย และเข้าช่วยในการยกสิ่งช่วยชาวบ้าน ทำความสะอาดบ้านเรือน และยกสิ่งของหนีน้ำท่วมในบางจุดที่ท่วมขัง  ให้กับประชาชนที่มีบ้านเรือนอยู่บริเวณที่ลุ่มต่ำริมคลองละงู ในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลกำแพง และชุมชนบ้านนาโต๊ะพ่อ .4 .กำแพง .ละงู จว.สตูล

       และใช้เครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ทำการสูบน้ำที่ท่วมขังภายในบริเวณวัดอาทรรังสฤษฏ์ หลังน้ำลดระดับลง แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังระบายออกไม่ทัน พร้อมตรวจสอบพื้นที่ตามแนวชายฝั่งทะเลบ้านอ่าวนุ่น .ปากน้ำ .ละงู เพื่อเตรียมให้ความช่วยเหลือกู้เรือประมงพื้นบ้านที่ถูกคลื่นลมแรงซัดจมลง

      ด้านชาวประมงพื้นบ้านในอำเภอละงูหลังคลื่นลมสงบในวันนี้และน้ำลดตามมาดูเรือของตนให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน หลังก่อนหน้านี้คลื่นลมได้ผมกระหน่ำพัดให้เรือที่จอดบริเวณริมชายฝั่งกระแทกกันไปมาสร้างความเสียหายให้กับเรือประมงหลายลำรวมทั้งมีรายงานในวันเกิดเหตุของเรือประมงจมขนาดจอดไม่น้อยกว่า 5 ลำ

อัพเดทล่าสุด

        นายปาตี  โซ๊ะยา  อายุ 56 ปี ชาวประมงพื้นบ้านอ่าวนุ่น กล่าวว่า ทะเลยังคงมีคลื่นลม และในช่วงนี้ยังอยู่ในช่วงเฝ้าระวังคลื่นลม และเมื่อวานที่ผ่านมา คลื่นแรงซัดเรือประมงที่จอดริมชายหาดบริเวณอ่าวนุ่นตรงนี้จมลงประมาณ 5 ลำและตอนนี้กู้ขึ้นมาสำเร็จแล้ว ถึงอย่างไรก็จอติดตามสถานการณ์คลื่นลมยังไม่ออกทะเล ในวันนี้

……………………………………………………………………………………………………….

Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา

อพท. ดัน “คลองท่อม กระบี่” เมืองสุขภาพเทียบระดับโลก

อพท. ดันคลองท่อม กระบี่เมืองสุขภาพเทียบระดับโลก

         นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรืออพท.   พร้อม  นางสาววาสนา  พงศาปาน  ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร(สสอ.)  นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่  อำเภอคลองท่อม  จังหวัดกระบี่  เพื่อศึกษาและสำรวจศักยภาพคลองท่อม. กระบี่ หนุนขึ้นแท่นเมืองสุขภาพ หรือWellness ผลักดันประกาศให้เป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กำหนดเป้าหมายการทำงานประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมพัฒนา โชว์เส้นทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ น้ำตกร้อนและน้ำพุร้อนเค็ม   ตอบโจทย์ตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพสูงชื่นชอบท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ มุ่งกระจายรายได้  ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนท้องถิ่น และฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดความยั่งยืน  โดยมีนายสุรัตน์   จรณโยธิน  ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกระบี่ ให้การต้อนรับ   

         นาวาอากาศเอกอธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรืออพท. เปิดเผยว่า อพท. ได้รับมอบหมายจาก นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้ดำเนินการศึกษาศักยภาพและความเหมาะสมของพื้นที่อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ เพื่อเตรียมการประกาศให้เป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยืน ครอบคลุมบริเวณ น้ำตกร้อน สระมรกต พิพิธภัณฑ์ลูกปัดคลองท่อม และน้ำพุร้อนเค็ม ภายใต้แนวคิดคลองท่อมเมืองสุขภาพ หรือ Wellness” เนื่องจากอำเภอคลองท่อม มีศักยภาพสูง มีความโดดเด่นทั้งด้านธรรมชาติ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม โดยเฉพาะที่ตำบลห้วยน้ำขาว ซึ่งเป็นแหล่งน้ำพุร้อนเค็ม เป็นแหล่งท่องเที่ยว Unseen มีน้ำพุร้อนเค็มแห่งเดียวของประเทศไทยและเป็น 1 ใน 2 แห่งของ      ทั่วโลก โดยอีกหนึ่งแห่งอยู่ในประเทศสาธารณรัฐเชค แถบยุโรปตะวันออก

 

       นาวาอากาศเอก   อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรืออพท. เปิดเผยว่า ได้นำคณะผู้บริหารอพท. และสื่อมวลชน  ลงพื้นที่จ.กระบี่  เพื่อศึกษาศักยภาพ  ความเหมาะสมของพื้นที่อำเภอคลองท่อม ให้เป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยืน ครอบคลุมบริเวณ น้ำตกร้อน สระมรกต  และน้ำพุร้อนเค็ม ภายใต้แนวคิดคลองท่อมเมืองสุขภาพ หรือ Wellness” ภายหลังได้รับมอบหมายจาก นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้ดำเนินการศึกษาพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากพบว่าอำเภอคลองท่อม  มีความโดดเด่นทั้งด้านธรรมชาติ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม โดยเฉพาะที่ตำบลห้วยน้ำขาว ซึ่งเป็นแหล่งน้ำพุร้อนเค็ม เป็นแหล่งท่องเที่ยว Unseen มีน้ำพุร้อนเค็มแห่งเดียวของประเทศไทยและเป็น 1 ใน 2 แห่งของทั่วโลก โดยอีกหนึ่งแห่งอยู่ในประเทศสาธารณรัฐเชค แถบยุโรปตะวันออก

          ทั้งนี้ อพท. เตรียมสรุปผลการศึกษาและนำเสนอคณะกรรมการ อพท. พิจารณาประกาศเป็นพื้นที่พิเศษฯ ก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติเห็นชอบ  ซึ่งคาดว่า ปลายปีนี้จะศึกษาแล้วเสร็จ และจะดำเนินการแล้วเสร็จทั้งกระบวนการในปี 2567   จากนั้นจะไปสู่การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษ อำเภอคลองท่อม ที่จะต้องสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ประกอบด้วย ภูเก็ตพังงา กระบี่ ตรัง และสตูล  และแผนยุทธศาสตร์ชาติ BCG Model ที่นำคุณค่าทางทรัพยากรที่มีอยู่ มายกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่ม สามารถดึงเงินลงทุนเข้ามาในพื้นที่ ซึ่งจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป

 

         เป้าหมายพัฒนาพื้นที่พิเศษฯ ครั้งนี้ นับเป็นกลไกสำคัญของการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ โดย อพท. ทำหน้าที่เป็นองค์กรในการประสานหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรที่เกี่ยวข้อง มาร่วมกันพัฒนาพื้นที่คลองท่อมเพื่อบริหารจัดการพื้นที่แห่งนี้ให้เป็นพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยทำคู่ขนานกับชุมชน ให้คนในท้องถิ่นได้รับประโยชน์จากแหล่งท่องเที่ยวใหม่  ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมศักยภาพให้กับชุมชนและเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมพัฒนาความเจริญให้กับชุมชนและพื้นที่ในระยะยาว

 

อัพเดทล่าสุด

         จุดเด่นของน้ำพุร้อนเค็ม คือ มีแร่ธาตุสูงที่เป็นประโยชน์ในด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ซึ่งปัจจุบันสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้ ซึ่งปัจจุบันมีภาคเอกชนเริ่มเห็นประโยชน์และนำน้ำร้อนเค็มขึ้นมาใช้ มีการลงทุนทางธุรกิจไปบ้างแล้ว แต่การลงทุนจากภาครัฐยังไม่เห็นเป็นรูปธรรม รวมทั้งการควบคุมด้านคุณภาพน้ำและปริมาณการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดนำไปสู่การเพิ่มและกระจายรายได้สู่ชุมชนในพื้นที่อย่างทั่วถึงในมิติของแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การประกาศเป็นพื้นที่พิเศษฯ จะทำให้ อพท. เข้ามาทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางประสานกับหน่วยงานอื่นๆ อาทิ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อดำเนินการเรื่องการใช้น้ำการใช้ประโยชน์จากที่ดิน การจัดทำผังเมือง ด้านการลงทุนประสานสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พิจารณาจัดทำสิทธิประโยชน์เชิญชวนนักลงทุน หากดำเนินการได้ตามเป้าหมายผู้อำนวยการ อพท. กล่าว

 อย่างไรก็ตาม ในอนาคตภายหลังจากมีการประกาศพื้นที่พิเศษฯ อำเภอคลองท่อมแล้ว อพท. จะใช้    องค์ความรู้ไปถ่ายทอดให้แก่ท้องถิ่นและชุมชน ได้แก่ เกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Criteria : GSTC) เกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย (CBT Thailand) เพื่อยกระดับคลองท่อมเป็น Wellness City  และจะเข้าไปยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน การบริหารจัดการ และเชิญชวนผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องและมีศักยภาพเข้ามาพัฒนาพื้นที่คลองท่อม ให้เป็นมากกว่าแหล่งท่องเที่ยว แต่เป็นแหล่งฟื้นฟูและดูแลสุขภาพ รวมถึงการนำเสนอการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่แห่งนี้ เข้าสู่เวทีในระดับสากล โดยการเสนอชื่อเข้ารรับการรับรองเป็นแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน 100 แห่งของโลก หรือ TOP 100 (Green Destinations Top 100 Stories)

          ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอคลองท่อมมีการตื่นตัว พัฒนาศักยภาพพื้นที่ของตัวเองอย่างต่อเนื่องโดยในปี 2565 อพท. ได้นำ มาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism Management Standard : STMS) ไปประเมินโดยมี 2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่ เทศบาลตำบลคลองท่อมใต้  และองค์การบริหารส่วนตำบลคลองท่อมเหนือ ซึ่งพบว่ามีการบริหารจัดการที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน และได้รับใบประการมาตรฐาน STMS ในปีงบประมณ 2565  

         จากสถิติปี 2562 จังหวัดกระบี่มีนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเกือบ 7 ล้านคนต่อปี โดยเฉลี่ยต่อปีประมาณ 4 ล้านคน และในปี 2562 จังหวัดกระบี่ ทำรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นลำดับที่4 ของประเทศ คิดเป็นตัวเลขประมาณ 120,000 ล้านบาท แต่ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตัวเลขนักท่องเที่ยวก็ลดลงตามลำดับจากนโยบายการปิดประเทศ แต่หลังจากปลายปี 2565 ถึงปัจจุบัน นักท่องเที่ยวทะยอยเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่มีการเติบโตแบบก้าวกระโดด โดย 5 เดือนแรกปี 2566 มีนักท่องเที่ยวเข้ามาจังหวัดกระบี่ประมาณ 1.2 ล้านคน นับว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก 1.8 ล้านคน สร้างรายได้ประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นจากนักท่องเที่ยวในประเทศ 9,000 ล้านบาท ต่างชาติ 4,000 ล้านบาท นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เป็นตลาดสำคัญ ได้แก่ กลุ่มยุโรป และกลุ่มอาหรับ ซึ่งกลุ่มนี้ชื่นชอบโปรแกรมเพื่อดูแลสุขภาพ     

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

มะละกอเรดเลดี้  เปลี่ยนชีวิตเกษตรกรสวนยางพาราสตูล

มะละกอเรดเลดี้  เปลี่ยนชีวิตเกษตรกรสวนยางพาราสตูล

          เกษตรกรรุ่นใหม่พบว่ามีการปรับตัวในการทำเกษตรแบบผสมผสาน  และอีกหนึ่งเกษตรกรที่มีการปรับตัวที่สวนคุณถาวรเกษตรกรสมาร์ทฟาร์มเมอร์  ในพื้นที่หมู่4   ซอย 7  ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง  จังหวัดสตูล ของนายถาวร บุญรัตน์ อายุ 45 ปี  ได้ผันตัวเองจากงานด้านเทคนิคสื่อสารกลับมาดูแลสวนยางพาราเพียงคนเดียว   พื้นที่  10 ไร่ซึ่งเป็นของครอบครัว

         ก่อนจะตัดสินใจโค่นล้มแปลงสวนยางจำนวน 3 ไร่ จากทั้งหมด 10 ไร่ เพื่อปลูกต้นมะละกอพันธุ์เรดเลดี้  และกล้วยน้ำหว้า  หลังได้ศึกษาจนเป็นที่แน่ใจแล้วว่านี้คือรายได้ที่จะมาเลี้ยงครอบครัว  เพื่อเป็นทางรอดจากราคายางพาราที่ผันผวนอย่างต่อเนื่อง    จึงตัดสินใจในการลงมือปลูกโดยเชื่อว่าให้ผลผลิตเร็ว 150 ต้นไม่ถึงปี สามารถเก็บผลผลิตขาย 3 วันครั้งได้ครั้งละ 120 กิโลกรัม  (ไซร์ 3ลูก 2 กิโลกรัม) ราคาขายปลีก 40 บาท/กก. สร้างรายได้เป็นที่พอใจแทรงรายได้จากยางพาราตกเดือนละไม่น้อยกว่า 28,000 บาท

         นายถาวร บุญรัตน์  เกษตรกรสมาร์ทฟาร์มเมอร์  บอกว่า   ด้วยเป็นผลผลิตที่มีรอบออกเร็ว  เป็นผลไม้ที่มีคุณค่า ด้วยตัวเอง  อีกทั้งมีทีมงานและเครือข่ายแลกเปลี่ยนความรู้กันรวมทั้งสำนักงานส่งเสริมการเกษตรอำเภอควนกาหลง   ทั้งในเรื่องการหาตลาด  ความรู้   ขั้นตอนการปลูก  พร้อมแนะนำว่าหัวใจของการปลูกมะละกอเรดเลดี้ต้องรู้จักพืช ต้องมีแหล่งน้ำ และรู้จักตลาด  เพราะการปลูกมะละกอไม่ได้ต่างกับการปลูกทุเรียนต้องมีน้ำที่เพียงพอมีการถ่ายเทที่ดีเพราะไม่อย่างนั้นรากอาจจะเน่าได้ มะละกอพันธุ์เรดเลดี้มีความพิเศษคือหอมหวานเชื่อว่าตลาดตอบรับอย่างแน่นอนสุดท้ายก็ขายได้ดีจริงๆ

อัพเดทล่าสุด

           นางสาวจุฑามาศ   เกียรติอุปถัมภ์  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ  สนง.เกษตรอำเภอควนกาหลง กล่าวว่า  ได้เข้ามาช่วยส่งเสริมเกษตรกรรายนี้ตั้งแต่การปลูก การใช้สารชีวพันธุ์อย่าง   ไตรโคเดอร์มา : เชื้อรามหัศจรรย์สำหรับใช้ควบคุมโรคพืช  ซึ่งเป็นเชื้อราดี ช่วยในเรื่องป้องกันเชื้อราตัวร้าย หลังได้ผลผลิตก็มาช่วยส่งเสริมในเรื่องการตลาดให้กับเกษตรกร หลังพบว่าในกลุ่มคนรักสุขภาพยังมีการเรียกร้องผลไม้ชนิดนี้ ไม่ต่างกับแหล่งท่องเที่ยว

           สำหรับ  มะละกอเรดเลดี้ มีรสหวาน เนื้อแน่นหนึบ พร้อมกลิ่นหอมคล้ายดอกไม้ป่าที่เป็นเอกลักษณ์ของสายพันธุ์ทำให้น่ารับประทาน อุดมด้วยวิตามินเอและเบต้าแคโรทีน  ที่ช่วยบำรุงสายตา  ลดความเสื่อมของประสาทตาและต้านมะเร็ง มีกากใยสูงช่วยให้การย่อยอาหารและการขับถ่ายเป็นปกติ สำหรับท่านใดที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่  สวนคุณถาวร  โทร. 083-457-3911  หรือเพจ มะละกอเรดเลดี้สวนคุณถาวร

………………….

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 สตูล-เรียนครูไม่ได้เป็นครู  ช่วยแม่ปลูกเก็บผักกูดในสวนยางพารา

สตูล..เรียนครูไม่ได้เป็นครู  ช่วยแม่ปลูกเก็บผักกูดในสวนยางพารา

        เกษตรกรชาวสวนยางยุคใหม่  มีการผสมผสานพืชลงปลูกในแปลงสวนยางพาราเพื่อใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างเปล่าในการเพิ่มรายได้  เช่นเดียวกับเกษตรในพื้นที่ หมู่ที่10 บ้านวังนาใน ต.น้ำผุด อำเภอละงู ที่ “สวนผักกูดวังสายทอง จ.สตูล”  มีการทำแปลงปลูกผักกูดในสวนยางพารา  ที่เจ้าของสวนได้เรียนรู้ลองผิดลองถูกและจนสามารถปลูกผักกูดมานานถึง  11 ปีบนพื้นที่  6 ไร่ เป็นรายได้ให้กับครอบครัวได้อีกทางหนึ่ง

        โดยทุก ๆ เช้านางระวิ   นวลโยม อายุ 52 ปี พร้อมนางสาวรุ่งไพลิน   ปล้องไหม  อายุ 25 ปี  พร้อมบุตรสาวที่เรียนจบครูมาแต่มองเห็นช่องทางการทำอาชีพเกษตรที่มีรายได้ดีกว่าอาชีพครู    มาช่วยกันเก็บผักกูดตามออเดอร์ลูกค้า ดูแลช่องทางการตลาดตามสไตล์คนรุ่นใหม่   ส่งขายตามรีสอร์ตชุมชนลูกค้าหลัก   และพ่อค้าแม่ค้าในตลาดวันละไม่น้อยกว่า 50 ถึง 100 กิโลกรัม โดยจะขายปลีกกิโลกรัมละ 35 บาท

        นางระวิ   นวลโยม อายุ 52 ปี เกษตรกรบอกว่า  แนวคิดการปลูกผักกูดในสวนยางเกิดจากที่ดินมีฝนเยอะและมีพื้นที่ว่าง จึงไปซื้อพันธุ์ผักกูดมาปลูก  โดยสายพันธุ์ที่ปลูกคือผักกูดยอดร้อน  (โดยผักกูดมี 2 สายพันธุ์คือยอดร้อน และยอดดำ) แรกเริ่มจำนวน 50 ต้นปลูกจากนั้นถึงวันนี้มีผักกูดแซมในสวนยางพาราแล้วจำนวน 6 ไร่ โดยสปอร์ในผักกูดจะกระจายไปทั่วสร้างรายได้อีกทางให้เกษตรกร  ด้วยผักกูดชอบพื้นที่ร้อนชื้นแดด 50-60 เปอร์เซ็นต์  ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมี  ให้น้ำ 2 วันครั้ง ครั้งละ30 นาที ที่แปลงผักกูดที่นี่มีความอุดมสมบูรณ์เรื่องของน้ำจากหลังเขาน้ำตกซึ่งเป็นป่าต้นน้ำ   จึงนำมาปลูกแซมพืชไม้ร่มได้อย่างสวนยางพาราและสวนทุเรียน หรือว่า สวนกล้วยก็สามารถปลูกได้ 

อัพเดทล่าสุด

           นายปิยทัศน์  ทองปาน   นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สนง.เกษตรอำเภอละงู  กล่าวว่า  เกษตรกรรายนี้ถือเป็นตัวอย่างที่เข้มแข็ง โดยทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้เข้ามาช่วยแนะนำเรื่องการบำรุงดิน และการจัดการศัตรูพืช รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีพืชสวนผสมอีกหลายอย่างที่น่าสนใจ ทั้งสวนทุเรียนและสวนกระท้อน นอกเหนือจากสวนยางพารา

          โดยวันนี้ทางเกษตรกร สวนผักกูดวังสายทอง จ.สตูล ยังได้ปรุงเมนูอาหารจากผักกูด  อาทิ ผักกูดผัดน้ำมัน และผักกูดลวกกะทิ  (หรือแกงส้ม แกงกะทิ,ยำผักกูดและอีกหลายเมนู)  พร้อมโชว์ความกรอบ  อร่อย สด ก้านอวบ ๆ ให้สื่อได้ชมพร้อมบอกว่าเป็นผักที่มีให้ทานได้ตลอดทั้งปี   สำหรับนักท่องเที่ยว   หรือพ่อค้าแม่ค้า  ท่านใดสนใจติดต่อสอบถามได้ทางเพจ สวนผักกูดวังสายทอง จ.สตูล หรือโทร.096 835 4356

…………………………………..

Categories
ข่าวทั่วไป เกษตร - อาชีพ

 สตูล-ขนมลากรอบ  จากพิมพ์กะลามะพร้าวอาหารพื้นถิ่นทำทานดี ทำขายกำไรงาม

สตูล-ขนมลากรอบ  จากพิมพ์กะลามะพร้าวอาหารพื้นถิ่นทำทานดี ทำขายกำไรงาม

         ขนมพื้นเมืองที่ไม่เคยตกยุค  ทำทานง่ายในครัวเรือนหรือจะขายสร้างรายได้ดีงาม  รายนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 17 บ้านควนน้ำใส  ตำบลละงู   จังหวัดสตูลมาอย่างยาวนาน  วันนี้ภายใต้กลุ่ม  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้าน บ้านควนน้ำใส  ที่อยู่คู่ตำบลละงู  มาร่วม 25 ปี ได้เติบโตและประสบความสำเร็จเป็นวิทยากรในการเรียนรู้ให้กับนักท่องเที่ยว และชาวบ้านทั่วไป 

        โดยสมาชิกหลังได้รับออเดอร์จะทำขนมกันภายในบ้านของตนเองและนำมาส่งให้   นางรัตนาวรรณ  หมีนเหม อายุ 53 ปี ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้าน บ้านควนน้ำใสนำออกขายตามบูธ และตามออเดอร์ที่สั่ง  ซึ่งทางกลุ่มไม่ได้มีเฉพาะขนมลากรอบเท่านั้น  ยังมีขนมบุหงาบุด๊ะ  ขนมไข่เต่า ขนมรังต้อ เป็นต้น  โดยเฉพาะขนมลาแม้ส่วนผสมจะไม่มาก แต่มีความพิเศษคือมีความกรอบ ซึ่งอยู่ที่เทคนิคการทำขนมที่ต้องผ่านการฝึกฝนอย่างดี  

         โดยวันนี้ได้สาธิตการทำขนมลากรอบให้ทาง นายจำรัส  ฮ่องสาย นายกอบต.ละงู  และผู้บริหาร รวมทั้งสมาชิกสภาได้เห็นถึงความพิเศษของขนมนี้ว่า  ไม่จำเป็นต้องมีส่วนผสมเยอะ  มีเพียงแป้งข้าวจ้าว 1 กก.  น้ำตาลทรายครึ่ง  กก.  และน้ำ 500 มิล  คลุกเคล้าเข้ากันจนแป้งสลบ ไม่ขาดเส้นเป็นอันใช้ได้  ก่อนนำไปทอดในน้ำมันร้อนพอดีและแม่พิมพ์ที่ใช้กะลามะพร้าวเจาะรู  คล้ายกับการทำขนมลาเช็ด  แต่นี่เป็นขนมลากรอบ  เก็บไว้ได้นาน 1 เดือน ขายชิ้นละ 4-5 บาท ห่อละ 8 ชิ้น 35 บาทหรือ 3 ถุง 100 บาท

อัพเดทล่าสุด

           นายจำรัส  ฮ่องสกุล  นายกอบต.ละงู  เปิดเผยว่า   กลุ่มแม่บ้านทำขนมในตำบลละงู มีหลายกลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มทำขนมพื้นเมืองเพราะขึ้นชื่อด้านนี้  เหมือนอย่างเจ้านี้เป็นเจ้าดั้งเดิมรุ่นที่ 2 ทำมายาวนานมีสมาชิกจำนวนมาก ซึ่งยังมีความต้องการเครือข่ายในการทำขนมเพิ่ม  ถือเป็นจุดเด่นของจังหวัดสตูล

           ติดต่อสอบถาม หรือสั่งจองขนมได้ที่  โทร. 063 539 2487    

Categories
ข่าวเด่น

 สตูล-ศรชล.ภาค 3 เปิดปฏิบัติการปกป้องน่านน้ำ สกัดภัยคุกคามทะเลชายแดน จังหวัดสตูล

สตูล-ศรชล.ภาค 3 เปิดปฏิบัติการปกป้องน่านน้ำ สกัดภัยคุกคามทะเลชายแดน จังหวัดสตูล

            พล.ร.ท.อาภากร   อยู่คงแก้ว  ผอ.ศรชล.ภาค 3 พร้อมด้วย พล.ร.ต.สุชาติ เปรมประเสริฐ รอง ผอ.ศรชล.ภาค 3 และคณะฯ   ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมการปฏิบัติการตรวจสอบพื้นที่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ พื้นที่ จว.สตูล  โดยการปฏิบัติในครั้งนี้ เป็นการจัดกำลังทางเรือออกตรวจสอบพื้นที่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ ป้องกัน ปราบปราม รวมถึงการตรวจสอบและประเมินสถานการณ์การกระทำผิดกฎหมายในทะเล ใน  พื้นที่รับผิดชอบของ ศรชล.ภาค 3

         การออกปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นการบูรณาการกำลังทางเรือและกำลังพลจาก ศรชล.ภาค 3 ร่วมกับ ศรชล.จว.สตูล และหน่วยที่สนับสนุน ศรชล.จว.สตูล ประกอบด้วยหน่วยงานใน จว.สตูลที่สังกัด กองทัพเรือ กรมเจ้าท่า กรมประมง กรมศุลกากร กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กองบังคับการตำรวจน้ำ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรมพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมจัดหางาน และฝ่ายปกครอง ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้หน่วยต่าง ๆ มีความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจในเรือ ทั้งด้านองค์บุคคล องค์วัตถุ และองค์ยุทธวิธี เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐให้ดียิ่งขึ้น และยังเป็นการป้องปรามการกระทำความผิดทางทะเลและประเมินสถานการณ์แนวโน้มภัยคุกคามในพื้นที่ทางทะเลของจังหวัดสตูล 

         ซึ่งจากการตรวจสอบลูกเรือประมง  ทะเบียนเรือ ยาเสพติด  แม้ครั้งนี้ไม่พบสิ่งบกพร่อง และไม่พบการกระทำความผิดใด ๆ

อัพเดทล่าสุด

        ส่วนสถานการณ์การลักลอบขนน้ำมันเถื่อนทางทะเลนั้น พล.ร.ท.อาภากร กล่าวว่า  จังหวัดสตูลซึ่งเป็นจังหวัดที่มีชายพื้นที่ติดกับมาเลเซียนั้นเรามีหน่วยงานที่มีภาระกิจในด้านนี้ได้ช่วยกันตรวจสอบและทำงานด้านการข่าวซึ่งเรื่องนี้จะต้องใช้การข่าวนำ   ที่ผ่านมาได้ทำการจับกุมได้บ้างแต่ไม่เยอะ  ซึ่งการลักลอบขนน้ำมันเถื่อนทางทะเลในพื้นที่จังหวัดสตูลนั้นยังน้อยกว่าทางด้านอื่น