Categories
ข่าวเด่น

ลิงแสมยึดอาคารหรูเทศบาลเมืองสตูลสร้างอาณาจักรส่วนตัว ขณะที่ตัวแทนชุมชนสุดทนวอนรัฐเร่งแก้ปัญหา

ลิงแสมยึดอาคารหรูเทศบาลเมืองสตูลสร้างอาณาจักรส่วนตัว ขณะที่ตัวแทนชุมชนสุดทนวอนรัฐเร่งแก้ปัญหา

           วันที่  6 มิ.ย.2566  ที่อาคารของเทศบาลเมืองสตูล  (เขาโต๊ะพญาวัง) ที่เคยให้เอกชนเช่า ขณะนี้ได้กลายเป็นที่อยู่ถาวรของลิงแสมจำนวนมากต่างพาครอบครัวลิงตัวเล็กและตัวใหญ่มายึดครองอาคารที่แสนจะสะดวกสบาย มีห้องน้ำ หลังคาหลบฝน  บันไดราวจับสเตนเลสอย่างดีให้อยู่อาศัยโดยไม่ต้องจ่ายค่าเช่า   

          ซึ่งก่อนหน้านี้อาคารแห่งนี้ได้ปล่อยให้เอกชนเช่าเปิดเป็นร้านอาหาร แต่ไม่สามารถทนต่อประชากรลิงที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งความซุกซนและความฉลาดรอบรู้ สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้เช่า รวมทั้งลูกค้าที่มาใช้บริการไม่สามารถทนต่อความอิทธิพลเถื่อนของลิงแสมฝูงนี้ได้ต้องอพยพย้ายออกไป และยกให้เป็นที่อยู่ของลิงแสมจนถึงปัจจุบันโดยทางเทศบาลเมืองสตูก็ไม่มีวิธีการใด ๆ หรือบังคับใช้กฎหมายและห้ามปรามกับฝูงลิงเหล่านี้ได้

         นางสาวอจรี   ธชพันธ์   อดีตผู้เคยเช่าพื้นที่อาคารของเทศบาลเมืองสตูล  (เขาโต๊ะพญาวัง) แห่งนี้  ยอมรับว่า  ด้วยบรรยากาศร่มรื่น กว้างขวาง ค่าเช่าไม่แพง ได้เปิดร้านอาหารบริหารลูกค้า นานถึง 10 ปีก่อนจะหมดสัญญา โดยระยะหลังๆ พบว่าประชากรลิงเพิ่มขึ้นทุกวัน อีกทั้งปัญหาลิงก่อกวน ทำลายข้าวของลักขโมย   และทำลายรถของลูกค้าไม่สามารถจะทนเช่าอยู่ต่อไปได้แม้ราคาค่าเช่าจะไม่แพง  และเห็นว่าหากหลายฝ่ายช่วยกันแก้ปัญหาลิงที่เพิ่มขึ้นในขณะนี้จะสามารถเปิดแหล่งท่องเที่ยว สร้างรายได้เข้าเทศบาลเมืองสตูลได้อีกจำนวนมาก  

         ปัญหาลิงยังส่งผลกระจายวงกว้างไปในหลายชุมชนของเทศบาลเมืองสตูล  ทั้งการทำลายทรัพย์สิน  การค้นหาอาหารตามบ้านเรือนของชาวบ้าน   ล่าสุดวันนี้  ที่ห้องประชุมโต๊ะพญาวัง  ชั้น 4  ศาลากลางจังหวัดสตูล  ตัวแทนชาวบ้านในชุมชนเทศบาลเมืองสตูล  5 คน (จากชุมชนห้องสมุด,ชุมชนโรงพระสามัคคี,ชุมชนพิมาน,ชุมชนวัดชนาธิปเฉลิม)  นำโดย  นายประชิต   สารานพคุณ  ที่ปรึกษาชุมชนเทศบาลเมืองสตูล  เข้าเสนอขอให้ดำเนินการแก้ปัญหาลิง ก่อกวน  ต่อที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ จังหวัดสตูล  (กรอ.จ.สตูล)  ซึ่งมีนายชาตรี  ณ  ถลาง   รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล  รักษาการผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล  เป็นประธานการประชุม  โดยระยะการแก้ปัญหาระยะสั้นด้วยการจัดหาอาหารให้ลิงที่เขาโต๊ะพญาวังเพื่อจำกัดไม่ให้ลิงออกมาในตัวเมือง  ส่วนระยะยาวการทำหมันลิง  และการจัดหาทีมควบคุมประชากรลิง       

         โดยนายประชิต   สารานพคุณ  ที่ปรึกษาชุมชนเทศบาลเมืองสตูล    กล่าวว่า  เคยยื่นหนังสือไปยังนายกฯเทศมนตรีแล้ว เพื่อให้ช่วยแก้ปัญหาลิงให้กับชาวบ้านในชุมชน  เพราะ ทม.บอกว่าไม่มีอำนาจในการจัดการลิง  เพียงแต่ตั้งงบประมาณสนับสนุนในการทำหมันทุกปี  ปีละประมาณ 4 แสนบาทเท่านั้น วันนี้จึงมาขอคำเสนอแนะและการหาางออกของปัญหาลดความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านในชุมชนเทศบาลเมืองสตูล

อัพเดทล่าสุด
Categories
ข่าวทั่วไป ท่องเที่ยว-กีฬา

อพท ร่วม ทกจ.กระบี่ พบปะผู้ประกอบการ ผลักดันเป็นพื้นที่พิเศษคลองท่อมเมืองสปา

อพท ร่วม ทกจ.กระบี่ พบปะผู้ประกอบการ ผลักดันเป็นพื้นที่พิเศษคลองท่อมเมืองสปา

 

          วันอังคารที่ 6 มิถุนายน 2566  เวลา 13.00 น. นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ อพท. และคณะผู้บริหาร อพท. ร่วมกับ นายสุรัตน์ จรณโยธิน ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกระบี่ ลงพื้นที่อำเภอคลองท่อมที่เกี่ยวข้องกับน้ำพุร้อนเค็มคลองท่อม 3 แห่ง ได้แก่ วารีรัก ฮ็อต สปริง แอนด์เวลเนส อมตยา เวลเนส และ ณัฐฐาวารีน้ำพุร้อน รีสอร์ท แอนด์ สปา พบปะผู้ประกอบการภาคเอกชน เพื่อแนะนำบทบาทภารกิจขององค์กรรวมถึงหารือเรื่องการประกาศพื้นที่พิเศษ คลองท่อมเมืองสปา เป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตามนโยบายของนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

          ทั้งนี้จะเป็นกรอบและแนวทางสำหรับบูรณาการความร่วมมือ และดำเนินงานร่วมกันของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวสร้างสรรค์จากฐานทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีคุณค่าของน้ำพุร้อนเค็มอย่างยั่งยืนต่อไป

Categories
ข่าวทั่วไป

ชาวสตูล ร่วมกิจกรรมจิตอาสา เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

ชาวสตูล ร่วมกิจกรรมจิตอาสา เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

          วันที่ 3 มิ.ย. 2566 ที่บริเวณน้ำตกโตนปาหนัน อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล นายชาตรี ณ ถลาง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นประธานเปิดกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 3 มิถุนายน 2566 โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ และประชาชนจิตอาสาเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก เพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ อีกทั้งส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนและประชาชน เกิดจิตสำนึกในการทำความดี สร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม พัฒนาภูมิทัศน์ให้มีความสะอาดอย่างต่อเนื่อง โดยน้อมนำแนวพระราชดำริมาปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

           สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราช ร่วมปลูกต้นกาหลง บริเวณน้ำตกโตนปาหนัน เพื่อให้เจริญเติบโตเป็นร่มไม้ให้แก่ประชาชนที่เข้ามาท่องเที่ยว ซึ่งน้ำตกแห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั้งในและต่างพื้นที่ อีกทั้งประชาชนจิตอาสาได้ร่วมกันทำความสะอาด เก็บขยะ กำจัดวัชพืช ตัดแต่งกิ่งไม้และปรับปรุงภูมิทัศน์ ให้มีความสะอาดและสวยงาม

ภาพ-ข่าว : ศุภาพิชญ์ ดวงไข / ส.ปชส.สตูล

Categories
ข่าวทั่วไป

สตูล-สธ.ทดสอบระบบ “โดรนทางการแพทย์” บินข้ามทะเล  ขนส่งวัคซีน และเวชภัณฑ์ น้ำหนัก 3 กก.

กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับภาคีเครือข่าย ทดสอบระบบการบินอากาศยานไร้คนขับ ครั้งแรกของไทย ขนส่งยาและเวชภัณฑ์บินข้ามทะเล จากรพ.สตูล-รพ.สต.ปูยู ระยะทาง 12 กม. โดยทีม Skyports จากสิงคโปร์ และคณะกรรมการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับสนับสนุนภารกิจทางการแพทย์ ร่วมปฏิบัติการ ยกระดับระบบบริการสุขภาพ ประชาชนในพื้นที่ห่างไกล เข้าถึงยาและเวชภัณฑ์ได้รวดเร็ว นำไปใช้เป็นโมเดลกลางสำหรับพื้นที่อื่นทั่วประเทศต่อไป

          วันนี้ (2 มิถุนายน 2566) ที่สนามกีฬารัชกิจประการ  ต.พิมาน  อ.เมือง จ.สตูล นายชาตรี  ณ  ถลาง  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล  กล่าวต้อนรับ  คณะ นายแพทย์โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์  ร่วมแถลงข่าว การทดสอบการบินอากาศยานไร้คนขับสนับสนุนภารกิจทางการแพทย์ ว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายพัฒนาระบบสุขภาพดิจิทัล โดยสนับสนุนการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ เพื่อยกระดับระบบบริการสุขภาพให้ก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการของประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพอย่างสะดวก ทั่วถึงและเท่าเทียม

           นายแพทย์โสภณ กล่าวต่อว่า ในการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับสนับสนุนภารกิจทางการแพทย์ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับ ทั้งด้านการรักษาความปลอดภัย การขนส่งทางอากาศ ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และเสนอแนะต่อคณะกรรมการการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบสุขภาพดิจิทัล ซึ่งได้กำหนดให้จังหวัดสตูลเป็นพื้นที่ Sandbox ในการทดสอบรูปแบบและวิธีการใช้อากาศยานไร้คนขับ

           สำหรับการทดสอบระบบการบินอากาศยานไร้คนขับในวันนี้ ถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่ใช้โดรนในการบินข้ามทะเล ขนส่งยาและเวชภัณฑ์ โดยขาไปนำวัคซีนบาดทะยัก จากโรงพยาบาลสตูล ไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูยู และขากลับนำเลือดมาส่งที่โรงพยาบาลสตูล รวมระยะทาง 12 กิโลเมตร โดยทีม Skyports จากประเทศสิงคโปร์ และคณะทำงานพัฒนาต้นแบบการใช้อากาศยานไร้คนขับสนับสนุนภารกิจทางการแพทย์ นำโดย นาวาอากาศเอก อนุกูล อ่อนจันทร์อม นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 65 (วปอ.65) ร่วมปฏิบัติการทดสอบ สำหรับโดรนที่ใช้ปฏิบัติการในครั้งนี้ เป็นสุดยอดนวัตกรรมอากาศยานจาก Skyports Swoop Aero รุ่น Swoop Kookaburra Mark 3 ตัวเครื่องมีน้ำหนัก 17 กิโลกรัม สามารถบรรทุกน้ำหนักได้ 3 กิโลกรัม ความเร็วสูงสุดที่ 68 กิโลเมตร/ชั่วโมง ระยะเวลาการบินต่อเนื่อง 68 นาที และฝ่าฝนไม่เกิน 10 มิลลิเมตร/ชั่วโมง

ในส่วนการขนส่งทางการแพทย์ด้วยอากาศยานไร้คนขับเป็นไปตามมาตรฐานสากล ผ่านการอนุญาตของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) และสำนักงานกสทช. รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้บินทดสอบและสาธิตอย่างเต็มระบบ โดยเฉพาะระบบการควบคุมการบินด้วยการสื่อสารผ่านดาวเทียม ซึ่งจะสามารถปฏิบัติการบินได้ทุกพื้นที่ในประทศ อีกทั้งที่ผ่านมาคณะทำงานพัฒนาต้นแบบอากาศยานไร้คนขับสนับสนุนภารกิจทางการแพทย์ ได้มีการทดสอบการบิน Qulity Test ขนส่งเลือดร่วมกับ Vertical Team นำโดยคุณทรรศิกา สีสุ่น หัวหน้าทีมพัฒนาอากาศยานไร้คนขับแบบ VTOL ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ทำให้สร้างความมั่นใจให้กับคณะเจ้าหน้าที่ทำงาน ที่จะทำการบินทดสอบในพื้นที่จริงในครั้งนี้

       “หากการทดสอบในครั้งนี้ประสบความสำเร็จ จะช่วยให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล และเข้าถึงยากลำบาก เมื่อเจ็บป่วยสามารถเข้าถึงยาและเวชภัณฑ์ได้อย่างรวดเร็ว และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที หรือเมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติต่าง ๆ ก็สามารถใช้โดรนสนับสนุนภารกิจทางการแพทย์ ขนส่งยา วัคซีน เลือด เซรุ่ม ที่จำเป็นได้ รวมถึงนำไปใช้เป็นโมเดลกลางปฏิบัติภารกิจในพื้นที่อื่นทั่วประเทศต่อไป” นายแพทย์โสภณกล่าว

          ทั้งนี้ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่  จังหวัดสตูล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล โรงพยาบาลสตูล เทศบาลเมืองสตูล องค์การบริหารส่วนตำบลตำมะลัง องค์การบริหารส่วนตำบลปูยู ตำรวจภูธรจังหวัดสตูล องค์การเภสัชกรรม สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กรมศุลกากร และบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด และบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด

…………………………

 

Categories
ข่าวทั่วไป

ชมรมคนรักในหลวงสตูล ออกปกป้อง ค้านแก้กฏหมาย ม.112

วันที่ 2 มิ.ย.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า   ชมรมรักในหลวงจังหวัดสตูล โดยนางอุดมศรี   จันทร์รัศมี ประธานชมรมคนรักในหลวงจังหวัดสตูล   จัดกิจกรรมเดินขบวนรณรงค์สร้างจิตสำนึกและแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยมีประชาชนชาวสตูล   พร้อมใจกันรวมตัว สวมใส่เสื้อสีเหลือง ผูกผ้าพันคอพระราชทาน พร้อมกับชูป้ายไวนิล เขียนคำว่า  ขอเทิดทูน  สถาบันชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  และ แสดงจุดยืนคัดค้านการแก้ไข มาตรา 112  โดยมีประชาชน เยาวชนนักเรียน ร่วมกิจกรรมแสดงพลังจำนวนมาก

 

โดยเริ่มรวมตัวทำกิจกรรมที่จุดสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ์ 80 พรรษา  (หน้าโรงเรียนพ.ส. สตูล ) ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล  และยังได้มีกิจกรรมอ่านดูอาร์ขอพร ให้ราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ และพระราชินีแข็งแรง ปลอดภัยจากสิ่งอันตรายทั้งปวง

          นางอุดมศรี   จันทร์รัศมี ประธานชมรมคนรักในหลวงจังหวัดสตูล  กล่าวว่า เราแสดงพลังทำกิจกรรมทุกๆปี และไม่เกี่ยวกับการเมืองทั้งสิ้น เพราะจุดยืนเราชัดเจน รักในหลวง รักราชวงศ์จักรี และที่สำคัญ การเดินรวมพลังในครั้งนี้ เดินรอบตัวเมืองสตูล ผ่านมัสยิดมำบัง วนกลับมาจุดเดิม 

          ส่วนการที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมือง ตนเองไม่ขอพูดอะไรมาก เพียงบอกว่า ใครก็ได้เป็นรัฐบาล ขออย่างเดียวอย่าแตะต้องกฎหมาย มาตรา 112  อย่างอื่นถือว่าเป็นกฎหมายของประชาธิปไตยต่อไป

        สำหรับการปล่อยขบวนเดินรณรงค์จะเคลื่อนขบวนตามเส้นทางถนนสตูลธานี ผ่านหน้าศาลากลางจังหวัดสตูล ผ่านหน้ามัสยิดมำบัง จนถึงศาลเจ้าโป้เจ้เก้ง เลี้ยวขวาไปยังถนนสมันตประดิษฐ์และเลี้ยวขวาไปถนนบุรีวานิช ผ่านหอนาฬิกา ตรงไปตามเส้นทางถนนเรืองฤทธิ์จรูญและผ่านหลังศาลากลางกลับไปยังจุดเริ่มต้นอีกด้วย

………………………………..

Categories
ข่าวทั่วไป

พสกนิกรสตูล  เดินแสดงพลังปกป้องสถาบัน และรณรงค์คัดค้านแก้ไขมาตรา 112  ฝากรัฐบาลใหม่ ยันไม่เอี่ยวการเมือง

วันที่ 2 มิ.ย.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า   ชมรมรักในหลวงจังหวัดสตูล โดยนางอุดมศรี   จันทร์รัศมี ประธานชมรมคนรักในหลวงจังหวัดสตูล   จัดกิจกรรมเดินขบวนรณรงค์สร้างจิตสำนึกและแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยมีประชาชนชาวสตูล   พร้อมใจกันรวมตัว สวมใส่เสื้อสีเหลือง ผูกผ้าพันคอพระราชทาน พร้อมกับชูป้ายไวนิล เขียนคำว่า  ขอเทิดทูน  สถาบันชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  และ แสดงจุดยืนคัดค้านการแก้ไข มาตรา 112  โดยมีประชาชน เยาวชนนักเรียน ร่วมกิจกรรมแสดงพลังจำนวนมาก

 

โดยเริ่มรวมตัวทำกิจกรรมที่จุดสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ์ 80 พรรษา  (หน้าโรงเรียนพ.ส. สตูล ) ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล  และยังได้มีกิจกรรมอ่านดูอาร์ขอพร ให้ราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ และพระราชินีแข็งแรง ปลอดภัยจากสิ่งอันตรายทั้งปวง

          นางอุดมศรี   จันทร์รัศมี ประธานชมรมคนรักในหลวงจังหวัดสตูล  กล่าวว่า เราแสดงพลังทำกิจกรรมทุกๆปี และไม่เกี่ยวกับการเมืองทั้งสิ้น เพราะจุดยืนเราชัดเจน รักในหลวง รักราชวงศ์จักรี และที่สำคัญ การเดินรวมพลังในครั้งนี้ เดินรอบตัวเมืองสตูล ผ่านมัสยิดมำบัง วนกลับมาจุดเดิม 

          ส่วนการที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมือง ตนเองไม่ขอพูดอะไรมาก เพียงบอกว่า ใครก็ได้เป็นรัฐบาล ขออย่างเดียวอย่าแตะต้องกฎหมาย มาตรา 112  อย่างอื่นถือว่าเป็นกฎหมายของประชาธิปไตยต่อไป

        สำหรับการปล่อยขบวนเดินรณรงค์จะเคลื่อนขบวนตามเส้นทางถนนสตูลธานี ผ่านหน้าศาลากลางจังหวัดสตูล ผ่านหน้ามัสยิดมำบัง จนถึงศาลเจ้าโป้เจ้เก้ง เลี้ยวขวาไปยังถนนสมันตประดิษฐ์และเลี้ยวขวาไปถนนบุรีวานิช ผ่านหอนาฬิกา ตรงไปตามเส้นทางถนนเรืองฤทธิ์จรูญและผ่านหลังศาลากลางกลับไปยังจุดเริ่มต้นอีกด้วย

………………………………..

Categories
ท่องเที่ยว-กีฬา ทั้งหมด

กรรมาธิการ การท่องเที่ยว สว.ลงพื้นที่ขับเคลื่อนด้านท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่

วันที่ 30-31 พฤษภาคม 2566   นายสุรัตน์ จรณโยธิน ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกระบี่ พร้อมนายชาญณรงค์ ลีลาบูรณพงศ์ รองนายกเทศมนตรีเมืองกระบี่ และนายโกมาต แป้นเกิด วัฒนธรรมจังหวัดกระบี่  นายสมชาย ก๊กใหญ่ รองนายกเทศมนตรี อบต.ห้วยน้ำขาว นายวัฒนา สินธุเจริญ ปลัดอบต. ห้วยน้ำขาว ร่วมต้อนรับ พลเอกโปฎก บุนนาค รองประธานคณะกรรมการการท่องเที่ยววุฒิสภา พร้อมคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภา ศึกษาดูงานด้านการท่องเที่ยว ณ จังหวัดกระบี่ โดยร่วมรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับการดำเนินงานและความสำคัญของศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอันดามัน และศึกษาดูงานและรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับความสำคัญของแหล่งท่องเที่ยว และการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ณ วัดมหาธาตุวชิรมงคล หรือวัดบางโทง อำเภออ่าวลึก และชุมชนแหลมสัก น้ำพุร้อนเค็มอำเภอคลองท่อม เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิญสุขภาพและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตลอดจนการท่องเที่ยวโดยชุมชน ร่วมประชุมรับทราบสภาพปัญหาอุปสรรค และแนวทางการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ ของจังหวัดกระบี่ รวมทั้งข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศต่อไป

……………………..

Categories
ข่าวเด่น

สตูลฉาว! ทิ้งร้างโรงเชือดแพะหนึ่งเดียวในภาคใต้ 

สตูลฉาว! ทิ้งร้างโรงเชือดแพะหนึ่งเดียวในภาคใต้นานถึง 16 ปี  ชาวบ้านขาดโอกาส  ผู้นำท้องถิ่นพร้อมรับการถ่ายโอนสานต่อเพื่อชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์

จากกรณีเพจ  “ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน”  ตีแพร่โรงฆ่าแพะสตูล ถูกปล่อยทิ้งร้างนานนับปีอยู่ในสภาพทรุดโทรมนั้น 

(วันที่ 30 พ.ค.2566)  ทีมข่าวได้ลงพื้นที่ตรวจสอบพื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลควนโพธิ์  อำเภอเมืองสตูล  จุดที่มีการชี้เป้าพบว่าเป็นจริงตามที่มีการนำเสนอ  โดยสภาพทั่วไปพบว่าเป็นอาคารที่เตรียมไว้สำหรับใช้เป็นคอกขังสัตว์ และอาคารสำหรับเตรียมแปรรูป ห้องเย็น ที่เหลือแต่โครงสร้าง ฝากั้นถูกรื้อถอนรวมทั้งฝ้าเพดานและพนัง อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า  แม้กระทั่งวัสดุที่มีเหล็กเส้น  สแตนเลส  แม้แต่กลอนลูกบิดประตู  ก็ถูกถอดไม่เหลือสภาพ  แม้กระทั่งภายในห้องน้ำเหลือเพียงแต่โถส้วมไว้ให้ดูต่างหน้าเท่านั้น

            นายเนาะ  หนูชูสุข  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลควนโพธิ์ อำเภอเมืองสตูล  ยอมรับว่า  อาคารดังกล่าวไว้ใช้สำหรับเป็นโรงเชือดแพะที่มีมาตรฐานของอำเภอเมืองสตูล ขณะที่มีการเปิดอาคารใหม่ๆ ตนได้มาดูขณะนั้นยังไม่เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  อาคารนี้มีความพร้อมสมบูรณ์แบบเหมาะกับการใช้เป็นโรงเชือด แต่วันเวลาผ่านไปขณะที่ตนมารับตำแหน่งจนถึงวันนี้ 2 ปีพบปัญหาขโมยโจรลักทรัพย์ในอาคารนี้บ่อยครั้ง  จนปัจจุบันก็เหลือแต่ซากโครงอาคาร  เพราะหัวขโมยแม้จะถูกจับได้  แต่เมื่อมีการทราบข่าวว่าปล่อยทิ้งร้างก็มีขโมยจากพื้นที่ต่างถิ่นมาขนออกไปชิ้น สองชิ้นเหลือตามสภาพที่เห็น    ยอมรับว่ารู้สึกเสียดายที่ยังไม่ทันใช้ประโยชน์อะไรเลย  และไม่รู้ว่าใครคือหน่วยงานที่รับผิดชอบงบประมาณจำนวนมาก  ที่มากองไว้โดยไม่ได้ทำประโยชน์  ก็อยากให้ส่วนเกี่ยวข้องมาดูแล และรื้อฟื้นให้ใช้ประโยชน์ได้จริง ๆ

            จากนั้นสื่อได้ลงไปสอบถามความจริงจากผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลควนโพธิ์   โดยมีนายบุญมา  โดยพิลา  นายกอบต.ควนโพธิ์  กล่าวกับสื่อว่า  อาคารดังกล่าวที่เป็นโรงเชือดแพะไม่ได้อยู่ในความดูแลของทางอบต.แต่อย่างใด  พร้อมเปิดเผยว่า  ได้พยายามติดต่อไปยังธนารักษ์ และปศุสัตว์ พบว่าเป็นงบพัฒนาจังหวัดที่ลงมาที่ปศุสัตว์จังหวัดสตูล  ประมาณต้นปี 2551-2552 และมีการโอนอาคารทรัพย์สินไปที่ธนารักษ์  หลังจากได้รับตำแหน่งนายกฯประมาณปี 2565 ได้เดินเรื่องขออาคารทรัพย์สินดังกล่าวมาอยู่ในความดูแลของอบต.แต่ติดขัดที่ระเบียบ จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถถ่ายโอนได้

          นายกอบต.ควนโพธิ์  กล่าวเพิ่มเติมว่า  ยอมรับว่าพบว่ามีขโมยเข้ามาลักเล็กขโมยน้อย  ทางอบต.ยังไม่สามารถเป็นเจ้าทุกข์แจ้งความได้  เพราะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ดังกล่าว  ยอมรับว่าเสียดายที่ชาวตำบลควนโพธิ์  ไม่เฉพาะชาวจังหวัดสตูล  และชาวภาคใต้ทุกคนที่เสียโอกาสไม่สามารถใช้อาคารนี้ได้   เพราะเจตนารมณ์ของอาคารนี้ต้องการเป็นโรงเชือดแพะแห่งแรกของภาคใต้ที่ได้รับมาตรฐานส่งออก  จากมูลค่าอาคารและอุปกรณ์ทรัพย์สินประมาณ 2 ล้าน 7 แสนบาทที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง  มาวันนี้ทางท้องถิ่นเองก็พร้อมจะรับการถ่ายโอนมาต่อยอดเพราะแพะคือสัตว์เศรษฐกิจของพื้นที่  หรือจะปรับเป็นอาคารสร้างสุขภาพให้ชาวบ้านตำบลควนโพธิ์ต่อไป  พร้อมรับเป็นเรื่องดีที่มีการตีแพร่ประเด็นนี้จะได้ช่วยกันหาทางออกของปัญหา

Categories
ข่าวเด่น

สตูล ปปช.ลงตรวจสอบโรงแพะ หลังถูกทิ้งร้างนาน 14 ปี

         วันที่ 1 มิ.ย.2566  ภายหลังทราบข่าวจากสื่อโซเชียล  เพจ หมาเฝ้าบ้าน กรณี โรงฆ่าแพะที่จังหวัดสตูล ถูกปล่อยทิ้งร้างเหลือแต่โครงสร้าง นานนับ 10 ปี   ทางด้าน ปปช.จังหวัดสตูล นำโดยนายธนกฤต  เลิศวิริยวรางกูร  ผู้อำนวยการสำนักงาน ปปช.  พร้อมเจ้าหน้าที่  ร่วมกับนายประสงค์  เรืองสวัสดิ์  ปศุสัตว์จังหวัดสตูล  ลงตรวจสอบจุดก่อสร้างพื้นที่หมู่ที่ 2 ต.ควนโพธิ์  อ.เมือง  จ.สตูล   หลังเข้าประชุมรับทราบปัญหาจากปศุสัตว์จังหวัด  ก่อนลงพื้นที่จริงพบสภาพโรงฆ่าแพะ   เป็นจริงตามที่มีการนำเสนอ  โดยสภาพทั่วไปพบว่าเป็นอาคารที่เตรียมไว้สำหรับใช้เป็นคอกขังสัตว์ และอาคารสำหรับเตรียมแปรรูป ห้องเย็น ที่เหลือแต่โครงสร้าง ฝากั้นถูกรื้อถอนรวมทั้งฝ้าเพดานและพนัง อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า  แม้กระทั่งวัสดุที่มีเหล็กเส้น  สแตนเลส  แม้แต่กลอนลูกบิดประตู  ก็ถูกถอดไม่เหลือสภาพ  แม้กระทั่งภายในห้องน้ำเหลือเพียงแต่โถสุขภัณฑ์ไว้ให้ดูต่างหน้าเท่านั้น 

          ด้าน  นายธนกฤต  เลิศวิริยวรางกูร  ผู้อำนวยการสำนักงาน ปปช.  กล่าวว่า  โครงการนี้เกิดจากงบประมาณไทยเข้มแข็ง  ใช้งบประมาณค่อนข้างสูง  ในพื้นที่ตำบลควนโพธิ์ ตรงนี้เป็นการก่อสร้างโรงฆ่าสัตว์  พร้อมอุปกรณ์ต่างๆ  หลังจากได้ดำเนินการ  มีประเด็นเรื่องของไฟฟ้า และน้ำ ซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในตัวโครงการทำให้โครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ  ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้   ที่มาในวันนี้พบมีการร้องเรียนในเพจ หมาเฝ้าบ้าน  การลงทุนภาครัฐไม่ก่อประโยชน์  ก่อสร้างแล้วทิ้งร้าง  ไม่สามารถดำเนินการได้   ทางสำนักงานปปช.ได้ประสานไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง คือปศุสัตว์จังหวัด  และสำนักงานจังหวัดสตูล เพื่อขอทราบข้อเท็จจริง ถึงที่มาของโครงการ หลังจากโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จนี้  ได้มีการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์  ในเบื้องต้นเท่าที่ประเมิน สภาพพื้นที่ค่อนข้างได้รับความเสียหายมาก  วันนี้สำนักงานปปช.จะไปดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป  สิ่งที่จะฝากไว้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การที่จะบูรณะซ่อมแซมเพื่อให้โครงการนี้สามารถ ดำเนินการได้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ที่ดำเนินการต่อไป

        ผู้อำนวยการสำนักงาน ปปช.  กล่าวอีกว่า  สำหรับเบาะแสการทุจริต  เบื้องต้นตอนนี้ยังระบุไม่ได้ เท่าที่ทราบ มีในเรื่องของการเข้าใจของเจ้าหน้าที่ เรื่องการส่งมอบโครงการ และการบำรุงดูแลรักษา ตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการสอบถามข้อเท็จจริง ว่าเป็นอย่างไรบ้างซึ่งต้องใช้เวลา มูลค่าความเสียหายถ้าประเมินในเบื้องต้น ที่โครงการก่อสร้างในเบื้องต้นก่อน  แต่จริงๆความเสียหายอาจจะมากกว่านี้ อย่าลืมว่าประโยชน์ที่ได้จากโครงการนี้ในระยะเวลา 10 กว่าปี มันต้องมาประเมินว่ามีความเสียหายมากน้อยแค่ไหน     

            นายประสงค์  เรืองสวัสดิ์  ปศุสัตว์จังหวัดสตูล  กล่าวถึงโครงการดังกล่าวนี้ว่า  เป็นโครงการใช้งบประมาณพัฒนาจังหวัด  ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2553  มี 2 จุดคือ  จุดนี้เป็นโรงฆ่าแพะ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมือง  ส่วนอีกจุดเป็นโรงฆ่าวัว ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอละงู   โครงการดังกล่าวประโยชน์มีเยอะ  เพราะปัจจุบันก็มีเกษตรกร  ผู้ประกอบการที่จะขออนุญาติเปิด  แสดงว่าเป็นความต้องการของพื้นที่  เจ้าหน้าที่ซึ่งทำโครงการในรอบนั้น  ทางกรมปศุสัตว์ก็มีนโยบายที่จะยกระดับอาหารที่ปลอดภัยมาจากโรงฆ่าที่ได้รับมาตรฐาน  การชำแหละต้องฆ่าในโรงฆ่าซึ่งมีสัตวแพทย์ตรวจควบคุมโรค  ดูแลในเรื่องการปล่อยเนื้อออกสู่ผู้บริโภคต้องมาจากโรงฆ่าที่ได้รับมาตรฐาน  ปลอดภัย  ในตอนนี้รัฐก็อยากให้มีโรงฆ่าสัตว์มาตรฐาน 

         แต่ทีนี้เรื่องการก่อสร้าง ที่สร้างเสร็จก็ไม่สามารถดำเนินการส่งมอบ หรือขอให้ภาคท้องถิ่นมารับช่วยต่อได้เนื่องจากว่า  งบประมาณโดยตัดในเรื่องค่าสาธารณูปโภค  ไม่มีไฟฟ้าและน้ำประปา  ซึ่งโรงงานตรงนี้ถ้าไม่มีไฟฟ้า และประปา  ก็ทำไม่ได้  ในส่วนนี้ทางปศุสัตว์ได้ทำเรื่องของบประมาณไฟฟ้าและน้ำประปามาตลอด  กระทั่งค้นเอกสารพบ ในปี 2557  ก็ยังมีการร้องขอประเมินจัดทำไฟฟ้าอยู่ตลอด  ซึ่งทางปศุสัตว์ก็พยายามจะทำให้ดำเนินการได้ 

          ทั้งนี้   สำหรับ โครงการก่อสร้างโรงผลิตแพะเนื้อมาตรฐานพร้อมอุปกรณ์ งบประมาณ 15,150,000 บาท ระยะเวลาโครงการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552-2553  ตั้งอยู่ในพื้นที่  ม.2 ต. ควนโพธิ์ อ.เมืองสตูล จ.สตูล  และ 2.โครงการก่อสร้างโรงฆ่าโคพร้อมอุปกรณ์ งบประมาณ 17,150,000 บาท ปีงบประมาณ พ.ศ.2552-2553  ตั้งอยู่ในพื้นที่ ม.12 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล  รวม 2 โครงการ 32 ล้าน 3 แสนบาท

        สำหรับโรงฆ่าโค ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอละงู นั้น สภาพค่อนข้างสมบูรณ์  ปิดกุญแจแน่นหนา  เสื่อมไปตามกาลเวลา  ที่พบสภาพชำรุดมีเพียงห้องน้ำเท่านั้น   

Categories
ข่าวเด่น

สตูลฉาว! ทิ้งร้างโรงเชือดแพะหนึ่งเดียวในภาคใต้นานถึง 16 ปี 

สตูลฉาว! ทิ้งร้างโรงเชือดแพะหนึ่งเดียวในภาคใต้นานถึง 16 ปี  ชาวบ้านขาดโอกาส  ผู้นำท้องถิ่นพร้อมรับการถ่ายโอนสานต่อเพื่อชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์

จากกรณีเพจ  “ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน”  ตีแพร่โรงฆ่าแพะสตูล ถูกปล่อยทิ้งร้างนานนับปีอยู่ในสภาพทรุดโทรมนั้น 

(วันที่ 30 พ.ค.2566)  ทีมข่าวได้ลงพื้นที่ตรวจสอบพื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลควนโพธิ์  อำเภอเมืองสตูล  จุดที่มีการชี้เป้าพบว่าเป็นจริงตามที่มีการนำเสนอ  โดยสภาพทั่วไปพบว่าเป็นอาคารที่เตรียมไว้สำหรับใช้เป็นคอกขังสัตว์ และอาคารสำหรับเตรียมแปรรูป ห้องเย็น ที่เหลือแต่โครงสร้าง ฝากั้นถูกรื้อถอนรวมทั้งฝ้าเพดานและพนัง อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า  แม้กระทั่งวัสดุที่มีเหล็กเส้น  สแตนเลส  แม้แต่กลอนลูกบิดประตู  ก็ถูกถอดไม่เหลือสภาพ  แม้กระทั่งภายในห้องน้ำเหลือเพียงแต่โถส้วมไว้ให้ดูต่างหน้าเท่านั้น

            นายเนาะ  หนูชูสุข  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลควนโพธิ์ อำเภอเมืองสตูล  ยอมรับว่า  อาคารดังกล่าวไว้ใช้สำหรับเป็นโรงเชือดแพะที่มีมาตรฐานของอำเภอเมืองสตูล ขณะที่มีการเปิดอาคารใหม่ๆ ตนได้มาดูขณะนั้นยังไม่เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  อาคารนี้มีความพร้อมสมบูรณ์แบบเหมาะกับการใช้เป็นโรงเชือด แต่วันเวลาผ่านไปขณะที่ตนมารับตำแหน่งจนถึงวันนี้ 2 ปีพบปัญหาขโมยโจรลักทรัพย์ในอาคารนี้บ่อยครั้ง  จนปัจจุบันก็เหลือแต่ซากโครงอาคาร  เพราะหัวขโมยแม้จะถูกจับได้  แต่เมื่อมีการทราบข่าวว่าปล่อยทิ้งร้างก็มีขโมยจากพื้นที่ต่างถิ่นมาขนออกไปชิ้น สองชิ้นเหลือตามสภาพที่เห็น    ยอมรับว่ารู้สึกเสียดายที่ยังไม่ทันใช้ประโยชน์อะไรเลย  และไม่รู้ว่าใครคือหน่วยงานที่รับผิดชอบงบประมาณจำนวนมาก  ที่มากองไว้โดยไม่ได้ทำประโยชน์  ก็อยากให้ส่วนเกี่ยวข้องมาดูแล และรื้อฟื้นให้ใช้ประโยชน์ได้จริง ๆ

            จากนั้นสื่อได้ลงไปสอบถามความจริงจากผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลควนโพธิ์   โดยมีนายบุญมา  โดยพิลา  นายกอบต.ควนโพธิ์  กล่าวกับสื่อว่า  อาคารดังกล่าวที่เป็นโรงเชือดแพะไม่ได้อยู่ในความดูแลของทางอบต.แต่อย่างใด  พร้อมเปิดเผยว่า  ได้พยายามติดต่อไปยังธนารักษ์ และปศุสัตว์ พบว่าเป็นงบพัฒนาจังหวัดที่ลงมาที่ปศุสัตว์จังหวัดสตูล  ประมาณต้นปี 2551-2552 และมีการโอนอาคารทรัพย์สินไปที่ธนารักษ์  หลังจากได้รับตำแหน่งนายกฯประมาณปี 2565 ได้เดินเรื่องขออาคารทรัพย์สินดังกล่าวมาอยู่ในความดูแลของอบต.แต่ติดขัดที่ระเบียบ จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถถ่ายโอนได้

          นายกอบต.ควนโพธิ์  กล่าวเพิ่มเติมว่า  ยอมรับว่าพบว่ามีขโมยเข้ามาลักเล็กขโมยน้อย  ทางอบต.ยังไม่สามารถเป็นเจ้าทุกข์แจ้งความได้  เพราะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ดังกล่าว  ยอมรับว่าเสียดายที่ชาวตำบลควนโพธิ์  ไม่เฉพาะชาวจังหวัดสตูล  และชาวภาคใต้ทุกคนที่เสียโอกาสไม่สามารถใช้อาคารนี้ได้   เพราะเจตนารมณ์ของอาคารนี้ต้องการเป็นโรงเชือดแพะแห่งแรกของภาคใต้ที่ได้รับมาตรฐานส่งออก  จากมูลค่าอาคารและอุปกรณ์ทรัพย์สินประมาณ 2 ล้าน 7 แสนบาทที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง  มาวันนี้ทางท้องถิ่นเองก็พร้อมจะรับการถ่ายโอนมาต่อยอดเพราะแพะคือสัตว์เศรษฐกิจของพื้นที่  หรือจะปรับเป็นอาคารสร้างสุขภาพให้ชาวบ้านตำบลควนโพธิ์ต่อไป  พร้อมรับเป็นเรื่องดีที่มีการตีแพร่ประเด็นนี้จะได้ช่วยกันหาทางออกของปัญหา